เปรซิเดียมเปรซิเดียม หรือศัพท์บัญญัติว่า คณะผู้บริหารสูงสุด (อังกฤษ: presidium) เป็นสภาเจ้าหน้าที่ผู้บริหารในสมัชชาการเมืองบางแห่งซึ่งว่าราชการร่วมกัน โดยอาจอยู่เคียงกับประธานาธิบดีคนหนึ่งหรือใช้อำนาจแทนประธานาธิบดีก็ได้ รัฐคอมมิวนิสต์ในรัฐคอมมิวนิสต์ เปรซิเดียมเป็นคณะกรรมการถาวรของสภานิติบัญญัติ เช่น สภาโซเวียตสูงสุดในสหภาพโซเวียต เปรซิเดียมของสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตมีขึ้นตั้งแต่ปี 1936 เมื่อสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตประชุมแทนรัฐสภาโซเวียตโดยมีคณะกรรมการบริหารกลางซึ่งปกครองในระหว่างสมัยประชุม มีหัวหน้าคือ "เปรซิเดียมแห่งคณะกรรมการบริหารกลาง" ในปี 1936 โครงสร้างนี้ถูกแทนที่ด้วยเปรซิเดียมแห่งสภาโซเวียตสูงสุดอย่างเดียว โดยไม่มีคณะกรรมการบริหารกลาง และตั้งแต่ปีนั้นถึงปี 1989 ประธานเปรซิเดียมแห่งสภาโซเวียตสูงสุดเป็นชื่อตำแหน่งอย่างเป็นทางการของประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียตจนมีการเริ่มใช้ตำแหน่งประธานสภาโซเวียตสูงสุดในปี 1990 และต่อมาเปลี่ยนเป็นประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตแทน สาธารณรัฐแห่งสหภาพโซเวียตแต่ละแห่งมีเปรซิเดียมเป็นผู้นำ เช่น เปรซิเดียมแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียและเปรซิเดียมแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ซึ่งประธานของเปรซิเดียมทั้งสองเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของสาธารณรัฐทั้งสอง ตั้งแต่ปี 1952 ถึง 1966 คณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตเรียกว่าเปรซิเดียมคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ดี แม้มีชื่อคล้ายกันกับเปรซิเดียมแห่งสภาโซเวียตสูงสุด แต่เปรซิเดียมทั้งสองมีอำนาจและหน้าที่ต่างกัน คำว่า "เปรซิเดียม" ปัจจุบันใช้ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เปรซิเดียมแห่งสมัชชาประชาชนสูงสุด) และในสาธารณรัฐประชาชนจีน (เปรซิเดียมสมัชชาประชาชนแห่งชาติ คณะกรรมาธิการสามัญประจำสมัชชาประชาชนแห่งชาติ) ในทางเดียวกัน เปรซิเดียมคณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรคแรงงานเกาหลีเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานเกาหลี ซึ่งมีสมาชิกไม่เกิน 5 คน การใช้อื่นประเทศบังกลาเทศในพรรคการเมืองบังกลาเทศ สันนิบาตอวามี เปรซิเดียมเป็นแวดวงสมาชิกในสุดหรือสูงสุดซึ่งมีความสำคัญสูงสุดภายในพรรค[1] ประเทศในทวีปยุโรปในประเทศเยอรมนี เปรซิเดียมแห่งบุนเดชตักประกอบด้วยประธาน ซึ่งเดิมเป็นผู้แทนของกลุ่มพรรคการเมืองขนาดใหญ่สุด และรองประธานอย่งาน้อยหนึ่งคนจากกลุ่มพรรกคารเมืองแต่ละกลุ่ม เปรซิเดียมรับผิดชอบสำหรับการปกครองรูทีนของสภานิติบัญญัติ ซึ่งปัจจุบันยังรวมกิจกรรมธุรการและวิจัยของสภาฯ ด้วย บุนเดสรัทแห่งเยอรมนีก็มีเปรซิเดียมเป็นหัวหน้าเช่นกัน ประกอบด้วยประธานและรองประธาน 2 คน รัฐเยอรมันในอดีตก็มีรัฐสภาซึ่งมีเปรซิเดียมเป็นหัวหน้าด้วย ทั้งในจักรวรรดิเยอรมัน สาธารณรัฐไวมาร์ นาซีเยอรมนีและเยอรมนีตะวันออก ในทำนองเดียวกัน รัฐสภานอร์เวย์มีเปรซิเดียมเป็นหัวหน้า ประกอบด้วยประธานและรองประธาน 5 คน รัฐสภาสวีเดนมีเปรซิเดียมเป็นหัวหน้าประกอบด้วยประธานและรองประธาน 3 คน รัฐสภาเฮลเลนนิกในกรีซมีเปรซิเดียมเป็นหัวหน้าประกอบด้วยประธาน รองประธาน 7 คน หัวหน้า 3 คนและเลขานุการ 6 คน องค์การที่มิใช่รัฐเปรซิเดียมของสังคมนิยมสากลให้คำแนะนำแก่ประธานและนำปัญหาขึ้นพิจารณา[2] ในองค์การนักศึกษาแฟลนเดอร์และสแกนดิเนเวีย เปรซิเดียมเป็นคำรวมสำหรับประธานในการปกครองขององค์การทั้งหมด อ้างอิง
|