Share to:

 

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
Office of Nation Education Standards and Quality Assessment (Public Organisation)
ตราสัญลักษณ์
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543; 24 ปีก่อน (2543-11-04)
ประเภทองค์การมหาชน
สำนักงานใหญ่เลขที่ 128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 24 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
บุคลากร110 คน (พ.ศ. 2565)[1]
งบประมาณต่อปี102,726,400 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • นันทา หงวนตัด, รักษาผู้อำนวยการ
  • ภาวิชช ภาสาวสุวัศ, รองผู้อำนวยการ
  • กิตติยา เอ็ฟฟานส, รองผู้อำนวยการ
  • ว่าง, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดสำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารหลัก
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. (อังกฤษ: Office of Nation Education Standards and Quality Assessment (Public Organisation); ONESQA) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งของประเทศไทย ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา

ประวัติ

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) จัดตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 6 ซึ่งกำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยให้ประเมินประเมินคุณภาพภายนอกแก่สถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก ๆ 5 ปี[3] จากพระราชบัญญัตินี้จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ตั้งแต่นั้นมา

สมศ. จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 จึงได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[4]

อำนาจหน้าที่

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 ในมาตรา 8 กำหนดให้สำนักงานฯ มีอำนาจหน้าที่หลัก ดังนี้

  1. พัฒนา ระบบการประเมินคุณภาพภายนอก กำหนดกรอบแนวทางและวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
  2. พัฒนามาตรฐานและเกณฑ์สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก
  3. ให้การรับรองผู้ประเมินภายนอก
  4. กำกับ ดูแลและกำหนดมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกที่ดำเนินการโดยผู้ประเมินภายนอก รวมทั้งให้การรับรองมาตรฐาน ทั้งนี้ ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการประเมิน คุณภาพภายนอก สำนักงานอาจดำเนินการประเมินคุณภาพภายนอกเองก็ได้
  5. พัฒนา และฝึกอบรมผู้ประเมินภายนอก จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม และสนับสนุนให้องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพหรือวิชาการ เข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมผู้ประเมินภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. เสนอ รายงานการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาประจำปีต่อคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และสำนักงบประมาณ เพื่อประกอบการพิจารณาในการกำหนดนโยบายทางการศึกษา และการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา รวมทั้งเผยแพร่รายงานดังกล่าวต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya