เหมย์โจว
เหมย์โจว (จีน: 梅州市, ฮากกา: Mòichû หม่อยจู) เป็นนครระดับจังหวัดในมณฑลกวางตุ้ง ทางตะวันออกของจีน มีพื้นที่ 15,864.51 ตารางกิโลเมตร (6,125.32 ตารางไมล์) ประกอบด้วยเขตเหม่ย์เจียง เขตเหม่ย์เชี่ยน ชิงหนิง และอีกห้าอำเภอ และจากสำมะโนประชากร พ.ศ. 2553 มีประชากร 4.33 ล้านคนพื้นที่ตัวเมืองที่ประกอบด้วยสองเขตมีประชากร 935,516 คน[2] ประวัติชื่อ เหมย์โจว มาจากแม่น้ำเหม่ย์ และคำว่า (ดอก) บ๊วยในภาษาจีน (จีน: 梅, เหมย์ méi) เหมย์โจวก่อตั้งในช่วงฮั่นใต้ (พ.ศ. 1460–1514) ให้เป็นเขตปกครองของเมืองเกงจิ๋ว และกลายเป็น เหมย์โจว ในช่วงราชวงศ์ซ่งเหนือ (พ.ศ. 1503–1670) และเป็นเมืองเจียยิงในช่วงราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187–2454) หลังจากการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองที่ตามมาหลายครั้งก็กลายชื่อเป็นเมืองเหมย์โจวในปี พ.ศ. 2531 ปัจจุบันเหมย์โจวเป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง[3] ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศเหมย์โจวตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกวางตุ้ง ติดกับมณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกเฉียงเหนือและมณฑลเจียงซีทางตะวันตกเฉียงเหนือ โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อนส่วนใหญ่เกิดจากหินแกรนิต, หินแตก, หินแปร, หินทราย, หินแดง และหินปูน[4] เขตการปกครองของนครระดับจังหวัดเหมย์โจว อยู่ในช่วงละติจูดจาก 23 ° 23 'ถึง 24 ° 56' N และในลองจิจูดจาก 115 ° 18 'ถึง 116 ° 56' E ครอบคลุมพื้นที่ 15,836 km2 (6,114 sq mi) เหมย์โจวมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa เคิพเพิน) โดยมีฤดูหนาวที่ค่อนข้างสั้นมีเมฆมากและไม่หนาวมาก และมีฤดูร้อนที่ยาวและร้อนชื้นมาก อุณหภูมิเฉลี่ยรายวันในเดือนมกราคมคือ 12.6 องศาเซลเซียส (54.7 องศาฟาเรนไฮต์) และในเดือนกรกฎาคมคือ 28.9 องศาเซลเซียส (84.0 องศาฟาเรนไฮต์) ฤดูมรสุมอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ไต้ฝุ่นมักจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เหมย์โจวมากนักเนื่องจากภูมิประเทศที่มีภูเขากำบัง แต่ทั้งนี้ภูมิประเทศแบบภูเขาอาจประสพปัญหาจากน้ำท่วมได้ง่าย
การปกครองศาลาว่าการเทศบาลนคร, ศาลกลาง, สำนักงานพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนประจำนคร และสำนักความปลอดภัยสาธารณะ (สำนักงานตำรวจ) ตั้งอยู่ในแขวงเจียงหนาน ของเขตเหมย์เจียง บนฝั่งขวาของแม่น้ำเหม่ย์
เศรษฐกิจเหมย์โจวอุดมไปด้วยแหล่งแร่อุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยว แร่อุตสาหกรรม 48 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน เหล็ก หินปูน ดินหายาก ดินเกาลิน เหมย์โจวเป็นแหล่งแร่แมงกานีสสำรองในอันดับหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง เหมย์โจวมีแหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำพุร้อน และน้ำแร่ที่ผ่านการรับรองมากมาย มีแหล่งท่องเที่ยว เช่น แหล่งประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ที่อยู่อาศัยของบุคคลที่มีชื่อเสียงของจีนในอดีต ทิวทัศน์ธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมจีนแคะ (ฮากกา)[5] เนื่องจากที่ตั้งที่เป็นภูเขา เหมย์โจวจึงมีพื้นที่ธรรมชาติที่สวยงามและคุณภาพอากาศที่ดี นักท่องเที่ยวหลายคนมาที่สวนชายานหนานเฟย์เพื่อปีนเขา การขนส่งเหมย์โจวเป็นศูนย์กลางการคมนาคมเชื่อมสามมณฑล คือ กวางตุ้ง ฝูเจี้ยน และเจียงซี และจุดเชื่อมระหว่างชายฝั่งและพื้นที่บกด้วยทางหลวงหมายเลข 205 และ 206 สถานีรถไฟเหมย์โจวตะวันตก (Meizhou West Railway Station) เปิดบริการใน พ.ศ. 2562 ใช้สำหรับเส้นทางรถไฟโดยสารเหมย์โจว–เฉาซ่าน (แต้ซัว) และให้บริการเชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงไปยังกว่างโจว จูไห่ เซินเจิ้น ซัวเถา เฉาโจว อี้ชาง และเซียะเหมิน [6] เส้นทางรถไฟกว่างโจว–เหมย์โจว–ซัวเถา และเส้นทางรถไฟเหมย์โจว–ขั่นซื่อ (坎市镇) สถานีรถไฟเหมย์โจว (เก่า) ในเมืองยังคงให้การบริการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ (ธรรมดา) กับกวางโจว เซี่ยเหมิน ซัวเถา เซินเจิ้น ต่าปู้ อู่ชาง และคุนหมิง ท่าอากาศยานเหม่ย์เซียน ในเมืองเหมย์โจวให้บริการเส้นทางการบินในภูมิภาคในเส้นทางกวางโจวและฮ่องกง ทางน้ำผ่านแม่น้ำเหม่ย์และแม่น้ำฮั่นไปถึงเฉาโจว (แต้จิ๋ว) และซ่านโถว (ซัวเถา)[7] วัฒนธรรมเหมย์โจวถือเป็นศูนย์กลางของภาษาแคะ (ฮากกา) มาตรฐาน ร่วมกับ Mei County และ Dabu County ที่อยู่ใกล้เคียง จีนแคะ (ฮากกา) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งของชาวจีนฮั่นมีพื้นเพมาจากบริเวณแม่น้ำหวง ซึ่งต่อมาอพยพลงใต้เพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายในสงครามเมื่อหลายศตวรรษก่อน แต่เนื่องจากการต่อต้านจากชาวพื้นถิ่นกวางตุ้งต่อผู้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาใหม่ ทำให้ชาวจีนแคะจำนวนมากถูกบังคับให้ใช้ชีวิตในเขตภูเขาของมณฑลกวางตุ้ง การอพยพย้ายถิ่นนี้ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีการส่งต่อชาวจีนแคะอพยพไปยังประเทศอื่น ๆ ยังคงมีผู้คนจำนวนมากอพยพมาที่เหมย์โจวในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาเพื่อหารายได้ให้กับครอบครัว ชาวจีนแคะโพ้นทะเลบางส่วนอพยพกลับหรือส่งเงินช่วยเหลือไปยังเหมย์โจว อาคารหลายหลังได้รับการตั้งชื่อตามคนที่มีชื่อเสียงในเหมย์โจวและชาวจีนแคะโพ้นทะเล การศึกษาการศึกษาในเหมย์โจวนั้นมีความสำคัญสูงมาตั้งแต่สมัยโบราณ เมืองนี้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเจียยิง (嘉应大学) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นที่ดึงดูดนักศึกษาจากจังหวัดอื่น ๆ มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงด้านการวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมแคะ อาหารผลไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของเหมย์โจว คือ ส้มโอ ซึ่งออกผลจำนวนมากในช่วงหลังเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน ไก่อบเกลือเป็นอาหารที่รู้จักกันดีในชาวแคะ ซึ่งยังพบได้ในเมืองอื่น ๆ อาหารท้องถิ่นอีกอย่างคือ เย็นตาโฟ (Yong Tau Fu) ว่ากันว่าเมื่อชาวแคะมาทางใต้ครั้งแรกไม่มีแป้งสาลีสำหรับเกี๊ยว ซึ่งแทนด้วยเต้าหู้ การเติมเนื้อสัตว์นั้นให้รสชาติที่พิเศษและกลายเป็นจุดเด่นของอาหารแคะ เนื้อวัวและขิงดองเป็นที่นิยมในท้องถิ่นเช่นกัน บุคคลที่มีชื่อเสียง
ระเบียงภาพ
อ้างอิง
|