หลวงโกษา (ยัง) |
---|
|
ผู้รักษาเมืองพระพิษณุโลก |
---|
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2312 – พ.ศ. 2313 |
เจ้าเมืองพิจิตร |
---|
ดำรงตำแหน่ง ไม่ปรากฏ – 7 เมษายน พ.ศ. 2310 |
กษัตริย์ | สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ |
---|
|
|
หลวงโกษา[note 1] มีชื่อเดิมว่า ยัง[3]: 182 [note 2] เป็นเจ้าเมืองพิจิตรในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ นายทหารคนสำคัญของชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) และชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และเป็นผู้พิชิตสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เป็นคนแรกในศึกเกยไชย[5]: 163
ประวัติ
หลวงโกษา (ยัง) ใน พงศาวดารเชียงใหม่ มีบรรดาศักดิ์ว่า พระโกษา[2]: 45 [note 3] เดิมเป็นเจ้าเมืองพิจิตร[7]: 55 ในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เป็นแม่ทัพคนสำคัญ[8]: 68 [9] (บ้างว่าเป็นน้องชาย)[10] ของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ที่คุมทัพพิษณุโลกมาป้องกันกรุงศรีอยุธยาในช่วงสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง หลังจากเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งชุมนุมพิษณุโลก หลวงโกษา (ยัง) ได้เป็นนายทัพมีบทบาทสำคัญในการสู้รับกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เกยไชยจนได้รับชัยชนะนับว่าเป็นผู้พิชิตสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เป็นคนแรก[5]: 163 เมื่อชุมนุมพิษณุโลกถูกผนวกเข้ากับชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ได้เป็นผู้รักษาเมืองพิษณุโลกจนกระทั่งชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) แตกพ่ายให้กับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หลวงโกษา (ยัง) หลบหนีสูญหายไปจากประวัติศาสตร์ในที่สุด
การสงคราม
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
คุมกองทัพพิษณุโลก
เมื่อ พ.ศ. 2308 กองทัพของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) มีรี้พลขับไล่พม่าตั้งแต่หัวเมืองเหนือจนมาถึงวัดภูเขาทองตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ได้ให้พระยาพลเทพกราบทูลถวายบังคมลาแทนตนเพื่อขอไปปลงศพมารดา และขอพระราชทานให้หลวงโกษา (ยัง) หลวงมหาดไทย และหลวงเสนา อยู่คุมทัพพิษณุโลกที่วัดภูเขาทองแทนตน สมเด็จพระเจ้าเอกทัศก็ทรงอนุญาตตามที่ขอ
พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน กล่าวว่า :-
ขณะนั้นเจ้าพญาพิศณุโลก ให้พญาพลเทพกราบทูลพระกรุณาถวายบังคมลากลับขึ้นไปปลงศภมานดา จะฃอให้หลวงมหาดไท หลวงโกษา หลวงเทพเสนา อยู่คุมกองทับ ณะ วัดภูเขาทองแทนตัว ก็ทรงพระกรรุณาโปรดให้กลับไปเมือง[11]
ช่วยเหลือเจ้าฟ้าจีดเข้ายึดเมืองพิษณุโลก
ในระหว่างที่หลวงโกษา (ยัง) อยู่คุมกองทัพพิษณุโลกอยู่นั้น เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ได้ยกทัพไปช่วยรบพม่า ณ เมืองสุโขไทย ส่วนหลวงโกษา (ยัง) คิดอ่านหมายให้เจ้าฟ้าจีด พระบุตรของพระองค์เจ้าดำขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทนเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จึงได้ลักลอบหนีคุมกองทัพไปช่วยเจ้าฟ้าจีดซึ่งต้องโทษอยู่ในพระราชวังหลวง เจ้าฟ้าจีดตัดสินบนผู้คุมขัง และทรงรวบรวมพรรคพวกรวมทั้งหม่อมเจ้าหญิงฉิม พระธิดา ให้หลวงโกษา (ยัง) ไปรับที่ค่ายภูเขาทองแล้วพากันหนีขึ้นไปยังเมืองพิษณุโลก ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งข้าหลวงไปตามจับหลายนายแต่ไม่ทัน (พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า เฉพาะกองทัพของหลวงโกษา (ยัง) เท่านั้นที่ยกทัพกลับไปเมืองพิษณุโลก ในขณะที่พระราชพงศาวดารฉบับอื่นกล่าวว่าทัพพิษณุโลกทั้งหมดเลิกทัพกลับไปพร้อมกัน)
เมื่อพวกเจ้าฟ้าจีดมาถึงจึงได้เข้ายึดเมืองพิษณุโลกและเผาจวนเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ทิ้งเสีย ท่านผู้หญิงเชียง ภริยาของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ทราบข่าวจึงแอบล่องเรือไปเมืองสุโขไทยหมายจะบอกข่าวให้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เมื่อเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ทราบข่าวก็ต้องเลิกทัพกลางคันแล้วจึงตั้งค่ายรบกับพวกเจ้าฟ้าจีด กระทั่งฝ่ายเจ้าฟ้าจีดปราชัยถูกเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จับถ่วงน้ำจนสิ้นพระชนม์ บรรดาพรรคพวกถูกประหารชีวิตยกเว้นหม่อมเจ้าหญิงฉิม หลวงโกษา (ยัง) คงหนีรอดพ้นไปได้
สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
ศึกที่เกยไชย
เมื่อ พ.ศ. 2311 ปีชวด ราวเดือนตุลาคมฤดูน้ำหลาก (ฤดูฝน) เป็นช่วงพ้นศึกสงครามจากพม่า หลวงโกษา (ยัง) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายทัพของชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ให้ยกทัพไปสกัดกองทัพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเป็นนายทหารผู้มีฝีมือและเป็นผู้ชำนาญชัยภูมิหัวเมืองเหนือ[12]: 89 และขณะนั้นฤดูน้ำหลากจึงทำให้สังเกตเห็นง่ายจึงเป็นชัยภูมิที่ได้เปรียบในการรบ[13]: 60 เมื่อทัพฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมาถึงตำบลเกยไชยเหนือปากน้ำโพ เขตเมืองนครสวรรค์ เรือเร็วฝ่ายหลวงโกษา (ยัง) ซึ่งดักซุ่มอยู่จึงเข้าโจมตีทันทีไม่ทันให้อีกฝ่ายรู้ตัว[12]: 89 กระสุนปืนฝ่ายหลวงโกษา (ยัง) ถูกพระชงฆ์ (หน้าแข้ง) ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับบาดเจ็บ จึงต้องยกทัพกลับไปยังกรุงธนบุรี
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวว่า :-
พระยาพิษณุโลกรู้ประพฤติเหตุ แต่งพลทหารให้หลวงโกษา (ยัง) ยกออกมาตั้งรับ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จนำพลทั้งปวงเข้ารณรงค์ด้วยข้าศึกครั้งนั้น ฝ่ายข้าศึกยิงปืนมาดังห่าฝนต้องพระชงฆ์เบื้องซ้าย เลียบตัดผิวพระมังสะไปจึงให้ลาดทัพกลับยังกรุงธนบุรี[14]
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า :-
เจ้าพระพิษณุโลก (เรือง) ได้ทราบข่าวศึก จึงแต่งให้หลวงโกษา (ยัง) ยกกองทัพลงมาตั้งรับ ได้รบกันเป็นสามารถ ข้าศึกยิงปืนมาต้องพระชงฆ์ข้างซ้าย จึงให้ล่าทัพหลวงกลับมายังกรุงธนบุรี[15]
ฝ่ายหลวงโกษา (ยัง) มีชัยชนะจึงมีรี้พลกลับไปยังเมืองพิษณุโลก
ศึกเมืองพิษณุโลก – สวางคบุรี
เมื่อ พ.ศ. 2312 หลังจากชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ผู้นำชุมนุมคือพระยาไชยบูรณ์ (จัน) ล่มสลายลงจากการเข้าโจมตีของชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) หัวเมืองเหนือใหญ่น้อยก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของเจ้าพระฝาง (เรือน) ทั้งสิ้น เมื่อเมืองพิษณุโลกถูกเข้ายึด เจ้าพระฝาง (เรือน) จึงได้ให้หลวงโกษา (ยัง) อยู่รักษาเมือง
เมื่อ พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้จัดทัพหน้า 2 ทัพ โปรดให้พระยายมราช (บุญมา) ยกพล 5,000 เข้าตีเมืองพิษณุโลกทางทิศตะวันออก และโปรดให้พระยาพิชัยราชา ยกพล 5,000 เข้าตีเมืองทางทิศตะวันตก เจ้าพระฝาง (เรือน) ทราบข่าวศึกจึงได้ให้หลวงโกษา (ยัง) ผู้รักษาเมืองพิษณุโลกเตรียมรับศึก เมื่อทัพหน้าบุกเข้ามาถึงเมืองพิษณุโลกเมื่อวันเสาร์เดือนเก้า แรมสองค่ำ
(8 สิงหาคม พ.ศ. 2313) มีรับสั่งให้ปล้นเมืองพิษณุโลกในคืนนั้นได้เข้าปะทะกับฝ่ายหลวงโกษา (ยัง) เพียงไม่ถึงวันทัพฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้เมืองพิษณุโลก ส่วนหลวงโกษา (ยัง) หลบหนีไปรวบรวมพลตั้งค่ายอยู่ที่บ้านกระโทก (ปากโทก)[8]: 72 เหนือเมืองพิษณุโลกเล็กน้อย หมายจะต่อสู้แต่ไพร่พลฝ่ายหลวงโกษา (ยัง) หนีแตกกระเจิงไปเสียมาก หลวงโกษา (ยัง) จึงทิ้งค่ายแล้วหนีขึ้นไปสมทบกับเจ้าพระฝาง (เรือน) ณ เมืองสวางคบุรี
พระราชพงศาวดารเรื่อง ไทยรบพม่า กล่าวว่า :-
ฝ่ายเจ้าพระฝางรู้ว่ากองทัพกรุงธนบุรียกขึ้นไป จึงให้หลวงโกษายังซึ่งเคยเป็นนายทัพมารบกับพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ตำบลเกยไชย เมื่อครั้งยังเป็นนายทหารของเจ้าพิษณุโลกเรืองนั้นคุมกองทัพลงมาตั้งรับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก กองทัพหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรียกขึ้นไปถึงเมืองพิษณุโลก เมื่อ ณ วันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๒ ค่ำ มีรับสั่งให้ปล้นเมืองในค่ำวันนั้นก็ได้เมืองพิษณุโลก หลวงโกษายังหนีออกจากเมืองไปรวบรวมพลตั้งค่ายหมายจะคอยต่อสู้อยู่ที่บ้านกะโทก แต่ไพร่พลแตกหนีกระจัดกระจายไปเสียมาก หลวงโกษายังเห็นเหลือกำลังก็ทิ้งค่ายหนีกลับขึ้นไปยังเมืองสวางคบุรี[3]: 201
หลังจากฝ่ายกองทัพหน้าของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโดยมีพระยายมราช (บุญมา) และพระยาพิชัยราชาเป็นผู้คุมทัพได้เข้ายึดเมืองพิษณุโลกภายใต้อำนาจของเจ้าพระฝาง (เรือน) ภายในคืนเดียวจนสำเร็จ ฝ่ายทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีรี้พลยกขึ้นไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝาง (เรือน) เข้าสู้รบตีต่อได้ 3 วัน[16]: 266 จึงปราชัยแตกพ่ายให้กับฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระฝาง (เรือน) จึงพาพรรคพวกหนีไปเมืองเชียงใหม่ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า[16]: 266 ส่วนหลวงโกษา (ยัง) หลบหนีจนสูญหายไปจากประวัติศาสตร์ในที่สุด
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า :-
ฝ่ายกองทัพพระยายมราช และพระยาพิชัยราชายกขึ้นไปถึงเมืองสวางคบุรี ก็ให้ตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ และเมืองสวางคบุรีนั้น ตั้งแต่ระเนียดไม้ขอนสักถมเชิงเทินดิน หามีกำแพงไม่ เจ้าพระฝางก็เกณฑ์พลทหารขึ้นรักษาเชิงเทินรอบเมืองยิงปืนใหญ่น้อยต่อรบป้องกันเมือง แต่คิดครั่นคร้ามพระเดชานุภาพเป็นกำลัง[17]
บรรดาศักดิ์
- หลวงโกษา (ยัง)[3]: 182 ศักดินา 5000
- พระโกษา (ยัง)[2]: 45
ตำแหน่งราชการ
- ?? – 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เจ้าเมืองพิจิตร หัวเมืองชั้นตรี
- พ.ศ. 2312 – พ.ศ. 2313 ผู้รักษาเมืองพระพิษณุโลก (ชุมนุมเจ้าพระฝาง)
ทัศนะ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า หลวงโกษา (ยัง) เป็นผู้มีความชำนาญภูมิประเทศหัวเมืองฝ่ายเหนือ[12]: 89 ส่วนนักประวัติศาสตร์ไทยกล่าวถึงหลวงโกษา (ยัง) ว่าเป็นหนึ่งในข้าราชการที่ละทิ้งหน้าที่ระหว่างการทัพ เป็นสาเหตุประการหนึ่งของการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[18]
เถา ศรีชลาลัย กรมศิลปากร ได้วิเคราะห์พฤฒิการณ์ของหลวงโกษา (ยัง) ว่าเป็นศัตรูตัวร้ายของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) นับตั้งแต่เหตุการณ์ลักลอบหนีทัพไปช่วยเหลือกรมขุนสุรินทรสงคราม (เจ้าฟ้าจีด) และคิดไม่ซื่อตรงโดยส่งเสริมกรมขุนสุรินทรสงครามให้ปรปักษ์ต่อเจ้าเมืองพิษณุโลกด้วยการก่อกบฏเข้ายึดเมืองพิษณุโลก บางทีหลวงโกษา (ยัง) อาจยกกรมขุนสุรินทรสงครามเป็นโล่ห์เพื่อประโยชน์ของตนในอนาคตก็อาจเป็นได้ เมื่อเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ถูกหลวงโกษาหักหลังเช่นนั้นก็น่าจะสิ้นความหวังดีต่อหลวงโกษา (ยัง) ครั้นเจ้าฟ้าจีดถูกจับถ่วงน้ำ หลวงโกษาคงแตกไปจากเมืองพิษณุโลก บางทีจะหนีไปพักพิงในในสำนักเจ้าพระฝาง (เรือน) ฝ่ายเจ้าเมืองพิษณุโลกคงยังไม่มีเวลาติดตามไปปราบหลวงโกษา (ยัง) ให้สิ้นฤทธิ์[19]
วัฒนธรรมร่วมสมัย
เรื่องราวของหลวงโกษา (ยัง) ปรากฏในงานวรรณกรรม ละคร และนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เช่น
- นวนิยาย
- สมบัติเจ้าพระฝาง[20] แต่งโดยนวลแสงทอง กล่าวถึงหลวงโกษา (ยัง) หนีไปเข้ากับชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน
- ตากสินมหาราช แต่งโดยแรงเงาและบงกชเพชร กล่าวถึงหลวงโกษา (ยัง) รบที่เกยไชยจนมีชัยชนะเหนือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[22]
- ฉันทลักษณ์
- ลิลิตของ วัลลภิศร์ สดประเสริฐ กล่าวถึงหลวงโกษา (ยัง) ช่วยเหลือเจ้าฟ้าจีดเสด็จหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา
๏ จักกล่าวขับกลับเล่าเจ้าฟ้าจีด
|
|
โปรดให้กีดกันกักตำหนักขัง
|
แต่แผ่นดินท้ายสระละบัลลังก์
|
|
เป็นโทษครั้งปิตุรงค์องค์เจ้าดำ
|
หลวงโกษาผลพิษณุโลก
|
|
อุปโลกน์จงรักภักดีค้ำ
|
จึงแสร้งเสเทถ่ายอุบายทำ
|
|
ลอบนำหนีโทษเป็นโสดมาฯ
|
— ลิลิต, วัลลภิศร์ สดประเสริฐ (2543)[23]
|
- ละคร
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- หมายเหตุ
- ↑ เขียนอีกแบบว่า หลวงโกสา[1][2]: 45
- ↑ ในพงศาวดารไทยมีทั้งชื่อ ผล ชื่อ ยัง หรือ ฝัง[3]: 109 แต่เข้าใจว่าชื่อ ยัง จะถูกต้อง[4]
- ↑ พงศาวดารไทย เขียนเชิงอรรถไว้ว่า "พงศาวดารเชียงใหม่ว่ากองทัพพระโกษายกขึ้นไปประชิด ดังนั้นคงจะเป็นทัพหลวงโกษา (ยัง) เมื่อแตกหนีไปจากเมืองพิษณุโลก"[6]
- เชิงอรรถ
- ↑ ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. (2488). พระราชพงสาวดารกรุงสรีอยุธยา ฉบับความสมเด็ดกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เล่ม ๓. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์. 137 หน้า. หน้า 507.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 คณะกรรมการจัดงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประจำปี ๒๕๓๕. (2535). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและบริเวณถนนลาดหญ้า วันที่ ๒๗ – ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 189 หน้า. ISBN 978-974-4-17275-4
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๖ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖). พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, 2506.
- ↑ สมบัติ พลายน้อย. (2517). สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น. 508 หน้า. หน้า 76.
- ↑ 5.0 5.1 เชาวน์ รูปเทวินทร์. (2523). "การปราบก๊กต่างๆ", ใน ย่ำอดีต ชุด ๓: พระราชวีรกรรมอันหาญกล้า "ท่านบุญมา พระยาเสือ" เล่ม ๑ ภาคธนบุรี. กรุงเทพฯ: ทิพย์อักษร. 380 หน้า.
- ↑ คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี. (2542). ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๓. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 608 หน้า. หน้า 497.
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2494). ไทยรบพม่า เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา. 544 หน้า.
- ↑ 8.0 8.1 ธีระวัฒน์ แสนคำ และคณะ (2564, สิงหาคม). เมืองสวางคบุรี : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชุมชนโบราณริมฝั่งแม่น้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์. เก็บถาวร 2021-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม. 120 หน้า. ISBN 978-616-543-722-6
- ↑ ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2559). ศึกเจ้าพระฝาง เมื่อพระเจ้าตากสินปราบ “พวกสงฆ์อลัชชี” ที่เมืองสวางคบุรี. ศิลปวัฒนธรรมออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2566.
- ↑ ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง. (2547). เมืองยั่งยืนในสังคมไทย: แนวคิดและประสบการณ์ของน่านและพิษณุโลก (Sustainable Cities in Thailand : Cases of Nan and Phitsanulok). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 334.
- ↑ ศานติ ภักดีคำ (บก.), สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (เผยแพร่). (2558). พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. มูลนิธิ "ทุนพระพุทธยอดฟ้า" ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 558 หน้า. หน้า 334. ISBN 978-616-92351-0-1
- ↑ 12.0 12.1 12.2 สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2525). เอกสารประกอบการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ไทย ๑ สมัยธนบุรี. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 376 หน้า.
- ↑ ชนม์สวัสดิ์ ชมพูนุท, หม่อมราชวงศ์. (2516). วีรกรรมนักรบไทย. กรุงเทพฯ: พิทยาคาร. 344 หน้า.
- ↑ กรมศิลปากร. (2480). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ โปรดพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพนายพันเอก พระยาสิริจุลเสวก (พัว จุลเสวก) ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐. พระนคร: โรงพิมพ์เดลิเมล์. 196 หน้า. หน้า 24.
- ↑ พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา ภาค ๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเปนส่วนพระกุศลทานมัยในงานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น ๓) กรมหลวงวรเสฐสุดา พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัญญา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกย์ลักษณวดี. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 2455. หน้า 31.
- ↑ 16.0 16.1 พินิจ จันทร และคณะ. (2565). ย้อนประวัติศาสตร์ ๔๑๗ ปี อยุธยา ๓๓ ราชัน ผู้ครองนคร. กรุงเทพฯ: เพชรพินิจ. 288 หน้า. ISBN 978-616-5784-79-5
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2511). พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพ: [ม.ป.พ.]. หน้า 630.
- ↑ เพลิง ภูผา. (2557). รัฐประหารยึดบัลลังก์กษัตริย์บนแผ่นดินอยุธยา. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยา. 192 หน้า. หน้า 190. ISBN 978-616-1521-60-8
- ↑ กรมศิลปากร. (2480). "เอกสารสำคัญทางประวัติ: บันทึกท้ายประวัติเจ้าพระยาสวรรคโลก ของ เถา ศรีชลาลัย", วารสารศิลปากร, 1(2), (สิงหาคม 2480):127.
- ↑ นวลแสงทอง (ประโพธ เปาโรหิตย์). (2533). สมบัติเจ้าพระฝาง. กรุงเทพฯ: โลกทิพย์. 343 หน้า.
- ↑ วิจิตรวาทการ, พลตรี หลวง. (2514). กรุงแตก. กรุงเทพฯ: เสริมวิทย์บรรณาคาร. 240 หน้า.
- ↑ ปฐมพงษ์ สุขเล็ก. (2560). การเมือง เรื่องเล่า พระเจ้าตาก หลัง ๒๔๗๕. กรุงเทพฯ: มติชน. 254 หน้า. ISBN 978-974-0-21552-3
- ↑ วัลลภิศร์ สดประเสริฐ. (2543)."ลิลิต", นิตยสารพลอยแกมเพชร, 9(197). กรุงเทพฯ: ศีสารา. หน้า 55–56.
- ↑ ศุภร บุนนาค. (2534). ฟ้าใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สามัญชน. 976 หน้า. ISBN 974-887-171-1