Share to:

 

อานเต ปาเวลิช

อานเต ปาเวลิช
ปาเวลิชในเครื่องแบบอูสตาเชเมื่อ ค.ศ. 1942
ปอกลาฟนีกแห่งรัฐเอกราชโครเอเชีย
ดำรงตำแหน่ง
10 เมษายน ค.ศ. 1941 – 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
กษัตริย์พระเจ้าตอมิสลัฟที่ 2 (ค.ศ. 1941–1943)
นายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีรัฐเอกราชโครเอเชีย คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
16 เมษายน ค.ศ. 1941 – 2 กันยายน ค.ศ. 1943
กษัตริย์พระเจ้าตอมิสลัฟที่ 2
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปนิกอลา มันดิช
รัฐมนตรีว่าการกองทัพรัฐเอกราชโครเอเชีย คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
4 มกราคม ค.ศ. 1943 – 2 กันยายน ค.ศ. 1943
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้าสลาฟกอ กวาเตร์นีก
ถัดไปมิรอสลัฟ นาฟราติล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัฐเอกราชโครเอเชีย คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
16 เมษายน ค.ศ. 1941 – 9 มิถุนายน ค.ศ. 1941
กษัตริย์พระเจ้าตอมิสลัฟที่ 2
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปมลาเดน ลอร์กอวิช
สมาชิกรัฐสภายูโกสลาเวีย
ดำรงตำแหน่ง
11 กันยายน ค.ศ. 1927 – 7 มกราคม ค.ศ. 1929
กษัตริย์พระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1
นายกรัฐมนตรี
เขตเลือกตั้งซาเกร็บ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 กรกฎาคม ค.ศ. 1889(1889-07-14)
บราดินา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เสียชีวิต28 ธันวาคม ค.ศ. 1959(1959-12-28) (70 ปี)
มาดริด ประเทศสเปน
สาเหตุการเสียชีวิตภาวะแทรกซ้อนจากบาดแผลกระสุนปืน
ที่ไว้ศพสุสานซานอิซิโดร มาดริด
เชื้อชาติโครเอเชีย
พรรคการเมืองอูสตาเช (ค.ศ. 1929–1945)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยซาเกร็บ
อาชีพนักการเมือง
วิชาชีพนักกฎหมาย
ลายมือชื่อ

อานเต ปาเวลิช (โครเอเชีย: Ante Pavelić; 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1889 – 28 ธันวาคม ค.ศ. 1959) เป็นนักการเมืองชาวโครเอเชีย ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าองค์กรชาตินิยมสุดโต่งฟาสซิสต์ที่รู้จักกันในชื่อ "อูสตาเช" ใน ค.ศ. 1929 และเป็นผู้นำเผด็จการของรัฐเอกราชโครเอเชีย (NDH) รัฐหุ่นเชิดฟาสซิสต์ที่ก่อตั้งขึ้นในพื้นที่บางส่วนของเขตยึดครองยูโกสลาเวียของนาซีเยอรมนีและฟาสซิสต์อิตาลีตั้งแต่ ค.ศ. 1941 ถึง ค.ศ. 1945 ปาเวลิชและอูสตาเชได่ข่มเหงชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติและฝ่ายค้านทางการเมืองจํานวนมากในสมัยรัฐเอกราช ซึ่งรวมถึงชาวเซิร์บ ชาวยิว ชาวโรมานี และกลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์ เขากลายเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่มีส่วนในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซิร์บ ชาวโรมานี และฮอโลคอสต์ในรัฐเอกราชโครเอเชีย[1][2][3]

ปาเวลิชเริ่มต้นอาชีพการงานของเขาด้วยการเป็นนักกฎหมายและนักการเมืองของพรรคแห่งสิทธิในราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย เขาเป็นที่รู้จักจากความเชื่อในชาตินิยมและการสนับสนุนเอกราชของโครเอเชีย โดยในช่วงปลายทศวรรษ 1920 กิจกรรมทางการเมืองของเขาเริ่มมีความหัวรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการเรียกร้องให้ชาวโครแอตก่อกบฏต่อต้านยูโกสลาเวีย และได้วางแผนให้อิตาลีแยกโครเอเชียเป็นรัฐในอารักขาออกจากยูโกสลาเวีย หลังจากสมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 ทรงประกาศระบอบเผด็จการ 6 มกราคม เมื่อ ค.ศ. 1929 และสั่งห้ามพรรคการเมืองทั้งหมด ปาเวลิชจึงเดินทางออกนอกประเทศและได้วางแผนร่วมกับองค์กรปฏิวัติมาซิโดเนียภายใน (IMRO) ในการบ่อนทําลายรัฐยูโกสลาเวีย ซึ่งกระตุ้นให้ทางการยูโกสลาเวียได้พิจารณาคดีและตัสินประหารชีวิตเขา ในระหว่างนี้ ปาเวลิชย้ายไปยังอิตาลีและได้ก่อตั้งอูสตาเช ซึ่งเป็นขบวนการชาตินิยมโครเอเชียที่มีเป้าหมายในการจัดตั้งเอกราชของโครเอเชียไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ซึ่งรวมถึงการใช้ความรุนแรง[4][5][6][7] ปาเวลิชได้รวมกิจกรรมก่อการร้ายไว้ในโครงการของอูสตาเชด้วย เช่น การระเบิดรถไฟและการลอบสังหาร การก่อจลาจลที่เมืองลิกาใน ค.ศ. 1932 จนถึงการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอาเล็กซานดาร์ใน ค.ศ. 1934 ปาเวลิชถูกตัดสินประหารชีวิตอีกครั้งหลังจากถูกพิจารณาคดีในฝรั่งเศส แม้ว่าเขาจะไม่ได้อยู่ที่นั่นเพื่อพิจารณาคดีก็ตาม แต่เนื่องจากแรงกดดันจากนานาชาติ ทางการอิตาลีจึงจําคุกเขาเป็นเวลา 18 เดือน และกิจกรรมของอูสตาเชส่วนใหญ่ถูกปิดกั้นในช่วงเวลานี้

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1941 สลาฟกอ กวาเตร์นีก สมาชิกอาวุโสอูสตาเช ประกาศจัดตั้งรัฐเอกราชโครเอเชียในนามของปาเวลิชตามคำสั่งของเยอรมนี โดยเขาเรียกตนเองว่า "ปอกลาฟนีก" (โครเอเชีย: Poglavnik) หรือผู้นำสูงสุด ปาเวลิชเดินทางกลับจากอิตาลีและเข้าควบคุมรัฐบาลหุ่นเชิด เขาได้ก่อตั้งระบบทางการเมืองที่คล้ายคลึงกับฟาสซิสต์อิตาลีและนาซีเยอรมนี แม้ว่ารัฐเอกราชจะก่อตัวขึ้นในพื้นที่เกรตเทอร์โครเอเชีย แต่อิตาลีก็บังคับให้สละดินแดนหลายแห่งเป็นสัมปทานให้กับฝ่ายหลัง หลังจากการขึ้นสู่อำนาจ ปาเวลิชได้กำหนดนโยบายต่อต้านชาวเซอร์เบียและชาวยิว ซึ่งทำให้มีชาวเซอร์เบียและชาวยิวมากกว่า 100,000 รายเสียชีวิตในค่ายกักกันและค่ายสังหาร[2][3] นอกจากนี้ยังมีการสังหารและทรมานชาวเซอร์เบียหลายแสนคน[8][9] รวมถึงชาวโรมานีและชาวยิวอีกหลายหมื่นคน[10][11] เหตุการณ์เหล่านี้ถูกเรียกว่า "โศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ยูโกสลาเวีย"[12]

ใน ค.ศ. 1945 ปาเวลิชสั่งประหารนักการเมืองคนสำคัญของรัฐเอกราชอย่างมลาเดน ลอร์กอวิช และอานเต วอกิช ในข้อหากบฏ เมื่อทั้งสองถูกจับในข้อหาวางแผนขับไล่เขาและจัดแนวร่วมรัฐเอกราชกับฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังการยอมจำนนของเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม ปาเวลิชสั่งให้กองทหารของเขาต่อสู้ต่อไป จากนั้นเขาจึงย้ายรัฐบาลรัฐเอกราชไปที่ออสเตรียเพื่อยอมจํานนต่อต่อกองทัพอังกฤษที่กำลังรุดหน้าเข้ามา แต่ทางอังกฤษปฏิเสธและได้สั่งให้พวกเขายอมจํานนต่อพลพรรคยูโกสลาเวีย

ปาเวลิชลี้ภัยไปยังออสเตรียก่อนที่จะได้หนังสือเดินทางปลอมจากวาติกันและหลบหนีไปยังอาร์เจนตินา เขายังคงมีส่วนร่วมในกิจกรรมฟาสซิสต์[13] ต่อมาเขาทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยของฆวน เปรอน ประธานาธิบดีอาร์เจนตินาผู้ให้ที่พักพิงแก่อาชญากรสงครามฟาสซิสต์จํานวนมาก ต่อมาเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1957 เจ้าของโรงแรมชาวเซอร์เบียพยายามสังหารปาเวลิช อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในที่สุดทําให้เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1959 ด้วยอายุ 70 ปี

อ้างอิง

  1. Tomasevich 2001, pp. 351–352.
  2. 2.0 2.1 Glenny 2001, pp. 497–500.
  3. 3.0 3.1 Hoare 2006, pp. 20–24.
  4. "Ustaša". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 4 March 2012.
  5. Tomasevich 1975, p. 10.
  6. Tomasevich 2001, p. 32.
  7. Glenny 2001, p. 318.
  8. Žerjavić 1993, p. 7.
  9. Hoare 2006, pp. 23–24.
  10. Glenny 2001, p. 500.
  11. Hoare 2006, pp. 20–21.
  12. Glenny 2001, p. 476.
  13. "Ante Pavelić, the Unhinged Croatian Dictator Who Was Too 'Bestial' Even for the Nazis". 20 September 2022.

บรรณานุกรม

หนังสือ
บทความวารสาร
บทความข่าว

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Ante Pavelić

Kembali kehalaman sebelumnya