ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
คนที่ 3
หลี่ เซียนเนี่ยน (จีน : 李先念; พินอิน : Lǐ xiānniàn ; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2452 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2535) เป็นผู้นำทางทหารและการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526–2531 ภายใต้การนำของผู้นำสูงสุดเติ้ง เสี่ยวผิง [ 3] และดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการแห่งชาติของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 จนกระทั่งเสียชีวิต เขาเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการประจำกรมการเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499–2530 และเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520–2530 [ 4] [ 5]
หลี่ทำงานเป็นช่างไม้ฝึกหัดในช่วงวัยรุ่นเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2470 และเข้าเป็นทหารในกองทัพแดงของจีน หลังจากศึกษาที่มหาวิทยาลัยการทหารและการเมืองของจีนต่อต้านญี่ปุ่น และโรงเรียนพรรคกลาง เขากลายเป็นผู้บัญชาการทหารที่มีอิทธิพลและประสบความสำเร็จในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และสงครามกลางเมืองจีน โดยสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในการต่อสู้ในหวยไห่ [ 4] หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการและเลขาธิการพรรคฯ ในมณฑลหูเป่ย์ บ้านเกิดของเขาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ถึง 2497 จากนั้นได้เข้าร่วมกับรัฐบาลกลางในกรุงปักกิ่ง โดยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2497–2513) และรองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2497–2525) เขาสนับสนุนฮั่ว กั๋วเฟิง ผู้สืบทอดตำแหน่งของเหมา เจ๋อตง และได้รับตำแหน่งรองประธานพรรคฯ (พ.ศ. 2520–2525)
เขาเป็นหนึ่งในแปดผู้อาวุโส ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขาถือว่าเป็นฝ่ายซ้าย มากที่สุดในหมู่พวกเขา ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ หลี่มีบทบาทสำคัญในการสกัดกั้นการโอนธุรกิจของรัฐให้เป็นของเอกชนและรักษาการควบคุมของรัฐในหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจ ส่งเสริมค่านิยมทางการเมืองและวัฒนธรรมแบบคอมมิวนิสต์ดั้งเดิมผ่านการอุปถัมภ์ของนักทฤษฎีเช่น หู เฉียวมู่ และเติ้ง ลี่คุน และมีส่วนสำคัญในการกำจัด หู เย่าปัง และจ้าว จื่อหยาง เขาสนับสนุนให้ทหารเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมในการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในปี พ.ศ. 2532 [ 5] [ 6] [ 7]
ประวัติ
ครอบครัว
มรณกรรมและอนุสรณ์
เครื่องอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
↑ Rittenberg, Sidney; Bennett, Amanda (2001). The Man Who Stayed Behind . Duke University Press. p. 103. ISBN 9780822326670 .
↑ Chen, Shanbin (19 May 2015). 李先念的夫人林佳媚简历 林佳楣生了几个孩子 . lishiquwen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 24 December 2019. สืบค้นเมื่อ 16 January 2017 .
↑ Li, Xiaobing (2012). China at War: An Encyclopedia . ABC-CLIO. p. 226. ISBN 978-1-59884-415-3 .
↑ 4.0 4.1 Li Xiannian (1909–1992) , in Christopher R. Lew, Edwin Pak-wah Leung: Historical Dictionary of the Chinese Civil War , p.p. 120-121, Scarecrow Press, 2013
↑ 5.0 5.1 Holley, David.
↑ Wu Wei, Why China’s Political Reforms Failed.
↑
Brandt, Loren; Rawski, Thomas G. (2008). China's Great Economic Transformation . Cambridge University Press. p. 102. ISBN 978-0-521-88557-7 . In economic policy, the most important elders were Li Xiannian and Chen Yun.
↑ 齐奥塞斯库总统盛宴欢迎李先念主席 宾主共赞中罗两党两国人民真挚友谊 齐奥塞斯库授予李先念“罗马尼亚社会主义共和国之星”一级勋章. People's Daily. 1984-08-29: 1.