|
ทั่วไป
|
ชื่อ, สัญลักษณ์, เลขอะตอม
|
ทังสเตน, W, 74
|
อนุกรมเคมี |
โลหะทรานซิชัน
|
หมู่, คาบ, บล็อก
|
6, 6, d
|
ลักษณะ |
grayish white, lustrous
|
มวลอะตอม |
183.84 (1) กรัม/โมล
|
การจัดเรียงอิเล็กตรอน |
[Xe] 4f14 5d4 6s2
|
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน |
2, 8, 18, 32, 12, 2
|
คุณสมบัติทางกายภาพ
|
สถานะ |
ของแข็ง
|
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) |
19.25 ก./ซม.³
|
ความหนาแน่นของของเหลวที่m.p. |
17.6 ก./ซม.³
|
จุดหลอมเหลว |
3695 K (3422 °C)
|
จุดเดือด |
5828 K(5555 °C)
|
ความร้อนของการหลอมเหลว |
52.31 กิโลจูล/โมล
|
ความร้อนของการกลายเป็นไอ |
806.7 กิโลจูล/โมล
|
ความร้อนจำเพาะ |
(25 °C) 24.27 J/(mol·K)
|
ความดันไอ
P/Pa |
1 |
10 |
100 |
1 k |
10 k |
100 k
|
ที่ T K |
3477 |
3773 |
4137 |
4579 |
5127 |
5823
|
|
คุณสมบัติของอะตอม
|
โครงสร้างผลึก |
cubic body centered
|
สถานะออกซิเดชัน |
6, 5, 4, 3, 2 (ออกไซด์เป็นกรดปานกลาง)
|
อิเล็กโตรเนกาติวิตี |
2.36 (พอลิงสเกล)
|
พลังงานไอออไนเซชัน
|
ระดับที่ 1: 770 กิโลจูล/โมล
|
ระดับที่ 2: 1700 กิโลจูล/โมล
|
รัศมีอะตอม |
135 pm
|
รัศมีอะตอม (คำนวณ) |
193 pm
|
รัศมีโควาเลนต์ |
146 pm
|
อื่น ๆ
|
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก |
no data
|
ความต้านทานไฟฟ้า |
(20 °C) 52.8 nΩ·m
|
การนำความร้อน |
(300 K) 173 W/(m·K)
|
การขยายตัวจากความร้อน |
(25 °C) 4.5 µm/(m·K)
|
อัตราเร็วของเสียง (แท่งบาง) |
(r.t.) (annealed) 4620 m/s
|
มอดุลัสของยัง |
411 GPa
|
โมดูลัสของแรงเฉือน |
161 GPa
|
โมดูลัสของแรงบีบอัด |
310 GPa
|
อัตราส่วนปัวซง |
0.28
|
ความแข็งโมส |
7.5
|
ความแข็งวิกเกอร์ส |
3430 MPa
|
ความแข็งบริเนล |
2570 MPa
|
เลขทะเบียน CAS |
7440-33-7
|
ไอโซโทปเสถียรที่สุด
|
|
แหล่งอ้างอิง
|
ทังสเตน หรือ วุลฟรัม (อังกฤษ: Tungsten) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 74 และสัญลักษณ์คือ W (จากภาษาลาตินว่า wolframium)
ทังสเตนเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีขาวเทาแข็งและหนัก พบมากในแร่หลายชนิดประกอบด้วย วุลแฟรไมต์และชีไรต์ ทังสเตนในรูปบริสุทธิ์ใช้ในงานไฟฟ้าโดยเฉพาะไส้หลอดไฟฟ้า และการผลิตโลหะผสม
ทางภาคใต้พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ อำเภอเมือง ร่อนพิบูลย์ ท่าศาลา สิชล ฉวาง พิปูน
และจังหวัดอื่น ๆ เช่น พัทลุง และทางเหนือตอนบนในจังหวัด เชียงราย
ปฏิกิริยา คือ การแยกโลหะทังสเตนออกจากสินแร่ใช้กระบวนการที่ซับซ้อน หลายขั้นตอนซึ่งสุดท้ายจะได้เป็นผงทังสเตน (VI) ออกไซด์ (WO3) จากนั้นให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 550-850◦C เพื่อทำปฏิกิริยากับ H2 ในสภาพที่ไม่มีอากาศเพื่อไม่ให้เกิดการระเบิดของ H2 จะได้ทังสเตนในลักษณะเป็นผงที่นำไปอัดเป็นแท่งต่อไปดังสมการ
WO3(s) + 3H2(g) → W(s) + 3H2O(l)
ประโยชน์ของแร่ทังสเตน คือ โลหะทังสเตน ที่ถลุงแล้วมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมหนัก ใช้ผสมเหล็กกล้าในการทำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทนความร้อนสูง ทำเครื่องจักรกล หัวเจาะเกราะ ใบมีด ตะไบ ใบเลื่อย ไส้หลอดไฟฟ้า และหลอดวิทยุ นอกจากนี้ ยังใช้ในการทำสีอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องแก้ว
แหล่งข้อมูล
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ทังสเตน