หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล
หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล (ราชสกุลเดิม ชุมสาย; 15 มีนาคม พ.ศ. 2461[1] – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565)[ต้องการอ้างอิง] นักวิทยาศาสตร์ด้านเคมีอินทรีย์ และผู้ร่วมบุกเบิกงานของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นสุภาพสตรีที่บุกเบิกงานขององค์กรพัฒนาเอกชน จนได้รับฉายาว่า "มารดาแห่งเอ็นจีโอเมืองไทย"[2] ประวัติหม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล (ราชสกุลเดิม ชุมสาย) เกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2460 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2461) เป็นธิดาของพันเอก หลวงเอนกนัยวาที (หม่อมราชวงศ์นารถ ชุมสาย)[3]กับเจิม ชุมสาย ณ อยุธยา (สกุลเดิม ประจันราย) เป็นน้องสาวของหม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย และเป็นอาของ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ประจำปี พ.ศ. 2541 และ อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโทสาขาเคมีอินทรีย์จากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา สมรสกับผล นิลอุบล[4] หม่อมหลวงอนงค์มีผลงานสำคัญด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์ของไทย เป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาสายพันธุ์พืชด้วยเคมีอินทรีย์ ที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เคยเป็นประธานชมรมนักเรียนเก่าอิสราเอล (ปัจจุบันคือ มูลนิธิชมรมไทย-อิสราเอลในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)[5] และได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[ต้องการอ้างอิง] สิริอายุ 104 ปี พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พระราชทานโกศราชนิกูลพร้อมเครื่องประกอบเกียรติยศ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร และสวดพระอภิธรรมตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565[6] ด้านการเมืองหม่อมหลวงอนงค์มีบทบาทในการร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[7] การเป็นบุคคลไร้ความสามารถเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เรื่องศาลมีคำสั่งให้ หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของผานิช นิลอุบล[8] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
รางวัล
อ้างอิง
|