Share to:

 

โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ

โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
Winitsuksa School Under Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn
ที่ตั้ง
แห่งที่ 1 (ท่าหิน) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 10 ถนนเพทราชา ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15000
แห่งที่ 2 (โพธิ์เก้าต้น) ตั้งอยู่ที่ ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15000
ข้อมูล
ชื่ออื่นว.ศ./W.S.
ประเภทเอกชน
สถาปนา20 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
ผู้ก่อตั้งพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพุทธวรญาณ(ทองย้อย กิตติทินโน)
หน่วยงานกำกับคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ผู้อำนวยการพระธรรมวชิรสุนทร (ประเทือง อาภาธโร) เจ้าอาวาสวัดกวิศราราม เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1 - ม.6
สีเหลือง - แดง
เว็บไซต์http://winitsuksa.ws.ac.th

โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ย่อ " ว.ศ.") เป็นโรงเรียนสหศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ประเภทสามัญศึกษา และเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา

จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ มี 2 ระดับชั้นคือ มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันมีนักเรียนประมาณ 5,000 คน และมีคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรรวมทั้งสิ้น 250 คน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเอกชน ปัจจุบันมี พระธรรมวชิรสุนทร(ประเทือง อาภาธโร) เจ้าอาวาสวัดกวิศรารามราชวรวิหาร และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี เป็นผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

โรงเรียนวินิตศึกษาฯ เป็น โรงเรียนเครือข่าย (Partner School) กับ Anderson Secondary School ประเทศสิงค์โปร์ และเป็นโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง(Sister School) กับ Pittwater House School ประเทศออสเตรเลีย

โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯ เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัด สช. ประเภทสามัญศึกษา และเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา

อาคารสถานที่และโครงการ

โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ ฯ แห่งที่ 1 มีพื้นที่ประมาณ 8.2 ไร่ มีอาคารเรียนคอนกรีต 4 ชั้น 3 หลัง ได้เเก่ อาคารกิตติอุทัย อาคารธรรมญาณ 84 และ อาคารพระราชูปถัมภ์ อาคารไม้ 2 ชั้น 2 หลัง ได้เเก่ อาคารสังกรบูชิต และอาคารธรรมญาณนฤมิตร อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง ได้เเก่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา อาคารพระพุทธวรญาณ และหอประชุมบัวอ่อน (ปัจจุบันเป็นยิม)

โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ ฯ แห่งที่ 2 มีทั้งหมด 3 อาคารมี 5 ชั้น ได้แก่ 1. อาคารมูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำ (อาคารวัดปากน้ำ) 2. อาคารอุไรศรี คนึงสุขเกษม 3. อาคารพระธรรมสิงหบุราจารย์ (อาคารวัดอัมพวัน) หอพักนักเรียนชายอยู่ชั้น 1ของอาคารมูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำ (อาคารวัดปากน้ำ) และอาคารพระธรรมสิงหบุราจารย์ (อาคารวัดอัมพวัน) ส่วนหอพักนักเรียนหญิงอยู่ อาคารหอประชุม ดร.อุไรศรี คนึงสุขเกษม มีโดมมีพื้นที่ 6,773 ตารางเมตร มีมินิมาร์ท 2 ที่มีอาคารบรรยายรวม 9 แห่ง มีศาลา 4 ที่ มีอ่างเก็บน้ำขนาด 17,453 ตารางเมตร มีสวนเกษตรกรรม มีฟาร์มห่าน อาคารนวัตกรรมและศูนย์การเรียนศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

รายชื่อโครงการ

  • โครงการ Textbook สอวน.
  • โครงการ สอวน.
  • โครงการอัจฉริยะภาพทางวิชาการ
  • โครงการช้างเผือก
  • โครงการสอนสองภาษา
  • โครงการเตรียมพร้อมทางวิชาทหาร
  • โครงการทุนหลวงพระพุทธวรญาณ (ทุนหลวงพ่อใหญ่)
  • โครงการความสามารถพิเศษทางด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
  • โครงการทั่วไป
  • โครงการเตรียมความรู้มุ่งสู่มหาวิทยาลัย (RTU)

ประวัติโรงเรียน

วันที่ 20 พฤษภาคม 2489 ก่อตั้งโดยหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ (ทองย้อย กิตติทินโน) ซึ่งเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดกวิศรารามราชวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี และเจ้าคณะตรวจการภาค 6 กับ คณะศิษย์ 4 คน ได้จัดตั้งโรงเรียนวินิตศึกษาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวชนได้รับการศึกษาควบคู่ไปกับการฝึกอบรม คุณธรรมตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ให้สามารถประกอบสัมมาอาชีพได้ และดำรงตนอยู่ในสังคมด้วยคุณธรรมอันดี เปิดสอนตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียน 120 คน ครู 7 คน ใช้ศาลาวัดกวิศราราม และอาคารสถานที่ของวัดเป็นที่เรียน โดยท่านเป็นผู้อำนวยการ และมีครูประพันธ์ ผลฉาย เป็นครูใหญ่

พ.ศ. 2492 กระทรวงศึกษาธิการ ให้การรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ภายหลังจากได้ดำเนินการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษา ได้เพียง 3 ปี และได้ย้ายสถานที่เรียน มาสร้างอาคารถาวรด้านหลังวัด ซึ่งเป็นอาคารเรียนปัจจุบัน โดยมีอาจารย์ประพัฒน์ ตรีณรงค์ เป็นครูใหญ่คนที่ 2

พ.ศ. 2493 ได้โอนเข้าเป็นสมบัติของของกวิศรารามมูลนิธิและได้โอนเป็นของวัดกวิศราราม

พ.ศ. 2530 โรงเรียนวินิตศึกษาจึงมีฐานะเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา โดยสมบูรณ์

พ.ศ. 2534 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระเมตตารับโรงเรียนวินิตศึกษา ไว้ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พ.ศ. 2538 โรงเรียนวินิตศึกษา ได้รับเกียรติบัตรรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับ มัธยมศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2539 โรงเรียนได้จัดโครงการใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ สอนบางรายวิชาเป็นภาษาอังกฤษ โดยการจัดตั้งโครงการสอนสองภาษา (Bilingual Programme) รวม 6 รายวิชา คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา งานบ้าน พลศึกษา ปัจจุบันปี พ.ศ. 2544 เปิดสอนเพิ่มเป็น 9 รายวิชา

พ.ศ. 2540 โรงเรียนวินิตศึกษา ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนเครือข่าย (Partner School) กับ Anderson Secondary School โรงเรียนอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศสิงคโปร์

พ.ศ. 2541 ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านมัธยมศึกษา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

พ.ศ. 2542 โรงเรียนวินิตศึกษา ได้ลงนามข้อตกลงโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง (SISTER SCHOOL) กับ Pittwater House School ประเทศออสเตรเลีย

พ.ศ. 2548 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการ

รางวัล

  • วงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ จ.ลพบุรี ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในรายการชิงช้าสวรรค์ ฤดูกาลที่ 9 ประจำปี 2558[ต้องการอ้างอิง]
  • วงโยธวาทิตโรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ จ.ลพบุรี ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประกวดวงโยธวาทิต ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 23 ประจำปี 2547[ต้องการอ้างอิง]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya