Share to:

 

เผาลงถังแดง

ถังแดง หรือ เผาลงถังแดง สื่อถึงการสังหารหมู่พลเมืองมากกว่า 200 คน[1] (บันทึกไม่เป็นทางการกล่าวว่าสูงถึง 3,000 คน)[2]:186[3] ที่กองทัพของรัฐบาลไทยกล่าวหาว่าสนับสนุนคอมมิวนิสต์ในตำบลแหลมทราย จังหวัดพัทลุง ในช่วงปลาย พ.ศ. 2515 ภายใต้เผด็จการทหาร ถนอม กิตติขจร กับประภาส จารุเสถียร[2]:186 คาดว่ากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเป็นผู้สั่งการ[1] โดยที่กองทัพ ตำรวจ และกองอาสารักษาดินแดนมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้[4]

เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ "รูปแบบการละเมิดอำนาจของกองทัพและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย"[5]:259 ระหว่างปฏิบัติการต่อต้านการก่อการกำเริบที่ป่าเถื่อนในปี 2514–2516 ซึ่งทำให้มียอดพลเรือนเสียชีวิต 3,008 คนทั่วประเทศ[1] (ในขณะที่จำนวนประมาณการอย่างไม่เป็นทางการอยู่ที่ระหว่าง 1,000 ถึง 3,000 ในจังหวัดพัทลุงที่เดียว)[3] ผู้ที่ถูกฆ่าทั้งหมดถูกกล่าวหาว่าทำงานร่วมกับ พคท.

จนถึงเวลานั้น ผู้ต้องสงสัยคอมมิวนิสต์ที่ถูกทหารจับกุมปกติถูกยิงข้างถนน มีการริเริ่มเทคนิค "ถังแดง" ภายหลังเพื่อกำจัดหลักฐานใด ๆ ผู้ต้องสงสัยจะถูกทุบตีจนเกือบหมดสติก่อนถูกทิ้งลงในถังน้ำมันแล้วเผาทั้งเป็น[6][7]

ถังแดง 200 ลิตรมีตะแกรงกั้นเหล็ก โดยมีไฟด้านล่าง และผู้ต้องสงสัยอยู่ด้านบน[8]

แม้ว่าหลังการปกครองของทหารสิ้นสุดลงจากการประท้วงในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 กลับไม่เคยมีการสอบสวนการสังหารหมู่อย่างจริงจัง และไม่มีผู้กระทำผิดคนใดได้รับการลงโทษ[2]:186-187

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Damrongviteetham, Jularat (2013), "Narratives of the "Red Barrel" Incident: Collective and Individual Memories in Lamsin, Southern Thailand", Oral History in Southeast Asia, New York: Palgrave Macmillan US, pp. 101–117, doi:10.1057/9781137311672_6, ISBN 978-1-349-45703-8
  2. 2.0 2.1 2.2 Haberkorn, Tyrell (2013), Getting Away with Murder in Thailand: State Violence and Impunity in Phatthalung (ภาษาอังกฤษ), University Press of Kentucky, ISBN 978-0-8131-3679-0, สืบค้นเมื่อ 2020-08-27
  3. 3.0 3.1 Zipple, M (2014). "Thailand's Red Drum Murders Through an Analysis of Declassified Documents". Southeast Review of Asian Studies. 36: 91–111. CiteSeerX 10.1.1.692.9552.
  4. Summary of World Broadcasts: Far East, Part 3. Monitoring Service of the British Broadcasting Corporation. 1976.
  5. State violence in East Asia. Ganesan, N. (Narayanan), 1958-, Kim, Sung Chull, 1956-. Lexington, Ky.: University Press of Kentucky. 2013. ISBN 978-0-8131-3680-6. OCLC 826659752.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  6. "[untitled]". The Bangkok Post. 30 March 1975.
  7. Peagam, Norman (14 March 1975). "Probing the 'Red Drum' Atrocities". Far Eastern Economic Review.
  8. "POLITICS: Thailand Remembers a Dictator". Inter Press Service. 18 June 2004. สืบค้นเมื่อ 29 June 2014.

อ่านเพิ่ม

  • Jularat Damrongviteetham (2013). Narratives of the "Red Barrel" Incident: Collective and Individual Memories in Lamsin, Southern Thailand. Oral History in Southeast Asia: Memories and Fragments. Palgrave Macmillan. pp. 101–118.
  • Tyrell Haberkorn (2013). Getting Away with Murder in Thailand: State Violence and Impunity in Phatthalung. State Violence in East Asia. University Press of Kentucky. pp. 185–207.
  • Matthew Zipple (2014). "Thailand's Red Drum Murders Through an Analysis of Declassified Documents" (PDF). Southeast Review of Asian Studies. 36: 91–111.
Kembali kehalaman sebelumnya