Share to:

 

อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์

อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 ตุลาคม พ.ศ. 2474 (93 ปี)
จังหวัดอุบลราชธานี
พรรคการเมืองชาติไทย
กิจสังคม
ชาติพัฒนา
ไทยรักไทย
พลังประชาชน
เพื่อไทย
พลังประชารัฐ
คู่สมรสเกศสุดา โภคกุลกานนท์

นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 8 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518

ประวัติ

นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ที่ตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายลิบคือ กับนางพวง แซ่ก๊วย[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต จากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี

ทางด้านครอบครัวได้สมรสกับ นาง เกศสุดา โภคกุลกานนท์ มีบุตรชายคือ นาย เชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต 7 (อำเภอโขงเจียม อำเภอตาลสุม อำเภอดอนมดแดง อำเภอเมืองอุบลราชธานี (เฉพาะตำบลกระโสบและตำบลกุดลาด) และอำเภอศรีเมืองใหม่ (ยกเว้นตำบลนาเลินและตำบลหนามแท่ง) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

การทำงาน

นายอดิศักดิ์ เคยเป็นกำนันตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคชาติไทยและได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องมาหลายสมัย และหลายสังกัดพรรคการเมืองได้แก่ พรรคกิจสังคม พรรคชาติพัฒนา พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย[2] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย นอกจากนั้นนายอดิศักดิ์ ยังเคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2548

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 95[3]

กระทั่ง พ.ศ. 2561 นายอดิศักดิ์ได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับนาย สุพล ฟองงาม อดีตเลขาธิการ พรรคเพื่อไทย และนาย เชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ผู้เป็นบุตรชายของนายอดิศักดิ์ และในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 38[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ[ลิงก์เสีย]
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  4. เปิดชื่อ 120 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ หลังผู้มีอำนาจใน รบ.ทุบโต๊ะเปลี่ยนเบอร์ 1
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
Kembali kehalaman sebelumnya