อำเภอโพธิ์ประทับช้าง
โพธิ์ประทับช้าง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอโพธิ์ประทับช้าง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ประวัติสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระศรีสรรเพชญ์ที่ 8) เดินทางจากอยุธยาไปสุโขทัยโดยช้างและมเหสีทรงครรภ์แก่ ระหว่างทางเดินทางถึงบริเวณต้นโพธิ์ริมแม่น้ำได้หยุดพักและประสูติพระโอรส นำรกฝังใต้ต้นอุทุมพร (ต้นมะเดื่อ) จึงให้ชื่อว่า “เจ้าเดื่อ” หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ ภายหลังทรงสร้างวัด ณ สถานประสูติ ต่อมาจึงตั้งชื่อว่า “โพธิ์ประทับช้าง” ซึ่งพระเจ้าเสือโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงภูมิชาติที่พระองค์ประสูติในปี พ.ศ. 2242 เดิมท้องที่เป็นส่วนหนึ่งของตำบลวังจิก ตำบลไผ่รอบ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร ตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพทะเล ในปี พ.ศ. 2481 ตำบลวังจิก และตำบลไผ่รอบ ได้ย้ายไปขึ้นกับอำเภอสามง่าม[1] ต่อมาได้มีการโอนตำบลกลับเข้าการปกครองของอำเภอเมืองพิจิตร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2481 ได้โอนตำบลไผ่รอบ จากอำเภอสามง่าม[2]และเดือนกันยายน พ.ศ. 2481 ได้โอนตำบลวังจิก จากอำเภอสามง่าม[3] ทั้ง 2 ตำบลให้กลับมาขึ้นอำเภอเมืองพิจิตรอีกครั้ง และตั้งตำบลโพธิ์ประทับช้างขึ้นในปี พ.ศ. 2490[4] ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2509 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลโพธิ์ประทับช้าง โดยเสนอให้รวมท้องที่ตำบลไผ่รอบ ตำบลวังจิก ตำบลโพธิ์ประทับช้าง เพื่อรวมขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ปีต่อมา พ.ศ. 2510 กรมการปกครองได้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งกิ่งอำเภอ ซึ่งจังหวัดพิจิตรได้เสนอขอตั้งกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้างในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร ซึ่งกรมการปกครองบรรจุเข้าแผนการจัดตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2509 - 2513) และในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2510 ทางกระทรวงมหาดไทยประกาศท้องที่ตำบลไผ่รอบ ตำบลวังจิก ตำบลโพธิ์ประทับช้าง ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง[5] ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองพิจิตร และขณะจัดตั้งกิ่งอำเภอได้เพียง 5 เดือน เขตตำบลไผ่ท่าโพ ของอำเภอโพทะเล ได้แจ้งแก่ทางราชการว่าประชาชนไปติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง สะดวกกว่าไปติดต่อกับอำเภอโพทะเล ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ทางราชการจึงได้โอนท้องที่ตำบลไผ่ท่าโพ[6] เข้ามาสมทบในการปกครองของทางกิ่งอำเภอ ในปี พ.ศ. 2513 หมู่ 3–5 และหมู่ 7 ของตำบลบึงนาราง อำเภอโพทะเล ขอเข้าอยู่ในการปกครองของกิ่งอำเภอ เนื่องจากติดต่อราชการสะดวก จึงได้โอนท้องที่ 4 หมู่บ้านมาขึ้นตำบลไผ่ท่าโพ[7] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2516 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอโพธิ์ประทับช้าง[8] และในปี พ.ศ. 2518 ได้แบ่งท้องที่ 6 หมู่บ้านของตำบลไผ่ท่าโพ ตั้งขึ้นเป็นตำบลดงเสือเหลือง[9] และแบ่งท้องที่ 7 หมู่บ้านของตำบลไผ่ท่าโพ ตั้งขึ้นเป็นตำบลเนินสว่าง ในปี พ.ศ. 2520[10] และใน 12 ปีต่อมาได้จัดตั้งตำบลลำดับสุดท้ายของทางอำเภอ โดยแบ่งท้องที่ตำบลดงเสือเหลือง ตั้งเป็นตำบลทุ่งใหญ่[11] อำเภอโพธิ์ประทับช้างจึงมีการปกครองทั้งหมด 7 ตำบลจนถึงปัจจุบัน การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอโพธิ์ประทับช้างแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 99 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้างประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
อ้างอิง
|