Share to:

 

จังหวัดปัตตานี

จังหวัดปัตตานี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Pattani
คำขวัญ: 
เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ
ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา
ปัตตานีสันติสุขแดนใต้
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปัตตานีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปัตตานีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปัตตานีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ พาตีเมาะ สะดียามู
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2565)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด1,940.356 ตร.กม. (749.176 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 68
ประชากร
 (พ.ศ. 2564)[2]
 • ทั้งหมด737,077 คน
 • อันดับอันดับที่ 33
 • ความหนาแน่น379.87 คน/ตร.กม. (983.9 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 9
รหัส ISO 3166TH-94
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ตะเคียนทอง
 • ดอกไม้ชบา
 • สัตว์น้ำปลาสลิด
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนเดชา ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
 • โทรศัพท์0 7334 9002, 0 7333 1154
 • โทรสาร0 7334 9002
เว็บไซต์http://www.pattani.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปัตตานี (มลายูปัตตานี: ڤطاني / 'ตานิง) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด: ปืนใหญ่นางพญาตานี
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกชบา (Hibiscus sp.)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ตะเคียนทอง (Hopes odorata)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขแดนใต้
  • คำขวัญประจำจังหวัดเดิม: บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด

ที่มาของชื่อ

คำว่า ปัตตานี มาจากคำภาษามลายูปัตตานี ڤطاني ซึ่งมาจากคำว่า Pata Ini ("ชายหาดแห่งนี้") อีกทีหนึ่ง[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติศาสตร์

จากหลักฐานทางโบราณคดีเบื้องต้น ได้พบร่องรอยของชุมชนโบราณในปัตตานีที่อำเภอยะรัง คือเมืองโบราณยะรัง เป็นเมืองพุทธศาสนถานมหายานเป็นเมืองที่มีความเจริญ ในช่วง พ.ศ. 700-1400 เป็นเมืองโบราณซ้อนทับกัน 3 เมือง ตั้งแต่บ้านวัดที่เก่าแก่ที่สุด บ้านจาเละ และบ้านประแว ในนี้มีโบราณสถานกว่า 40 แห่ง[3] ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 มีความเจริญรุ่งเรือง มีศูนย์กลางการปกครองที่โกตามะลิฆา (Kota Malikha) ใน ตำนานมะโรงมหาวงศ์ มีชื่อ "ลังกาสุกะ" ซึ่งเจริญขึ้นมาร่วมสมัยกับยุคสหพันธรัฐเมืองท่าศรีวิชัย โดยมีพื้นฐานบ้านเมืองแรกเริ่มเก่าไปถึงพุทธศตวรรษที่ 12 ที่บริเวณเมืองโบราณบ้านวัด[4]

ต่อมาพุทธศตวรรษที่ 18–20 เปลี่ยนไปรับอิทธิพลของอิสลาม[5] และย้ายเมืองไปที่บ้านกรือเซะหรือหมู่บ้านปะตะนี เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ชายทะเลและปากแม่น้ำปัตตานีมากกว่าเมืองโกตามะลิฆา เมืองท่านี้มึความโดดเด่นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 เมืองมีความเข้มแข็งพอที่จะต้านการรุกรานของรัฐที่ใหญ่โตกว่าอย่างกรุงศรีอยุธยา เมืองในยุคนี้มีประชากรต่างชาติต่างภาษาอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจีน ที่กลายมาเป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่งในปัตตานี[6] มีเหตุการณ์สำคัญอย่างกลุ่มโจรสลัดจากฝูเจียน นําโดยหลิน เต้า-เฉียน ได้อพยพหนีการปราบปรามของราชวงศ์หมิง ไปยึดเมืองปัตตานีไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ประมาณ พ.ศ. 2116–2163 ชาวปัตตานีรู้จักในฐานะตํานานเรื่อง เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว และการสร้างปืนใหญ่นางพญาตานี[7]

อาณาจักรปัตตานีอยู่ในฐานะประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา ลักษณะความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของไทย คราวใดไทยอ่อนแอหรือเกิดความวุ่นวายในราชธานี ปัตตานีก็จะถือเป็นอิสระ เมื่อเริ่มสมัยรัตนโกสินทร์ฝ่ายไทยก็ยกทัพไปปราบ จึงได้ปัตตานีมาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยอีกครั้ง จากนั้นมาไทยเริ่มปรับปรุงระบบควบคุมปัตตานีให้รัดกุมขึ้นเป็นลำดับ จนในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการตั้งมณฑลปัตตานี[8]

พ.ศ. 2475 มณฑลปัตตานีถูกยุบรวมกับมณฑลนครศรีธรรมราช กระทั่ง พ.ศ. 2476 ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดปัตตานี[9]

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง

ปัตตานีเป็นหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้สุด ติดกับทะเลจีนใต้ อยู่ห่างจากกรุงเทพโดยทางรถยนต์ประมาณ 1,055 กิโลเมตร หรือ 1,025 กิโลเมตรโดยทางรถไฟที่ (สถานีรถไฟโคกโพธิ์)

ภูเขาที่สำคัญ

ได้แก่ ภูเขาทรายขาว ซึ่งอยู่ในทิวเขาสันกาลาคีรี มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำสายบุรี ภูมิอากาศอบอุ่นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 27.5 องศาเซลเซียส ฝนตกชุกในระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ฝนตกเฉลี่ย 1,750.9 มิลลิเมตร/ปี (เฉลี่ยในรอบ 30 ปี)

ประชากร

ศาสนา

ศาสนาในจังหวัดปัตตานี (พ.ศ. 2562)[10]
ศาสนา ร้อยละ
อิสลาม
  
87.57%
พุทธ
  
12.41%
อื่น ๆ
  
0.03%

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมาคือศาสนาพุทธและอื่น ๆ จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2555 พบว่า ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 87.25 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 12.72 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.03 แต่การสำรวจใน พ.ศ. 2556-2558 พบว่าประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 86.25 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 13.70 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.05[11] ใน พ.ศ. 2555 หลังการก่อวินาศกรรมด้วยการวางระเบิดถนนสายหลักในปัตตานี ส่งผลให้ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธจำนวนมากอพยพออกจากปัตตานี ประชากรที่นับถือศาสนาพุทธจึงหดตัวอย่างเฉียบพลัน[12] จากการสำรวจของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานีเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 พบว่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 87.57, ศาสนาพุทธ ร้อยละ 12.41 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.03[10]

ศาสนา 2503[13] 2554[14] 2555[15][16] 2556[15][16] 2557[17] 2558[17] 2559[17] 2562[10]
อิสลาม 78.20% 90.44% 87.25% 86.25% 87.49% 86.67% 86.58% 87.57%
พุทธ 20.00% 9.56% 12.72% 13.70% 12.74% 13.32% 13.40% 12.41%
คริสต์ 0.01%
อื่น ๆ 1.80% 0.03% 0.05% 0.02% 0.02% 0.02% 0.03%

ชาวปัตตานีมีอาชีพหลักคือการทำนา สวนยาง นอกจากนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด เช่น อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี ยังประกอบอาชีพประมง ซึ่งส่งผลให้เกิดผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างมาก


สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดปัตตานี
ปีประชากร±%
2553 655,259—    
2554 663,485+1.3%
2555 671,615+1.2%
2556 678,838+1.1%
2557 686,186+1.1%
2558 694,023+1.1%
2559 700,961+1.0%
2560 709,796+1.3%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

การเมืองการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 115 ตำบล 642 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองปัตตานี
  2. อำเภอโคกโพธิ์
  3. อำเภอหนองจิก
  4. อำเภอปะนาเระ
  5. อำเภอมายอ
  6. อำเภอทุ่งยางแดง
  7. อำเภอสายบุรี
  8. อำเภอไม้แก่น
  9. อำเภอยะหริ่ง
  10. อำเภอยะรัง
  11. อำเภอกะพ้อ
  12. อำเภอแม่ลาน
 แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

จังหวัดปัตตานี มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นดังนี้

เทศบาลเมือง

มีเทศบาลเมือง 2 แห่ง

อุทยาน

สถานที่ท่องเที่ยว

  • มัสยิดกรือเซะ เป็นมัสยิดที่สร้างโดยสุลต่านมุสัฟฟาร์ ชาร์ พระองค์ได้สร้างมัสยิดแห่งนี้พร้อมกับมัสยิดบ้านดาโตะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

มัสยิดกรือเซะเป็นมัสยิดที่สุลต่านใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจและะพบปะพูดคุยกับประชาชน มัสยิดกรือเซะเป็นมัสยิดแห่งแรกในคาบสมุทรมลายู[ต้องการอ้างอิง]

การขนส่ง

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
มัสยิดกรือเซะ
ศาลหลักเมืองปัตตานี

การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

โรงเรียน

ชาวจังหวัดปัตตานีที่มีชื่อเสียง

เทศกาล

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 23 มีนาคม 2565.
  3. "เมืองโบราณยะรัง (Mueang Boran Yarang)". ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  4. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. ""ปาตานี" นครแห่งความทรงจำ". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
  5. ชุลีพร พงษ์สุพัฒน์. (2542). ปัตตานี : รอยต่อทางวัฒนธรรมและมิติทางความคิด (เอกสาร. ประกอบการบรรยายโครงการปริทัศน์ประเทศเพื่อนบ้านผ่านมิติภายใน), หน้า 4.
  6. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. "รัฐปัตตานี กับกรุงศรีอยุธยา และกรุงเทพฯ". มติชนสุดสัปดาห์.
  7. ปิยชาติ สึงตี. "ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มชาวจีนฮกจิวในภาคใต้ของประเทศไทย : กรณีศึกษาชุมชนชาวจีนฮกจิว อําเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). p. 29.
  8. สมโชติ อ๋องสกุล. "การปฏิรูปการปกครองมณฑลปัตตานี (พ.ศ. 2449-2474)" (PDF). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. p. 2.
  9. "แนะนำจังหวัดปัตตานี". สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดปัตตานี.
  10. 10.0 10.1 10.2 แผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2564) (PDF). คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดปัตตานี. 2562. p. 12.
  11. "สภาพทั่วไป จังหวัดปัตตานี" (PDF). จังหวัดปัตตานี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-03-04. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ไทยพุทธที่ชายแดนภาคใต้ (ตอน 1) : การตื่นตัวที่สายเกิน?". ประชาไท. 4 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. สำนักงานสถิติกลาง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ. รายงานสำมะโนครัวประชากรแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2503 จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และจังหวัดสตูล. พระนคร : ไทยแบบเรียน, 2504, หน้า 19
  14. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ (พฤษภาคม–สิงหาคม 2560). "เรื่องในบ้าน : คาทอลิกกับชีวิตแห่งการต่อรองในสังคมมลายูมุสลิมและความรุนแรงถึงตาย". วารสารรูสมิแล (38:2), หน้า 12
  15. 15.0 15.1 รายงานผลการดำเนินผลภารกิจงานที่ได้รับมอบหมายจากสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2556 (PDF). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี. 2556. p. 8-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2020-03-19.
  16. 16.0 16.1 คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดปัตตานี (2560). แผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2557-2560 ฉบับทบทวนใหม่ (รอบปี พ.ศ. 2560) (PDF). สำนักงานจังหวัดปัตตานี. p. 7-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2020-03-19.
  17. 17.0 17.1 17.2 บรรยายสรุปจังหวัดปัตตานี (PDF). สงขลา: ไอคิวมีเดีย. 2561. p. 16.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บไซต์

แผนที่และภาพถ่าย

6°52′N 101°14′E / 6.87°N 101.24°E / 6.87; 101.24

หนังสือและบทความ

  • ชุลีพร วิรุณหะ. (2551). บุหงารายา: ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าของชาวมลายู. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.
  • ชุลีพร วิรุณหะ. (2556, ม.ค.-มิ.ย.). สยามกับปัตตานีในสมัยรัชกาลที่ 1-2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์: การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสงครามและการแบ่งแยกปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมือง. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(1), 11-53.
  • ชุลีพร วิรุณหะ. (2558). สยาม-ปาตานีใน ‘พื้นที่สีเทา’: บทวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ก่อน ค.ศ. 1909 (ฉบับร่าง). กรุงเทพฯ: ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2549). ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • ยงยุทธ ชูแว่น. (2549). รัฐปัตตานีในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยจารีต คริสต์ศตวรรษที่ 16-18. นครปฐม: โครงการศึกษาประวัติศาสตร์ภาคใต้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  • อรอนงค์ ทิพย์พิมล. (2564). ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับปัต (ปา) ตานีก่อนรัฐสมัยใหม่จนถึงสนธิสัญญาแองโกลสยาม พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909): มุมมองที่แตกต่างหลากหลาย. ใน ความมั่นคงบนรอยร้าว: ประวัติศาสตร์ กฎหมาย และผู้คนในพลวัตความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้. บรรณาธิการโดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. หน้า 3-39. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
Kembali kehalaman sebelumnya