แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 นัดชิงชนะเลิศ จะเป็นการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะจากการแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 โดนเป็นการพบกันระหว่างเซเนกัลกับอียิปต์[2][3] นัดชิงชนะเลิศจะแข่งขันกันในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ที่สนามกีฬาโอเลมเบที่ยาอุนเดในประเทศแคเมอรูน
ภูมิหลัง
แอฟริกาคัพออฟเนชันส์เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์ระดับทวีปของฟุตบอลทีมชาติในทวีปแอฟริกา อยู่ภายใต้การดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา การแข่งขันปี 2021 เป็นการแข่งขันครั้งที่ 33 ของรายการนับตั้งแต่ที่จัดแข่งครั้งแรกในปี 1957 เจ้าภาพในการแข่งขันครั้งแรกนี้คือแคเมอรูน ซึ่งเดิมจะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันปี 2019 อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการก่อสร้างสนามและปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ทำให้ซีเอเอฟตัดสินใจยกเลิกสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพในปี 2019 ของแคเมอรูน[4] และให้อียิปต์เป็นเจ้าภาพแทน ประธานซีเอเอฟ อามัด อามัด ได้กล่าวว่าแคเมอรูนจะได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันปี 2021 แทน[5] การแข่งขันครั้งนี้เป็นเพียงครั้งที่สองของรายการที่มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 24 ทีม โดยทีมทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม ทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศของแต่ละกลุ่ม รวมถึงทีมอันดับที่สามที่ดีที่สุดอีกสี่ทีม จะผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก
อียิปต์เข้าร่วมแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่ 25 และเข้าชิงชนะเลิศรายการนี้เป็นครั้งที่ 10 โดยก่อนหน้านี้ พวกเขาชนะเลิศ 7 ครั้ง (1957, 1959, 1986, 1998, 2006, 2008, 2010) และแพ้ 2 ครั้ง (แพ้เอธิโอเปียในปี 1962[6][7] และแพ้แคเมอรูนในปี 2017) ก่อนเริ่มทัวร์นาเมนต์ อียิปต์เป็นทีมที่เข้าชิงชนะเลิศรายการนี้มากที่สุดที่ 9 ครั้ง เทียบเท่ากับกานา[6] แต่หลังจากที่พวกเขาชนะแคเมอรูนในรอบรองชนะเลิศ อียิปต์จึงกลายเป็นทีมที่เข้าชิงชนะเลิศแอฟริกาคัพออฟเนชันส์มากที่สุดเพียงทีมเดียว เซเนกัลเข้าร่วมแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่ 16 และได้เข้าชิงชนะเลิศเป็นครั้งที่ 3 โดย 2 ครั้งก่อนหน้านี้ที่เข้าชิง พวกเขาแพ้ทั้งหมด (แพ้แคเมอรูนในปี 2002 และแพ้แอลจีเรียในปี 2019) เซเนกัลเป็นทีมที่สองที่เข้าชิงชนะเลิศรายการนี้สองครั้งติดต่อกัน ต่อจากอียิปต์ที่เคยทำได้สามครั้งติดต่อกันในปี 2006, 2008 และ 2010 และนี่เป็นครั้งที่ทั้งสองทีมได้พบกันในนัดชิงชนะเลิศ
ก่อนที่เริ่มทัวร์นาเมนต์ เซเนกัลเป็นทีมจากทวีปแอฟริกาที่มีอันดับโลกฟีฟ่าดีที่สุด (อันดับที่ 20) ในขณะที่อียิปต์อยู่อันดับที่ 6 ของทวีป (อันดับที่ 45 ของโลก)[8]
เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ
การแข่งขัน
รายละเอียด
สถิติ
สถิติ[11]
|
เซเนกัล
|
อียิปต์
|
ประตู |
0 |
0
|
โอกาสยิง |
13 |
7
|
ยิงตรงกรอบ |
8 |
3
|
การครองบอล |
57% |
43%
|
ผ่านบอลสำเร็จ |
82% |
76%
|
เตะมุม |
3 |
4
|
เซฟ |
3 |
8
|
ทำฟาล์ว |
23 |
30
|
ลำหน้า |
1 |
1
|
ใบเหลือง |
4 |
2
|
ใบแดง |
0 |
0
|
หมายเหตุ
- ↑ แต่ละทีมมีโอกาสเปลี่ยนตัวได้ 3 ครั้ง และสามารถเปลี่ยนตัวครั้งที่ 4 ได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ทั้งนี้ ไม่นับรวมการเปลี่ยนตัวในช่วงพักก่อนเริ่มครึ่งหลังและช่วงต่อเวลาพิเศษ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
การแข่งขัน | |
---|
รอบคัดเลือก | |
---|
นัดชิงชนะเลิศ | |
---|
ผู้เล่น | |
---|
สถิติ | |
---|
- ไม่มีการแข่งขันรอบคัดเลือกในปี 1957 และ 1959 เนื่องจากเป็นการเชิญทีมเข้าร่วมแข่งขัน
ไม่มีนัดชิงชนะเลิศในปี 1959 และ 1976 เนื่องจากแข่งขันแบบพบกันหมด
|
|
---|
การแข่งขัน | |
---|
ข้อมูลทั่วไป | |
---|
อื่น ๆ | |
---|