Share to:

 

อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค
(Cholera)
ชื่ออื่นAsiatic cholera, epidemic cholera[1]
ผู้ป่วยอหิวาตกโรคมีภาวะขาดน้ำรุนแรง เห็นได้จากมีตาลึกโหล มือเหี่ยวแห้ง
สาขาวิชาInfectious disease
อาการLarge amounts of watery diarrhea, vomiting, muscle cramps[2][3]
ภาวะแทรกซ้อนDehydration, electrolyte imbalance[2]
การตั้งต้น2 hours to 5 days after exposure[3]
ระยะดำเนินโรคA few days[2]
สาเหตุVibrio cholerae spread by fecal-oral route[2][4]
ปัจจัยเสี่ยงPoor sanitation, not enough clean drinking water, poverty[2]
วิธีวินิจฉัยStool test[2]
การป้องกันImproved sanitation, clean water, hand washing, cholera vaccines[2][5]
การรักษาOral rehydration therapy, zinc supplementation, intravenous fluids, antibiotics[2][6]
ความชุก3–5 million people a year[2]
การเสียชีวิต28,800 (2015)[7]

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า[8] (อังกฤษ: cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้

ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่วย

พ.ศ. 2553 มีผู้ป่วยอหิวาตกโรคทั่วโลกประมาณ 3-5 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 100,000-130,000 คนต่อปี โรคนี้เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อโรคแรก ๆ ที่มีการศึกษาด้วยวิธีทางระบาดวิทยา

สาเหตุ

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านของเชื้อ Vibrio cholerae

เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า วิบริโอ คอเลอเร (Vibrio Cholerae) sero group O1, หรือ O139, biotypes Classical และ เอลเทอร์ (EL Tor) วิบริโอ El Tor แต่ละ biotype มี serotypes inaba, Ogawa และ Hikojima (พบน้อยมาก)

การถ่ายทอดโรค

โดยการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรค หรือพิษของเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารสุกๆ ดิบๆ ซึ่งเกิดจากการจากอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ป่วย แพร่กระจายอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค

ระยะเวลาฟักตัว

ผู้ที่ได้รับเชื้อ จะเกิดอาการได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ถึง 5 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดอาการภายใน 1 - 2 วัน

อาการ

  1. เป็นอย่างไม่รุนแรง พวกนี้มักหายภายใน 1 วัน หรืออย่างช้า 5 วัน มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ วันละหลายครั้ง แต่จำนวนอุจจาระไม่เกินวันละ 1 ลิตร ในผู้ใหญ่อาจมีปวดท้องหรือ คลื่นไส้อาเจียนได้
  2. เป็นอย่างรุนแรง อาการระยะแรก มีท้องเดิน มีเนื้ออุจจาระมาก ต่อมามีลักษณะเป็นน้ำซาวข้าว เพราะว่ามีมูกมาก มีกลิ่นเหม็นคาว ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งไหลพุ่งออกมาโดยไม่รู้สึกตัว มีอาเจียนโดยไม่คลื่นไส้ อุจจาระออกมากถึง 1 ลิตร ต่อชั่วโมง และจะหยุดเองใน 1 - 6 วัน ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ชดเชยอย่างเพียงพอ แต่ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ทดแทนไม่ทันกับที่เสียไป จะมีอาการขาดน้ำอย่างมาก ลุกนั่งไม่ไหว ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย อาจมีอาการเป็นลม หน้ามืด จนถึงช็อค ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอาการท้องเสีย

  1. งดอาหารที่มีรสจัดหรือเผ็ดร้อน หรือ ของหมักดอง
  2. ดื่มน้ำชาแก่แทนน้ำ บางรายต้องงดอาหารชั่วคราว เพื่อลดการระคายเคืองในลำไส้
  3. ดื่มน้ำเกลือผง สลับกับน้ำต้มสุก ถ้าเป็นเด็กเล็กควรปรึกษาแพทย์
  4. ถ้าท้องเสียอย่างรุนแรง ต้องรีบนำส่งแพทย์ด่วน

การป้องกัน

  1. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างสะอาด ทุกครั้งก่อนใช้ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นาน ๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม
  2. ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนกินอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร และหลังขับถ่าย
  3. ไม่เทอุจจาระ ปัสสาวะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง หรือทิ้งเรื่ยราด ต้องถ่ายลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยการเผาหรือฝังดิน เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค
  4. ระวังไม่ให้น้ำเข้าปาก เมื่อลงเล่นหรืออาบน้ำในลำคลอง
  5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค
  6. สำหรับผู้ที่สัมผัสโรคนี้ ควรรับประทานยาที่แพทย์ให้จนครบ

อ้างอิง

  1. Todar K. "Vibrio cholerae and Asiatic Cholera". Todar's Online Textbook of Bacteriology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2010-12-20.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "Cholera vaccines: WHO position paper" (PDF). Weekly Epidemiological Record. 85 (13): 117–28. March 2010. PMID 20349546. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2015.
  3. 3.0 3.1 "Cholera – Vibrio cholerae infection Information for Public Health & Medical Professionals". Centers for Disease Control and Prevention. January 6, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2015. สืบค้นเมื่อ 17 March 2015.
  4. Finkelstein, Richard A. (1996). "Cholera, Vibrio cholerae O1 and O139, and Other Pathogenic Vibrios". ใน Baron, Samuel (บ.ก.). Medical Microbiology (4th ed.). University of Texas Medical Branch at Galveston. ISBN 978-0-9631172-1-2. PMID 21413330. NBK8407.
  5. Harris JB, LaRocque RC, Qadri F, Ryan ET, Calderwood SB (June 2012). "Cholera". Lancet. 379 (9835): 2466–2476. doi:10.1016/s0140-6736(12)60436-x. PMC 3761070. PMID 22748592.
  6. "Cholera – Vibrio cholerae infection Treatment". Centers for Disease Control and Prevention. November 7, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2015. สืบค้นเมื่อ 17 March 2015.
  7. Wang, Haidong; Naghavi, Mohsen; Allen, Christine; Barber, Ryan M.; Bhutta, Zulfiqar A.; Carter, Austin; Casey, Daniel C.; Charlson, Fiona J.; Chen, Alan Zian; Coates, Matthew M.; Coggeshall, Megan; Dandona, Lalit; Dicker, Daniel J.; Erskine, Holly E.; Ferrari, Alize J.; Fitzmaurice, Christina; Foreman, Kyle; Forouzanfar, Mohammad H.; Fraser, Maya S.; Fullman, Nancy; Gething, Peter W.; Goldberg, Ellen M.; Graetz, Nicholas; Haagsma, Juanita A.; Hay, Simon I.; Huynh, Chantal; Johnson, Catherine O.; Kassebaum, Nicholas J.; Kinfu, Yohannes; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/s0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
  8. อัลบี, ซาร่าห์. ธวัชชัย ดุลยสุจริต, แปล. อึ เล่าประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554. ISBN 978-974-02-0847-1. หน้า 130.

หนังสืออ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

แม่แบบ:Cholera

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya