แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล
แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล[1] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Latrodectus geometricus) หรือมีอีกชื่อหนึ่งคือ แมงมุมแม่ม่ายเทา[2] เป็นแมงมุมพิษในสกุลแมงมุมแม่ม่าย เป็นสายพันธุ์พี่น้องกับแมงมุมแม่ม่ายดำ นักวิจัยเชื่อว่าแมงมุมสายพันธุ์นี้มีถิ่นกำหนดมาจากทั้งทวีปแอฟริกา แต่ก็ไม่แน่ชัดนัก ทั้งนี้สายพันธุ์ดั้งเดิมพบทั้งในแอฟริกาและอเมริกาใต้[1] มักจะพบได้ตามอาคารบ้านเรือนในเขตร้อนชื้น ปัจจุบันแมงมุมสายพันธุ์นี้พบได้ในหลายพื้นที่ของประเทศแอฟริกาใต้, สหรัฐอเมริกา[1], ออสเตรเลีย[1], อัฟกานิสถาน, จีน, ญี่ปุ่น[3], แทนซาเนีย, โดมินิกัน, ไซปรัส, คอสตาริกา, เอลซัลวาดอร์ และ บราซิล นอกจากนี้ยังเคยมีการพบในประเทศอื่นอย่าง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ไทย และ ปากีสถาน อีกด้วย แมงมุมแม่ม่ายสีน้ำตาลมีขนาดตัวเล็กและมีสีอ่อนกว่าแมงมุมแม่ม่ายดำ[4] ซึ่งลำตัวอาจมีตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลเข้มเกือบดำ กลางท้องมีเครื่องหมายสีแดงเป็นรูปนาฬิกาทราย ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละประมาณ 120–150 ฟอง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 20 วัน[5] มีนิสัยไม่ก้าวร้าว และเช่นเดียวกับแม่ม่ายดำที่มีเฉพาะตัวเมียเท่านั้นที่กัดเข้าผิวหนังมนุษย์ได้ อย่างไรก็ตามการกัดของแมงมุมแม่ม่ายสีน้ำตาลไม่ร้ายแรงเท่าของแม่ม่ายดำ เนื่องการกัดหนึ่งครั้งปล่อยพิษออกมาในปริมาณที่น้อยกว่า และผลของพิษจำกัดอยู่แค่บริเวณที่ถูกกัดเท่านั้นในขณะที่พิษของแม่ม่ายดำจะลามไปทั่วระบบไหลเวียนโลหิต โดยพิษของแม่ม่ายสีน้ำตาลจะทำให้มีอาการเกร็งกระตุกและตะคริว ตลอดจนเจ็บปวดคล้ายถูกผึ้งต่อย อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|