โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ (Assumption College Samutprakarn, ACSP) (ชื่อเดิม โรงเรียนอัสสัมชัญสำโรง , Assumption College Samrong, ACSR) เป็นโรงเรียนเอกชน ในเครือมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2522 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านทิพวัล หมู่ที่ 5 ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการเป็นสถาบันการศึกษา ลำดับที่ 13 ของมูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2521 บนเนื้อที่ 14 ไร่ 3 งาน 54 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินที่นายประวิทย์ มาลีนนท์ ได้บริจาคให้แก่มูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย พร้อมเงินจำนวน 3 ล้านบาท เพื่อให้มูลนิธิฯ เป็นผู้จัดดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการขึ้น ซึ่งในขณะนั้น ภราดาวิริยะ ฉันทวโรดม ดำรงตำแหน่งอธิการเจ้าคณะแขวง ประเทศไทย และท่านได้มอบให้สถาปนิกเขียนแบบแปลนสมบูรณ์ ในเนื้อที่ดังกล่าว
เริ่มแรกเปิดสอนตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 รวม 8 ห้องเรียน มีครูสอน 15 คน นักเรียนทั้งสิ้น 371 คน มีภราดาประทีป ม. โกมลมาศ เป็นเจ้าของและผู้รับใบอนุญาต ภราดาบัญชา แสงหิรัญ เป็นผู้จัดการ นายปรีชา บุญญะสิทธิ์ เป็นครูใหญ่ อยู่ในความควบคุมดูแลของภราดาวิริยะ ฉันทวโรดม อธิการเจ้าคณะแขวง คณะภราดาเซนต์คาเบรียลประเทศไทยในขณะนั้น ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 574 หมู่ 8 ถนนเทพารักษ์ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ
ปัจจุบันโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใน 2 หลักสูตรคือ MLP (Modern language Program) และ EP (English Program) รวมทั้งหมด 99 ห้องเรียน ปัจจุบันมีภราดา ดร.มณฑล ประทุมราช เป็นผู้อำนวยการ, ภราดามานิต สกนธวัฒน์ เป็นรองผู้อำนวยการ และภราดา ณัฐธร สุพล เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 23 ไร่ 3 งาน 81 ตารางวา ที่เลขที่ 419/1389 หมู่ที่ 5 ถนนเทพารักษ์ ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270 (ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2533)
อาคารสถานที่
ปัจจุบันโรงเรียนมีอาคารใหญ่ 6 หลังใช้เป็นอาคารเรียน 4 หลัง อาคารอำนวยการ 1 หลัง อาคารกิจกรรมเสริม 1 หลัง หอประชุมและโภชนาการ 1 หลัง
อาคารอัสสัมชัญ เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน เริ่มก่อสร้างเพียงครึ่งหนึ่งของอาคาร และในปี พ.ศ. 2524 ได้ต่อเติมจนครบสมบูรณ์ตามที่วางโครงการไว้ ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองค์มนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ทำพิธีเสกอาคาร เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2522 อาคารอัสสัมชัญ เป็นอาคาร 4 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นห้องวัดผลวิจัย, ห้องสำนักผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการ, ห้องศูนย์วิทยสนเทศ, ห้องฝึกอบรม, ห้องนักข่าวไซเบอร์, ห้องผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ, ห้องวารสาร, ห้องโสตทัศนูปกรณ์ และห้องสมุดระดับมัธยมศึกษา ชั้นที่ 2-4 ใช้เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6, ห้องทำงานครูระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6, ห้องทำงานครูหมวดวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการชีวะ-เคมี-ฟิสิกส์
อาคารเซนต์คาเบรียล เป็นอาคารสูง 5 ชั้น ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2528 ฯพณฯ พิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด พระคุณเจ้าลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต ทำพิธีเสกอาคารเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ชั้นล่างเป็นโถงโล่งสำหรับกิจกรรม, ห้องพยาบาล, ห้องพักครู EP, ห้องปกครองวิชาการ EP และห้องสมุด EP ชั้น 2-5 ใช้เป็นห้องเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลักสูตร EP, ห้องทำงานครู EP และ ห้อง Albert lawreence
อาคารอำนวยการ เป็นอาคาร 3 ชั้น สร้างขึ้นพร้อมกับอาคารมงฟอร์ต เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2533 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิด พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ทำพิธีเสกอาคาร เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2535 อาคารอำนวยการเป็นอาคารที่เชื่อมระหว่างอาคารอัสสัมชัญกับอาคารมงฟอร์ตชั้นล่างใช้เป็นสำนักงานฝ่ายธุรการ-ประชาสัมพันธ์ ชั้นที่ 2 ใช้เป็นห้องผู้อำนวยการ สำนักงานฝ่ายการเงิน ห้องรับรอง และห้องประชุมอำนวยการ ชั้นที่ 3 เป็นดาดฟ้าสำหรับใช้ในการเรียนการสอน
อาคารมงฟอร์ต เป็นอาคารสูง 6 ชั้น สร้างขึ้นในคราวเดียวกับอาคารอำนวยการ ชั้นล่างเป็นห้องฝ่ายปกครอง ชั้นที่ 2-6 ใช้เป็นห้องเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-มัธยมศึกษาปีที่ 3, ห้องทำงานครูประถมศึกษาปีที่ 5-มัธยมศึกษาปีที่ 3, ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ 1-5 เครื่อง PC & Mac ภายในอาคารมีลิฟท์ไว้อำนวยความสะดวกด้วย
อาคารหลุยส์ มารี เป็นอาคารสูง 4 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2542 ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด ทำพิธีเสกอาคารในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ชั้นล่างใช้เป็นโภชนาคาร และสโมสรครู ชั้นที่ 2 เป็นห้องศิลปะ การงาน ดนตรี และ Math center ชั้นที่ 3 ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ และห้องหน่วยงานแนะแนว ชั้น 4 เป็นหอประชุมรัชตสมโภช ปัจจุบันได้ทำการก่อสร้างต่อเติมอาคาร ชั้นที่ 1 เป็นโรงอาหารต่อจากตึกเก่า ชั้น 2-3 เป็นห้องสมุดประถม และมัธยม ชั้นที่ 4 เป็นศูนย์ดนตรีไทย และชั้นที่ 5 เป็นศูนย์ดนตรีสากล
อาคารหลุยส์ ชาแนล เป็นอาคารสูง 6 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2550 พระคาร์ดินัล ไมเคิล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ พระคุณเจ้าฟิลิป บรรจง ไชยรา ทำพิธีเสกอาคาร เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551 และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเปิดอาคารฯ วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552 ชั้นล่างเป็นห้องปฏิบัติธรรม ชั้น 2-5 ใช้เป็นห้องเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ส่วนชั้น 6 ใช้เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ประถมและมัธยม, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 6 (MAC APPLE) และห้องพักครูวิทยาศาสตร์
สนามกีฬา Sport Center สร้างในสมัย ภราดา ผศ. ดร. วินัย วิริยวิทยาวงศ์ ใช้ในงานพิธีต่างๆ และการแข่งกีฬาบาสเกตบอล โดยมี Score board แบบดิจิตอลทันสมัยด้วย ตั้งอยู่หลังอาคารหลุยส์ ชาแนล เป็นสนามที่มีหลังคาคลุมลักษณะเป็นโดม ระยะเวลาในการสร้างโดยประมาณครึ่งปี
สนามเด็กเล่น Fun & Health land เป็นสนามเด็กเล่นที่ตั้งอยู่หน้าอาคารหลุยส์ มารี เปิดใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ปัจจุบันได้ทำการรื้อถอนไปอยู่ที่สระว่ายน้ำ อาคารศักดานุสรณ์ เพื่อต่อเติมอาคารหลุยส์มารี
อาคารศักดานุสรณ์ สร้างขึ้นแทนอาคารชั้นเดียวเก่าข้างอาคารเซนต์คาเบรียล เป็นอาคารสูง 2 ชั้น สร้างเพื่อเป็นเกียรติและอนุสรณ์แด่ ภราดาศักดา กิจเจริญ อดีตผู้อำนวยการ ชั้นล่างเป็นห้องอุปกรณ์การศึกษา, ห้องกิจกรรม, ห้องลูกเสือ-รักษาดินแดน, ห้องฝ่ายบริหารทั่วไป, ห้องพลศึกษา และห้องประชุมศักดา ปฏิบัติการฟิตเนสทันสมัย ชั้น 2 เป็นห้องฟิตเนสทันสมัย ชั้น 3 เป็นสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน 2 สระ สร้างเพื่อรองรับความต้องการของนักเรียน และผู้ปกครอง โดยในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ได้รับเกียรติจากพระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช อัครมุขนายก มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเปิดอาคารศักดานุสรณ์และอาคารต่อเติมหลุยส์ มารี วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ทำเนียบผู้อำนวยการ/คณะภราดาโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
อันดับ
รายนาม
ตำแหน่ง
วาระดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1
ภราดาวิริยะ ฉันทวโรดม
ผู้ก่อตั้งโรงเรียน
2522-2528
2
ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ
ผู้จัดการโรงเรียน
2522-2525
3
ภราดาวิจารณ์ ทรงเสี่ยงชัย
กรรมการผู้จัดการโรงเรียน
2522-2525
4
ภราดาประทีป ม. โกมลมาศ
ผู้รับใบอนุญาต
2522
5
ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย
ผู้อำนวยการ
2529-2540 2542
6
ภราดาอรุณ เมธเศรษฐ
ผู้อำนวยการ
2540-2541
7
ภราดา ดร.สุรกิจ ศรีสราญกุลวงศ์
ผู้อำนวยการ
2543
8
ภราดาศักดา กิจเจริญ
ผู้อำนวยการ
2544-2549
9
ภราดา ผศ. ดร. วินัย วิริยวิทยาวงศ์
ผู้อำนวยการ
2550-2555
10
ภราดาทักษบุตร ไกรประสิทธิ์
ผู้อำนวยการ
2556-2561
11
ภราดา ดร.ศิริชัย ฟอนซีกา
ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ
2556-2559
12
ภราดา ดร.อนุศักดิ์ นิธิภัทราภรณ์
ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ
2560-ปัจจุบัน
13
ภราดา ดร.พิสูตร วาปีโส
ผู้อำนวยการ
2562-2565
14
ภราดา พัชรปกรณ์ ลังบุบผา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
2562-2564
15
ภารดา ดร.มลฑล ประทุมราช
ผู้อำนวยการ
2565-ปัจจุบัน
โดยอยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลของ ภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์ ประธานมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน*
บุคคลสำคัญที่จบการศึกษาจากโรงเรียน
การศึกษา
วงการกีฬา
วงการบันเทิง
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
13°37′44″N 100°36′17″E / 13.628950°N 100.604585°E / 13.628950; 100.604585
สัญลักษณ์ วิทยาลัย วิทยาเขต กิจกรรม บุคคลสำคัญ ศิษย์เก่า
โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ
*เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, †เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ‡เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
สังกัด สพม. สมุทรปราการ สังกัด สพป. สมุทรปราการ
สังกัด อปท.
สังกัด สช.