Share to:

 

หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา


กอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา
เกิดกอบแก้ว วิเศษกุล
5 เมษายน พ.ศ. 2451
เสียชีวิต19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (100 ปี)
คู่สมรสพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (พ.ศ. 2472–2489)
บิดามารดาพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล)
คุณหญิงเนื่อง สุรินทราชา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย (2486–2488)
ไทย สยาม (2488–2491)
 ไทย (2491–2511)
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการ2486–2511
ชั้นยศ พันโทหญิง
หน่วยทหารม้า

พันโทหญิง หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม: วิเศษกุล; 5 เมษายน พ.ศ. 2451 — 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) หม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และอดีตนางพระกำนัลในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี[1]

ประวัติ

หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา เกิดวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2451 เป็นธิดาคนสุดท้องของพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) มหาดเล็กข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคุณหญิงสุรินทราชา (เนื่อง) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนคอนแวนต์แห่งพระกุมารเยซู (อังกฤษ: Convent of The Holy Infant Jesus)[2] เมืองจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน

หม่อมกอบแก้วได้พบกับพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นครั้งแรกที่วังไกลกังวล ในวันงานพระราชพิธีคฤหมงคล ขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข เมื่อวันที่ 10-11 เมษายน พ.ศ. 2472[3] ภายหลังจึงได้เสกสมรสกัน เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2472 แต่ไม่มีพระทายาท[4] ชื่อของหม่อมกอบแก้ว เป็นที่มาของชื่อเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ ด้วยเป็นมารดาอุปถัมภ์[5]

หม่อมกอบแก้วได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างของกุลสตรีไทยยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 อันเป็นสตรีที่มีความรู้และความทันสมัยในแบบของสาวตะวันตก รับหน้าที่ให้เป็นผู้สวมมงกุฎและสายสะพายให้แก่นางสาวไทยทุกคนในยุคก่อน ๆ [6] ทั้งนี้หม่อมกอบแก้วยังเป็นที่ยอมรับในเรื่องของความงามเหนือกาลเวลา และกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ต่าง ๆ[7]

หม่อมกอบแก้วมีความชำนาญด้านการขี่ม้า ภายหลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมกอบแก้วเป็น ทหารม้ายศพันโท[7][8]

หม่อมกอบแก้วได้อุทิศตนยาวนาน ทำงานเพื่อสภากาชาดไทย โดย ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหารายได้ เป็นคนแรก

ถึงแก่อสัญกรรม

หม่อมกอบแก้วถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 20.30 นาฬิกา ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด[9] สิริรวมอายุได้ 100 ปี 1 เดือน 14 วัน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และทรงวางพวงมาลาหลวง พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่หน้าโกศศพ พันโทหญิง หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ พันโทหญิง หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ASTV ผู้จัดการออนไลน์, หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรม เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 20 พฤษภาคม 2551
  2. ลดา รุธิรกนก. มณีในอาทิตย์. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์. 2549, หน้า 84
  3. ลดา รุธิรกนก. มณีในอาทิตย์. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2549. 240 หน้า. ISBN 978-9749-906-651
  4. "หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา" (Press release). ข่าวสด. 7 มีนาคม พ.ศ. 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. ลดา รุธิรกนก. มณีในอาทิตย์. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์. 2549, หน้า 224
  6. เย็นตาโฟดอตคอม. อัศจรรย์! 19 พฤษภาคม สิ้น.."วันเดียวกัน" เก็บถาวร 2010-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 30 ตุลาคม 2555
  7. 7.0 7.1 สนุกดอตคอม. ปิดตำนานสาวสองพันปี หม่อมกอบแก้ว อาภากรฯ. เรียกดูเมื่อ 30 ตุลาคม 2555
  8. รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมกอบแก้วเป็น ทหารม้ายศพันโท
  9. "อัศจรรย์! "19 พฤษภาคม" สามี-บิดา-บิดาของสามี-หม่อมกอบแก้ว อนิจกรรม วันเดียวกัน" (Press release). มติชน. 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-03-10.
  11. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 2015-05-07.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ง, ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๒๙๔๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญช่วยราชการภายใน หน้า ๑๙๕๖ เล่ม ๕๘, ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
  14. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 58 (ตอน 0 ง): หน้า 1956. 23 มิถุนายน พ.ศ. 2484. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  15. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน (หน้า ๒๙๓๘)
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ง, ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ , หน้า ๒๙๕๘
  17. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๑๗๗๒ เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๒, ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
Kembali kehalaman sebelumnya