Share to:

 

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557

← พ.ศ. 2554 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2562 →

ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน43,024,042
ผู้ใช้สิทธิ47.72% (ลดลง 21.31 จุด)

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เพื่อไทย

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

โมฆะ[a]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 25 และเป็นครั้งสุดท้ายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 หลังการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556[1]

คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ต่อต้านการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าต้องการปฏิรูปการเมืองก่อนมีการเลือกตั้ง[2][3] และได้ขัดขวางหน่วยเลือกตั้งในบางท้องที่ของกรุงเทพมหานครและภาคใต้จนไม่สามารถเปิดให้ลงคะแนนได้[4][5] ซึ่งส่งผลให้คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ได้และจะจัดให้มีการเลือกตั้งชดเชยในเขตที่เลือกตั้งไม่ได้[6] นอกจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองพรรคเดียวที่คว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้[7]

ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเปิดเผยจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศแบบไม่เป็นทางการในวันที่ 2 กุมภาพันธ์คิดเป็นร้อยละ 45.84[8] มีกำหนดการเลือกตั้งชดเชยในวันที่ 1-2 มีนาคม 2557

วันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดให้เลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย[9] หลังจากนั้นวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ดำเนินต่อไปจนกระทั่งลงเอยด้วยรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

เบื้องหลัง

หลังพรรคเพื่อไทย พรรครัฐบาล พยายามผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ฝ่ายค้านกล่าวหาว่าพยายามนำอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ผู้ลี้ภัยหลังการกล่าวหาละเมิดอำนาจ กลับประเทศ ต่อมา เกิดการประท้วง ซึ่งรวมข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและให้ตระกูลชินวัตรเลิกเกี่ยวข้องกับการเมืองไทย หลังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ลาออกทั้งหมด วันที่ 9 ธันวาคม ยิ่งลักษณ์แถลงทางโทรทัศน์ว่า เธอขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภา พ.ศ. 2556 เพื่อให้ชาวไทยยุติวิกฤตการณ์[10] อย่างไรก็ดี สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำการประท้วงต่อต้านรัฐบาล กล่าวว่า การประท้วงจะดำเนินต่อไปจนกว่าจะบรรลุข้อเรียกร้อง รวมทั้งการจัดตั้ง "สภาประชาชน" ที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง เขากล่าวว่า "การยุบสภาไม่ใช่เป้าหมายของเรา"[11] ยิ่งลักษณ์ยังกล่าวว่าเธอจะไม่ลาออกก่อนหน้าการเลือกตั้ง[12]

การรณรงค์ต่อต้านการเลือกตั้ง

วันที่ 31 มกราคม สุเทพประกาศว่า หน่วยเลือกตั้งจะสามารถเปิดทำการได้สำหรับการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ตามปกติ ทว่า แหล่งข้อมูลยังว่า สุเทพเชื่ออย่างแรงกล้าว่า วันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะเป็นโมฆะเพราะปัญหากฎหมายหลายอย่างที่จะเกิดตามมา[13]

รูปแบบการเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน เป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน[14]

ระบบบัญชีรายชื่อ

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ หมายเลขผู้สมัครที่จับในระบบบัญชีรายชื่อจะใช้กับระบบแบ่งเขตเลือกตั้งด้วย แต่ละพรรคจะใช้หมายเลขเดียวกันทั้งสองระบบทั่วประเทศ หมายเลขที่แต่ละพรรคจับได้มีดังนี้

หมายเลข พรรค
1 ชาติพัฒนา
2 ถิ่นกาขาว
3 รักประเทศไทย
4 พรรคเสรีนิยม
5 สหกรณ์ประชาธิปไตย
6 พรรคภูมิใจไทย
7 พรรคภราดรภาพ
8 พรรคพลังประชาธิปไตย
9 พรรคเพื่อสันติ
10 พรรคชาติสามัคคี
11 พรรคพลังประเทศไทย
12 พรรคประชาสามัคคี
13 พรรคกสิกรไทย
14 พรรคชาติไทยพัฒนา
15 พรรคเพื่อไทย
16 แทนคุณ
17 พลังเครือข่าย
18 พรรคครูไทย
19 มหารัฐพัฒนา
20 พลังไทย
21 ยางพาราไทย
22 ดำรงไท
23 พรรครักษ์สันติ
24 ประชาธิปไตยใหม่
25 ชาติก้าวหน้า
26 พรรคเมืองไทยของเรา
27 พรรคชาวนา
28 พรรคพลังไทยรักชาติ
29 พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย
30 พรรครักไท
31 พรรคเสียงประชาชน
32 พรรคคนขอปลดหนี้
33 พรรคประชาสันติ
34 พรรคอาสาสมัครไทย
35 พรรคเพื่อชีวิตใหม่
36 พรรคประชากรไทย
37 พรรคสร้างไทย
38 พรรคประชาธรรม
39 พรรคเพื่อประชาชนไทย
40 พรรคพัฒนาคุณภาพชีวิต
41 พรรคพลังชล
42 พรรคเพื่อประชาธิปไตย
43 พรรคมาตุภูมิ
44 พรรคชาติไทยสามัคคี
45 พรรคประชาราษฎร์
46 พรรคธรรมาภิบาล
47 พรรคเพื่อชาติ
48 พรรคเพื่อธรรม
49 พรรคพลังคนกีฬา
50 พรรคเงินเดือนประชาชน
51 พรรคมหาชน
52 พรรคไทยรักธรรม
53 พรรคเพื่อแผ่นดิน
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง [15] บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน บัตรเสีย ผู้มาใช้สิทธิ ผู้ไม่มาใช้สิทธิ จังหวัดผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด จังหวัดผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุด
43,024,042 คน
(100.00%)
3,426,080 คะแนน
(16.69%)
2,458,461 ใบ
(11.97%)
20,530,359คน
(47.72%)
22,494,427 คน
(52.28%)
จ.เชียงใหม่ 827,808 คน
(75.05%)
จ.นครศรีธรรมราช 1,302 คน
(0.11%) *
* หมายเหตุ: ไม่มีข้อมูลเนื่องจากสามารถเปิดให้ลงคะแนนได้ 3 เขต จากทั้งหมด 9 เขต[ต้องการอ้างอิง]

เขตเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยครั้งนี้ แบบแบ่งเขตลงคะแนนแบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" คือ แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 375 เขต โดยให้แต่ละเขตมีจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ดังนั้น ในแต่ละเขตจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คนอย่างเท่าเทียมกัน และผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งสามารถเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว

นอกจากนั้น มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเขตเลือกตั้งจากครั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี พ.ศ. 2554 ใน 2 จังหวัด ได้แก่จังหวัดนนทบุรีที่เดิมมี 6 เขตเลือกตั้ง เพิ่มเป็น 7 เขตเลือกตั้ง และจังหวัดสุโขทัยเขตเลือกตั้งลดลงจาก 4 เขตเลือกตั้ง เป็น 3 เขตเลือกตั้ง [16] [17]

แต่ละจังหวัด มีจำนวนเขตเลือกตั้งดังต่อไปนี้ [18]

จำนวนเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด (สำหรับการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2557)
พื้นที่ จำนวน
กรุงเทพ 33
นครราชสีมา 15
อุบลราชธานี 11
เชียงใหม่, ขอนแก่น 10
อุดรธานี, นครศรีธรรมราช และบุรีรัมย์ 9
ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ, สุรินทร์ และสงขลา 8
ชัยภูมิ, เชียงราย,นนทบุรี,สมุทรปราการ สกลนคร 7
นครสวรรค์, สุราษฎร์ธานี, ปทุมธานี, เพชรบูรณ์ และกาฬสินธุ์ 6
กาญจนบุรี, นครปฐม, พระนครศรีอยุธยา, พิษณุโลก, มหาสารคาม, ราชบุรี และสุพรรณบุรี 5
กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, ตรัง, นครพนม, นราธิวาส, ปัตตานี, ระยอง, ลพบุรี, ลำปาง, เลย และสระบุรี 4
กระบี่, จันทบุรี, ชุมพร, ตาก, น่าน, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, อุตรดิตถ์, เพชรบุรี , แพร่, ยโสธร, ยะลา, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สุโขทัย, หนองคาย และหนองบัวลำภู 3
ชัยนาท, ภูเก็ต, มุกดาหาร, ลำพูน, สตูล, อ่างทอง, อำนาจเจริญ, อุทัยธานี และบึงกาฬ 2
ตราด, นครนายก, พังงา, แม่ฮ่องสอน, ระนอง, สิงห์บุรี และสมุทรสงคราม 1

การย้ายเข้าสังกัดพรรค

อนึ่ง การเลือกตั้งครั้งนี้ อดีตกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี จากพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย (บ้านเลขที่ 111 บ้านเลขที่ 109) ได้รับสิทธิทางการเมืองกลับคืนมาทั้งหมด

พรรคเพื่อไทย

  1. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตรัฐมนตรีหลายสมัย สมาชิกบ้านเลขที่ 111
  2. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน อดีตรัฐมนตรี สมาชิกบ้านเลขที่ 109
  3. นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย
  4. นายอนุชา นาคาศัย สมาชิกบ้านเลขที่ 111 สามีนางพรทิวา นาคาศัย ส.ส. ชัยนาท พรรคภูมิใจไทย
  5. นางนันทนา สงฆ์ประชา ส.ส. ชัยนาท พรรคภูมิใจไทย
  6. นายมานิต นพอมรบดี ส.ส. ราชบุรี พรรคภูมิใจไทย
  7. นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา สมาชิกบ้านเลขที่ 109
  8. นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส. ราชบุรี พรรคภูมิใจไทย
  9. นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล ส.ส. สุโขทัย พรรคภูมิใจไทย
  10. นายมนู พุกประเสริฐ ส.ส. สุโขทัย พรรคภูมิใจไทย
  1. นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร ส.ส. ราชบุรี
  2. นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส. นครนายก
  3. นายประนอม โพธิ์คำ ส.ส. นครราชสีมา[19]
  4. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ส.ส. นครราชสีมา
  5. นายแพทย์โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย ส.ส. ชัยภูมิ
  6. นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ สมาชิกบ้านเลขที่ 111 สามีนางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส. ศรีสะเกษ
  1. นางปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. ราชบุรี[20]
  2. นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส. พระนครศรีอยุธยา[21]
  1. นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ส.ส. นครราชสีมา[22]
  1. นายมุข สุไลมาน อดีต ส.ส. ปัตตานี
  2. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ อดีต ส.ส. นราธิวาส
  3. นายนัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส. นราธิวาส
  1. นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรี
  2. วันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตประธานสภาผู้แทนราษฏร
  3. นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ อดีต ส.ส. ศรีสะเกษ
  4. นายอุดร ทองประเสริฐ อดีต ส.ส. อุบลราชธานี

พรรคชาติไทยพัฒนา

  1. นายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  2. นายเอกภาพ พลซื่อ อดีต ส.ส. ร้อยเอ็ด
  3. นางรัชนี พลซื่อ อดีต ส.ส. ร้อยเอ็ด
  4. นายรณฤทธิชัย คานเขต อดีต ส.ส. ยโสธร
  5. นายอลงกต มณีกาศ อดีต ส.ส. นครพนม
  1. นายอนุมัติ ซูสารอ ส.ส. ปัตตานี
  • อดีตสมาชิกพรรคภูมิใจไทย
  1. นายศุภรักษ์ ควรหา อดีต ส.ส. สุรินทร์

พรรคชาติพัฒนา

  1. นายนคร มาฉิม ส.ส. พิษณุโลก
  1. นายปัญญา จีนาคำ อดีต ส.ส. แม่ฮ่องสอน

การเพิกถอนการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ถูกเพิกถอน หลังจากกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์วิชากฎหมายสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอว่า ควรยกเลิกการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจยื่นคำร้องเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายเท่านั้น ไม่อาจยื่นคำร้องเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้ ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแทน โดยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557[27][28]

ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงหกต่อสามว่า เมื่อพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่การเลือกตั้งไม่สามารถแล้วเสร็จทั่วประเทศภายในวันดังกล่าวได้ พระราชกฤษฎีกาจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ที่กำหนดให้การเลือกตั้งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย[29][30][31]

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 ศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งแถลงภายหลังการประชุมร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถึงแนวปฏิบัติภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไม่ถือว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ (หรือเสมือนไม่เคยเกิดขึ้น) แต่ถือว่าการเลือกตั้งได้เกิดขึ้นแล้ว 1 ครั้ง [32]

เชิงอรรถ

  1. หลังการเลือกตั้ง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรรักษาการนายกรัฐมนตรีต่อจนถูกตัดสินให้พ้นจากตำแหน่งในคดีโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรี

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐, ตอน ๑๑๕ ก, ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖, หน้า ๑-๒
  2. "Academics brand people's council 'fascism'". The Bangkok Post. 6 February 2013. สืบค้นเมื่อ 13 January 2014.
  3. "Thailand's anti-democracy protests should provoke a harsh rebuke from the U.S." The Washington Post. 6 February 2014. สืบค้นเมื่อ 22 January 2014.
  4. กปปส.ขวางเขตดินแดง กระจายหีบ-บัตรเลือกตั้งไม่ได้ ′บางกะปิ′ 25 หน่วยเลือกตั้งเอกชนไม่ให้ใช้พื้นที่, ประชาชาติธุรกิจ, 6 กุมภาพันธ์ 2557
  5. เลือกตั้งใต้ป่วน!กปปส.ยังล้อมสถานที่เก็บบัตรเลือกตั้ง[ลิงก์เสีย], โพสต์ทูเดย์, 6 กุมภาพันธ์ 2557
  6. กกต.ยังไม่ประกาศผลเลือกตั้งรอรวมคะแนนหลัง23ก.พ[ลิงก์เสีย], โพสทูเดย์, 6 กุมภาพันธ์ 2557
  7. 'มาร์ค'แจงยิบมติปชป.ไม่ลงเลือกตั้ง เหตุการเมืองล้มเหลว, ไทยรัฐ, 6 กุมภาพันธ์ 2557
  8. เปิดยอดผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง68จังหวัด[ลิงก์เสีย], โพสต์ทูเดย์, 4 กุมภาพันธ์ 2557
  9. เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ เก็บถาวร 2015-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มติชน. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2557.
  10. Peel, Michael (2013-12-09). "Snap poll fails to halt Thailand street protests". FT.com. สืบค้นเมื่อ 2014-01-23.
  11. "Thai prime minister calls early elections". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2014-01-23.
  12. "Thai PM refuses to step down". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2014-01-23.
  13. "Suthep says protesters will not blockade polling units on February 2". Asian Inter Law News. 31 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 1 February 2014.
  14. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2011-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๑๓ก, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑
  15. สถิติเลือกตั้ง 2557 อย่างเป็นทางการ คนใช้สิทธิ์ 20 ล้าน โหวตโนพุ่ง 16.69%
  16. เดลินิวส์. "กกต.ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละจังหวัดแล้ว" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2556. 21 ธันวาคม 2556.
  17. ทำความรู้จัก375เขต. เดลินิวส์. (13 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จานวนราษฎร จำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดและท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง, เล่ม ๑๓๐, ตอน ๑๑๙ ก, ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖,
  19. "พท.คึก!วางตัว ส.ส. อีสาน "แม้ว"ส่งคนประกบจับตาใกล้ชิด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-12-22.
  20. “ตือ” ท่องบทเลือกตั้ง จี้สองฝ่ายเจรจา ชูนโยบายปรองดอง ปฏิรูปประเทศ - “ปารีณา” ลาออกซบ พท.[ลิงก์เสีย]
  21. พท.หวัง"เกื้อกูล"ช่วยได้สส.อยุธยายกจังหวัด[ลิงก์เสีย]
  22. ‘วรรณรัตน์’ยันชาติพัฒนาเดินหน้าลต. พร้อมลงสัตยาบันปฏิรูปปท. ‘พลพีร์’ หนีซบพท.อีกคน
  23. "'วาดะห์'ลงสมัครส.ส. 5เขต3จ.ชายแดนใต้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-22. สืบค้นเมื่อ 2013-12-22.
  24. 'พินิจ' ปัดย้ายพรรค ซบ 'ชาติไทยพัฒนา'
  25. ชทพ.ปฐมนิเทศว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เน้นหาเสียงสร้างสามัคคี[ลิงก์เสีย]
  26. สุนารี ราชสีมา - นคร มาฉิม สวมเสื้อชาติพัฒนา ลงสมัครสส.
  27. "ผู้ตรวจการแผ่นดินชงคำร้อง "กิตติพงศ์" อาจารย์นิติ มธ. ให้ศาล รธน. วินิจฉัยเลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ". Bangkok Biz News. 2014-03-06. สืบค้นเมื่อ 2014-03-23.[ลิงก์เสีย]
  28. "สับคำวินิจฉัย ตลก. 'โมฆะ' 'นอก รธน.' 'นำสู่ความรุนแรง'". Prachatai. 2014-03-23. สืบค้นเมื่อ 2014-03-23.
  29. "มติศาล รธน. 6 ต่อ 3 ชี้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ". Manager. 2014-03-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-22. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.
  30. "Court voids Feb 2 general election". Bangkok Post. 2014-03-21. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.
  31. Amy Sawitta Lefevre (2014-03-21). "Thailand in limbo after election annulled; economy suffering". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-22. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.
  32. เลือกตั้ง2กพ.ไม่โมฆะ! กกต.เผยทีมกม.ชี้คำวินิจฉัยศาลรธน.ระบุแค่ขัดรธน.. มติชน. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2557.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya