Share to:

 

เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง

ประวัติ
กองทัพเรือสหภาพโซเวียตกองทัพเรือยูเครนสหภาพโซเวียตยูเครน
ชื่อรีกาวาร์ยัก
ตั้งชื่อตามRussian cruiser Varyag (1899)
Ordered1983
อู่เรือlist error: <br /> list (help)
Nikolayev South
Nevskoye Planning and Design Bureau
ปล่อยเรือ6 ธันวาคม 1985
เดินเรือแรก4 ธันวาคม 1988
สร้างเสร็จสมบูรณ์ (100%)
ความเป็นไปยุติโครงการในปี ค.ศ. 1995
ประวัติ
กองทัพเรือประชาชนจีนจีน
ชื่อlist error: <br /> list (help)
เหลียวหนิง
(จีน: 中国人民解放军海军辽宁舰)
ตั้งชื่อตามมณฑลเหลียวหนิง
อู่เรือบริษัทอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือต้าเหลียน
สร้างเสร็จค.ศ. 2011
เข้าประจำการ25 กันยายน ค.ศ. 2012
สถานะในประจำการ
ลักษณะเฉพาะ แบบดั้งเดิมของ วาร์ยัก
ชั้น: เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นพลเรือเอกคุซเนตซอฟ
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 59,100 ตัน (บรรทุกเต็ม)[1]
67,500 ตัน (บรรทุกเต็มที่) [2]
ความยาว: 304.5 เมตร (999 ฟุต) o/a
270 เมตร (890 ฟุต) w/l
ความกว้าง: 75 เมตร (246 ฟุต) o/a
35 เมตร (115 ฟุต) w/l
กินน้ำลึก: 8.97 เมตร (29.4 ฟุต)
ระบบพลังงาน: ไอน้ำ
ระบบขับเคลื่อน: กังหันไอน้ำ, 8 หม้อต้ม, 4 เพลา, 200,000 แรงม้า (150 เมกะวัตต์)
2 กังหัน ขนาด50,000 แรงม้า (37 เมกะวัตต์)
9 เครื่องกำเนิดเทอร์โบ ขนาด2,011 แรงม้า (1,500 กิโลวัตต์)
6 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล ขนาด2,011 แรงม้า (1,500 กิโลวัตต์)
4 × fixed pitch propellers
ความเร็ว: 32 นอต (59 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 37 ไมล์ต่อชั่วโมง)
พิสัยเชื้อเพลิง: 3,850 ไมล์ทะเล (7,130 กิโลเมตร; 4,430 ไมล์) ที่ 32 นอต
พิสัยปฏิบัติการ: 45 วัน
อัตราเต็มที่: 1,960 ลูกเรือ
626 กลุ่มงานอากาศยาน
40 นายธง
3,857 ห้อง
ยุทโธปกรณ์:


After refit:
3 × Type 1030 CIWS
3 × HQ-10 (18 Cell Missile system)
2 × ASW 12 tube rocket launchers


As designed:
8 × AK-630 AA guns (6 × 30 mm, 6,000 round/min/mount, 24,000 rounds)
8 × CADS-N-1 Kashtan CIWS (each 2 × 30 mm Gatling AA plus 16 3K87 Kortik SAM)
12 × P-700 Granit SSM
18 × 8-cell 3K95 Kinzhal SAM VLS (192 vertical launch missiles; 1 missile per 3 seconds)
RBU-12000 UDAV-1 ASW rocket launchers (60 rockets)
อากาศยาน: 24 Shenyang J-15
6 Changhe Z-18
4 Ka-31
2 Harbin Z-9
Total of 36 fixed wing and rotary wing aircraft.

เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง (จีน: 中国人民解放军海军辽宁舰; อังกฤษ: Liaoning) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน

เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง เดิมชื่อว่า เรือบรรทุกเครื่องบินวาร์ยัก (รัสเซีย: Варяг; อังกฤษ: Varyag) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นคุซเนตซอฟของโซเวียต ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือที่เมืองไมโคเลฟ ติดทะเลดำ ทางตอนใต้ของยูเครน ปล่อยลงน้ำเมื่อปี ค.ศ. 1988 เดิมมีชื่อว่า "รีกา" [3] ตามชื่อกรุงรีกา เมืองหลวงของลัตเวีย ซึ่งในขณะนั้นเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐของโซเวียต แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วาริยัก" ตามชื่ออดีตเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะของรัสเซีย ชื่อ "วาริยัก" มาจากภาษายูเครน หมายถึง วารันเจียน

การก่อสร้างเรือหยุดลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 โดยยังไม่ได้ติดตั้งระบบอิเลคทรอนิกส์ เนื่องจากขาดงบประมาณ และเมื่อโซเวียตล่มสลายลง เรือลำนี้ก็ตกเป็นของประเทศยูเครนและถูกจอดทิ้งไว้โดยไม่ได้บำรุงรักษา ถูกนำออกมาประมูลในปี ค.ศ. 1998 ในฐานะเรือเปล่า ไม่มีเครื่องยนต์ หางเสือ และระบบควบคุม และประมูลได้ไปในราคา 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [4] โดยบริษัทท่องเที่ยวจากมาเก๊า ซึ่งระบุว่าจะนำเรือลำนี้ไปสร้างเป็นคาสิโนลอยน้ำที่ท่าเรือมาเก๊า [5] เช่นเดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบินลำอื่นๆ ของโซเวียตที่เคยถูกบริษัทจีนประมูลไปเป็นสถานที่ท่องเที่ยว คือ เรือบรรทุกเครื่องบินเคียฟทอดสมออยู่ที่เทียนจิน และเรือบรรทุกเครื่องบินมินสค์ทอดสมออยู่ที่เซินเจิ้น

ช่วงปี 2001-2002 เรือถูกชักลากมายังประเทศจีน และเข้าเทียบท่าที่เมืองต้าเหลียน ปัจจุบันเรือลำนี้อยู่ในการครอบครองของกองทัพเรือปลดแอกประชาชน [6] อยู่ระหว่างการปรับปรุงให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน มีกำหนดทดสอบการเดินเรือในปี ค.ศ. 2011 เพื่อเตรียมเข้าประจำการ [7][8] โดย Jane's Information Group ระบุว่าเรือลำนี้อาจใช้ชื่อว่า ชี หลาง [9] (จีน: 施琅; พินอิน: Shī Láng) ตามชื่อแม่ทัพเรือจีนในช่วงต้นราชวงศ์ชิง ผู้นำทัพเรือจีนสู้กับดัตช์และพิชิตเกาะไต้หวันได้ในปี ค.ศ. 1681 [10]

อ้างอิง

  1. Keene, The Battles of Coxinga: Chikamatsu's Puppet Play, Its Background and Importance, 45.
  2. John Pike. "Kuznetsov Class - Project 1143.5". Globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 2014-08-26.
  3. Rochlin, G. I; La Porte, T. R; Roberts, H, "The Self-Designing High-Reliability Organization: Aircraft Carrier Flight Operations at Sea", Naval War College Review, vol. LI no. 3, Autumn, 1987, Footnote 39, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-13, สืบค้นเมื่อ 2011-06-14
  4. varyagworld.com
  5. Storey, I; Ji, Y, China's Aircraft Carrier Ambitions: Seeking Truth from Rumors, vol. 57, Naval War College Review, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-12, สืบค้นเมื่อ 2011-06-14
  6. "China to start construction of 1st aircraft carriers next year". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-26. สืบค้นเมื่อ 2009-05-26.
  7. Defense Writers Group (Jan 5, 2011), VAdm. David J. Dorsett, Deputy CNO for Information Dominance (PDF) (Transcript), airforce-magazine.com, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-07-30, สืบค้นเมื่อ Apr 25, 2011
  8. Bitzinger, Richard A; Mitchell, Paul T (May 6, 2011), Soviet aircraft carrier Varyag: Shape of things to come? (PDF), RSIS Commentaries, S. Rajaratnam School of International Studies (RSIS), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-27, สืบค้นเมื่อ 2011-06-14
  9. "Transformation of the Varyag into a PLAN Aircraft Carrier". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-20. สืบค้นเมื่อ 2011-06-14.
  10. Carrier set for maiden voyage China Daily, 2011-07-28

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya