เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549
เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ระหว่างงานเฉลิมฉลองวันสิ้นปีในกรุงเทพมหานคร โดยระเบิดสี่ลูกได้เกิดระเบิดขึ้นเกือบพร้อมกันในหลายส่วนของเมืองเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ตามมาด้วยระเบิดอีกหลายลูกภายในระยะเวลา 90 นาทีต่อมา ระเบิดอีกสองลูกเกิดระเบิดขึ้นหลังเที่ยงคืน รวมทั้งหมดแล้ว เกิดระเบิดขึ้นแปดครั้งในคืนดังกล่าว วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 มีการยืนยันผู้เสียชีวิต 3 คน และอีกมากกว่า 38 คนได้รับบาดเจ็บ[1] ระเบิดอีกหนึ่งลูกได้เกิดระเบิดขึ้นภายในโรงภาพยนตร์ แต่ระเบิดลูกดังกล่าวไม่ได้รับการรายงานจนกระทั่งวันรุ่งขึ้นเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการเผยแพร่ในด้านลบ วันเดียวกัน เกิดระเบิดขึ้นที่มัสยิดในจังหวัดเชียงใหม่ ทางการสั่งการยกเลิกการจัดกิจกรรมวันสิ้นปีสาธารณะทั้งหมด รวมไปถึงการนับถอยหลังที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และการทำบุญตักบาตรที่สนามหลวง ชายคนหนึ่งถูกจับกุมในกรุงเทพมหานครเนื่องจากพกพาอุปกรณ์ระเบิด และตำรวจจังหวัดเชียงใหม่อ้างว่าภารโรงของมัสยิดที่เกิดระเบิดขึ้นนั้นยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้ทำระเบิดขึ้น ไม่มีผู้ใดอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุระเบิดดังกล่าว นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวประณาม "พวกอำนาจเก่า" ว่าเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบกับเหตุระเบิดที่เกิดขึ้น โดยหมายความถึงรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และกลุ่มผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549[2] ทั้งพรรคไทยรักไทย และอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด[3] ในภายหลัง พล.อ.สุรยุทธ์ได้กลับคำและยอมรับการกล่าวถึงว่าพันธมิตรของทักษิณเป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น "เป็นเพียงการวิเคราะห์ด้านข่าวกรอง" และไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลชัดเจนสนับสนุน[4] อักษรย่อ "IRK" ถูกพบเขียนด้วยมาร์กเกอร์ในสถานที่สี่แห่งจากเหตุระเบิดสามจุด ซึ่ง IRK เป็นหน่วยกองโจรก่อการร้ายในเมืองซึ่งได้รับการฝึกในอัฟกานิสถาน[5] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอารีย์ วงศ์อารยะ ขจัดการเสนอแนะว่าผู้ลงมือเป็นกลุ่มก่อการร้ายมุสลิม[6] การประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์และหน่วยงานด้านความมั่นคงและข่าวกรองหลายแห่งในตอนเย็นของวันที่ 31 ธันวาคม ไม่สามารถระบุผู้ก่อเหตุดังกล่าวอย่างเป็นทางการ[7] วันที่ 1 มกราคม พล.อ.สุรยุทธ์กล่าวว่า ถึงแม้ระเบิดที่ใช้จะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับที่ใช้โดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศ การสืบสวนในเชิงลึกกลับไม่พบความเชื่อมโยง และกล่าวว่า "ผมไม่คิดว่าพวกเขาจะมาถึงที่นี่เนื่องจากอาจหลงทางในกรุงเทพมหานครได้"[8][9] ในภายหลัง ตำรวจได้จับกุมบุคคลมากกว่าสิบสองคน รวมทั้งนายทหาร โดยต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด ผู้นำคณะรัฐประหาร พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อ้างว่านายทหารทั้งหมดไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อมา การสืบสวนของตำรวจกลับพบว่ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดดังกล่าว เนื่องจากวงจรจุดระเบิดและวัสดุอื่นที่ใช้ทำระเบิดนั้นเหมือนกับที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนใช้กัน[10] อย่างไรก็ตาม คณะรัฐประหารกล่าวว่ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนไม่สำคัญเท่าใดนัก โดยอ้างว่าพวกเขาว่าจ้างผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์การเมืองในกรุงเทพมหานครมาทำงาน[11] จุดเกิดเหตุในกรุงเทพมหานคร เกิดระเบิดหกครั้งเวลาไล่เลี่ยกันเมื่อช่วงเย็น ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน และได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 23 คน ขณะที่ประชาชนกำลังเริ่มต้นเฉลิมฉลองวันสิ้นปี จุดเกิดเหตุได้แก่ง
หลังจากเหตุระเบิดทั้งหกจุดแล้ว การเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่เซ็นทรัลเวิลด์และสนามหลวงได้ถูกยกเลิก[17] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้นำการนับถอยหลังวันขึ้นปีใหม่ขึ้นมากกว่าสามชั่วโมงที่แล้วที่เซ็นทรัลเวิลด์[18] และได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นอีกสองครั้งไม่กี่นาทีหลังเที่ยงคืนในบริเวณใกล้เคียงกับเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บในจำนวนนี้เป็นชาวเซิร์บ 3 คน ชาวอังกฤษ 2 คน ชาวไทย 2 คน และชาวไอร์แลนด์ 1 คน จุดเกิดเหตุ ได้แก่
ตำรวจได้สืบสวนเหตุการณ์อื่นเพิ่มเติม
เหยื่อเหตุระเบิดทั้งหมดทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวไทย ได้แก่ นายสงกรานต์ กาญจนะ อายุ 36 ปี, นายเอกชัย เรือพุ่ม วัย 26 ปี ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และนายสุวิชัย นาคเอี่ยม วัย 61 ปี ที่เขตคลองเตย นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 38 คน เนื่องจากไปอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดระเบิดขึ้น ในจำนวนนี้มีชาวต่างประเทศ 8 คนได้รับบาดเจ็บ: ชาวอังกฤษ 2 คน ชาวฮังการี 3 คน ชาวเซอร์เบีย 2 คน และชาวอเมริกัน 1 คน[1]
วัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์พลตำรวจโทอชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช อ้างว่า ระเบิดทั้งหมดแปดลูกถูกวางไว้ในกล่องขนาด 3×5 นิ้ว และจุดระเบิดโดยนาฬิกาปลุกดิจิตอล ในระเบิดทุกลูกยังพบร่องรอยของสารประกอบระเบิดแรงสูงเอ็ม 4[20] แหล่งข่าวสรรพาวุธทหารอื่นอ้างว่าระเบิดดังกล่าว คือ ระเบิดน้ำมันเชื้อเพลิงแอมโมเนียมไนเตรด/ระเบิดเอ็ม 4[21] ซึ่งเป็นระเบิดประเภทเดียวกับที่พบในรถนอกที่พักของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 ตำรวจได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากการห้ามมิให้รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ จากการเก็บรวบรวมหลักฐานจากจุดเกิดระเบิดที่ปากน้ำ เธอได้เรียกตำรวจว่าไม่เป็นมืออาชีพ เพราะมุ่งเน้นให้ความสนใจไปยังชนิดของระเบิดที่ใช้ มากกว่าการระบุเอกลักษณ์ของมือระเบิด และอนุญาตให้คนเก็บขยะทำความสะอาดจุดเกิดเหตุก่อนที่การเก็บรวบรวมหลักฐานจะเสร็จสิ้น[22] นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ชี้ถึงการมีส่วนเกี่ยวข้องของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ โดยให้ความเห็นว่า จากรายงานทางนิติวิทยาศาสตร์ ตัวระเบิดได้รับการประกอบให้ดูเหมือนกับที่ใช้กันอยู่โดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ แต่การสืบสวนในรายละเอียดของเหตุระเบิดและวิธีการทำงานของระเบิดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันเลย[9] ความรับผิดชอบการเตือนล่วงหน้าก่อนหน้านี้ ทางการได้เคยเตือนถึงการเพิ่มระดับของการเคลื่อนไหวของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ในช่วงปีใหม่[23] ส่วนทางด้านหน่วยข่าวกรองทหารและตำรวจสันติบาลได้รับข่าวกรองที่ว่าจะมีระเบิดเกิดขึ้นกว่า 30 จุดในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามศูนย์การค้าชื่อดัง อย่าง สยามพารากอน, เดอะมอลล์ บางกะปิ และซีคอนสแควร์ กองโจรในเมืองไม่มีฝ่ายใดออกมาอ้างแสดงความรับผิดชอบในเหตุระเบิดดังกล่าว และทั้งพรรคไทยรักไทยและอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ต่างปฏิเสธความเกี่ยวข้อง[3] ในช่วงที่ยังไม่มีหลักฐานต่อสาธารณชนเป็นรูปธรรม ได้มีการออกมากล่าวถึงทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับผู้ที่น่าจะอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ตัวย่อ "TRK" ถูกพบเขียนอยู่ด้วยมาร์กเกอร์ซึ่งได้ซ่อนไว้ในสถานที่สี่แห่งในจุดเกิดเหตุระเบิดสามจุด: เสาใกล้กับจุดรอรถโดยสารประจำทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, ตู้โทรศัพท์สาธารณะใกล้กับศูนย์การค้าเกษร ตรงข้ามกับเซ็นทรัลเวิลด์, ตู้โทรศัพท์สาธารณะใกล้กับสะพานปากน้ำ และตู้โทรศัพท์สาธารณะใกล้กับบิ๊กซี ราชดำริ ซึ่ง IRK เป็นกลุ่มกองโจรก่อการร้ายในเมืองที่ได้รับการฝึกในอัฟกานิสถาน อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อารีย์ วงศ์อารยะ ปฏิเสธข้อเสนอแนะที่ว่าผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์เป็นกลุ่มมุสลิมติดอาวุธ[21] ผู้นำอาวุโสในคณะรัฐประหารเห็นด้วยว่าผู้ก่อการร้ายชาวมุสลิมไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และตัวย่อนั้นต้องการให้เป็นการป้ายความผิดแก่ IRK ตำรวจอ้างว่ากราฟิตี "IRK" เป็นผลงานของแก๊งวัยรุ่นซึ่งต้องการพยายามจะสร้างความหวาดกลัวแก่สาธารณชน[24] ด้านหัวหน้าคณะรัฐประหาร พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อ้างว่าตน "มั่นใจมากกว่า 100%" ว่าเหตุระเบิดดังกล่าวไม่มีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้เกี่ยวข้อง และกล่าวอีกว่าแม้กระทั่งในภาคใต้ การโจมตีก็ไม่สามารถเกิดขึ้นโดยง่ายเช่นกัน และยังได้อ้างอีกว่าเหตุระเบิดดังกล่าวกระทำโดยผู้ที่คุ้นเคยกับพื้นที่ชานเมืองเป็นอย่างดี และ "เป็นไปไม่ได้" ที่เหตุระเบิดจะมีการเตรียมการล่วงหน้าเป็นเวลาหลายเดือน[25] พนักงานสืบสวนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ พบว่า เทคนิคที่มือระเบิดใช้นั้นคล้ายคลึงกับที่ใช้ในเหตุระเบิดที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ก่อนหน้านี้ใน พ.ศ. 2549 ที่ซึ่งนาฬิกาดิจิตอลคาซิโอถูกใช้เป็นตัวตั้งเวลา นาฬิกาคาซิโอปกหลังสแตนเลสสตีลซีรีส์ 200 และ 201 ถูกพบในจุดเกิดระเบิดในกรุงเทพมหานคร[26] "กลุ่มอำนาจเก่า"สมาชิกหลายคนของรัฐบาลทหารได้อ้างถึงกลุ่มผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์หลายกลุ่ม หนึ่งวันหลังจากเกิดเหตุระเบิดขึ้น แหล่งข่าวด้านความมั่นคงของรัฐบาลได้ประณาม "กลุ่มอำนาจเก่า" โดยเป็นไปได้ว่าอาจหมายความถึงสมาชิกของรัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณที่ถูกโค่นอำนาจไปก่อนหน้านี้[27] แหล่งข่าวความมั่นคงอื่น ๆ กล่าวว่า เหตุระเบิดดังกล่าวอาจทำให้รัฐบาลทหารอ้างเหตุผลในการยึดทรัพย์ส่วนบุคคลของทักษิณได้เป็นจำนวนมาก[28] พรรคไทยรักไทยปฏิเสธกำกับเหตุระเบิด และเตือนรัฐบาลทหารไม่ให้ชี้นิ้วกล่าวโทษโดยปราศจากข้อเท็จจริง[29] บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวว่า ตนเชื่อว่าเหตุระเบิดมี "พวกคลื่นใต้น้ำ" ผู้สนับสนุนรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณที่ถูกโค่นล้มไป ผู้ซึ่งหวังจะให้รัฐบาลทหารสูญเสียความน่าเชื่อถือ แต่เขาไม่ได้อ้างหลักฐานจากแหล่งใด[30] หลังจากที่การประชุมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงและข่าวกรองเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม จะไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับผู้ก่อเหตุ[31] อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 มกราคม พล.อ.สุรยุทธ์ได้ประกาศว่า "กลุ่มอำนาจเก่า" อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว โดยกล่าวว่า "ตามข้อมูลของรัฐบาลและหน่วยข่าวกรอง มันเป็นงานของกลุ่มคนที่สูญเสียอำนาจ แต่ผมไม่สามารถพูดได้อย่างชัดเจนว่ากลุ่มใดอยู่เบื้องหลัง"[32] โดยไม่ได้หมายความถึงเฉพาะแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทุกกลุ่มที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองจากรัฐประหาร[2] ในภายหลัง พล.อ.สุรยุทธ์ได้กลับคำและยอมรับว่าคำกล่าวอ้างของตนที่ว่ากลุ่มผู้สนับสนุนพ.ต.ท. ทักษิณรับผิดชอบต่อเหตุระเบิดดังกล่าวนั้น "เป็นเพียงการวิเคราะห์ด้านข่าวกรอง" โดยที่ปราศจากหลักฐานหรือข้อมูลที่เป็นรูปธรรม[4] ผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร อ้างว่า "ข้อมูลหลักฐานและข่าวกรองได้พิสูจน์ว่าระเบิดเป็นงานสกปรกของนักการเมืองซึ่งสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ ทหารเลวบางนายที่ภักดีต่อนักการเมืองเลวเป็นไส้ศึกโดยมีเจตนาที่จะโค่นอำนาจรัฐบาลชุดนี้" และยังได้กล่าวอีกว่า "พวกนอกกฎหมายและกลุ่มก่อการร้ายในภาคใต้ของไทยไม่มีส่วนเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร"[33] พล.อ.สพรั่งได้วิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายทหารผู้ซึ่งเป็นสมาชิกของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถูกโค่นล้มไป อย่างรุนแรง พล.อ.ชวลิตได้ท้าทายให้ พล.อ.สพรั่งจับกุมผู้กระทำความผิดที่อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิด พล.อ.ชวลิตตอบโต้โดยกล่าวว่า "สพรั่ง กัลยาณมิตรอ้างว่าเขามีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดเรียบร้อยแล้ว แต่เขาล้มเหลวที่จะดำเนินการใด ๆ นี่เป็นความไร้ความสามารถใหญ่หลวง" เขากล่าวว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติควรตรวจสอบตามสายงานของตนว่ากลุ่มคนเหล่านั้นต้องการคลี่คลายคดีนี้หรือไม่ โดยพูดเป็นนัยคาดคะเนว่าฝ่ายทหารจัดฉากเหตุระเบิดดังกล่าวขึ้นเพื่ออ้างความชอบธรรมในการรวบอำนาจ[34] ผลสำรวจความคิดเห็นสาธารณะจัดทำโดยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่าชาวกรุงเทพส่วนใหญ่ไม่เชื่อคำกล่าวอ้างที่ว่ารัฐบาลที่ถูกโค่นล้มไปนั้นอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว และมีเพียง 11% ของผู้ตอบแบบสำรวจเท่านั้นที่ตอบว่าตนเอง "มีความมั่นใจเต็มที่" ว่ารัฐบาลสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้[35] ความขัดแย้งภายในรัฐบาลทหารทฤษฎีที่ว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้วางระเบิดเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้อยู่ในมือของตนและสร้างความเสื่อมเสียให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ซึ่งยังได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่สาธารณชน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ปฏิเสธข่าวลือทางโทรทัศน์ โดยกล่าวว่า "ผมได้เสี่ยงตนเองทำในสิ่งที่ประชาชนปรารถนา ทำไมผมถึงควรจะทำอย่างนั้น เพราะผมรักประชาชนของผม และประเทศของผม"[36] ได้มีการอ้างว่า ความขัดแย้งระหว่างผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร และแม่ทัพภาคที่ 1 และพลโท ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นสาเหตุที่เป็นไปได้ของเหตุระเบิดและข่าวลือรัฐประหาร ทั้งสองคนล้วนมีศักยภาพเป็นทายาทผู้นำคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหลังจากสนธิเกษียณในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550[ต้องการอ้างอิง] ญะมาอะห์ อิสลามียะห์ หรือกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้เจ้าหน้าที่ข่าวกรองไทยบางคนได้ระบุว่าพวกเขาเชื่อว่าการโจมตีดังกล่าวมีการวางแผนและดำเนินการโดยความพยายามร่วมกันของญะมาอะห์ อิสลามียะห์และองค์กรปลดปล่อยสหปัตตานี ซึ่งขัดแย้งกันกับประกาศในช่วงแรกของรัฐบาลเฉพาะกาลที่ว่าเหตุระเบิดดังกล่าวไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ มีการตั้งรางวัลนำจับ 1,000,000 บาท สำหรับการจับกุมเลาะห์มุลี ยูโซะ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นหัวหน้ากลุ่มการโจมตีในครั้งนี้[37][38] การสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ในภายหลังได้สนับสนุนทฤษฎีที่ว่าเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานครนั้นใช้เทคนิคการสร้างระเบิดและใช้วัสดุเดียวกันกับที่ใช้โดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้[10] ปฏิกิริยาปฏิกิริยาจากหลายฝ่าย ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม ตามรายงานข่าว
อ้างอิง
|