Share to:

 

โบราณสถาน

เจดีย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตัวอย่างโบราณสถาน

โบราณสถาน หรือ แหล่งโบราณคดี (อังกฤษ: archaeological site) เป็นสถานที่ที่ก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์หรือสถานที่ที่พบร่องรอยของกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตที่มีคุณค่าในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

โบราณสถานในประเทศไทย

นิยาม

ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถานของไทย[1] โบราณสถาน หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดีแหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย[2]

สำหรับความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน "โบราณสถาน" หมายถึง สิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า 100 ปีขึ้นไป[3]

ทั้งนี้ โบราณสถานโดยทั่วไปหมายถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น มีความเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมาที่เป็นประโยชนทางด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือ โบราณคดี และยังรวมถึงสถานที่หรือเนินดินที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือมีร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ปรากฏอยู่[ต้องการอ้างอิง]

ความสำคัญ

โบราณสถานมีความสำคัญ ดังนี้[4]

  1. ด้านเอกลักษณ์ แสดงการรับรู้หรือความเข้าใจถึงที่มา สถานที่ตั้ง ชนชาติ ความเชื่อ ศาสนา ขนบธรรมเนียมแ ละวัฒนธรรมของชุมชนใดชุมชนหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง
  2. ด้านวิชาการ เพื่อสะท้อนเรื่องราวในอดีต เป็นข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ซึ่งเป็นเครื่องแสดงประวัติความเป็นมาอันเก่าแก่ของชุมชนของชาติ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิต
  3. ด้านเศรษฐกิจ เป็นแหล่งรายได้ให้ชุมชนและประเทศ ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว สร้างกิจกรรมต่าง ๆ อันสืบเนื่องจากการท่องเที่ยว พร้อมกับการศึกษาหาความรู้
  4. ด้านการใช้สอย สามารถนำมาใช้งานได้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการไม่ก่อให้เกิดการเสื่อมสภาพการเปลี่ยนแปลงหรือการรื้อทำลายโบราณสถานนั้น
  5. ด้านสังคม แสดงถึงคุณค่าที่เกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีเป็นความภาคภูมิใจของคนในสังคม
  6. ด้านการเมือง แสดงถึงความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ การกำหนดขอบเขต หรือการรักษาอธิปไตย และการสร้างความร่วมมือร่วมใจของคนทั้งชาติ
  7. ด้านสุนทรียภาพ แสดงคุณค่าความงามของศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม

การขึ้นทะเบียน

ในประเทศไทย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรักษาและการควบคุมโบราณสถานให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยมีอำนาจขึ้นทะเบียนโบราณสถานใด ๆ ตามที่เห็นสมควรได้[5]

อ้างอิง

  1. "พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.
  2. นิยามตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
  3. "พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ค้นหา โบราณสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.
  4. "รายงานการศึกษาโบราณสถานทีขึ้นทะเบียนในกรุงเทพมหานครปี พ.ศ. ๒๕๕๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.
  5. ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya