Share to:

 

อุปราชอึ้งแซะ

อุปราชอึ้งแซะ
เจ้าผู้ครองแคว้นเชียงใหม่
ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
ครองราชย์พ.ศ. 2215 - พ.ศ. 2218[1]
รัชสมัย3 ปี
รัชกาลก่อนหน้าเจ้าเมืองแพร่
รัชกาลถัดไปเจพูตราย
ประสูติไม่ปรากฏ
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2218
ราชวงศ์ราชวงศ์ตองอู
พระราชบิดาพระเจ้าอังวะ

อุปราชอึ้งแซะ เป็นเจ้าผู้ครองเชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่าระหว่างปี พ.ศ. 2215 ถึง พ.ศ. 2218 ที่ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่

การกล่าวถึงในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และการตีความ

อุปราชอึ้งแซะถูกกล่าวถึงอย่างสั้นๆในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เพียง 2 ครั้ง ได้แก่ "ศักราช ๑๐๓๔ ตัวปีเต่าไจ้...เอาพระยาเจ้าอิงเซะมังขึ้นนั่งแท่นแก้วแทนในเมืองเชียงใหม่ก็ปีนั้น"[2] และ "ศักราช ๑๐๓๗ ปีดับเหม้าพระอิงเซะจุตติ..."[2] อุปราชอึ้งแซะถูกสันนิษฐานว่าเป็นพระมหาอุปราชแห่งกรุงอังวะ เนื่องจาก เอ่งเช แปลว่าวังหน้า และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากการศึกษาตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่[3][4]หรือหลักฐานชั้นหลังที่นำตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ไปอ้างอิง เช่น พงศาวดารโยนก[5][6]

อย่างไรก็ตาม ตัวตนของอุปราชอึ้งแซะขัดแย้งกับข้อมูลผู้ปกครองเชียงใหม่จากหลักฐานของพม่า[7][8] และพระมหาอุปราชาพม่าในช่วงเวลานั้นคือ เจ้าชายนราวระ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2207 ทำให้เกิดข้อโต้แย้งว่า บันทึกเกี่ยวกับอุปราชอึ้งแซะนั้นผิดเพี้ยนมาจากบันทึกเกี่ยวกับพระเจ้านะราวะระแห่งพม่าซึ่งครองราชย์ช่วงสั้นๆระหว่างปี พ.ศ. 2215 ถึง พ.ศ. 2216[9][10]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Thailand's World Thai :อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านนาในภาคเหนือของประเทศไทย เก็บถาวร 2014-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 06-06-57.
  2. 2.0 2.1 สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, บ.ก. (1971), ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ [Tamnan Phuen Mueang Chiang Mai] (PDF), แปลโดย โชติสุขรัตน์, สงวน, พระนคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, p. 81, สืบค้นเมื่อ 2024-05-01
  3. อ๋องสกุล, สรัสวดี (2010). ประวัติศาสตร์ล้านนา (7th ed.). กรุงเทพฯ: อมรินทร์. p. 631. ISBN 978-974-8132-15-0.
  4. วิเชียรเขียว, อรุณรัตน์; วัยอาจ, เดวิด เค (2000). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: ซิลค์เวอร์ม. p. 134. ISBN 978-974-9575-51-2.
  5. ประชากิจกรจักร, พระยา (1973). พงศาวดารโยนก (7th ed.). กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์. p. 413. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
  6. ประชากิจกรจักร, พระยา (2014). พงศาวดารโยนก. นนทบุรี: ศรีปัญญา. pp. 395–396. ISBN 978-616-7146-62-1.
  7. U Kala (2016). The Great Chronicle, 1597-1711. แปลโดย Tun Aung Chain. Yangon: MKS Publishing. pp. 50, 194, 208, 210, 213. ISBN 9789997102201.
  8. THIEN, NAI (29 February 1912). "INTERCOURSE BETWEEN BURMA AND SIAM AS RECORDED IN HMANNAN YAZAWINDAWGYI" (PDF). สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 93. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08.
  9. Kirigaya, Ken (29 November 2014). "Some annotations to the Chiang Mai chronicle: The era of Burmese rule in Lan Na" (PDF). Journal of the Siam Society. 102: 275. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-02-10. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01 – โดยทาง The Siam Society under Royal Patronage.
  10. สุขคตะ, เพ็ญสุภา (16 July 2023). "ตระหนัก 'ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่' (จบ) ความคลาดเคลื่อนที่ควรแก้ไข ทุกฝ่ายร่วมชำระใหม่แบบขยายความ". มติชนสุดสัปดาห์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-08. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08.
ก่อนหน้า อุปราชอึ้งแซะ ถัดไป
เจ้าเมืองแพร่ เจ้าผู้ครองแคว้นเชียงใหม่
ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่

(พ.ศ. 2215 — 2218)
เจพูตราย
Kembali kehalaman sebelumnya