จังหวัดพิษณุโลก
การถอดเสียงอักษรโรมัน • อักษรโรมัน Changwat Phitsanulok
คำขวัญ: พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลกเน้นสีแดง แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลกเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย การปกครอง • ผู้ว่าราชการ ทวี เสริมภักดีกุล (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) พื้นที่[ 1] • ทั้งหมด 10,815.854 ตร.กม. (4,176.025 ตร.ไมล์) อันดับพื้นที่ อันดับที่ 16 ประชากร • ทั้งหมด 841,729 คน • อันดับ อันดับที่ 27 • ความหนาแน่น 77.82 คน/ตร.กม. (201.6 คน/ตร.ไมล์) • อันดับความหนาแน่น อันดับที่ 62 รหัส ISO 3166 TH-65
ชื่อไทยอื่น ๆ นครพระพิษณุโลกสองแคว, สระหลวงสองแคว, สรลวงสองแคว, สองแคว, สองคญี, โอฆะบุรี, จันทบูร, ชัยนาท (ชื่อโบราณ), ไทวยนที, ทวิสาขะนคร, พิดสีโลก สัญลักษณ์ประจำจังหวัด • ต้นไม้ ปีบ • ดอกไม้ นนทรี • สัตว์น้ำ ปลากดคัง ศาลากลางจังหวัด • ที่ตั้ง ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 • โทรศัพท์ 0 5525 8947 • โทรสาร 0 5525 8559 เว็บไซต์ www .phitsanulok .go .th
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
พิษณุโลก เป็นจังหวัด ที่ตั้งอยู่ในภาคกลาง ของประเทศไทย [ a] มีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 866,891 คน[ 2] มีพื้นที่ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 9 อำเภอ มีเทศบาลนครพิษณุโลก เป็นเขตเมืองศูนย์กลางของจังหวัดและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงไชยบุรี ประเทศลาว ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด เป็นจังหวัด เดียวของภาคกลาง ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว
ศัพทมูลวิทยา
ชื่อของจังหวัดมาจากคำว่า พิษณุ หมายถึง "พระวิษณุ " เทพตามความเชื่อของชาวฮินดู รวมกับคำว่า โลก ทำให้มีความหมายเป็น "โลกแห่งพระวิษณุ" ในสมัยที่ยังปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาล ชื่อของจังหวัดนั้นสะกดว่า พิศณุโลก [ 5] ชื่อ เมืองพิษณุโลก มาจากเรื่องการสร้างเมืองพิษณุโลกในพงศาวดารเหนือว่าเมืองฝั่งตะวันออกและชื่อ จันทบูร เป็นเมืองฝั่งตะวันตก หรือมาจากแผนที่เก่าบางฉบับสมัยรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ซึ่งเขียนชื่อเมืองสองแควว่า พิดสีโลก ส่วนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าชื่อเมืองพิษณุโลกเปลี่ยนมาจากเมืองสองแควสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นไปเสวยราชย์ ณ เมืองพิษณุโลก
ชื่อ เมืองสองแคว เป็นชื่อเก่าแก่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก[ 6] : 5 [ 7] : 196 พบในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ ๑ (จารึกพ่อขุนรามคำแหง ) และศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ ๘ (จารึกวัดเขาสุมนกูฏ) ส่วนชื่อ สรลวงสองแคว โดยคำ "สรลวง" (ไม่ใช่สระหลวง) มาจากคำเขมร ว่า "ชฺรลวง" แปลว่า "ลำน้ำ" รวมกันจึงมีความหมายว่า "ลำน้ำสองแคว" หรือ "ลำน้ำสองกระแส" สอดคล้องกับชื่อในภาษาบาลี ว่า "ไทวยนทีศรียมนา" แปลว่า "ลำน้ำอันเป็นสิริที่มีสองสาย"[ 8] ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ เข้าใจว่า "สรลวง" คือคำว่า "สรวง" ที่แปลว่าสวรรค์[ 9] ในพระราชพงศาวดารพม่าและพงศาวดารไทยใหญ่ พระนิพนธ์ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ปรากฏชื่อเมืองพิษณุโลกว่า เมืองสองคญี [ 10] [ 11] [ 12] และพระอิสริยยศ เจ้าฟ้าสรวงคญี คำว่า "คญี" พม่าแปลว่า "มหา" จึงเขียนว่า "เจ้าฟ้ามหาสรวง" กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงดำริอีกว่า "สหายข้าพเจ้าแนะว่าน่าจะเป็นเจ้าฟ้าสองแคว เพราะสองแควเป็นนามเมืองพิศณุโลก ดังปรากฏในตำนานพระแก่นจันทร์ "[ 13] หมายถึง พระมหาธรรมราชา เจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลก[ 14]
ชื่อ เมืองทวิสาขะนคร และชื่อ เมืองไทวยนที เป็นชื่อเมืองสองแควในภาษาบาลีแปลมาจากภาษามคธในพงศาวดารเหนือมาจากสภาพภูมิศาสตร์เดิมของจังหวัดพิษณุโลกซึ่งพระโพธิรังสี ได้นำชื่อเมืองพิษณุโลกไปแปลว่า ทวิสาขะ และแปลชื่อเมืองสรลวงว่า โอฆบุรี พบในสิหิงคนิทาน [ 6] : 7 [ 7] : 196 ชื่อ เมืองชัยนาทบุรี พบในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑๒ หลักศิลาจารึกหลักที่ ๙๗ ศิลาจารึกวัดพระบรมธาตุวรวิหารจังหวัดชัยนาท ลิลิตยวนพ่าย บทที่ ๖๖ และชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่ง ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้ชี้หลักฐานให้เห็นจนเป็นที่ยอมรับว่าเมืองชัยนาทบุรีคือชื่อหนึ่งของเมืองพิษณุโลก[ 15] : 148 [ 6] : 7 ชื่อ เมืองอกแตก เป็นชื่อเรียกเมืองที่มีแนวลำน้ำไหลผ่านกำแพงเมืองเมืองซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่วัดจุฬามณี (จังหวัดพิษณุโลก) สันนิฐานว่าเดิมเป็นคลองขุดจากแม่น้ำน่านเพื่อชักน้ำเข้าเมือง แต่ภายหลังน้ำเซาะคลองกว้างออกกลายเป็นลำแม่น้ำเป็นเหตุให้แม่น้ำเก่าตื้นเขิน เมืองพิษณุโลกจึงมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นเมืองอกแตก[ 6] : 8
ประวัติศาสตร์
พบแหล่งโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ภาพสลักบนหินที่ถ้ำกาและผาขีดเขาภูขัด อำเภอนครไทย และภาพสลักหินที่ผากระดานเลข อำเภอชาติตระการ ซึ่งภาพสลักหินเหล่านี้อยู่ในยุคโลหะมีอายุประมาณสี่พันปีก่อน[ 16]
จดหมายเหตุลาลูแบร์ กล่าวถึงพระเจ้าพนมไชยศิริอพยพผู้คนมาตั้งถิ่นฐานที่นครไทย อาจหมายถึงพระเจ้าชัยศิริ แห่งอาณาจักรโยนกเชียงแสน ซึ่งเผชิญกับการรุกรานของอาณาจักรสุธรรมวดี อพยพลงมาทางใต้[ 17] [ 18] (ตำนานสิงหนวัติ กล่าวว่าอพยพไปกำแพงเพชร [ 19] ) แหล่งโบราณคดีนครไทย เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย [ 17] ในสมัยขอมโบราณ มีชุมชนตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองพิษณุโลกในปัจจุบันบริเวณวัดจุฬามณี คือเมืองสองแควเดิม พระปรางค์วัดจุฬามณี สร้างขึ้นในสมัยขอม[ 20] ต่อมาพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งเมืองบางยางร่วมมือกับพ่อขุนผาเมือง แห่งเมืองราดขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพง ออกไปจากภูมิภาคนำไปสู่การกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย สันนิษฐานว่าเมืองบางยางคือเมืองนครไทย [ 21]
บันทึกเรื่อง ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (Histoire Naturelle et Politique du Royaume de Siam) ของนิโกลาส์ แชร์แวส ชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2224–29 รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวถึงเมืองพิษณุโลกว่า :-
"La ſeconde Ville du Royaume s’appelle communément Porſelouc, ou Pet-ſe-lou-louc, ce qui fignifie en langage du Païs Perle, ou Diamant enchaſſé; elle eſt plus Septentrionale que Juthia d’environ cent lieuës, ſon climat eſt plus temperé, & ſon terroir plus fertile : Elle fut bâtie par Chaou Meüang Hâng, qui regnoit environ 250 ans avant Chaou Thông Fondateur de la Capitale ; [...] Cette Ville eſtoit autrefois le fejour ordinaire des Rois de Siam, & on y voit encore aujourd’huy un de leursanciens Palais ; ..."[ 22]
(คำแปล): "เมืองอันเป็นอันดับสองของราชอาณาจักร เรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า พิษโลก (Porselouc) หรือ พิษณุโลก (Pet-se-lou-louc) ซึ่งมีความหมายในภาษาพื้นเมืองว่าไข่มุก หรือ ฝังเพชร อยู่ทางทิศเหนือของยุธยาประมาณ ๑๐๐ ลี้ ภูมิอากาศอบอุ่นปานกลางและพื้นดินอุดมกว่าอยุธยา สร้างขึ้นโดยเจ้าเมืองหาง (Chaou Meüang Hâng) ซึ่งครองราชสมบัติอยู่ราว ๒๕๐ ปี ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะมาสร้างพระนครหลวงขึ้น [...] เมืองนี้แต่ก่อนนี้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระเจ้าแผ่นดิน."[ 23] : 41–42
— Nicolas Gervaise, Histoire naturelle et politique du Royaume de Siam, 1688. (แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร)
บันทึกของปีแยร์ บรีโก มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสในกรุงศรีอยุธยามีกล่าวถึงเมืองพิษณุโลก ต่อมาฟร็องซัว-อ็องรี ตูร์แป็ง ได้นำมาเผยแพร่ ความว่า[ 24] :-
เมืองพิษณุโลก (Porcelon) ซึ่งชาวโปรตุเกสเรียกเพี้ยนว่า ปอร์ซาลุก (Porsalouc) นั้น แต่ก่อนขึ้นแก่พวกเจ้าที่เป็นทายาทสืบต่อกันมา และในปัจจุบันเราก็ยังชำระคดีในนามเจ้านายเก่าของเมืองนี้และในวังของเขาอันว่า เมืองนี้ ซึ่งมั่นคงด้วยป้อมสิบสี่ป้อมที่สร้างโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสนั้นเป็นเมืองที่ร่ำรวยและค้าขาย เป็นต้นว่า งาช้าง นอแรด หนังสัตว์ป่า น้ำตาล ยาสูบ หัวหอม ขี้ผึ้งและน้ำผึ้ง ที่จังหวัดพิษณุโลก มีคนทำไต้ที่ทำด้วยน้ำมันดินกับน้ำมัน และมีคนทำยางแดง (Gomme rouge) ที่ใช้ทำครั่งประทับตรา (cire d' Eapagne) นอกจากนั้นยังมีคนทำไม้สำหรับสร้างบ้านและย้อมสีมาก พื้นดินเมืองพิษณุโลกผลิตดีบุก และอำพันสีเทาด้วย
สมัยสุโขทัย
ภาพเก่าองค์พระปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
เมืองพิษณุโลกเดิมมีชื่อต่าง ๆ กัน ปรากฏชื่อเมือง "สองแคว" ในจารึกวัดศรีชุม "พระมหาเถรศรีศรัทธา เกิดในนครสรลวงสองแคว"[ 25] ชื่อเมืองสองแควหมายถึงเมืองซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำแควน้อย ในช่วงต้นสมัยสุโขทัยเมืองสองแควอยู่ในการปกครองของพระยาคำแหงพระราม แห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม จนกระทั่งรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมืองสองแควเข้ามาอยู่ในการปกครองของสุโขทัยราชวงศ์พระร่วง ดังที่ระบุไว้ในจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ในพงศาวดารเหนือ ระบุว่า "พระเจ้าศรีธรรมปิฎก"หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านบริเวณเมืองพิษณุโลกในปัจจุบัน พระมหาธรรมราชาลิไททรงสร้างวัดต่างๆขึ้นเป็นจำนวนมากได้แก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดเจดีย์ยอดทอง วัดอรัญญิก และบูรณะวัดวัดราชบูรณะ ทรงให้หล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา ขึ้นประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดใหญ่ พระพุทธชินราชซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุใช้เป็นตราประจำจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้พระมหาธรรมราชาที่ 1 ยังทรงสร้างพระราชวังจันทน์ [ 26] เมืองสองแควพัฒนาขึ้นกลายเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรสุโขทัยทางทิศตะวันออก
นอกจากนี้เมืองสองแควยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองชัยนาท "[ 27] หมายถึงเมืองฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน บริเวณพระราชวังจันทน์ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ยกทัพอยุธยาขึ้นมายึดเมืองชัยนาท ได้สำเร็จ[ 28] จนพระมหาธรรมราชาที่ 1 จำต้องเจรจากับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เพื่อขอเมืองชัยนาท คืน ทำให้พระมหาธรรมราชาที่ 1 ต้องเสด็จย้ายมาประทับที่เมืองสองแควหรือเมืองชัยนาทอยู่เป็นเวลาเจ็ดปี[ 29] พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) ครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองสองแคว[ 29] ทำให้เมืองสองแควกลายเป็นราชธานีของอาณาจักรสุโขทัย เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) สวรรคตในพ.ศ. 1962 เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยาราม และพระยาบาลเมือง สมเด็จพระอินทราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา เสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ย ให้พระยารามครองเมืองสุโขทัยในขณะที่พระยาบาลเมือง ขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 แห่งสองแคว ทำให้เมืองสองแควแยกตัวจากสุโขทัยและเป็นประเทศราชของอยุธยา เมืองสองแควทวีความสำคัญขึ้นมามากกว่าสุโขทัย
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 สวรรคตในพ.ศ. 1981 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงส่งพระโอรสคือพระราเมศวรซึ่งมีพระราชมารดาเป็นพระธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 ไปครองเมืองสองแควประทับที่พระราชวังจันทน์ เมื่อพระราเมศวรต่อมาขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมืองสองแควจึงได้รวมกับอาณาจักรอยุธยา [ 30]
สมัยอยุธยา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงแต่งตั้งให้พระยายุทธิษเฐียร ซึ่งเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 4 เป็น "พระยาสองแคว" เป็นเจ้าเมืองอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยา แต่พระยายุทธิษเฐียร คิดตั้งตนขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาจึงหันไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราช แห่งอาณาจักรล้านนา นำไปสู่สงครามระหว่างอยุธยาและล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ย้ายมาประทับที่เมืองสองแควในพ.ศ. 2006 เมื่อตั้งรับศึกกับล้านนา และทรงผนวชที่วัดจุฬามณี ในพ.ศ. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 คน[ 31] สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงรวมเมืองฝั่งตะวันออกและเมืองชัยนาท ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน เข้าด้วยกัน[ 27] แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า เมืองพระพิษณุโลกสองแคว ปรากฏชื่อเมือง "พิษณุโลก" ขึ้นครั้งแรกในลิลิตยวนพ่าย [ 32]
พระพุทธชินราช ณ พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครองของอยุธยาในหัวเมืองเหนือ โดยมีพระมหาอุปราช ซึ่งเป็นพระราชโอรสทรงครองเมืองและประทับอยู่ที่พระราชวังจันทน์ เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตพระเชษฐาพระโอรสเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาพระเชษฐาได้ราชสมบัติอยุธยาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงแต่งตั้งให้พระโอรสคือสมเด็จพระไชยราชาธิราช ให้ครองเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระไชยราชาธิราช ยึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราช ขึ้นเป็นสมเด็จพระไชยราชาธิราช จากนั้นไม่มีการตั้งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อขุนพิเรนทรเทพยึดอำนาจจากขุนวรวงศาธิราช ในพ.ศ. 2091 และเชิญสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงแต่งตั้งให้ขุนพิเรนทรเทพให้เป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ปกครองเมืองพิษณุโลก ทำให้เมืองพิษณุโลกมี "พระมหาธรรมราชา" มาปกครองอีกครั้ง พระวิสุทธิกษัตรีย์ ทรงสร้างวัดนางพญา
เมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง แห่งพม่า ยกทัพมาประชิดเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2106 พระมหาธรรมราชายอมจำนนต่อพระเจ้าบุเรงนอง ทำให้พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดกลายเป็นประเทศราชของพม่า สมเด็จพระมหินทราธิราช แห่งอยุธยาทรงร่วมมือกับสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช แห่งล้านช้างร่วมกันยกทัพเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกในแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง พระเจ้าบุเรงนองตั้งให้พระมหาธรรมราชาครองอยุธยา
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทรงตั้งให้พระโอรสคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชไปครองเมืองพิษณุโลกอีกครั้งในพ.ศ. 2114 ประทับที่พระราชวังจันทน์ ตามข้อสันนิษฐานของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล [ 33] ในปีพ.ศ. 2127 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เมืองพิษณุโลกทำให้ "เกิดเหตุอัศจรรย์แม่น้ำซายหัวเมืองพิษณุโลกนั้น ป่วนขึ้นสูงกว่าพื้นนั้นสามศอก" เมืองพิษณุโลกอาจเสียหายมาก หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงแล้วจึงมีพระราชโองการให้ "เทครัว" กวาดต้อนผู้คนในหัวเมืองเหนือทั้งหมดรวมถึงพิษณุโลกลงมายังภาคกลางตอนล่างเพื่อเตรียมการรับศึกกับพม่า[ 34] ทำให้เมืองพิษณุโลกกลายเป็นเมืองร้างอยู่เป็นเวลาแปดปี จนกระทั่งหลังจากเสร็จสิ้นสงครามยุทธหัตถี แล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงทรงฟื้นฟูเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2136 โดยการแต่งตั้งให้พระชัยบุรี หรือพระยาชัยบูรณ์ เป็นพระยาสุรสีห์ฯ เจ้าเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกเปลี่ยนฐานะจากเมืองของพระมหาอุปราชมาเป็นเมืองชั้นเอกมีขุนนางเป็นเจ้าเมือง ปรากฏราชทินนามของเจ้าเมืองพิษณุโลกว่า เจ้าพระยาสุรสีห์พิศมาธิราช ชาติพัทยาธิเบศราธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ หรือ "เจ้าพระยาพิษณุโลกเอกอุ" ศักดินา 10,000 ไร่ เมืองพิษณุโลกหัวเมืองชั้นเอกฝ่ายเหนือของอยุธยาคู่กับเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเมืองเอกฝ่ายใต้
สมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จมานมัสการพระพุทธชินราช ในพ.ศ. 2146 พร้อมทั้งโปรดฯให้นำทองนพคุณมาปิดทองพระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปสำริด เป็นการปิดทององค์พระพุทธชินราช ครั้งแรก ในพ.ศ. 2205 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลังจากเสร็จสิ้นศึกเชียงใหม่ ทรงนมัสการพระพุทธชินราช และโปรดฯให้สร้างรอยพระพุทธบาทจำลองเมื่อพ.ศ. 2222 ประดิษฐานไว้ ที่วัดจุฬามณี ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา มีการปฏิรูปการปกครอง หัวเมืองฝ่ายเหนือรวมถึงเมืองพิษณุโลกอยู่ภายใต้การปกครองของสมุหนายก ในพ.ศ. 2309 เนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่ายกทัพเข้ายึดเมืองสุโขทัย เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) นำทัพพิษณุโลกเข้ากอบกู้เมืองสุโขทัย เจ้าฟ้าจีด เสด็จหลบหนีจากกรุงศรีอยุธยา มายึดอำนาจที่เมืองพิษณุโลก[ 35] ทำให้เจ้าพระยาพิษณุโลกต้องเลิกทัพจากสุโขทัยกลับไปยึดอำนาจคืนจากเจ้าฟ้าจีด และทัพพม่า สามารถเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา ได้โดยไม่ยึดเมืองพิษณุโลก
สมัยธนบุรี
หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าชุมนุมพิษณุโลก มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์และปากน้ำโพ ใน พ.ศ. 2311 เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ราชาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าพิษณุโลกพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา แล้วสถาปนาเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นเมืองหลวง[ 36] รัฐเอกราชแห่งใหม่ของกรุงศรีอยุธยา มีนามว่า กรุงพระพิศณุโลกย์ราชธานีศรีอยุทธยามหานคร [ 37] เจ้าพระฝางยกทัพมาตีกรุงพิษณุโลกแต่ไม่แพ้ไม่ชนะกัน[ 38] เมื่อปลายปีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพมาตีชุมนุมพิษณุโลกแต่พ่ายแพ้ต้องยกทัพกลับไปยังกรุงธนบุรี พระเจ้าพิษณุโลกครองกรุงพิษณุโลกได้ 7 วัน[ 39] หรือ 6 เดือนจึงเสด็จสวรรคต (คาดว่าน่าจะ 6 เดือนมากกว่า[ 40] ) พระอินทร์อากร (จัน) น้องชายของเจ้าพระยาพิษณุโลกขึ้นเป็นผู้นำชุมนุมพิษณุโลกต่อมา แต่ชุมนุมเจ้าพระฝาง เข้ายึดชุมนุมพิษณุโลกประหารชีวิตพระอินทร์อากรและกวาดต้อนทรัพย์สินผู้คนไปยังเมืองสวางคบุรี เมืองพิษณุโลกอยู่ภายใต้การปกครองของชุมนุมเจ้าพระฝางจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเจ้าพระยายมราช (บุญมา) ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยกทัพขึ้นมายึดเมืองพิษณุโลกได้สำเร็จในพ.ศ. 2313 ทำให้พิษณุโลกเข้ามาอยู่การปกครองของธนบุรีและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยายมราช (บุญมา) เป็น "เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชฯ" ปกครองเมืองพิษณุโลก
ใน พ.ศ. 2318 ในขณะที่เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ซึ่งต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช (บุญมา) ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กำลังทำศึกที่เมืองเชียงแสน นั้น แม่ทัพพม่าอะแซหวุ่นกี้ ยกทัพเข้ามา ผ่านด่านแม่ละเมา แขวงเมืองตาก เข้ารุกรานเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์เร่งทัพลงมาป้องกันเมืองพิษณุโลก อะแซหวุ่นกี้นำทัพพม่าเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่นานสี่เดือนและตัดเส้นทางเสบียงทำให้เมืองพิษณุโลกขาดแคลนอาหาร อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวพระเจ้าพระยาจักรีที่เนินดินซึ่งเชื่อว่าปัจจุบันอยู่ที่หน้าสำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลกเดิมซึ่งประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ[ 41] เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์พิจารณาว่าศึกครั้งนี้ไม่สามารถต้านได้จึงฝ่าวงล้อมของศัตรูออกไปตั้งมั่นที่เพชรบูรณ์ อะแซหวุ่นกี้นำทัพพม่า เข้าปล้นสะดมเผาทำลายเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกถูกทำลายลงโดยส่วนใหญ่ ทำลายพระราชวังจันทน์ เหลือเพียงพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุซึ่งไม่ถูกทำลาย
สมัยรัตนโกสินทร์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อพ.ศ. 2325 จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้ "หลวงนรา"[ 42] เป็น "พระยาพิษณุโลก" ในพ.ศ. 2328 สงครามเก้าทัพ แม่ทัพพม่าเนเมียวสีหซุย ยกทัพจากลำปาง ลงมารุกรานหัวเมืองเหนือ หลวงนราพระยาพิษณุโลกเห็นว่าข้าศึกมีกำลังมากฝ่ายหัวเมืองเหนือมีกำลังน้อยจากการสูญเสียกำลังพลไปมากในสงครามอะแซหวุ่นกี้ จึงสละเมืองพิษณุโลกหลบหนีเข้าป่าไม่ได้ต่อสู้ต้านทานการรุกรานของพม่า [ 42] ทัพพม่า จึงเดินทัพผ่านหัวเมืองเหนือลงไปยังนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้รื้อกำแพงเมืองพิษณุโลกลง[ 43] เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่น เมืองพิษณุโลกซึ่งเผชิญกับศึกสงครามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณยี่สิบปีอยู่ในสภาวะทรุดโทรมและขาดการทำนุบำรุง ในพ.ศ. 2372 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ทรงอัญเชิญพระพุทธชินสีห์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ได้อัญเชิญพระศรีศาสดาไปยังวัดบางอ้อยช้าง[ 44] (ซึ่งต่อมาพระศรีศาสดาได้ไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร )
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกย่องพระพุทธชินราชว่า "...จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว" มีพระราชดำริอัญเชิญพระพุทธชินราชลงไปเป็นองค์ประธานของวัดเบญจมบพิตร [ 45] ปรากฏเรื่องเล่ามุขปาฐะว่าในการอัญเชิญพระพุทธชินราชนั้นเกิดเหตุอัศจรรย์ไม่สามารถนำพระพุทธชินราชลงแพได้ หรือเมื่อเข็นลงแพแล้วแพหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว[ 45] จึงไม่สามารถอัญเชิญพระพุทธชินราชลงไปยังกรุงเทพได้และประดิษฐานในเมืองพิษณุโลกดังเดิม มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก ขึ้นในพ.ศ. 2437 โดยมีเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครองประกอบด้วยห้าเมืองได้แก่เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองสุโขทัย เมืองพิจิตร และเมืองสวรรคโลก ต่อมารวมมณฑลเพชรบูรณ์เข้าร่วมด้วย โดยมีเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เป็นข้าหลวงคนแรก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสยามมกุฏราชกุมารเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2450 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อมีการตรา"พระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476" ขึ้น มณฑลเทศาภิบาลสิ้นสุดลงนำไปสู่การจัดตั้งจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน
ครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สะพานข้ามแม่น้ำน่านหน้าวัดใหญ่ก็ถูกทิ้งระเบิด แต่ทิ้งเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเป้าหมาย[ต้องการอ้างอิง ] ทั้ง ๆ ที่ในอดีต เป็นสะพานไม้ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก[ต้องการอ้างอิง ]
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดพิษณุโลกมีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค ที่แตกต่างกันตามการแบ่งแบบต่าง ๆ หากแบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะจัดอยู่ในภาคเหนือ ตอนล่าง สำหรับเกณฑ์การแบ่งภาคอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสภา จะจัดอยู่ในภาคกลาง โดยอยู่ทางตอนบนของภาค ห่างจากกรุงเทพมหานคร 377 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,759,909 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ภูมิประเทศ
ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเนินมะปราง อำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการ จุดสูงสุดคือภูสอยดาว2,102 เมตร เป็นยอดเขาปันเขตแดนไทย-ลาว พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน และแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง
ภูมิอากาศ
จังหวัดพิษณุโลกมีลมมรสุมพัดผ่านจากทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรอินเดีย และแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู
ฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน จะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยประมาณปีละ 1,375 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซีย
ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดพิษณุโลก
เดือน
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)
36.3 (97.3)
38.0 (100.4)
40.3 (104.5)
41.8 (107.2)
42.0 (107.6)
38.7 (101.7)
38.4 (101.1)
36.7 (98.1)
36.6 (97.9)
35.3 (95.5)
35.7 (96.3)
35.6 (96.1)
42 (107.6)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)
31.6 (88.9)
33.9 (93)
35.9 (96.6)
37.4 (99.3)
35.6 (96.1)
33.6 (92.5)
32.8 (91)
32.3 (90.1)
32.3 (90.1)
32.3 (90.1)
31.7 (89.1)
30.9 (87.6)
33.36 (92.05)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)
24.1 (75.4)
26.7 (80.1)
29.0 (84.2)
30.6 (87.1)
29.6 (85.3)
28.5 (83.3)
28.1 (82.6)
27.8 (82)
27.8 (82)
27.6 (81.7)
26.1 (79)
24.0 (75.2)
27.49 (81.49)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)
18.0 (64.4)
20.8 (69.4)
23.5 (74.3)
25.3 (77.5)
25.2 (77.4)
24.8 (76.6)
24.6 (76.3)
24.5 (76.1)
24.5 (76.1)
24.0 (75.2)
21.6 (70.9)
18.3 (64.9)
22.93 (73.27)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)
8.9 (48)
13.2 (55.8)
12.7 (54.9)
19.1 (66.4)
20.4 (68.7)
21.8 (71.2)
21.6 (70.9)
22.2 (72)
21.5 (70.7)
17.6 (63.7)
12.1 (53.8)
9.4 (48.9)
8.9 (48)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)
7 (0.28)
12 (0.47)
29 (1.14)
51 (2.01)
188 (7.4)
183 (7.2)
190 (7.48)
257 (10.12)
241 (9.49)
157 (6.18)
31 (1.22)
6 (0.24)
1,352 (53.23)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm)
1
1
2
4
12
13
14
17
15
9
3
1
92
แหล่งที่มา: NOAA (2504-2533)[ 46]
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด : พระพุทธชินราช
ธงประจำจังหวัด : ธงพื้นสีม่วง กลางธงเป็นตราประจำจังหวัดคือรูปพระพุทธชินราชในวงกลม
คำขวัญประจำจังหวัด : พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ปีบ (Millingtonia hortensis )
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกนนทรี (Peltophorum pterocarpum )
การเมืองการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
แผนที่อำเภอในจังหวัดพิษณุโลก
จังหวัดพิษณุโลกแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,032 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 9 อำเภอมีดังนี้
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
สมัยสุโขทัย
ทำเนียบผู้ปกครองเมืองสองแควระหว่างปี พ.ศ. 1792–1981 ขึ้นกับอาณาจักรสุโขทัย ในบางช่วงเวลามีฐานะเป็นเมืองหลวง
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ทำเนียบผู้ปกครองเมืองพิษณุโลกระหว่างปี พ.ศ. 2127–2310 ขึ้นกับอาณาจักรอยุธยา มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกอุและหัวเมืองชั้นเอก
สมัยกรุงธนบุรี
ทำเนียบเจ้าเมืองพิษณุโลกระหว่างปี พ.ศ. 2310–2325 มีฐานะเป็นเมืองอิสระและหัวเมืองชั้นเอกอุ[ 65] [ 66] : 42
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ทำเนียบผู้สำเร็จราชการเมือง สมุหเทศาภิบาล และผู้ว่าราชการจังหวัดระหว่างปี พ.ศ. 2325–ปัจจุบัน
ทำเนียบผู้สำเร็จราชการเมือง
มีฐานะเป็นหัวเมือง ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. 2325–2437
ทำเนียบสมุหเทศาภิบาลมลฑล
รายชื่อผู้ว่าราชการเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
เมืองพิษณุโลกได้รับการจัดตั้งเป็นเขตการปกครองระดับที่สองในระบบมณฑลเทศาภิบาล ขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2437 และเปลี่ยนคำเรียกเป็นจังหวัดตั้งแต่ พ.ศ. 2459[ 71] รายชื่อผู้ว่าราชการเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด มีดังนี้[ 72] [ 73]
ลำดับ
ชื่อ
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1
พระบริรักษ์โยธี (ทองอยู่ สุวรรณบาตร์)
ไม่ทราบข้อมูล
2
พระไชยศิรินทรภักดี (สวัสดิ์ มหากายี)
2456–2457
3
พระพิษณุโลกบุรี (สวัสดิ์ มหากายี)
2457–2458
4
พระเกษตรสงคราม (เชียร กัลยาณมิตร)
2458–2459
5
พระสวรรคโลกบุรี
2459–2461
6
พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฎ (เชียร กัลยาณมิตร)
2461–2470
7
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย มัฆวิบูลย์)
2470–2476
8
พระยาศิรีชัยบุรินทร์ (เบี๋ยน หงสะเดช)
12 มีนาคม 2456 – 1 กรกฎาคม 2476
9
พระสาครบุรานุรักษ์ (ปริก สุวรรณานนท์)
20 มีนาคม 2478 – 18 พฤษภาคม 2481
10
พระยาสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม (เต่า ศตะกูรมะ)
10 มิถุนายน 2481 – 18 มิถุนายน 2482
11
หลวงยุทธสารประสิทธิ์ (เมี้ยน โรหิตเสรนี)
24 มิถุนายน 2482 – 7 กรกฎาคม 2483
12
พันเอก พระศรีราชสงคราม (ศรี ศุขะวาที)
7 กันยายน 2483 – 7 พฤษภาคม 2484
13
พันตรี หลวงยุทธสารประสิทธิ์ (เมี้ยน โรหิตเสรนี)
16 มิถุนายน 2484 – 27 กรกฎาคม 2485
14
หลวงวิเศษภักดี (ชื่น วิเศษภักดี)
28 เมษายน 2485 – 3 มกราคม 2487
15
หลวงศรีนราศัย (ผิว จันทิมาคม)
11 พฤษภาคม 2487 – 7 กรกฎาคม 2488
16
นายพรหม สูตรสุคนธ์
7 กรกฎาคม 2488 – 7 ตุลาคม 2489
17
ขุนคำณวนวิจิตร (เชย บุนนาค)
18 พฤศจิกายน 2489 – 6 ธันวาคม 2490
18
ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุณยนิตย์)
6 ธันวาคม 2490 – 31 ธันวาคม 2493
19
นายพ่วง สุวรรณรัฐ
1 มกราคม 2494 – 10 พฤศจิกายน 2494
20
พันตรี ขุนทะยานราญรอน (วัชระ วัชรบูล)
12 กุมภาพันธ์ 2494 – 1 พฤศจิกายน
21
พระบรรณศาสน์สาทร (สง่า คุปตารักษ์)
1 กุมภาพันธ์ 2497 – 1 สิงหาคม 2497
22
นายปรง พะหูชนม์
1 สิงหาคม 2497 – 22 กุมภาพันธ์ 2501
23
นายพ่วง สุวรรณรัฐ (รักษาการในตำแหน่ง ผ.ว.ก.จว.)
14 กุมภาพันธ์ 2501 – 3 มีนาคม 2501
24
นายเยียน โพธิสุวรรณ
27 มีนาคม 2501 – 3 เมษายน 2507
25
นายเจริญ ภมรบุตร
9 เมษายน 2507 – 4 กุมภาพันธ์ 2509
26
นายนิรุต ไชยกูล
11 กุมภาพันธ์ 2509 – 21 ตุลาคม 2510
27
นายพล จุฑางกูร
21 พฤศจิกายน 2510 – 2 ตุลาคม 2513
28
นายพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์
2 ตุลาคม 2513 – 21 กันยายน 2514
29
นายจำรูญ ปิยัมปุตระ
1 ตุลาคม 2514 – 30 กันยายน 2515
30
พลตำรวจตรี สามารถ วายวานนท์
1 ตุลาคม 2515 – 30 กันยายน 2517
31
นายสิทธิเดช นรัตถรักษา
1 ตุลาคม 2517 – 30 กันยายน 2519
32
นายชาญ กาญจนาคพันธุ์
1 ตุลาคม 2519 – 30 กันยายน 2523
33
นายยง ภักดี
1 ตุลาคม 2523 – 30 กันยายน 2525
34
นายสืบ รอดประเสริฐ
1 ตุลาคม 2525 – 31 ตุลาคม 2528
35
นายนพรัตน์ เวชชศาสตร์
1 พฤศจิกายน 2528 – 30 กันยายน 2532
36
นายไพฑูรย์ สุนทรวิภาต
1 ตุลาคม 2532 – 30 กันยายน 2534
37
นายอภัย จันทนจุลกะ
1 ตุลาคม 2534 – 30 กันยายน 2536
38
นายสวัสดิ์ ส่งสัมพันธ์
1 ตุลาคม 2536 – 30 กันยายน 2539
39
นายนิธิศักดิ ราชพิตร
1 ตุลาคม 2539 – 30 กันยายน 2542
40
นายวิจารณ์ ไชยนันท์
1 ตุลาคม 2542 – 30 กันยายน 2545
41
นายพิพัฒน์ วงศาโรจน์
1 ตุลาคม 2545 – 30 กันยายน 2550
42
นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์
1 ตุลาคม 2550 – 15 มีนาคม 2552
43
นายปรีชา เรืองจันทร์
16 มีนาคม 2552 – 27 เมษายน 2555
44
นายชัยโรจน์ มีแดง
27 เมษายน 2555 – 7 ตุลาคม 2555
43
นายปรีชา เรืองจันทร์ (ครั้งที่ 2)
8 ตุลาคม 2555 – 30 กันยายน 2556
44
นายระพี ผ่องบุพกิจ
1 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2557
45
นายจักริน เปลี่ยนวงษ์
1 ตุลาคม 2557 – 30 กันยายน 2558
46
นายชูชาติ กีฬาแปง
1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559
47
นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ
1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560
48
นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์
1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561
49
นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์
1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2563
50
นายรณชัย จิตรวิเศษ
1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2565
51
นายภูสิต สมจิตต์
1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2567
52
นายทวี เสริมภักดีกุล
17 พฤศจิกายน 2567 – ปัจจุบัน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดพิษณุโลก มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 30 คน[ 74]
ภายในพื้นที่ของจังหวัดพิษณุโลกแบ่งออกเป็นเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่างหรือระดับพื้นฐานจำนวนทั้งหมด 102 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนคร 1 แห่ง, เทศบาลเมือง 1 แห่ง, เทศบาลตำบล 24 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 76 แห่ง[ 75] รายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดพิษณุโลกจำแนกตามอำเภอ มีดังนี้
แผนที่เขตเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก
เทศบาลนครพิษณุโลก
อำเภอนครไทย
เทศบาลตำบลนครไทย
เทศบาลตำบลบ้านแยง
อำเภอบางระกำ
เทศบาลตำบลบางระกำ
เทศบาลตำบลปลักแรด
เทศบาลตำบลพันเสา
เทศบาลตำบลบึงระมาณ
เทศบาลตำบลบางระกำเมืองใหม่
อำเภอบางกระทุ่ม
เทศบาลตำบลเนินกุ่ม
เทศบาลตำบลบางกระทุ่ม
เทศบาลตำบลห้วยแก้ว
เทศบาลตำบลสนามคลี
อำเภอเนินมะปราง
เทศบาลตำบลเนินมะปราง
เทศบาลตำบลไทรย้อย
เทศบาลตำบลบ้านมุง
ประชากรศาสตร์
หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน
หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลง เมื่อเทียบกับปีก่อน
อันดับ (ปีล่าสุด)
อำเภอ
พ.ศ. 2557 [ 76]
พ.ศ. 2556 [ 77]
พ.ศ. 2555 [ 78]
พ.ศ. 2554 [ 79]
พ.ศ. 2553 [ 80]
พ.ศ. 2552 [ 81]
พ.ศ. 2551 [ 82]
1
เมืองพิษณุโลก
283,419
281,762
280,922
280,457
279,292
276,293
274,415
2
วังทอง
120,824
120,535
120,513
119,878
119,485
119,103
119,213
3
บางระกำ
94,980
94,832
94,578
94,020
93,841
93,725
93,673
4
พรหมพิราม
87,864
87,853
87,739
87,629
87,869
87,868
87,962
5
นครไทย
87,042
86,684
86,163
85,534
85,213
84,911
85,202
6
เนินมะปราง
58,208
58,043
58,062
57,916
57,873
57,906
58,015
7
บางกระทุ่ม
48,152
48,307
48,390
48,313
48,605
48,667
48,849
8
ชาติตระการ
40,801
40,633
40,432
40,144
40,121
39,759
39,483
9
วัดโบสถ์
37,698
37,727
37,573
37,466
37,393
37,329
37,183
—
รวม
858,988
856,376
854,372
851,357
849,692
845,561
843,995|
การศึกษา
จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง มีสถานศึกษามากมายทุกระดับตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัยทั้งรัฐบาล และเอกชนดังนี้
อุดมศึกษา
ป้ายมหาวิทยาลัยนเรศวร
ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร
อาชีวศึกษา
วิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดพิษณุโลก
วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก
วิทยาลัยเทคนิคสองแคว
วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก
วิทยาลัยการอาชีพนครไทย
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีพิษณุโลก
วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการพิษณุโลก
มัธยมศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ (เฉพาะในจังหวัดพิษณุโลก)
อำเภอนครไทย
โรงเรียนนครชุมพิทยา รัชมังคลาภิเษก
โรงเรียนนครไทย
โรงเรียนนครบางยางพิทยาคม
โรงเรียนนาบัววิทยา
โรงเรียนบ่อโพธิ์วิทยา
โรงเรียนยางโกลนวิทยา
อำเภอพรหมพิราม
โรงเรียนดงประคำพิทยาคม
โรงเรียนพรหมพิรามวิทยา
โรงเรียนวังมะด่านพิทยาคม
ประถมศึกษา
สาธารณสุข
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
จังหวัดพิษณุโลกมีสถานบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน คลินิก โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลทหาร โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย โดยมีโรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำจังหวัดและประจำภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างคือ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างก็คือ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม คือโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โรงพยาบาลกองบิน 46 และมีโรงพยาบาลประจำอำเภอดังต่อไปนี้
การขนส่ง
สถานีรถไฟพิษณุโลก
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ทำให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นจุดศูนย์กลางในด้านคมนาคมของภูมิภาคอินโดจีน โดยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคกลาง กับภาคเหนือ รวมทั้งภาคเหนือ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วย จังหวัดพิษณุโลกจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน" โดยสามารถเดินทางได้โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (แม่สอด-มุกดาหาร) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อินทร์บุรี-เชียงใหม่) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (พิษณุโลก-นครสวรรค์) โดยทางหลวงทั้ง 3 สายเชื่อมโยงกันด้วยโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 (ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก)
โดยทั้งนี้จังหวัดพิษณุโลกมีสถานีขนส่งผู้โดยสาร 2 แห่งด้วยกัน
สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่ภายในตัวเมือง สำหรับรถโดยสารที่วิ่งบริเวณจังหวัดที่ใกล้เคียง
สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกอินโดจีน เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ก่อสร้างบนเนื้อที่ 10 ไร 12 ตารางวา รองรับรถโดยสารที่มีเส้นทางผ่านจังหวัดพิษณุโลก รวม 20 เส้นทาง มีชานชาลาสำหรับจอดรถโดยสารทั้งหมด 40 ช่อง แบ่งเป็นอาคารสถานีฯหลังใหญ่ จำนวน 20 ช่อง อาคารสถานีฯหลังเล็ก จำนวน 20 ช่อง มีช่องจำหน่ายตั๋ว 27 ช่อง มีสถานที่จอดรถสำหรับประชาชนจำนวน 100 ช่อง มีการจัดสถานที่นั่งรอรถ สำหรับพระภิกษุและประชาชนอย่างเพียงพอ
นอกจากการคมนาคมทางรถยนต์แล้วยังสามารถเดินทางด้วยรถไฟที่สถานีรถไฟพิษณุโลก หรือทางอากาศที่ท่าอากาศยานพิษณุโลก มีเที่ยวบินพาณิชย์ให้บริการจากท่าอากาศยานดอนเมือง ได้แก่ สายการบินนกแอร์ สายการบินไทยแอร์เอเชีย และสายการบินไทยไลออนแอร์ โดยให้บริการทุกวัน
การเดินทางภายในตัวจังหวัด มีรถโดยสารสองแถวสีม่วงและรถโดยสารประจำทางมินิบัสสีม่วงให้บริการหลายสาย
และยังมีรถแท็กซี่มิตเตอร์ให้บริการอีกด้วย
สถานที่ท่องเที่ยว
อำเภอเมืองพิษณุโลก
วิหารเก้าห้องประดิษฐานพระอัฏฐารส ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
สมเด็จนางพญาเรือนแก้ว ในวัดนางพญา
อำเภอบางระกำ
อำเภอวังทอง
น้ำตกแก่งซอง อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
อำเภอนครไทย
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
อำเภอวัดโบสถ์
อำเภอชาติตระการ
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว บริเวณลานสน
อำเภอเนินมะปราง
อำเภอพรหมพิราม
บุคคลที่มีชื่อเสียง
เกจิคณาจารย์ชื่อดังของจังหวัดพิษณุโลก
พระพรหมวชิรเจดีย์ (บำรุง ฐานุตโร)ปธ.7 อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองพิษณุโลก
พระวรญาณมุนี (หลวงตาละมัย (แจ่ม สุธัมโม) วัดอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก
พระมงคลสุธี (หลวงพ่อแขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ อำเภอบางระกำ
พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) วัดสระแก้วปทุมทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก
หลวงพ่อทรัพย์ วัดปลักแรด อำเภอบางระกำ
พระครูประพันธ์ศีลคุณ (หลวงพ่อพันธ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางสะพานและเจ้าคณะอำเภอวังทอง ชั้นเอก
พระครูสุวรรณธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อวาว) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางสะพานและเจ้าคณะตำบลวังทองชั้นเอกกิตติมศักดิ์
พระครูศีลสารสัมบัน (หลวงปู่อ่อน พุทธสโก) วัดเนินมะเกลือวนาราม อำเภอวังทอง
พระครูไพโรจน์คุณาธาร (หลวงปู่หล้า คุณาธโร) วัดหนองบัว อำเภอวังทอง
พระครูขันติธรรมาภินันท์ (หลวงพ่อเชื่อม) วัดหนองทอง อำเภอวังทอง
หลวงพ่อยี ปญญภาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดอภัยสุพรรณภูมิ (วัดดงตาก้อนทอง) อำเภอบางกระทุ่ม
หลวงพ่อแห วัดหนองบัว อ.เมือง
นักการเมือง
นักเขียน/ศิลปิน
สื่อมวลชน/ดารา/นักแสดง
นักกีฬา
นางงาม/นางแบบ
ของดีจังหวัดพิษณุโลก
โรงงานทำพระพุทธรูป ในจังหวัดพิษณุโลก
หมายเหตุ
อ้างอิง
เชิงอรรถ
↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
↑ 2.0 2.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 1 มีนาคม 2565
↑ "การแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์" . สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
↑ "amazing THAILAND : แบ่งตามภูมิภาค" . การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 เสน่หา บุณยรักษ์ และทิพย์สุดา นัยทรัพย์. (2542). โครงการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวัฒนธรรม สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก ปีการศึกษา ๒๕๔๒ เรื่อง ภูมินามจังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม. 389 หน้า.
↑ 7.0 7.1 สุรัตน์ นิ่มขาว. (2556, 6 พฤษภาคม). "ภาคผนวก ก: ประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก", โครงการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน และมรดกวัฒนธรรมเมืองเก่าพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 243 หน้า.
↑ ดร. ตรงใจ หุตางกูร. "ประเด็นประวัติศาสตร์และโบราณคดีจากจารึกเมืองละโว้" ใน มรดกความทรงจำแห่งนพบุรีศรีลโวทัยปุระ : ว่าด้วยโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ฯ และจารึกโบราณแห่งเมืองละโว้ , หน้า 191
↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ (10 เมษายน 2561). "พิษณุโลก คือโอฆบุรี และสรลวง (ไม่ใช่สระหลวง)" . มติชนออนไลน์ . สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563 .
↑ นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. พระราชพงศาวดารพม่า เล่มที่ 5. พระนคร : คุรุสภา, 2505. หน้า 239.
↑ นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น. พระราชพงศาวดารพม่า เล่มที่ 2. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.], หน้า 495.
↑ นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น. พงศาวดารไทยใหญ่, (ตอนที่ ๗ อังกฤษครอบครองหัวเมืองไทยใหญ่). กรุงเทพฯ : 2456.
↑ นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น. พระราชพงศาวดารพม่า เล่มที่ 1. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.], 2456. 1191 หน้า. หน้า 477.
↑ นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. พระราชพงศาวดารพม่า เล่มที่ 1. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.], 2505. หน้า 224.
↑ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, โครงการศูนย์สุโขทัยศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์. (2539). สารานุกรมสุโขทัยศึกษา เล่ม 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 358 หน้า. ISBN 978-974-6-14936-5
↑ http://www.thaiheritage.net/nation/oldcity/phitsanulok4.htm
↑ 17.0 17.1 หวน พินธุพันธ์. เมืองโบราณของเรา: กรณีศึกษาเมืองโบราณใน พิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ ลพบุรี และอ่างทอง . กรุงเทพฯ: บันทึกสยาม, 2542.
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-02-06. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28 .
↑ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน และตำนานสิงหนวติกุมาร ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๑
↑ silpathai.net/โบราณวัตถุสถาน"พระปราง/
↑ http://storyofsiam2.blogspot.com/p/blog-page_13.html
↑ Gervaise, Nicolas. (1688). Histoire naturelle et politique du Royaume de Siam: Divisée En Quatre Parties . Paris, France: L'imprimerie de Pierre le Mercier. p. 47.
↑ แชรแวส, นีโกลาส์ และสันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). (2506). Histoire naturelle et politique du royaume de Siam [ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)]. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร: ก้าวหน้า. 324 หน้า. ISBN 978-616-4-37035-7
↑ ตุรแปง, ฟรังซัวส์ อังรี. ประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยาม : Histoire du Royaume de Siam, tome premier โดย ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง . ปอล ซาเวียร์ แปล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2539. 256 หน้า. หน้า 17. ISBN 974-419-094-9
↑ https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/177
↑ พิระสันต์, จิรวัฒน์. ศิลปกรรมทัองถิ่น จังหวัดพิษณุโลก . สำนักพิมพ์ แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; พ.ศ. 2547.
↑ 27.0 27.1 เจียจันทร์พงษ์, พิเศษ. เมืองในประวัติศาสตร์ยุคสุโขทัยอยุธยา พระมหาธรรมราชากษัตราธิราช . สำนักพิมพ์มติชน; พ.ศ. 2553.
↑ http://www.thaiheritage.net/king/ayuthaya/ayuthaya1.htm
↑ 29.0 29.1 ประเสริฐ ณ นคร . ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด . สำนักพิมพ์มติชน; พ.ศ. 2549.
↑ ISBN 978-0-521-01647-6 A History of Thailand
↑ https://www.phitsanulokhotnews.com/2013/03/03/32685
↑ วัลลิโภดม, ศรีศักร . ลุ่มนํ้าน่าน: ประวัติศาสตร์โบราณคดี ของ พิษณุโลก "เมืองอกแตก . สำนักพิมพ์มติชน; พ.ศ. 2546.
↑ https://m.mgronline.com/columnist/detail/9550000137934
↑ มานพ ถาวรวัฒน์สกุล. ขุนนางอยุธยา . กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เมษายน 2547.
↑ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ไทยรบพม่าครั้งที่ ๒๔ สงครามครั้งที่ ๒๔ คราวเสียกรุงฯ ครั้งหลัง ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ .
↑ ชัย เรืองศิลป์ และพรเพ็ญ ฮั่นตระกูล. (2533). ประวัติศาสตร์ไทยด้านเศรษฐกิจแต่โบราณถึง พ.ศ. 2399. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ. 288 หน้า. หน้า 188.
↑ ก.ศ.ร. กุหลาบ และสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. (2449). ต้นวงศ์ตระกูลพะญาศรีสหเทพชื่อทองเพ็ง . พระนคร: ม.ป.ท. 454 หน้า. หน้า (ฏำ)–(ฏะ).
↑ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน . (2466). "ปริเฉจ ๗ ว่าด้วยทศราชวงศ์กรุงศรีอยุธยา เรื่อง พระนครถึงความพินาศใหญ่," ใน สังคีติยวงศ์ พงศาวดาร เรื่องสังคายนาพระธรรมวินัย สมเด็จพระวันรัตนวัดพระเชตุพน ในรัชกาลที่ ๑ แต่งภาษามคธ . แปลโดย พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาลลักษมณ) . ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ณะ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๖๖. พระนคร: โรงพิมพ์ไท. 574 หน้า. หน้า 417–418.
↑ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี.
↑ ธีระวัฒน์ แสนคำ. "เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) แห่งก๊กพิษณุโลก ถึงแก่พิราลัยหลังเป็นกษัตริย์ได้ 7 วันจริงหรือ? ," ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2564.
↑ https://www.phitsanulokhotnews.com/2016/04/06/83701
↑ 42.0 42.1 พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑.
↑ finearts.go.th/fad6/parameters/km/item/กำแพงเมืองพิษณุโลก.html
↑ "ตำนานสร้าง "พระศรีศาสดา" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง "พระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์" " . ไลน์ทูเดย์ . สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2563 .
↑ 45.0 45.1 "เหตุอัศจรรย์ในการอัญเชิญพระพุทธชินราช "มุขปาฐะในพื้นที่พิษณุโลก" " . ศิลปวัฒนธรรม . สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563 .
↑ "Climate Normals for Phitasnulok" . องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration). สืบค้นเมื่อ 3 February 2013 .
↑ 47.0 47.1 47.2 47.3 47.4 เจียจันทร์พงษ์, พิเศษ (2010), การเมืองในประวัติศาสตร์ยุคสุโขทัย-อยุธยา พระมหาธรรมราชากษัตราธิราช (2nd ed.), กรุงเทพฯ: มติชน, pp. 9, 30–31, 71, 74–75, ISBN 978-974-02-0401-5 , สืบค้นเมื่อ 2024-11-18
↑ พระโพธิรังษี (1963), ตำนานพระพุทธสิหิงค์ (PDF) , แปลโดย พระยาปริยัติธรรมธาดา , กรมศิลปากร, pp. 21–22, สืบค้นเมื่อ 2024-11-18
↑ พระรัตนปัญญาเถระ (1958), ชินกาลมาลีปกรณ์ (PDF) , แปลโดย มนวิทูร, แสง, พระนคร: กรมศิลปากร, pp. 102–103, สืบค้นเมื่อ 2024-11-18
↑ 50.0 50.1 หุตางกูร, ตรงใจ (2018), การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ , กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), pp. 24, 36, ISBN 978-616-7154-73-2
↑ พิษณุโลก, จังหวัด (1985), ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดพิษณุโลก , พิษณุโลก: สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก, pp. 7–8, สืบค้นเมื่อ 2024-11-18
↑ ทรัพย์พลอย, อรวรรณ, บ.ก. (2017), พระมหากษัตริย์ของไทย (PDF) , กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, p. 27, ISBN 978-616-283-320-5 , สืบค้นเมื่อ 2024-11-18
↑ สมเด็จพระพนรัตน์. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและจุลยุทธการวงศ์. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2535. 336 หน้า. หน้า 329. ISBN 978-974-4172-53-2
↑ กรมการศาสนา. ประวัติพระพุทธรูปองค์สำคัญ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2524. 264 หน้า. หน้า 257.
↑ 55.0 55.1 55.2 55.3 มานพ ถาวรวัฒน์สกุล. (2536). ขุนนางอยุธยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 298 หน้า. ISBN 974-571-443-7
↑ สุทนต์ ขวัญนคร. "ยกทัพตีเมืองเขมร เหตุด้วยความแค้นเคือง," ใน พระองค์ดำ : สมเด็จพระนเรศวรมหาราช. กรุงเทพฯ : คลังทรัพย์, 2538. 239 หน้า. หน้า 163. ISBN 978-974-8940-77-9
↑ สมบูรณ์ บำรุงเมือง. ชุมชนโบราณเมืองพิษณุโลก. พิษณุโลก : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม, 2544. 47 หน้า. หน้า 16. อ้างใน จดหมายเหตุของฟานฟลีต.
↑ สมบูรณ์ บำรุงเมือง. ชุมชนโบราณเมืองพิษณุโลก. พิษณุโลก : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม, 2544. 47 หน้า. หน้า 16. อ้างใน พระธรรมนุญศก 1555 (พ.ศ. 2176).
↑ วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ. หนังกวาง ไม้ฝาง ช้าง ของป่า: การค้าอยุธยาสมัยพุทธศตวรรษที่ 22-23. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2550. 183 หน้า. หน้า 120.ISBN 978-974-7385-09-0
↑ คำให้การขุนหลวงหาวัด. นนทบุรี : โครงการเลือกสรรหนังสือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547. 244 หน้า. หน้า 34. ISBN 978-974-6457-67-5
↑ ก.ศ.ร. กุหลาบ ตฤษณานนท์. มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ ว่าด้วยลำดับวงศ์ตระกูลขุนนางไทยทั้งสิ้นในแผ่นดินสยาม. พระนคร : สยามประเภท, ร.ศ. 124.
↑ มานพ ถาวรวัฒน์สกุล. (2536). ขุนนางอยุธยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรม. 298 หน้า. ISBN 978-9-745-71443-4
↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2459). "กฎหมายงานพระบรมศพครั้งกรุงเก่า (สอบเรื่องราวตำราพระเมรุกรมหลวงโยธาเทพฯ)," ใน เรื่องสมเด็จพระบรมศพ คือจดหมายเหตุงานพระเมรุครั้งกรุงเก่า กับพระราชวิจารณ์ของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง. พิมพ์แจกในงานศพ อำมาตย์เอก พระยาทวาราวดีภิบาล (แจ่ม โรจนวิภาต) จางวางกรุงเก่า ปีมโรงอัฐศพ พ.ศ. ๒๔๕๙. พระนคร: โสภณพิพรรฒนากร. 43 หน้า.
↑ เชาวน์ รูปเทวินทร์. (2528). ย่ำอดีต พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับงานกู้อิสรภาพของชาติไทย เลมที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.วาทิน พับลิเคชั่น จำกัด. 672 หน้า. หน้า 342-343.
↑ ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2557). การล่มสลายของก๊กเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) สู่ฐานกำลังสำคัญของกรุงธนบุรี . ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกรกฎาคม 2557.
↑ บุญเตือน ศรีวรพจน์ และสุจิตต์ วงษ์เทศ . (2545). อภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์. กรุงเทพฯ: มติชน. 183 หน้า. ISBN 978-9-743-22594-9
↑ นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. สาส์นสมเด็จ เล่ม ๕ : ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2513. 397 หน้า. หน้า 108.
↑ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี. (2523). ประชุมหมายรับสั่ง ภาค ๔: สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จ.ศ. ๑๑๘๖–๑๒๐๓. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. หน้า 190.
↑ สูนฤต เงินส่งเสริม. (2548, กันยายน). "การศึกษาสถาปัตยกรรมวัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก", วารสารหน้าจั่ว, 2(3): 61.
↑ สุรศักดิ์มนตรี (เจิม), เจ้าพระยา. (2476). ประวัติการของจอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี. [ม.ป.ท.]: ม.ป.พ. หน้า 110.
↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๙" (PDF) . ราชกิจจานุเบกษา . 33 (0ก): 51–53. 28 พฤษภาคม 1916.
↑ หวน พินธุพันธ์. "รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก," ใน พิษณุโลกของเรา . พิษณุโลก : วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก, 2514. 195 หน้า. หน้า 28–32.
↑ ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เก็บถาวร 2023-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . เว็บไซต์จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566.
↑ "ฝ่ายนิติบัญญัติ" . องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก . สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2024 .
↑ "ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด" . กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น . สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2024 .
↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ , เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/y_stat53.html 2553. สืบค้น 30 มกราคม 2554.
↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552."203.113.86.149/stat/y_stat.html สืบค้น 30 มีนาคม 2553
↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html เก็บถาวร 2012-07-30 ที่ archive.today 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
บรรณานุกรม
จิตร ภูมิศักดิ์ . ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย (โครงการสรรพนิพนธ์ จิตร ภูมิศักดิ์). กรุงเทพมหานคร: ฟ้าเดียวกัน , 2548.
ดร. วินัย ศรีพงศ์เพียร และ ดร. ตรงใจ หุตางกูร (บรรณาธิการ). มรดกความทรงจำแห่งนพบุรีศรีลโวทัยปุระ : ว่าด้วยโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ฯ และจารึกโบราณแห่งเมืองละโว้ . กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2558. 330 หน้า. ISBN 978-616-7154-31-2
แหล่งข้อมูลอื่น
สถานที่ใกล้เคียงกับจังหวัดพิษณุโลก
อำเภอ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ
สังคม
การศึกษา วัฒนธรรม กีฬา การเมือง
เขต 1 เขต 2 เขต 3 เขต 4 เขต 5 เขต 6 เขต 7 เขต 8 เขต 9 เขต 10