Share to:

 

อำเภอสามง่าม

อำเภอสามง่าม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sam Ngam
คำขวัญ: 
แม่ยมอยู่ข้าวปลา ตระการตานาไร่ งามไสวผ้าทอมือ เลื่องลือเบญจรงค์ มั่นคงเครื่องจักสาน นมัสการหลวงพ่อขวัญ
แผนที่จังหวัดพิจิตร เน้นอำเภอสามง่าม
แผนที่จังหวัดพิจิตร เน้นอำเภอสามง่าม
พิกัด: 16°30′30″N 100°12′18″E / 16.50833°N 100.20500°E / 16.50833; 100.20500
ประเทศ ไทย
จังหวัดพิจิตร
พื้นที่
 • ทั้งหมด338.08 ตร.กม. (130.53 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด41,652 คน
 • ความหนาแน่น123.20 คน/ตร.กม. (319.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 66140,
66220 (เฉพาะตำบลกำแพงดิน)
รหัสภูมิศาสตร์6607
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสามง่าม หมู่ที่ 5 ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร 66140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สามง่าม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร เป็นอำเภอลำดับ 7 ของจังหวัด และเป็นอำเภอพิเศษที่จัดตั้งโดยไม่ต้องผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ

ประวัติ

อำเภอสามง่าม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมตอนใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพในการทำนา  นอกจากนั้นยังมีการทำไร่และทำประมงน้ำจืด แต่เดิมนั้น “สามง่าม” เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม มีคลองสำคัญชื่อ คลองสามง่าม ไหลลงสู่แม่น้ำยม มองเห็นเป็นสามแฉก จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “สามง่าม” และทางราชการจัดตั้งเป็นตำบลสามง่ามขึ้นอยู่อำเภอท่าหลวง

  • วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2481 แยกพื้นที่ตำบลสามง่าม ตำบลวังจิก ตำบลรังนก และตำบลเนินปอ ของอำเภอเมืองพิจิตร มาตั้งขึ้นเป็น อำเภอสามง่าม[1] และตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลสามง่าม เป็นอำเภอพิเศษที่จัดตั้งโดยไม่ต้องผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตรและจังหวัดพิษณุโลกโดยโอนตำบลกำแพงดิน อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ไปขึ้นกับอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร[2]
  • วันที่ 19 พฤศจิกายน 2483 ตั้งตำบลไผ่รอบ แยกออกจากตำบลวังจิก[3]
  • วันที่ 8 เมษายน 2484 โอนพื้นที่ตำบลวังจิก อำเภอสามง่าม ไปขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร[4]
  • วันที่ 9 กันยายน 2484 โอนพื้นที่ตำบลไผ่รอบ อำเภอสามง่าม ไปขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร[5]
  • วันที่ 2 สิงหาคม 2492 โอนพื้นที่บางส่วนของหมู่ 4 บ้านนิคม (ในขณะนั้น) ตำบลหนองหลุม ไปตั้งเป็นหมู่ 17 ของตำบลสามง่าม[6]
  • วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ตั้งตำบลบ้านนา แยกออกจากตำบลสามง่าม[7]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลสามง่าม ในท้องที่บางส่วนของตำบลสามง่าม[8]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงดิน ในท้องที่ตำบลกำแพงดิน[9]
  • วันที่ 18 มีนาคม 2512 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงดิน และจัดตั้งสุขาภิบาลกำแพงดิน ในท้องที่บางส่วนของตำบลกำแพงดิน[10]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2523 ตั้งตำบลหนองโสน แยกออกจากตำบลเนินปอ[11]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2525 โอนพื้นที่บ้านตอรัง ของตำบลเนินปอ ไปตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลหนองโสน[12]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลวังโมกข์ แยกออกจากตำบลหนองหลุม[13]
  • วันที่ 17 สิงหาคม 2533 ตั้งตำบลบึงบัว แยกออกจากตำบลบ้านนา[14]
  • วันที่ 18 สิงหาคม 2535 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสามง่าม[15] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 9 ตุลาคม 2541 แยกพื้นที่ตำบลบ้านนา ตำบลบึงบัว ตำบลวังโมกข์ และตำบลหนองหลุม ของอำเภอสามง่าม ไปจัดตั้งเป็น อำเภอวชิรบารมี [16] เป็นอำเภอพิเศษที่จัดตั้งโดยไม่ต้องผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลสามง่าม และสุขาภิบาลกำแพงดิน เป็น เทศบาลตำบลสามง่าม และเทศบาลตำบลกำแพงดิน ตามลำดับ[17] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 23 กันยายน 2547 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามง่าม ให้มีความถูกต้องแม่นยำ โดยกำหนดให้ตำบลกำแพงดิน ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน ตำบลสามง่าม ให้มีเขตการปกครองรวม 16 หมู่บ้าน ตำบลรังนก ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน ตำบลเนินปอ ให้มีเขตการปกครองรวม 20 หมู่บ้าน และตำบลหนองโสน ให้มีเขตการปกครองรวม 19 หมู่บ้าน[18]

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอสามง่ามตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอสามง่ามแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 80 หมู่บ้าน ได้แก่

1. สามง่าม (Sam Ngam) 16 หมู่บ้าน
2. กำแพงดิน (Kamphaeng Din) 12 หมู่บ้าน
3. รังนก (Rang Nok) 12 หมู่บ้าน
4. เนินปอ (Noen Po) 20 หมู่บ้าน
5. หนองโสน (Nong Sano) 20 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอสามง่ามประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกำแพงดิน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกำแพงดิน
  • เทศบาลตำบลสามง่าม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสามง่าม
  • เทศบาลตำบลเนินปอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเนินปอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสามง่าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามง่าม (นอกเขตเทศบาลตำบลสามง่าม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำแพงดิน (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพงดิน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลรังนก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรังนกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโสนทั้งตำบล

การคมนาคม

มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญคือ

สถานที่สำคัญ

  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร

อ้างอิง

  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4073. 27 กุมภาพันธ์ 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  2. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดพิจิตร พุทธศักราช ๒๔๘๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 346–347. 17 เมษายน 2482.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 2822. 18 พฤศจิกายน 2483.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 732. 8 เมษายน 2484.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 2841–2842. 9 กันยายน 2484.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (42 ง): 3612–3613. 2 สิงหาคม 2492.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (67 ง): 6302–6303. 12 ธันวาคม 2493.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 71-72. 7 มกราคม 2500.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. 1 มีนาคม 2501.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร และจัดตั้งสุขาภิบาลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (22 ง): 910–912. 18 มีนาคม 2512.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (163 ง): 3600–3603. 21 ตุลาคม 2523.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (169 ง): 4584–4587. 16 พฤศจิกายน 2525.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่มีอำเภอตะพานหิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (137 ง): 3484–3488. 2 ตุลาคม 2527.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 38-42. 17 สิงหาคม 2533.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (103 ง): 8880–8881. 18 สิงหาคม 2535.
  16. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๕๔๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (70 ก): 22–24. 9 ตุลาคม 2541. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  17. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (77 ง): 22–41. 23 กันยายน 2547.
Kembali kehalaman sebelumnya