อำเภอจังหาร
อำเภอจังหาร เป็นพื้นที่ทางทิศเหนือของจังหวัดร้อยเอ็ด แยกออกมาจากอำเภอเมืองร้อยเอ็ด เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2532 มีแม่น้ำชีเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัด ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอจังหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประวัติที่ตั้งเดิมอยู่บริเวณบ้านเขื่อน (ตรงข้ามบ้านเหล่างิ้วโนนหนองแวง) ต่อมาเคลื่อนย้ายมาอยู่ในดงป่าม่วง ซึ่งเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ เป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยหมากฝั่งไก่ (พืชชนิดหนึ่ง) ต่อมาเกิดโรคระบาด โรคห่า (อหิวาต์) โรคบักห่าง (โรคฝีดาษ) (บางคนเล่าว่ามีต้นบักบ้าจริง คือคนที่กินต้นไม้นี้เข้าไปจะวิ่งรอบบ้าน) จึงทำให้เกิดโรคระบาดในหมู่บ้าน ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงอพยพแตกบ้านจากโนนบ้านเก่า (ป่าม่วง ที่ตั้งของวัดฐิตวิริยาวนารามปัจจุบัน) ได้กระจัดกระจายกันอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ คือ บ้านจังหาร บ้านเหล่างิ้ว บ้านหนองเข็ง บ้านลอมคอม กลุ่มที่อพยพไปอยู่ที่บ้านจังหารนำโดยพ่อปู่ไก่แก้ว ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยทางด้านตะวันออกของบ้านจังหารปัจจุบัน ประชากรได้ร่วมก่อตั้งและพัฒนามาตลอด จนถึงสมัยกำนันสิงห์และผู้ใหญ่ทำมาสิงห์เป็นผู้นำ ต่อมามีกำนันมูกแกส กำนันขุนบุญธรรมพิทักษ์ (บ้านเหล่างิ้ว) ต่อมากำนันพรหม บ้านจังหาร กำนันชาย กะณิโก (บ้านจ่าเหล่า) กำนันบุญวรรณ แย้มโกสุมภ์ (บ้านเหล่างิ้ว) กำนันเธียร วัลภูมิ (บ้านจังหาร) กำนันสนิท ไชยฮะนิจ (บ้านจังหาร) จนกระทั่งปัจจุบัน กำนันบรรจง ยุคะลัง (บ้านเหล่างิ้ว) เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่อำเภอเมืองร้อยเอ็ด ตั้งเป็น กิ่งอำเภอจังหาร เนื่องด้วยพื้นที่อำเภอเมืองร้อยเอ็ดมีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก ท้องที่บางตำบลอยู่ห่างไกลจากอำเภอ เจ้าหน้าที่ออกตรวจตาดูแลทุกข์สุขของราษฎรไม่ทั่วถึง โดยที่กิ่งอำเภอจังหารมีเขตการปกครอง 5 ตำบล คือ ตำบลจังหาร ตำบลดินดำ ตำบลดงสิงห์ ตำบลปาฝา และตำบลม่วงลาด ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่ตำบลจังหาร เพื่อประโยขน์ในด้านการปกครองและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2538 มีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอจังหาร โดยยก กิ่งอำเภอจังหาร ขึ้นเป็น อำเภอจังหาร ปัจจุบันอำเภอจังหารมีเขตการปกครองทั้งหมด 8 ตำบล 110 หมู่บ้าน การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอจังหารแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 110 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่อำเภอจังหารประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
อ้างอิง
|