เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)
มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี มีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล อดีตเสนาบดีกระทรวงวัง (ปัจจุบันคือสำนักพระราชวัง เทียบเท่าตำแหน่งเลขาธิการสำนักพระราชวัง) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ
หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2420 แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู[1] เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ กับหม่อมทับ มาลากุล ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล เริ่มรับราชการในกรมมหาดเล็ก จนวันที่ 27 มีนาคม ร.ศ. 114 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายกวด มหาดเล็กหุ้มแพรต้นเชือกเวรฤทธิ์ ศักดินา 500[2] แล้วย้ายมารับราชการกรมวังเป็นจมื่นจงภักดีองค์ขวา ถือศักดินา ๘๐๐ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 [3] แล้วได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร ถือศักดินา ๑๐๐๐ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446[4]
ในรัชกาลที่ 6 วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น สมุหพระราชมณเฑียร[5] และได้รับพระราชทานเครื่องยศเป็น
กระบี่ฝักทองสลัก ด้ามเป็นนาคสามเศียร เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2455[6] ต่อมาได้เลื่อนยศเป็น มหาเสวกเอก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2455[7]
จากนั้นในปี พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงวังเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2456[8]และเป็นอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2456[9] ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ศรีรัตนมณเฑียรบาล บรมราโชประการกิจจาภิรมย์ สรรโพดมราชธุรานุประดิษฐ ธรรมสุจริตวิบุลย์ มาลากุลวิวัฒน์ บำรุงรัตนราชประเพณี นิตยภักดีนฤปนารถ อันเตบุริกามาตย์มหานายก อรรคเสวกนนทิพาหมุรธาธร กิตติขจรเสนาบดี ศรีรัตนไตรยสรณธาดา อุดมอาชวาธยาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ[10]
ท่านมีผลงานสำคัญคือเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 สืบต่อจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ[11]
ครอบครัว
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี สมรสกับท่านผู้หญิงนงเยาว์ มาลากุล ณ อยุธยา ท.จ.ว. (ธิดาพระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล) กับคุณหญิงทรามสงวน) ในพระบรมราชินูปถัมภ์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง[1] ทั้งสองท่านมีบุตรธิดา ดังนี้
- หม่อมหลวงหญิงศิริปทุม มาลากุล
- หม่อมหลวงปม มาลากุล
- หม่อมหลวงประทิน มาลากุล
- หม่อมหลวงประสันน์ มาลากุล มีบุตร นายประเสริฐ มาลากุล ณ อยุธยา มี บุตร 1 คน นายมงคล มาลากุล ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงหญิงประสาธะนี บุรณศิริ
- หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล
- หม่อมหลวงปืนไทย มาลากุล
- หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล
นอกจากนี้ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ยังมีบุตรธิดากับภรรยาอื่นอีก ดังนี้
กับเจ้าฟองแก้ว ณ เชียงใหม่ ธิดาในเจ้าน้อยบัวละวงษ์ ณ เชียงใหม่[12] มีบุตร คือ หลวงมาลากุลวิวัฒน์ (หม่อมหลวงเทียม มาลากุล)
กับคุณวงศ์ บุญยะรังคะ มีบุตร ได้แก่
- หม่อมหลวงกวิน มาลากุล
- หม่อมหลวงหวิว มาลากุล
- หม่อมหลวงหวีด มาลากุล
อสัญกรรม
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ถึงแก่อสัญกรรมในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[13] เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2485[1]
สิริอายุ 64 ปี
ยศ
ยศกระทรวงวัง
ยศกรมพระตำรวจ
ยศกรมมหาดเล็ก
ยศกองเสือป่า
ยศทหาร
- 10 พฤศจิกายน 2454 – พันตรี ในกรมทหารรักษาวัง[18]
- 6 กุมภาพันธ์ 2456 – พลตรี ในกรมทหารรักษาวัง[19]
ตำแหน่ง
- 4 พฤศจิกายน 2458 – ราชองครักษ์พิเศษ[20]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- เดนมาร์ก:
- ปรัสเซีย:
- พ.ศ. 2448 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นกอินทรีแดง ชั้นที่ 1[38]
- อิตาลี:
- พ.ศ. 2448 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 1[39]
- บาวาเรีย:
- พ.ศ. 2450 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์ไมเคิล ชั้นที่ 1[40]
- เบราน์ชไวค์:
- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตไฮน์ริช ชั้นที่ 2
เครื่องยศ
- 10 มกราคม 2455 – กระบี่ฝักทองสลัก ด้ามเป็นนาคสามเศียร[41]
- 3 เมษายน 2457 – ไม้เกียรติยศลงยาประดับเพชร มีตราพระมหาเทพทรงพระนนทิกร ประจำตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง[42]
ลำดับสาแหรก
พงศาวลีของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)
|
|
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 183 (เชิงอรรถ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม 13, ตอน 1, 5 เมษายน ร.ศ. 114, หน้า 12
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสมุหพระราชมณเฑียร
- ↑ พระราชทานเครื่องยศ
- ↑ 7.0 7.1 "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29: 1020. 4 สิงหาคม 2455. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ย้ายกรมศิลปากร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า แลตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 30, 11 พฤศจิกายน 2456, หน้า 348-351
- ↑ ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่มที่ ๔ วัดสำคัญกรุงรัตนโกสินทร์ (งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ปี พ.ศ. ๒๕๒๕)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2006-10-31.
- ↑ ข้อมูลจาก : เวปเพจ ๖๐ปีในความทรงจำ พลเอกแป้ง มาลากุล ณ อยุธยา
- ↑ "พระราชทานยศพระตำรวจ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30: 1725. 2 พฤศจิกายน 2456. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๓๔, ๒๙ ตุลาคม ๒๔๕๙
- ↑ ประกาศเลื่อนยศเสือป่า
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรยศนายพลเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32: 507. 6 มิถุนายน 2458. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564.
- ↑ แจ้งความกรมทหารรักษาวัง
- ↑ แจ้งความกระทรวงวัง
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งราชองครักษ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๓๓, ๒๐ สิงหาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๔, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๓๖, ๒๒ ตุลาคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๔๘, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เก็บถาวร 2022-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๙๒, ๒ ธันวาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา เก็บถาวร 2022-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๘, ๔ มิถุนายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๑๘, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕, ๑๐ เมษายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๕, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า และฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๐๗, ๒๓ มกราคม ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๐, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๑๓, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๑๖ หน้า ๓๑๖, ๒๐ กรกฎาคม ๑๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๓ หน้า ๕๒๗, ๒๓ กรกฎาคม ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๖๗๐, ๒๙ ตุลาคม ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๒๑ หน้า ๕๕๐, ๒๕ สิงหาคม ๑๒๖
- ↑ พระราชทานเครื่องยศ
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก
- บรรณานุกรม
|