เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ (เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ. 2504) เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ด้วยการสรรหา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประวัติเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นบุตรของนายสุขุม และนางจารุวรรณ ลีกิจวัฒนะ จบการศึกษามัธยมจากโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ(บัญชี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโทบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัวสมรสกับนางอโนทัย ลีกิจวัฒนะ มีบุตร 2 คน การทำงานเรืองไกรเป็นที่รู้จักเป็นครั้งแรกของสังคมด้วยการปรากฏเป็นข่าวในต้นปี พ.ศ. 2549 ว่า กรมสรรพากรได้คืนเช็คให้แก่นายเรืองไกร แต่นายเรืองไกรไม่ได้ไปขึ้นเงิน เพราะเป็นกรณีเปรียบเทียบกับกรณีที่กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปได้ ซึ่งนายเรืองไกร ซื้อหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ต่อจากบิดาในราคา 10 บาท จากราคาตลาด 21 บาท ต้องเสียภาษี แต่กรณีของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์กลับไม่ต้องเสียภาษี และนายเรืองไกรยังได้ยื่นฟ้องร้องเรื่องการที่กรมสรรพากรกระทำการนี้ด้วยสองมาตรฐานอีกด้วย จากกรณีนี้ทางฝ่ายพรรคไทยรักไทยและกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวหาว่า นายเรืองไกรมีความสนิทสนมกับคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งฝ่ายที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ตรงข้ามกับฝ่ายตน หลังจากนั้น นายเรืองไกรได้สมัครลงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยได้หมายเลข 222 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง นายเรืองไกรได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในแบบสรรหา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งนายเรืองไกรจัดอยู่ในกลุ่ม 40 สว. หลังจากนั้น ชื่อของนายเรืองไกรปรากฏเป็นข่าวอีกในเดือนพฤษภาคม ว่าได้ยื่นฟ้องร้อง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่าการจัดรายการโทรทัศน์ชิมไป บ่นไป ทางช่อง 3 เป็นการผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ตัดสินให้นายสมัครพ้นจากตำแหน่ง
ในปี พ.ศ. 2561 เขาสมัครเป็นสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ และต่อมาหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็น เลขานุการคณะกรรมาธิการ ในปี พ.ศ. 2564 เขาสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[7] ต่อมา มกราคม พ.ศ. 2565 เขาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐสืบเนื่องมาจากพรรคถอนออกจากร่วมรัฐบาล [8] และ กลับเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกใหม่อีกรอบเมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2565[9] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |