อัศนี พลจันทร
อัศนี พลจันทร หรือในนามปากกาว่า นายผี และ สหายไฟ หรือ ลุงไฟ (15 กันยายน พ.ศ. 2461 — 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530) นักประพันธ์และนักปฏิวัติชาวไทย รู้จักกันในฐานะผู้แต่งเพลงเดือนเพ็ญ (คิดถึงบ้าน) ประวัติอัศนี พลจันทร เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2461 ที่บ้านท่าเสา ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี บิดาคือ พระมนูกิจวิมลอรรถ (เจียร พลจันทร) มารดาคือ สอิ้ง มนูกิจวิมลอรรถ ซึ่งหากสืบเชื้อสายทางบิดาขึ้นไปจนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จะพบว่าต้นตระกูลคือ พระยาพล เดิมชื่อนายจัน เคยรบกับพม่า จนได้ชัยชนะและเป็นผู้รั้งเมืองกาญจนบุรีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อัศนี พลจันทร จบชั้นมัธยม 5 แล้วศึกษาต่อจนจบชั้นมัธยม 8 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2479 ในขณะที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สนใจในด้านวรรณกรรมโดยใช้นามปากกาว่า นายผี และเป็นที่รู้จักเมื่ออัศนีได้เป็นคนควบคุมคอลัมน์กวี ในนิตยสารรายสัปดาห์ เอกชน (นิตยสาร)[1] ชีวิตครอบครัว อัศนี สมรสกับ วิมล พลจันทร มีบุตรด้วยกัน 4 คน ทั้งหญิงชาย ได้แก่ วิมลมาลี พลจันทร กับ โกลิศ พลจันทร นกุลและสหเทพเป็นน้องฝาแฝดสุดท้อง[2] การทำงานอัศนีเริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นอัยการผู้ช่วยชั้นตรี เมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ถูกย้ายไปที่จังหวัดปัตตานี เนื่องจากมีปัญหากับหัวหน้างาน อยู่ปัตตานีได้ 2 ปีก็ถูกสั่งย้ายไปที่สระบุรี ด้วยทางการได้ข่าวว่าให้การสนับสนุนชนชาวมลายูต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผ่านไป 4 ปีเศษมีคำสั่งให้ย้ายไปอยุธยา เนื่องจากขัดแย้งกับข้าหลวง จากนั้นถูกสั่งให้กลับมาประจำกองคดี กรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย เหตุเพราะความเป็นคนตรงไปตรงมา ภายหลังมีปัญหาท้ายที่สุดจึงตัดสินใจลาออกเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2495 ในช่วง พ.ศ. 2495 จอมพล ป. มีคำสั่งให้จับกุมนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ที่มีผลงานไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ทำให้อัศนีต้องหลบซ่อนตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลงานวรรณกรรมในช่วงนั้นคือ "ความเปลี่ยนแปลง", "เราชนะแล้วแม่จ๋า" ในปี พ.ศ. 2504 ได้ปรากฏตัวอีกครั้งในนาม สหายไฟ ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 ในแขวงอุดมไซ ประเทศลาวมีข่าวอีกกระแสว่าเสียที่เวียตนามและเวียตนามได้ฝังศพไว้รอญาติโดยจุดตะเกียงไว้ข้างหลุมในสุสาน และได้นำกระดูกกลับสู่ประเทศไทยเมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[3] ผลงานเขียนช่วงชีวิตของอัศนี มีงานเขียน บทกวี มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบทกวีที่ชื่อ อีศาน ที่ลงพิมพ์ในสยามสมัย นับเป็นบทกวีที่ลือเลื่อง จนกลายเสมือนเป็นตัวแทนนายผี จิตร ภูมิศักดิ์ ยกย่องกวีบทนี้ว่า ตีแผ่ความยากเข็ญของชีวิตและปลุกเร้าจิตวิญญาณการต่อสู้ของประชาชนได้อย่างเพียบพร้อม มีพลัง ทั้งเชิดชูนายผีเป็น มหากวีของประชาชน โดยผลงานได้มีการกล่าวถึงมากมายในช่วง เหตุการณ์ 14 ตุลา เพลง คิดถึงบ้าน หรือ เดือนเพ็ญ ที่อัศนีเขียนขึ้นเพราะความรู้สึกคิดถึงบ้านนับเป็นเพลงที่ถูกบันทึกเสียงและขับขานในวาระต่างๆ มากที่สุดเพลงหนึ่ง ทำให้ชื่อ นายผี อัศนี พลจันทร เป็นที่รู้จักและจดจำในวงกว้าง[4] ผลงานท่านอัศนีล่าสุดได้ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ "อ่าน." นามปากกานามปากกาของอัศนีมีเป็นจำนวนมาก เช่น
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ อัศนี พลจันทร วิกิตำรามีตำราในหัวข้อ เดือนเพ็ญ (เพลง) |