เทสซี อ็องตอนี
เทสซี อ็องตอนี เดอ นัสเซา (อักษรโรมัน: Tessy Antony de Nassau; 28 ตุลาคม พ.ศ. 2528) เป็นอดีตพระชายาในเจ้าชายหลุยส์แห่งลักเซมเบิร์ก พระโอรสในแกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์กองค์ปัจจุบัน เทสซีประกาศแยกกันอยู่กับเจ้าชายหลุยส์แห่งลักเซมเบิร์ก และดำเนินการหย่าในสหราชอาณาจักรช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2560[1] และการหย่าบรรลุผลในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562[2] ประวัติเทสซีเกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2528 มีนามเดิมว่าเทสซี อ็องตอนี เป็นธิดาของฟร็องซัว อ็องตอนี ช่างปูน กับมารดาชื่อเรยีน อาน[3] มีพี่น้องห้าคน ได้แก่ ไมก์, เจอร์รี (เสียชีวิต; เป็นฝาแฝดของไมก์), แพตตี และรอนนี (พี่ชายฝาแฝดของพระองค์)[4] เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมเทคนิคในเมืองเพเตร็ง ก็เข้าร่วมเป็นทหารของกองทัพลักเซมเบิร์กเช่นเดียวกับพี่ชายฝาแฝด คือ รอนนี อ็องตอนี เมื่อมีพระชันษา 18 ปี ในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 เธอเข้าร่วมกับปฏิบัติหน้าที่การทหารในยูโกสลาเวียที่เมืองวิโตรวิกา ในกองกำลังรักษาสันติภาพของนาโตภายในคอซอวอ ชีวิตสมรสเทสซีพบกับกับเจ้าชายหลุยส์ เมื่อครั้งเจ้าชายเสด็จเยี่ยมทหารที่ปฏิบัติภารกิจในยูโกสลาเวีย ทั้งสองเสกสมรสกันเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 ณ โบสถ์เมืองกิลส์ดอลฟ์ แต่เนื่องจากเทสซีได้ประสูติการพระบุตรก่อนการเสกสมรส ทำให้พระบุตรที่เกิดมามิได้รับการยอมรับจากพระบรมวงศานุวงศ์ ส่งผลให้พระสวามีถูกตัดสิทธิจากการสืบราชบัลลังก์ แต่ยังคงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายตามเดิม ส่วนเธอและพระบุตรใช้ราชสกุล เดอ นัสเซา และไม่ได้รับการสถาปนาให้มีพระยศใด ๆ[5] ต่อมาในวันชาติลักเซมเบิร์กเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552 แกรนด์ดยุกอ็องรีโปรดเกล้าฯ สถาปนานางเทสซีให้ดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งลักเซมเบิร์ก และพระบุตรทุกพระองค์ รวมไปถึงพระบุตรที่จะประสูติกาลในเบื้องหน้าก็จะได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าชาย/หญิงแห่งนัสเซา[6][7][8] เจ้าชายหลุยส์และเทสซี มีพระโอรส ดังนี้
วันที่ 18 มกราคม 2560 ศาลได้ประกาศการแยกกันอยู่และการหย่าร้างระหว่างเจ้าชายหลุยส์และเจ้าหญิงเทสซี เนื่องจากเจ้าชายหลุยส์ "ทรงมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์"[12] และเทสซีได้ออกจากฐานันดรศักดิ์ในการเป็นเจ้านาย[13][14] ชื่อ
โดยเธอจะมีฐานันดรเป็น รอยัลไฮนิส และเป็นเจ้าหญิงแห่งลักเซมเบิร์กจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2562 หลังจากนั้นเธอต้องออกจากฐานันดรและอิสริยศักดิ์ เปลี่ยนกลับไปใช้ราชสกุลเดอ นัสเซา แทน[2][15] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|