Share to:

 

เย่ เจี้ยนอิง

จอมพล
เย่ เจี้ยนอิง
叶剑英
ประธานสภาประชาชนแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม 1978 – 18 มิถุนายน 1983
ก่อนหน้าซ่ง ชิ่งหลิง (รักษาการ)
ถัดไปเผิงเจิน
ประมุขแห่งรัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในฐานะประธานสภาประชาชนแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
7 ตุลาคม 1976 – 12 กันยายน 1982
ก่อนหน้าซ่ง ชิ่งหลิง (รักษาการ)
ถัดไปหลี่ เซียนเนี่ยน (ในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน)
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม 1973 – 12 กันยายน 1982
ประธานเหมา เจ๋อตง
ฮั่ว กั๋วเฟิง
หู เหย้าปัง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
17 มกราคม 1975 – 26 กุมภาพันธ์ 1978
หัวหน้ารัฐบาลโจว เอินไหล
ฮั่ว กั๋วเฟิง
ก่อนหน้าจอมพล หลิน เปียว
ถัดไปจอมพล สู เซี่ยงเฉียน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 เมษายน ค.ศ. 1897(1897-04-28)
อำเภอเจียยิ่ง มณฑลกวางตุ้ง จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต22 ตุลาคม ค.ศ. 1986(1986-10-22) (89 ปี)
ปักกิ่ง ประเทศจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ค.ศ. 1927–1985)
ศิษย์เก่าโรงเรียนการทหารหวงผู่
รางวัล เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัยของการต่อต้านการรุกราน (ค.ศ. 1945)
เหรียญอิสริยาภรณ์หนึ่งสิงหาคม (เหรียญชั้นที่ 1) (ค.ศ. 1955)
เครื่องอิสริยาภรณ์เอกราชและเสรีภาพ (เหรียญชั้นที่ 1) (ค.ศ. 1955)
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งการปลดปล่อย (เหรียญชั้นที่ 1) (ค.ศ. 1955)
รายละเอียด...
ชื่อเล่น叶帅 (จอมพลเย่)
花帅 ("จอมพลเพลย์บอย")
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ พรรคคอมมิวนิสต์จีน
 สาธารณรัฐประชาชนจีน
สังกัด กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) หมู่กองทัพที่ 18 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
กองทัพแดงของกรรมกรและชาวนาจีน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) กองทัพที่ 1 และกองทัพที่ 4 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
ยศ จอมพลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
พลโท กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน สาธารณรัฐจีน
บังคับบัญชาสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เสนาธิการ กองทัพที่ 4 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
เสนาธิการ กองทัพแดง
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เสนาธิการ หมู่กองทัพที่ 18 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
เสนาธิการ คณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง
เย่ เจี้ยนอิง
อักษรจีนตัวย่อ叶剑英
อักษรจีนตัวเต็ม葉劍英
ชื่อเกิด
อักษรจีนตัวย่อ叶宜伟
อักษรจีนตัวเต็ม葉宜偉
ชื่อทางการ
อักษรจีนตัวย่อ沧白
อักษรจีนตัวเต็ม滄白

เย่ เจี้ยนอิง (จีน: 叶剑英; อักษรโรมัน: Ye Jianying; 28 เมษายน ค.ศ. 1897 – 22 ตุลาคม ค.ศ. 1986) เป็นผู้นำปฏิวัติและนักการเมืองคอมมิวนิสต์จีน หนึ่งในสิบจอมพลผู้ก่อตั้งของกองทัพปลดปล่อยประชาชน เขาเป็นผู้นำทางทหารระดับสูงในการรัฐประหาร ค.ศ. 1976 ซึ่งได้ล้มล้างแก๊งออฟโฟร์และยุติการปฏิวัติทางวัฒนธรรม รวมถึงเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของเติ้ง เสี่ยวผิง ในการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกับฮั่ว กั๋วเฟิง หลังจากเติ้งขึ้นสู่อำนาจ เย่ได้ทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐจีนในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1978 ถึง 1983

ชีวิต

เขามีชื่อแรกเกิดคือเย่ อี๋เหว่ย (จีน: 叶宜伟) โดยเกิดในครอบครัวพ่อค้าแคะชาวคริสต์ที่ร่ำรวยในอำเภอเจียยิ่ง (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นเขตเหมย์เซี่ยน) มณฑลกวางตุ้ง ส่วนชื่อทางการของเขาคือชังไป๋ (จีน: 滄白) และพี่น้องส่วนใหญ่ของเย่ เจี้ยนอิง เสียชีวิตก่อนที่จะเป็นผู้ใหญ่เนื่องจากอาการป่วยหนัก[1]

หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนการทหารยูนนานใน ค.ศ. 1919 เขาได้เข้าร่วมกับซุน ยัตเซ็น และก๊กมินตั๋ง (KMT) ซึ่งเขาได้สอนที่โรงเรียนการทหารหวงผู่ และใน ค.ศ. 1927 ได้เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์

ในปีนั้น เขาเข้าร่วมในการก่อการกำเริบหนานชางซึ่งล้มเหลว และถูกบังคับให้หนีไปฮ่องกง พร้อมกับผู้นำการก่อการกำเริบอีกสองคนคือโจว เอินไหล และเย่ ถิ่ง (ไม่มีความสัมพันธ์) โดยมีปืนพกเพียงคู่เดียวเท่านั้นที่จะแบ่งปันระหว่างพวกเขา ไม่นานหลังจากนั้น เขาได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างซื่อสัตย์ในระหว่างการก่อการกำเริบกว่างโจว แม้ว่าเขาจะถูกต่อต้านก็ตาม จากความล้มเหลวของการก่อการกำเริบนี้ เขาต้องหนีไปฮ่องกงอีกครั้งพร้อมกับเย่ ถิ่ง และเนี่ย หรงเจิน อย่างไรก็ตาม เย่ เจี้ยนอิง โชคดีกว่าเย่ ถิ่ง ผู้ซึ่งถูกทำให้เป็นแพะรับบาปสำหรับความล้มเหลวขององค์การคอมมิวนิสต์สากล และถูกบังคับให้ลี้ภัย โดยที่เย่ เจี้ยนอิง ไม่ได้ถูกกล่าวโทษ และต่อมาได้เข้าศึกษาวิทยาการทหารในมอสโก

หลังกลับสู่ประเทศจีนใน ค.ศ. 1932 เขาได้เข้าร่วมกับเจียงซีโซเวียต โดยทำหน้าที่เป็นเสนาธิการของกองทัพแนวหน้าที่สี่ของจาง กว๋อเต้า อย่างไรก็ตาม หลังจากที่นักรบของจางพบกับกองกำลังของเหมา เจ๋อตง ในช่วงการเดินทัพทางไกล ผู้นำทั้งสองไม่เห็นด้วยกับการกรีธาพลกองทัพจีนแดงในภายหลัง จางยืนกรานที่จะวกกลับไปทางใต้เพื่อสร้างฐานทัพใหม่ในภูมิภาคที่มีชนกลุ่มน้อยทิเบตและเชียงอาศัยอยู่ (ภายหลังพิสูจน์แล้วว่าเป็นหายนะ อย่างที่เหมาคาดไว้ โดยจางสูญเสียพลทหารไปกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ และล่าถอยกลับไปยังฐานคอมมิวนิสต์ที่มณฑลฉ่านซี) ในระหว่างความขัดแย้งของผู้นำทั้งสอง เย่ – แม้ว่าเขาจะเป็นเสนาธิการของจาง – ได้เข้าข้างเหมา และแทนที่จะสนับสนุนจางอย่างไม่มีเงื่อนไขเหมือนที่เคยทำในช่วงการก่อการกำเริบกว่างโจว เย่ได้หลบหนีไปที่สำนักงานใหญ่ของเหมาพร้อมกับคู่มือลงรหัสและแผนที่ของจาง เป็นผลให้การสื่อสารของจากกับองค์การคอมมิวนิสต์สากลถูกตัดออก ในขณะที่เหมาสามารถสร้างการเชื่อมทางวิทยุได้ ซึ่งนำไปสู่การยอมรับขององค์การคอมมิวนิสต์สากลต่อความเป็นผู้นำของเหมาในพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมาจะไม่มีวันลืมการมีส่วนร่วมของเย่ โดยการสังเกตในภายหลังว่า "เย่ เจี้ยนอิง ช่วยพรรคคอมมิวนิสต์ (จีน), กองทัพแดง (จีน) และการปฏิวัติ (จีน)"

หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เย่ได้รับมอบหมายให้ดูแลมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งทำให้เขาต้องสูญเสียอาชีพทางการเมืองภายใต้การปกครองของเหมา เย่เข้าใจว่าสภาพเศรษฐกิจในมณฑลนั้นแตกต่างอย่างมากจากพื้นที่อื่น ๆ ของจีน เนื่องจากเจ้าของที่ดินในมณฑลกวางตุ้งส่วนใหญ่เป็นชาวนาเองที่มีส่วนร่วมในการผลิตโดยไม่เอาเปรียบผู้เช่า ดังนั้น เขาจึงปฏิเสธที่จะขับไล่เจ้าของที่ดิน รวมถึงปกป้องธุรกิจและที่ดินของพวกเขาแทน อย่างไรก็ตาม นโยบายของเย่ขัดแย้งกับคำสั่งทั่วไปของการปฏิรูปที่ดินที่ได้รับคำสั่งจากพรรค ซึ่งเน้นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น นโยบายของเขาถือว่านุ่มนวลเกินไป เย่และกลุ่มแกนนำท้องถิ่นของเขาถูกแทนที่ด้วยหลิน เปียว ทันที รวมถึงมีการใช้นโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้น และเจ้าของที่ดินชาวกวางตุ้งหลายแสนคนถูกประหารชีวิต โดยอาชีพทางการเมืองของเย่สิ้นสุดลงอย่างมีผล

อ้างอิง

  1. "叶剑英和叶道英的兄弟情 - 全网搜". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-28. สืบค้นเมื่อ 2022-12-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya