Share to:

 

กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)

กระทรวงศึกษาธิการ
Ministry of Education
เครื่องหมายราชการ
ตราเสมาธรรมจักร
ตราพระเพลิงทรงระมาด
(ตราเดิม)

วังจันทรเกษม
ที่ทำการปัจจุบันของกระทรวง
ภาพรวมกระทรวง
ก่อตั้ง1 เมษายน พ.ศ. 2435; 132 ปีก่อน (2435-04-01)
กระทรวงก่อนหน้า
  • กระทรวงธรรมการ
ประเภทกระทรวง
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 319 วังจันทรเกษม ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
บุคลากร702,859 คน (พ.ศ. 2565)[1]
งบประมาณต่อปี340,774,601,700 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
รัฐมนตรี
รัฐมนตรีช่วย
ฝ่ายบริหารกระทรวง
  • สุเทพ แก่งสันเทียะ, ปลัดกระทรวง
  • ธนู ขวัญเดช, รองปลัดกระทรวง
  • พิเชฐ โพธิ์ภักดี, รองปลัดกระทรวง
  • วรัท พฤกษาทวีกุล, รองปลัดกระทรวง
ต้นสังกัดกระทรวงรัฐบาลไทย
ลูกสังกัดกระทรวง
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม

ประวัติ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการก่อตั้ง กระทรวงธรรมการ ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ซึ่งกระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ กระทรวงศึกษาธิการ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ก็ได้ใช้ชื่อว่า กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่นั้นมา โดยมีที่ทำการอยู่ที่วังจันทรเกษมจนถึงปัจจุบัน

หน่วยงานในสังกัด

ส่วนราชการ

องค์การมหาชน

แบ่งเป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 จำนวน 3 แห่ง และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน 3 แห่ง

หน่วยงานในอดีต

ตรากระทรวง

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 5 ) ได้มีการก่อตั้ง “กระทรวงธรรมการ" ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดูแลศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์ ( ต่อมาได้มีการแยกหน่วยงานต่าง ๆ ออกไป ) ซึ่งกระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ "กระทรวงธรรมการ" และ “กระทรวงศึกษาธิการ" สมัยที่กระทรวงศึกษาธิการยังเป็นกระทรวงธรรมการอยู่ พระราชทานตราบุษบกตามประทีป ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรเก่า เป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2436 โปรดให้เลื่อนตราบุษบกตามประทีปไปเป็นตราตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ จึงพระราชทานตราพระเพลิงทรงระมาดซึ่งเป็นตราเก่าให้เป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการใช้ดำเนินกระแสพระบรมราชโองการไปในที่ต่าง ๆ คู่กับตราเสมาธรรมจักรซึ่งใช้ดำเนินกระแสพระบรมราชโองการที่มีถึงพระสงฆ์

สมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ยกเลิกตราพระเพลิงทรงระมาด แล้วให้สร้างตราเสมาธรรมจักร “เหตุที่ทรงเปลี่ยน โดยที่ทรงพระราชดำริว่า นามเสนาบดีกระทรวงธรรมการก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นไว้ตามนามในตำแหน่งเดิมแล้ว (คือ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีซึ่งในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวว่า ถือตราเสมาธรรมจักร) ”แต่ตราเก่าเป็นรูปจักราวุธอยู่ในบุษบก แล้วมีใบเสมาขนาบอยู่สองข้าง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ชอบพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ทำตราเสมาธรรมจักรขึ้นใหม่ ตราเสมาธรรมจักรที่โปรดให้สร้างขึ้นใหม่รูปกลม มีลายเสมาตั้งบนฐาน มีอักษรขอม ทุ. ส. นิ. ม. หัวใจพระอริยสัจ อยู่ที่ขอบเบื้องบนเสมา

กระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ " กระทรวงธรรมการ " และ “ กระทรวงศึกษาธิการ " อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ก็ได้ใช้ชื่อว่า " กระทรวงศึกษาธิการ " ตั้งแต่นั้นมา เหตุที่ตรากระทรวงศึกษาธิการเป็นรูปเสมาธรรมจักร น่าจะเป็นเพราะว่าแต่ก่อนดูแลกิจการในพระศาสนาด้วย โดยมีการรวมการศึกษา และศาสนาเข้าด้วยกัน และมีการแยกออกจากกันและกลับมารวมกันอีกหลายครั้ง ปัจจุบันกรมการศาสนา ย้ายไปสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม เครื่องหมายราชการของกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) แห่งราชอาณาจักรไทย มีลักษณะดังนี้ "เครื่องหมายราชการของกระทรวงธรรมการ เป็นรูปเสมาธรรมจักร"

อ้างอิง

  1. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สถิติจำนวนบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ จำแนกตามประเภทและสังกัด ปีการศึกษา 2565, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′56″N 100°30′32″E / 13.765532°N 100.508958°E / 13.765532; 100.508958

Kembali kehalaman sebelumnya