หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (30 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 – 13 เมษายน พ.ศ. 2559) อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด อดีตตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด อดีตรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตอาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อดีตอาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ อาจารย์พิเศษประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1]เคยเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมทั้งเป็นกรรมการร่วมยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาทางปกครอง ประวัติผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล สมรสกับ นัยนา วิฑิตวิริยกุล มีบุตร ธิดา 3 คน ได้แก่ ณัฐพร วิฑิตวิริยกุล ณัฐรินทร์ วิฑิตวิริยกุล และณัฐพงศ์ วิฑิตวิริยกุล หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล จบการศึกษา มัธยมศึกษา โรงเรียนวัดสระเกศ ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และปริญญาเอกมหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้รับพระราชทานปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556 ประธานศาลปกครองสูงสุดมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล เป็นตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 พ้นจากตำแหน่งโดยถูกลงโทษให้ออกจากราชการ ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558 การทำงานหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ซึ่งเขามีส่วนในการตัดสินคดีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องจากเขาเป็นตุลาการเสียงข้างมากที่มีมติให้คำสั่งย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย[2] โดยให้มีคำสั่งคุ้มครองย้อนไปในอดีตตั้งแต่ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้ ไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภาสรรหา ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[3]ภายหลังจากการตัดสินคดีนี้ ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มนปช. และนักการเมืองพรรคเพื่อไทย นอกจากนั้น เขาเคยมีส่วนในการตัดสิน คดีเขาพระวิหาร โดยมีมติเสียงข้างมากถอดถอนมติคณะรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช[4]และ คดีมาบตาพุด โดย โภคิน พลกุล[5]อดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด แสดงความเห็นว่าศาลมีอคติ และสนับสนุนการล่ารายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[6] ทั้งนี้สื่อมวลชนรายงานว่ารัฐบาลในขณะนั้นพยายามแทรกแซงตุลาการศาลปกครองโดยพยายามเสนอชื่อ ชาญชัย แสวงศักดิ์ ที่มีความใกล้ชิดกับ โภคิน พลกุล เนื่องจากเป็น เพื่อนที่ทำงานที่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้วยกัน เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดแทน[7] โดยในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 ในระหว่างที่รัฐบาลประกาศ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ได้แถลงประณาม หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด[8]กรณีจดหมายของ ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการศาลปกครอง กรณีฝากตำแหน่งนายตำรวจยศ พันตำรวจโท ชูธเรศ ยิ่งยงดำรงสกุล ซึ่งเป็นกรณีไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ออกมาตำหนิศาลปกครองในฐานะตัวแทน คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60 และใน วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557 เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ในฐานะตัวแทนพรรคเพื่อไทย ได้ยื่นเรื่องให้ตรวจสอบจริยธรรม หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล และ ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม[9]กับผู้ตรวจการแผ่นดิน ก่อนนำไปสู่ กรณีคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองสั่งพักราชการในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558[10]และสั่งปลด หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558 ส่งผลให้เขาพ้นจากตำแหน่งโดยการลงโทษให้ออกจากราชการ กรณีดังกล่าวเป็นที่กรณีที่ได้รับความสนใจมากเนื่องจากโทษปลดออกจากราชการนั้นร้ายแรงมาก และมีข้อสังเกตจาก นักกฎหมาย อาทิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิตติศักดิ์ ปรกติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่า อดีตประธานศาลปกครองไม่มีความผิด แต่เป็นแค่ความเชื่อว่าเขาผิด เนื่องจาก ถ้อยแถลงของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองที่ว่า แม้ไม่ปรากฏชัดว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้มอบหมายให้เลขาธิการไปวิ่งเต้นให้นายตำรวจ แต่อ้างพยานหลักฐาน ซึ่งเห็นว่า มีส่วนรับทราบและรู้เห็นเป็นใจนั้น เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสงสัย มันกลายเป็นตัดสินว่าแม้เขาไม่ได้กระทำผิด แต่เราเชื่อว่า คุณผิด และมีความพยายามถ่วงเวลาในการตรวจสอบตามวินัยจากปกติใช้เวลาตรวจสอบ 60 วัน เป็น 180 วัน[11] วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ฟ้องร้องคดีอาญาตุลาการศาลปกครองสองราย ได้แก่ ชาญชัย แสวงศักดิ์ และ วิษณุ วรัญญู วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 มีการตั้งคณะกรรมการสอบวินัย กรณีถูกกล่าวหาว่าขณะดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด มีพฤติกรรมใช้รถยนต์ส่วนกลางไม่ชอบด้วยระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2544[12] ในขณะที่ ศาสตราจารย์ วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ให้สัมภาษณ์ว่าเขาเอือมระอาความขัดแย้งในองค์กรศาลปกครองมาก กล่าวตอนหนึ่งว่า ผมว่า ก่อนที่จะตำหนิคนอื่นเขา คณะกรรมการศาลปกครอง พิจารณาตัวเองซะก่อนดีไหม ว่าตัวเองดีพอหรือยัง มันไม่สง่างามหรอก ถ้าคุณเคยทำ แล้วก็ไปติเตียนเขา คุณต้องอยู่เฉยๆ แล้วปล่อยให้คนที่เขาไม่เคยทำจดหมายน้อยเป็นคนติเตียน แบบนั้นจึงสวย คุณอยากรู้ไหมว่า ในศาลปกครอง มีจดหมายน้อยกี่ใบ ซึ่งเป็นการออกมาสัมภาษณ์ว่าตุลาการศาลปกครองคนอื่นก็เคยทำผิดในลักษณะเดียวกัน หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ยังมีจุดยืนว่า คณะกรรมการศาลปกครองควรพ้นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เนื่องจากเกิด รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล แสดงความคิดเห็นว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยและพรรคพลังประชาชน มีความไม่พอใจเขาการในการตัดสิน คดีมาบตาพุด จนนำมาสู่การที่ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60 ให้ ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ออกมาตำหนิเขาและเรื่องจดหมายน้อยนั้น เขาไม่ทราบเรื่อง และเป็นเรื่องที่ ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม กระทำเมื่อ 1 ปีที่แล้ว เขาให้สัมภาษณ์ลงหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพว่า เรื่องนี้ตลกมาก มติศาลปกครองในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับฟ้องกรณี พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ฟ้อง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[13] ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งคืนตำแหน่ง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ จาดุร อภิชาตบุตร[14] ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 17/2552 ลงวันที่ 20 มกราคม 52 ที่แต่งตั้งพีรพล ไตรทศาวิทย์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ และให้คืนสิทธิประโยชน์ที่พีรพล จะได้รับในตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยให้เสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันคดีถึงที่สุด กรณีที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สั่งย้าย[15] เสียชีวิตก่อนที่ หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล จะเสียชีวิต ได้มีการลงโทษไล่ออกจากราชการส่งผลให้เขาไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ สูญเสียเงินบำเหน็จ บำนาญ และเงินเดือนในช่วงสั่งพักราชการตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558 ภายหลังจากนั้น เขาเข้ารักษาตัวด้วยโรคมะเร็งที่โรงพยาบาลศิริราช เขาเปิดเผยว่า ตุลาการศาลปกครองได้โทรศัพท์มาแจ้งว่า เขาไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ และ หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล เสียชีวิตที่โรงพยาบาลศิริราช เวลา 10.00 น. วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559 รวมอายุ 67 ปี บำเพ็ญกุศล ที่วัดเทพศิรินทราวาส ศาลา 14 โดยมีศาสตราจารย์ อักขราทร จุฬารัตน อดีตประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธานในพิธี พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรมศพ หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ในพระบรมราชานุเคราะห์ 3 วัน ระหว่างวันที่ 16 - 18 เมษายน พ.ศ. 2559 พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โกศ 8 เหลี่ยมพร้อมฉัตรเบญจา และปี่กลองชนะบรรเลงในพิธีน้ำหลวงอาบศพ ปิยะ ปะตังทาและอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าร่วมพิธีน้ำหลวงอาบศพ และพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559[16] ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|