Share to:

 

ไข้รากสาดน้อย

ไข้รากสาดน้อย
(typhoid fever)
ชื่ออื่นไข้รากสาด ไข้ช้า
จุดแดง (rose spots) บนหน้าอกของผู้ป่วยไข้รากสาดน้อย ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ (การแพทย์เฉพาะทาง)
อาการไข้ที่เริ่มจากระดับต่ำและเพิ่มขึ้นทุกวัน อาจสูงถึง 104.9 F (40.5 C) ปวดหัว อ่อนแรงและเหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออก ไอแห้ง เบื่ออาหารและน้ำหนักลด ปวดท้อง ท้องเสียหรือท้องผูก ผื่น ท้องบวม (ตับหรือม้ามโต)
การตั้งต้น1-2 สัปดาห์หลังรับประทาน
ระยะดำเนินโรคโดยปกติ 7-10 วัน หลังจากเริ่มการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ นานกว่านั้นหากมีภาวะแทรกซ้อนหรือดื้อยา
สาเหตุการติดเชื้อทางเดินอาหารของ Salmonella enterica serovar Typhi
ปัจจัยเสี่ยงทำงานหรือเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีไข้รากสาดใหญ่, ทำงานเป็นนักจุลชีววิทยาคลินิกที่ดูแลแบคทีเรีย Salmonella typhi, มีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อหรือเพิ่งติดเชื้อไข้รากสาดใหญ่, ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนจากน้ำเสียที่มีเชื้อ Salmonella typhi
การป้องกันป้องกันได้ด้วยวัคซีน ผู้ที่เดินทางไปยังภูมิภาคที่มีการระบาดของโรคไทฟอยด์สูงมักได้รับคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนก่อนเดินทาง
การรักษายาปฏิชีวนะ, การเติมน้ำ ,การผ่าตัดในกรณีร้ายแรง, การกักกันเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้อื่น (ไม่ค่อยทำกันในสมัยนี้)
พยากรณ์โรคมีแนวโน้มที่จะหายได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนหากได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องและวินิจฉัยได้เร็ว หากเชื้อที่ติดเชื้อดื้อยาหลายขนานหรือดื้อยาอย่างรุนแรง การพยากรณ์โรคจะยากขึ้น ในผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษา 10% จะปล่อยแบคทีเรียออกไปเป็นเวลาสามเดือนหลังจากเริ่มมีอาการ และ 2-5% จะกลายเป็นพาหะของโรคไทฟอยด์เรื้อรัง.[1] Some carriers are diagnosed by positive tissue specimen. Chronic carriers are by definition asymptomatic.[1]

ไข้รากสาดน้อย หรือ ไข้ไทฟอยด์ (อังกฤษ: typhoid fever; enteric fever) เป็นการเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella enterica serovar Typhi พบได้ทั่วโลกโดยติดต่อผ่านทางการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วย[2] โดยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคนี้จะเจาะทะลุผนังลำไส้แล้วถูกจับกินโดยเซลล์แมโครฟาจ (macrophage) จากนั้นเชื้อ Salmonella typhi จะเปลี่ยนโครงสร้างตัวเองเพื่อดื้อต่อการทำลายและสามารถหลบหนีออกจากแมโครฟาจได้ กลไกดังกล่าวทำให้เชื้อดื้อต่อการทำลายโดยแกรนูโลไซต์ ระบบคอมพลีเมนต์ และระบบภูมิคุ้มกัน จากนั้นเชื้อก่อโรคจะกระจายไปทั่วร่างกายผ่านทางน้ำเหลืองขณะที่อยู่ในเซลล์แมโครฟาจ ทำให้เชื้อเข้าสู่ระบบเรติคูโลเอนโดทีเลียม (reticuloendothelial system) และไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย

จุลชีพก่อโรคนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปแท่งสั้น ซึ่งเคลื่อนที่โดยแฟลกเจลลัมหลายเส้น (peritrichous flagella) แบคทีเรียเจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิกาย 37 °C (99 °F)

อาการ

อุบัติการณ์ของไข้ไทฟอยด์
 ระบาดมาก
 ระบาด
 กระจัดกระจาย

ไข้รากสาดน้อยมีอาการไข้สูงคงตัวที่ประมาณ 40 °C (104 °F) เหงื่อออกมาก กระเพาะและลำไส้อักเสบ และท้องเสียไม่มีเลือดปน อาการที่พบไม่บ่อยเช่นจุดผื่นราบสีกุหลาบหรือสีแดง[3]

โดยทั่วไปแล้วการดำเนินโรคไทฟอยด์แบ่งออกเป็น 4 ระยะหากไม่ได้รับการรักษา ในแต่ละระยะกินเวลาราว 1 สัปดาห์ ในสัปดาห์แรกมีอาการไข้สูงขึ้นทีละน้อยร่วมกับหัวใจเต้นช้า อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และไอ อาจพบการตกเลือดกำเดาราว 1 ใน 4 ของผู้ป่วยและอาจพบอาการปวดท้อง มีภาวะเม็ดเลือดขาวน้อยเกินร่วมกับภาวะอีโอสิโนฟิลน้อยเกินและภาวะลิมโฟไซต์มากเกินสัมพัทธ์ ผลปฏิกิริยาไดอะโซ (diazo reaction) ให้ผลบวก และการเพาะเชื้อจากเลือดปรากฏเชื้อ Salmonella typhi หรือ paratyphi การทดสอบไวดัล (Widal test) เพื่อวินิจฉัยโรคนี้มักให้ผลลบในสัปดาห์แรก

ในสัปดาห์ที่สองหลังติดเชื้อ ผู้ป่วยมักนอนหมดกำลังร่วมกับไข้สูงลอยราว 40 °C (104 °F) และหัวใจเต้นช้า มักพบชีพจรสองยอด (dicrotic pulse wave) ในคลื่นความดันหัวใจ มักพบอาการเพ้อ ผู้ป่วยมักสงบแต่บางครั้งอาจกระสับกระส่าย จุดแดงปรากฏในหน้าอกส่วนล่างและท้องในผู้ป่วยราว 1 ใน 3 หากฟังเสียงปอดอาจพบเสียงอึ๊ด (rhonchi) ที่ฐานปอด ที่ท้องอาจบวมและกดเจ็บที่จตุภาคล่างขวา (right lower quadrant) ซึ่งสามารถได้ยินเสียงท้องร้อง (borborygmi) อาจพบอาการท้องเสียได้ในระยะนี้ โดยถ่ายราว 6-8 ครั้งต่อวันเป็นสีเขียวร่วมกับกลิ่นคล้ายซุปถั่ว แต่ก็อาจพบท้องผูกได้บ่อย ม้ามและตับโตและกดเจ็บ ตรวจเอนไซม์ตับทรานสอะมิเนส (transaminases) สูงขึ้น ปฏิกิริยาไวดัลเป็นบวกชัดเจน ร่วมกับพบแอนติบอดี antiO และ antiH เพาะเชื้อจากเลือดบางครั้งยังให้ผลบวกในระยะนี้

ในสัปดาห์ที่สาม จะพบภาวะแทรกซ้อนมากมาย ได้แก่

ไข้จะคงสูงมากและแกว่งเล็กน้อยใน 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำและผู้ป่วยเพ้อจากพิษไข้ (ระยะไทฟอยด์; typhoid state) ช่วงท้ายสัปดาห์ที่สามอาการไข้ลดลง (ระยะไข้สร่าง) ซึ่งดำเนินต่อไปในสัปดาห์ที่สี่และสัปดาห์สุดท้าย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Acute Communicable Disease Control, 2016 Annual Morbidity Report (2016). "TYPHOID FEVER, ACUTE AND CARRIER" (PDF). Los Angeles County Department of Public Health. p. 133.
  2. Giannella RA (1996). "Salmonella". Baron's Medical Microbiology (Baron S et al, eds.) (4th ed.). Univ of Texas Medical Branch. ISBN 0-9631172-1-1.
  3. CDC Disease Info

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya