Share to:

 

โคดีอีน

โคดีอีน
ข้อมูลทางคลินิก
รหัส ATC
ตัวบ่งชี้
PubChem CID
DrugBank
ECHA InfoCard100.000.882
สารานุกรมเภสัชกรรม

โคดีอีน (อังกฤษ: Codeine โดย INN) เป็นยาในกลุ่มโอปิออยด์ ใช้เป็นยาบรรเทาปวด ยาแก้ไอ และยาแก้ท้องร่วง ซึ่งผลิตออกจำหน่ายในรูปเกลือซัลเฟต คือ โคดีอีน ซัลเฟต และเกลือฟอสเฟตคือ โคดีอีน ฟอสเฟต

โคดีอีนเป็นอัลคะลอยด์ (alkaloid) ที่พบในฝิ่นซึ่งมีความเข้มข้นประมาณ 0.7-2.5 เปอร์เซนต์ ในขณะที่สามารถสกัดได้จากฝิ่นแต่โคดีอีนที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่จะได้จากการสังเคราะห์จากมอร์ฟีนโดยกระบวนการ โอ-เมตทิเลชั่น (O-methylation)

ข้อบ่งใช้

อนุญาตให้ใช้โคดีอีนได้ดังนี้

โคดีอีนบางครั้งผลิตออกมาในรูปตำรับยาผสมเช่น

  1. กับยาพาราเซตามอล มีชื่อการค้าว่า ไทลินอล - โคดีอีน (Tylenol with Codeine)
  2. กับยาแอสไพริน มีชื่อการค้าว่า โค-โคแดปริน (co-codaprin)
  3. กับยาไอบูโปรเฟน มีชื่อการค้าว่า โคดาเฟน (Codafen)
  4. กับยาฟีนิลโทลอกซามีน มีชื่อการค้าว่า โคดิปรอนท์ (Codipront)
  5. กับยากัวเฟเนซิน มีชื่อการค้าว่า โรบิทัสซิน เอ-ซี (Robitussin A-C)

พบว่าตำรับยาผสมมีฤทธิ์แรงกว่าการใช้ยาเดี่ยว ๆ แยกกันเราเรียกว่ายาเสริมฤทธิ์กัน (Drug Synergy)

เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)

โคดีอีนเป็นโปรดรัก (prodrug) เพราะเมตาโบไลต์ที่ออกฤทธิ์เป็นยาบรรเทาปวดของมันคือมอร์ฟีน โคดีอีนมีความแรงน้อยกว่ามอร์ฟีน เพราะว่าโคดีอีนเพียง 10 % เท่านั้นที่เปลี่ยนเป็นมอร์ฟีน และผลทำให้ติดยาก็น้อยกว่ามอร์ฟีนด้วย

ในทางทฤษฎีปริมาณ โคดีอีนที่ให้โดยการรับประทานขนาด 200 มก. จะมีฤทธิ์บรรเทาปวดเท่ากับการรับประทานยามอร์ฟีน 30 มก. การเปลี่ยนโคดีอีนเป็นมอร์ฟีนเกิดขึ้นในตับโดยเอ็นไซม์ "ซีวายพี2ดี6" (CYP2D6)

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาโคดีอีนมีดังนี้

  1. ทำให้อารมณ์ดี (Itching)
  2. อาการคลื่นไส้ (nausea)
  3. อาเจียน (vomiting)
  4. เซื่องซึม (drowsiness)
  5. ปากแห้ง (dry mouth)
  6. ภาวะที่รูม่านตาตีบตัวเล็กกว่าปกติ (miosis)
  7. ความดันต่ำขณะเปลี่ยนอิริยาบถ (orthostatic hypotension)
  8. ปัสสาวะน้อย (urinary retention)
  9. ท้องผูก (constipation)

การใช้ผิดวัตถุประสงค์

เนื่องจากตำรับยาโคดีอีนหาซื้อได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ จึงมีผู้คนมากมายใช้โคดีอีนเพื่อเอาผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดความเคลิบเคลิ้มเป็นสุข (euphoria) มีรายงานว่าในประเทศฝรั่งเศส 95 % ของโคดีอีนที่ขายในร้านขายยาไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์

อ้างอิง

  • Rossi S (Ed.) (2004). Australian Medicines Handbook 2004. Adelaide: Australian Medicines Handbook. ISBN 0-9578521-4-2.
  • Schroeder K & Fahey T (2004). Over-the-counter medications for acute cough in children and adults in ambulatory settings. The Cochrane Database of Systematic Reviews 2004 (4) , DOI:10.1002/14651858.CD001831.pub2.
Kembali kehalaman sebelumnya