เส้นแบ่งเขตแดนไทย
เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเส้นสมมติที่กำหนดขึ้นโดยทำข้อตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในรูปแบบของหนังสือ สนธิสัญญา ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านนั้น ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย[1] สำหรับจุดเริ่มต้นของการแบ่งเส้นเขตแดนนั้น เริ่มขึ้นหลังจากชาติตะวันตกเข้ามาปกครองประเทศเพื่อนบ้านรอบประเทศไทยในรูปแบบของอาณานิคม ทำให้ต้องมีการกำหนดเส้นแนวเขตเพื่อแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศอาณานิคมเหล่านั้นกับประเทศไทย[2] โดยประเทศไทยได้ทำหนังสือและสนธิสัญญากับประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2408 ถึงช่วง พ.ศ. 2489[1] โดยเมื่อประเทศอาณานิคมเหล่านั้นได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ ได้ถือเอาเส้นเขตแดนเหล่านั้นที่ประเทศเจ้าอาณานิคมได้เคยตกลงไว้กับประเทศไทยเป็นแนวพรมแดนสืบต่อมา[1] สำหรับวิธีการกำหนดเขตแดนนั้นสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกันคือ ใช้วิธีการทางเรขาคณิต และใช้สภาพภูมิประเทศ[3] การปักปันเขตแดนเนื่องจากการทำหนังสือและสนธิสัญญาในอดีตเป็นการกระทำในรูปแบบของอนาล็อก และการวาดกำหนดลงบนกระดาษ ทำให้เมื่อระยะเวลาผ่านไปแนวเขตและการแบ่งเส้นเหล่านั้นไม่มีความชัดเจน ปัจจุบันจึงได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาดำเนินการสำรวจและปักหลักเขตแดน (Demarcation) โดยการนำแผนที่และสนธิสัญญาที่เคยทำร่วมกันในอดีตมาตีความและพิจารณาถึงสิ่งที่ได้ให้การตกลงไว้ในอดีต หรือเรียกว่าตีความสนธิสัญญา (Interpretation of Treaties) ผ่านการประชุมคณะกรรมมาธิการเขตแดนร่วม[2] และลงพื้นที่สำรวจแนวเขตร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเทศไทยเป็นหน้าที่ของ กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย[2] ปัจจุบันประเทศไทยยังคงดำเนินการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ตลอด[4] โดยประเทศไทยเคยมีปัญหาข้อพิพาทระหว่างเขตแดนครั้งล่าสุดคือในระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2554 ในกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา เกี่ยวกับการตีความผลการตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร ทำให้เกิดการใช้กำลังทหารปะทะกันตามแนวชายแดนจนเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินทั้งสองฝ่าย[5][6] ประเภทของจุดผ่านแดนสำหรับประเทศไทย กำหนดประเภทของจุดผ่านและด่านพรมแดนในแต่ละพื้นที่ จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อหลักเขตแดนหรือสันปันน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านเขตแดนตามมาในภายหลัง โดยทั้ง 4 ประเภทนั้น[7] ประกอบไปด้วย จุดผ่านแดนถาวรจุดผ่านแดนถาวรนั้น เป็นจุดผ่านแดนที่ผ่านการตกลงในระดับนโยบายของรัฐบาลของทั้งสองประเทศอย่างเป็นทางการ โดยเป็นไปตามหลักสากลในการเดินทางข้ามไปมาระหว่างกัน เพื่อประโยชน์ทั้งการสัญจรของบุคคล ยานพาหนะ และการค้าของทั้งสองประเทศ ซึ่งมีปริมาณอย่างสม่ำเสมอ มีศักยภาพเพียงพอด้านการคมนาคมในทั้งสองประเทศในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะเป็นไปเพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างเมืองหลักของทั้งสองประเทศ ซึ่งรวมไปถึงการเดินทางเข้าออกของบุคคลจากประเทศที่สาม จุดผ่านแดนชั่วคราวจุดผ่านแดนชั่วคราว เป็นจุดที่มีการเปิดเฉพาะกิจเพื่อเหตุจำเป็นต่าง ๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงการค้าและเศรษฐกิจเป็นหลัก และพื้นที่ดังกล่าวไม่มีจุดผ่านแดนประเภทอื่น ๆ อยู่ใกล้เคียงกัน โดยกรณีสำหรับการเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวมีหลายกรณี[8] อาทิ
จุดผ่อนปรนการค้าจุดผ่อนปรนการค้า เป็นจุดที่เปิดเพื่อจุดประสงค์ในด้านการค้าและเศรษฐกิจโดยเฉพาะ โดยจะต้องมีความจำเป็นต่อประชาชนในพื้นที่ชายแดนในบริเวณดังกล่าวทั้งสองประเทศ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ของประชาชนทั้งสองประเทศ[12] จุดผ่อนปรนพิเศษจุดผ่อนปรนพิเศษ เป็นจุดที่ต้องผ่านการตกลงในระดับนโยบายของรัฐบาลของทั้งสองประเทศเช่นเดียวกัน แต่บริเวณนั้นยังไม่มีศัยกภาพมากพอที่จะเปิดจุดผ่านแดนถาวรได้ โดยกำหนดเงื่อนไขเป็นรายกรณีพิเศษภายใต้ระเบียบและข้อกฎหมายของทั้งสองประเทศรองรับซึ่งไม่จำเป็นต้องครบถ้วนแบบเดียวกับจุดผ่านแดนถาวร เพื่อไม่ให้เสียประโยชน์และโอกาสของประเทศที่จะได้รับระหว่างดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดจุดผ่านแดนถาวรในอนาคต ปัจจุบันมีเพียงแค่แห่งเดียวคือด่านสิงขร เส้นแบ่งเขตแดนไทย - พม่าเส้นแบ่งเขตแดนไทย - พม่ามีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 2,401 กิโลเมตร[1] ซึ่งประกอบไปด้วย
เส้นแบ่งเขตแดนไทย - ลาวเส้นแบ่งเขตแดนไทย - ลาวมีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 1,810 กิโลเมตร[1] ซึ่งประกอบไปด้วย เส้นแบ่งเขตแดนไทย - กัมพูชาเส้นแบ่งเขตแดนไทย - กัมพูชามีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 798 กิโลเมตร[1] ซึ่งประกอบไปด้วย
เส้นแบ่งเขตแดนไทย - มาเลเซียเส้นแบ่งเขตแดนไทย - มาเลเซียมีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 647 กิโลเมตร[1] ซึ่งประกอบไปด้วย
ข้อพิพาทเขตแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาเคยพิพาทกันเรื่องเขตแดนเนื่องจากยึดถือเอกสารคนละฉบับ นำไปสู่คดีปราสาทพระวิหาร และกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา ช่วงปี 2551–2554 ประเทศไทยกับประเทศลาวเคยพิพาทกันเรื่องเขตแดนนำไปสู่สมรภูมิบ้านร่มเกล้า ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |