เบริล (อังกฤษ: Beryl) คือ เบริลเลียม อะลูมิเนียม ไซโคซิลิเกต (beryllium aluminium cyclosilicate) มีสูตรเคมี Be3Al2(SiO3)6 รูปผลึกเป็นเฮกซะโกนอล (hexagonal crystals) ถ้าเป็นเบริลที่บริสุทธ์ (Pure Beryl) ไม่มีธาตุอื่นปนเปื่อนจะได้สีใส แต่ที่เราพบเบริลมีหลากหลายสีเนื่องจากมีธาตุมาเจือปน ซึ่งสีที่พบก็มี สีเขียว สีฟ้า สีเหลือง สีแดง
การจำแนกเบริล
เบริล มีหลากหลายสีซึ่งที่เราพบส่วนใหญ่จะพบใน แกรนิต (granitic), เพกมาไทต์ (pegmatites) ซึ่งมันยังสัมพันธ์กับแหล่งแร่ทังสเตนและดีบุกอีกด้วย นอกจากเกิดในจำพวกหินอัคนี เรายังสามรถพบหินอื่นได้เช่น หินปูน (Limestone) ที่ประเทศโคลัมเบีย ประเทศที่พบเบริลได้แก่ โคลัมเบีย มาดากัสก้า รัสเซีย แอฟริกาใต้ เป็นต้น
เบริลเป็นอัญมณีที่เรียกได้ว่ามีความหลากหลายเหมือนกันอันเนื่องมาจากมีธาตุอื่นมาเจื่อปนทำให้เกิดสีต่าง ๆ ดังนี้
- อะความารีน (Aquamarine) มาจากภาษาลาติน น้ำทะเล สีฟ้าอ่อนมาจากธาตุเหล็ก (Fe2+) ที่เจื่อปนสีที่พบเป็นพลอยสีเขียวแถบน้ำเงิน จนถึงน้ำเงินแถบเขียว สีฟ้า สีฟ้าน้ำทะเล สีน้ำเงินสดเรียกว่า Brazillian Aquar Marine พบที่ บราซิล แซมเบีย
- มรกต (Emerald) เป็นเบริลที่มีสีเขียว โดยสีเขียวเกิดจากธาตุโครเมียมถ้าสีเขียวอ่อนเกินไปจะไม่เรียกมรกต แต่จะเรียกว่า เบริลสีเขียว (green beryl)แหล่งผลิตที่สำคัญ คือ โคลัมเบีย บราซิล อัฟกานีสถาน แซมเบีย ซิมบับเว ทานซาเนีย
- สีทอง (Golden beryl and heliodor) สีที่พบมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองทอง ต่างจาก emerald เพราะเบริลสีทองจะมีรอยตำหนิเล็กน้อยบางครั้งเรียกอีกชื่อว่า heliodor สีเหลืองมาจากธาตุ Fe3+ พบที่ มากัสก้า บราซิล นามิเบีย
- ไร้สี (Goshenite) เป็นเบริลที่ไม่มีธาตุอื่นเจือปน (pure beryl) เป็นประเภทไม่มีสี มีลักษณะโปร่งใส พบครั้งแรกที่เมืองโกเชน (Goshen) รัฐแมสซาจูเซท (Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อ โกสชีไนต์ (Goshenite) ตั้งขึ้นหลังจากพบขึ้นที่เมืองนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งเบริลไร้สี มีอัตรความแข็งอยู่ที่ 7.5 - 8 มีโครงสร้างเป็นรูปแบบ Hexagonal ใช้ทำเครื่องประดับได้หลากหลายประเภท อาทิเช่น สร้อยคอ ต่างหู และกำไลข้อมือ เป็นต้น มักพบในหิน เพกมาร์ไทต์(Pegmatite) และหินแกรนิต(Granite)
- สีชมพู (Morganite) เบริลสีชมพู อาจเรียกว่า rose beryl, pink emerald, pink beryl และ cesian beryl ธาตุที่ทำให้เกิดเป็นสีชมพูคือมี Mn2+มาเจือปน พบที่ อเมริกา บราซิล มาดากัสก้า
- เบริลสีแดง (Red beryl) ที่เรารู้จักกันในอีกชื่อคือ Red emerald, Bixbite หรือ Scarlet emerald ซึ่งจัดได้ว่าเป็นอัญมณีที่หายาก
- Bixbite หมายถึง เบริลที่มีสีแดงเข้ม (dark red) ซึ่งธาตุที่เจือปนคือแมงกานีส ( Mn3+) มาแทนอะลูมิเนียมในโครงสร้าง แร่ที่มีความสัมพันธ์กับเบริลสีแดงได้แก่ quartz, orthoclase, topaz, spessartine, pseudobrookite และ hematite
รายละเอียดทางเทคนิค
|
องค์ประกอบทางเคมี
|
Be3Al2(SiO3)6
|
ความแข็ง
|
7.5 - 8
|
ความถ่วงจำเพาะ
|
2.63 -2.91
|
ค่าดรรชนีหักเห (R.I.)
|
1.560 - 1.600
|
ค่าไบรีฟรินเจนซ์
|
0.004 - 0.010
|
ลักษณะแกนแสง
|
Negative
|
Optical character
|
Uniaxial
|
ระบบผลึก
|
Hexagonal
|
รูปผลึก
|
รูปปรึซึมปิดหัวท้ายด้วยด้านเรียบหรือปิรามิด
|
ความวาว
|
แบบแก้ว
|
รอยแตก
|
แบบก้นหอย
|
ปรากฏการณ์ทางแสง
|
ตาแมว สตาร์หรือสาแหรก
|
แหล่งข้อมูลอื่น