กระทุ่มแบน เป็นหนึ่งในสามอำเภอในจังหวัดสมุทรสาคร เป็นที่ตั้งของเทศบาลนครอ้อมน้อยและเป็นอำเภอปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอกระทุ่มแบนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ประวัติศาสตร์
อำเภอกระทุ่มแบนตั้งอยู่ริมคลองภาษีเจริญ ตามประวัติศาสตร์อำเภอกระทุ่มแบนได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองหัวเมือง ร.ศ. 116 ตรงกับปี พ.ศ. 2440 ประกอบด้วยตำบลต่าง ๆ รวม 7 ตำบล ดังนี้
- ตำบลตลาดกระทุ่มแบน
- ตำบลปลายคลองกระทุ่มแบน (ปัจจุบันเรียกว่าตำบลแคราย)
- ตำบลคลองกระทุ่ม (ปัจจุบันเรียกว่าตำบลคลองมะเดื่อ)
- ตำบลดอนไก่ดี
- ตำบลท่าเสา
- ตำบลหนองแขม (ปัจจุบันเรียกว่าตำบลสวนหลวง)
- ตำบลดำเนินสะดวก (ปัจจุบันนี้ขึ้นกับอำเภอบ้านแพ้ว และ เรียกว่าตำบลสวนส้ม)
ทั้ง 7 ตำบล ได้จัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอกระทุ่มแบนขึ้นตรงต่อเมืองสมุทรสาคร ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เปลี่ยนคำว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ทั่วทุกแห่งในราชอาณาจักร ขึ้นตรงต่อมณฑลนครชัยศรี
- ในปี พ.ศ. 2469 ทางราชการได้มีคำสั่งโอนตำบลดำเนินสะดวกไปขึ้นกับอำเภอบ้านแพ้ว ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ในจังหวัดสมุทรสาคร และในปีเดียวกันนี้ได้มีคำสั่งโอนตำบลท่าไม้ ตำบลบางยาง ตำบลซูกั้ง (หนองนกไข่) ตำบลอ้อมน้อย รวม 4 ตำบล ซึ่งอยู่ในความปกครองของอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มาขึ้นกับอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
- ในปี พ.ศ. 2483 ได้ยกฐานะพื้นที่ของตำบลกระทุ่มแบนหรือตำบลตลาดกระทุ่มแบนในปัจจุบันขึ้นเป็นเทศบาลตำบลกระทุ่มแบน[1]
- ในปี พ.ศ. 2486 สมัยพลโท หลวงพรหมโยธี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จังหวัดสมุทรสาครได้ถูกยุบรวมกับจังหวัดธนบุรี ซึ่งมีผลให้อำเภอกระทุ่มแบนขึ้นกับจังหวัดธนบุรีไปด้วย ในระยะนั้นรัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งปลัดตำบล จึงได้ยุบตำบลดังต่อไปนี้
- ตำบลดอนไก่ดีกับตำบลท่าเสา เรียกว่าตำบลท่าเสา
- ตำบลแครายกับตำบลสวนหลวง เรียกว่าตำบลสวนหลวง
- ตำบลอื่น ๆ ยังคงสถานะเดิม
- ในปี พ.ศ. 2489 ได้ประกาศยกฐานะจังหวัดสมุทรสาครขึ้นใหม่ ซึ่งอำเภอกระทุ่มแบนก็ได้กลับเข้ามาอยู่ในการปกครองของจังหวัดสมุทรสาครพร้อมทั้งได้มีการประกาศแยกตำบลที่รวมกันข้างต้นเป็นตำบลเหมือนเดิมที่เป็นอยู่ก่อน[2]
- ในปี พ.ศ. 2504 เปลี่ยนชื่อจากตำบลหนองแขม เป็น ตำบลสวนหลวง
- ในปี พ.ศ. 2510 ได้ยกฐานะพื้นที่ของตำบลอ้อมน้อย ขึ้นเป็น สุขาภิบาลอ้อมน้อย[3]
- ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 เกิดการนัดหยุดงานของกรรมกรหญิงโรงงานกระเบื้องเคลือบวัฒนาวินิลไทม์ อำเภอกระทุ่มแบน ฝ่ายนายจ้างใช้อันธพาลเข้าคุ้มครองโรงงาน เกิดการปะทะกับฝ่ายกรรมกร เป็นเหตุให้ น.ส.สำราญ คำกลั่น กรรมกรหญิงอายุ 15 ปี ถูกยิงเสียชีวิต ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่เกิดความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในการนัดหยุดงาน[4]
- ในปี พ.ศ. 2537 ได้ยกฐานะพื้นที่ของสุขาภิบาลอ้อมน้อย ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลอ้อมน้อย[5]
- ในปี พ.ศ. 2538 ได้ยกฐานะจากเทศบาลตำบลกระทุ่มแบน เป็น เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน[6]
- ในปี พ.ศ. 2545 ได้ยกฐานะจากเทศบาลตำบลอ้อมน้อย เป็น เทศบาลเมืองอ้อมน้อย[7]
- เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551 ได้ยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลสวนหลวง เป็นเทศบาลตำบลสวนหลวง
- เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 ได้ยกฐานะจาก เทศบาลเมืองอ้อมน้อย เป็น เทศบาลนครอ้อมน้อย[8]
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอกระทุ่มแบนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล 76 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ
|
อักษรไทย
|
อักษรโรมัน
|
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[9]
|
แผนที่
|
1.
|
ตลาดกระทุ่มแบน
|
Talat Krathum Baen
|
26,255
|
|
2.
|
อ้อมน้อย
|
Om Noi
|
53,584
|
3.
|
ท่าไม้
|
Tha Mai
|
9,861
|
4.
|
สวนหลวง
|
Suan Luang
|
36,766
|
5.
|
บางยาง
|
Bang Yang
|
5,443
|
6.
|
คลองมะเดื่อ
|
Khlong Maduea
|
22,115
|
7.
|
หนองนกไข่
|
Nong Nok Khai
|
3,821
|
8.
|
ดอนไก่ดี
|
Don Kai Di
|
8,348
|
9.
|
แคราย
|
Khae Rai
|
8,907
|
10.
|
ท่าเสา
|
Tha Sao
|
7,809
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอกระทุ่มแบนประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลนครอ้อมน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ้อมน้อยทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดกระทุ่มแบนทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองมะเดื่อทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลสวนหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนหลวงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลดอนไก่ดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนไก่ดีทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลแคราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแครายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าไม้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางยางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนกไข่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองนกไข่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเสาทั้งตำบล
การคมนาคม
ถนน
ถนนสายสำคัญในอำเภอกระทุ่มแบน ได้แก่
การขนส่ง
เส้นทางรถประจำทางในอำเภอกระทุ่มแบน ได้แก่
หมวด 1
- สาย 80A หมู่บ้าน วปอ.11 - สวนหลวงพระราม 8 (ไทยสมายล์บัส)
- สาย 81 พุทธมณฑลสาย 5 - ท่าราชวรดิฐ (ไทยสมายล์บัส)
- สาย 84 วัดไร่ขิง - BTS กรุงธนบุรี (ไทยสมายล์บัส)
- สาย 123 สวนสามพราน - ท่าราชวรดิฐ (สมาร์ทบัส)
- สาย 163 ศาลายา - BTS สนามกีฬาแห่งชาติ (ไทยสมายล์บัส)
- สาย 189 วัดบางยาง - สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน (ขสมก.)
- สาย 539 อ้อมน้อย - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (เอกชน)
- สาย 547 หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา - ถนนตก (สมาร์ทบัส
หมวด 3
- สาย 382 (วงกลม) พุทธมณฑลสาย 5 - พุทธมณฑลสาย 4 - วัดเพลินเพชร (เดินรถเช้า-เย็น)
- สาย 384 บิ๊กซีอ้อมใหญ่ - วัดนครชื่นชุ่ม
- สาย 402 นครปฐม - สมุทรสาคร
- สาย 498 แยกอ้อมน้อย - สถานีรถไฟศาลายา
- สาย 725 แยกวัดเทียนดัด - วัดนครชื่นชุ่ม
สถานศึกษา
สังกัดเทศบาลนครอ้อมน้อย
สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน
- โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา)
- โรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
|
- โรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง
- โรงเรียนบ้านสวนหลวง
- โรงเรียนบ้านแคราย
- โรงเรียนวัดสุวรรณรัตนาราม
- โรงเรียนบ้านดอนไก่ดี
- โรงเรียนวัดท่าเสา
- โรงเรียนบ้านคลองกระทุ่มแบน
- โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
- โรงเรียนวัดใหม่หนองพะอง
|
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
- โรงเรียนปัญจพรพิทยา
- โรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝัน
- โรงเรียนอนุบาลยุวธัช
- โรงเรียนประชินนุสรณ์
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|