กวี ตันจรารักษ์
เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 (44 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ศิษย์เก่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาชีพ
นักร้อง
นักแสดง
พิธีกร
นายแบบ
นักธุรกิจ
ยูทูบเบอร์
ส่วนสูง 176 cm (5 ft 9 1 ⁄2 in) คู่สมรส อฏิพรณ์ จิตต์ธรรมวงศ์ (2560–ปัจจุบัน) บุตร 4 คน อาชีพทางดนตรี แนวเพลง เครื่องดนตรี เสียงร้อง ช่วงปี พ.ศ. 2542–ปัจจุบัน ค่ายเพลง อาร์เอส (2542–2553)อาร์เอส มิวสิค (2566–ปัจจุบัน)อดีตสมาชิก
นักดนตรี
กวี ตันจรารักษ์ (เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2523) ชื่อเล่น บีม เป็นนักร้องและนักแสดงชาวไทย อดีตสมาชิกวงบอยแบนด์ดีทูบี สังกัดอาร์เอส
ประวัติ
ชีวิตตอนต้นและการศึกษา
"กวี ตันจรารักษ์" หรือ "บีม" เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 เดิมชื่อว่า "ระวี" มีความหมายว่า ยามบ่าย ตามเวลาเกิด ก่อนที่จะเปลี่ยนเมื่อเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษา เป็นบุตรของนายวีระศักดิ์และนางเกตน์นิภา ตันจรารักษ์ มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน (ชาย 3 คน และหญิง 1 คน) โดยบีมเป็นพี่คนโต น้องสาวของบีม คือ บัว สโรชา ตันจรารักษ์ เป็นนักร้องและนักแสดงเหมือนพี่ชาย[ 1] เข้ารับการศึกษาระดับปฐมวัยจากโรงเรียนอนุบาลธนสมบูรณ์วิทยา ระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช.จากโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร จบระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วศึกษาด้านภาษาอังกฤษ Queensland College Of English (QCE) 6 เดือน ออสเตรเลีย และจบระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หลักสูตร MBA English Program จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เข้าสู่วงการและออกอัลบั้มบอยแบนด์
บีมเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงจากงานถ่ายแบบและโฆษณาขณะเรียนอยู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 2 แล้วฝึกเรียนร้องเพลงจากทางค่าย ก่อนที่จะเซ็นต์สัญญากับอาร์เอส โปรโมชั่น ในปี พ.ศ. 2542 เริ่มต้นผลงานจากการถ่ายแบบ ตามหน้าปกนิตยสารต่างๆ มีผลงานการแสดงมิวสิกวีดีโอเพลง "เธอรักฉันรู้"กับศิลปิน โมเม นภัสสร บุรณศิริ มีผลงานโฆษณาชิ้นแรก ขนมข้าวโพดอบกรอบ "ตราคอนเน่" และมีผลงานแสดงภาพยนตร์ "๙ พระคุ้มครอง" มาก่อนหน้านั้นแล้ว[ 1] แล้วเปิดตัวในฐานะหนึ่งในสมาชิกวง "ดีทูบี (D2B) " ในปี พ.ศ. 2544 ร่วมกับ "อภิเชษฐ์ กิตติกรเจริญ " หรือ "บิ๊ก" และ "วรเวช ดานุวงศ์ " หรือ "แดน" ซึ่งประกวดร้องเพลงโครงการ "พานาโซนิค สตาร์ ชาเรนจ์" มาก่อนหน้านั้นแล้ว ในอัลบั้มชื่อ "D2B " เช่นเดียวกับชื่อวง ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากและรวดเร็ว โดยดีทูบีได้รับรางวัลสูงสุดคือ รางวัลศิลปินกลุ่มยอดนิยม จาก "MTV Asia Award 2003"[ 2] [ 3] ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ จากชื่อเสียงและความสำเร็จเหล่านี้ ทำให้สมาชิกวงดีทูบีทั้งสามคนต่างได้มีโอกาสทำงานบันเทิงด้านอื่นๆ ทั้งงานการแสดงละคร งานการแสดงภาพยนตร์ และงานโฆษณา ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากแทบทั้งสิ้น
กระทั่งวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 บิ๊กประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนกลายเป็นเจ้าชายนิทรา บีมได้อุปสมบทที่วัดสุภัททะบรรพต (วัดมาบจันทร์) จังหวัดระยอง ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2546 [ 4] เพื่อทดแทนพระคุณบิดามารดาและอุทิศส่วนกุศลให้บิ๊ก ได้รับฉายาว่า "พระกวี อภิปุณโณ" แปลว่า ผู้เพียบพร้อมบริบูรณ์ ภายหลังลาสิกขา บีมและแดน ได้ร่วมกันทำ "D2B Neverending Album Tribute to Big D2B"[ 5] และแสดงคอนเสิร์ตที่มีชื่อเดียวกันนี้[ 6] เพื่อมอบรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลแก่บิ๊ก ก่อนที่บีมจะเดินทางไปประเทศออสเตรเลีย เพื่อศึกษาทางด้านภาษาอังกฤษเป็นเวลา 6 เดือน[ 7]
ออกอัลบั้มดูโอ้และเดี่ยว
ในปี พ.ศ. 2548 แดน และบีมกลับมามีผลงานร่วมกันอีกครั้งในฐานะนักร้องดูโอ "Dan-Beam" ในอัลบั้ม "The Album "[ 8] ซึ่งได้รับกระแสตอบรับดีเหมือนเดิม ในช่วงนี้ทั้งคู่ต่างมีผลงานด้านการแสดงมากมายและเป็นพิธีกรรายการท่องเที่ยว "Dan-Beam The Series"[ 9] หลังมีผลงานเพลงร่วมกันทั้งหมด 4 อัลบั้ม โดยอัลบั้มพิเศษ "DB2B" เป็นอัลบั้มส่งท้ายเพื่อมอบรายได้ให้แก่ครอบครัวของบิ๊ก แดนและบีมก็ได้ประกาศแยกวงในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550 [ 10]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 บีมมีผลงานเพลงอัลบั้มเดี่ยว "Beam"[ 11] และได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตของ WWF [ 12] เป็นคนแรกของประเทศไทยโดยได้รับการแต่งตั้งติดต่อกันเป็นเวลาถึง 3 ปี ระหว่างได้รับตำแหน่งนี้ บีมได้ร่วมกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากมาย[ 13] เช่น Earth Hour [ 14] เป็นต้น นอกจากนี้บีมยังได้รับเลือกจากสมาคมไทยแนะแนวการศึกษานานาชาติให้เป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลโล่ห์พระราชทาน TIECA Bright Idol 2009 จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี พ.ศ. 2552 อีกด้วย[ 15]
หลังจากหมดสัญญาค่ายอาร์เอส
หลังจากหมดสัญญากับอาร์เอส โปรโมชั่น ในปี พ.ศ. 2553 บีมห่างหายไปจากวงการเป็นเวลาเกือบ 2 ปี เพื่อดูแลกิจการบริษัทด้านธุรกิจนำเที่ยว Trip Buster[ 16] ซึ่งบีมได้ก่อตั้งขึ้นก่อนหมดสัญญาไม่นาน โดยได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากการได้เดินทางไปยังต่างประเทศเพื่อทำรายการ Dan-Beam The Series และต่อมา บริษัทได้ปิดตัวลงจากปัญหาภายในบริษัท[ 17] ปัจจุบัน บีมเป็นหุ้นส่วนค่ายมวย Legend Thai Boxing ร่วมกับ เป้ วงเคลิ้ม และเพื่อนนอกวงการ[ 18] บีมกลับมารับงานบันเทิงเต็มตัวอีกครั้งตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2554 ด้วยผลงานภาพยนตร์เรื่อง "ส.ค.ส. สวีทตี้ " และซีรีส์ "บำบัดรักบำรุงสุข (Love Therapy)" ในฐานะศิลปินอิสระ ทำให้ปัจจุบัน บีมมีผลงานบันเทิงร่วมกับหลากหลายสังกัด[ 1]
อย่างไรก็ตาม บีมและแดนยังคงมีผลงานร่วมกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะผลงานในนามดีทูบี อาธิเช่น คอนเสิร์ต "คิดถึง D2B Live Concert 2014" และ "มหัศจรรย์ ... ความคิดถึง D2B Encore Concert 2015"[ 19] [ 20]
ชีวิตส่วนตัว
บีม กวี ตันจรารักษ์ ได้ขอแฟนสาว ออย อฏิพรณ์ จิตต์ธรรมวงศ์ แต่งงาน ในปี พ.ศ. 2558 และมีบุตรแฝดชาย ด้วยกัน 2 คน เกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี) [ 21] ภายหลังมีบุตรแฝดหญิงอีก 2 คน เกิดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 (2 ปี) [ 22]
ในปี พ.ศ. 2553 บีมมีธุรกิจส่วนตัว ได้แก่ บริษัทด้านธุรกิจนำเที่ยว Trip Buster แต่ได้ปิดกิจการลงในปี พ.ศ. 2556 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2557 จวบจนถึงปัจจุบัน ได้เป็นหุ้นส่วนค่ายมวย Legend Thai Boxing ร่วมกับเป้ วงเคลิ้ม พร้อมกับเพื่อนนอกวงการ[ 17] [ 18]
ผลงาน
มิวสิกวิดีโอ
อัลบั้มเพลง
ผลงานเพลงที่ผ่านมา ในนามศิลปินกลุ่ม และเดี่ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
D2B (ดีทูบี)
(อัลบั้ม D2B The Neverending Album Tribute To BIG D2B จัดทำขึ้นเพื่อมอบรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลแก่บิ๊ก และครั้งแรกที่แดนและบีมได้มีส่วนร่วมในการแต่งคำร้องและทำนอง โดยเพลง "นายเจ็บ ฉันเจ็บ" แต่งคำร้องและทำนองโดยแดน และเพลง "ฉันจะจับมือเธอเอาไว้" แต่งทำนองโดยแดนและคำร้องโดยบีม)
Dan & Beam (แดน-บีม)
พ.ศ. 2548 - อัลบั้ม Dan & Beam The Album
พ.ศ. 2549 - อัลบั้ม Dan & Beam The Album II Relax
พ.ศ. 2550 - อัลบั้ม Dan & Beam The Album 3 Freedom
พ.ศ. 2550 - อัลบั้ม DB2B (Dan Beam to Big)
Beam (บีม กวี)
ผลงานเพลงอื่นๆ
เพลงประกอบละครและภาพยนตร์
อัลบั้มพิเศษ
ชื่อเพลง
ศิลปิน
อัลบั้ม
ค่าย
ปี
มาราธอน
D2B
Marathon Dance Expo
อาร์เอส โปรโมชั่น
พ.ศ. 2546
สุดแรงเต้น
D2B
ใช่มาก...อารมณ์นี้
D2B
D2B YMCA MIX
D2B
ถ้าแม่ไม่... แล้วใครรัก
บีม
คิดถึงแม่ เรียงความเรื่องแม่
พ.ศ. 2548
ลูกของพ่อ
รวมศิลปิน
ลูกของพ่อ
พ.ศ. 2549
พรของพ่อ
บีม Feat. คุณพ่อวีระศักดิ์ พ่อของบีม
จุดเปลี่ยน
บีม
Love Maker II by am:pm
พ.ศ. 2552
เพลงพิเศษอื่นๆ
ชื่อเพลง
ศิลปิน
รายละเอียด
ค่าย
ปี
ทุกวินาที (Acoustic Version)
D2B
เพลงพิเศษจาก RS Acoustic for Friends
อาร์เอส
พ.ศ. 2545
มีเธอ
D2B
เพลงพิเศษสำหรับสมาชิก RS Star Club
มือที่มองไม่เห็น
รวมศิลปิน
เพลงประกอบคอนเสิร์ต RS Meeting Concert 2001 Star Mission มันส์หลุดโลก
พ.ศ. 2546
มาราธอน
รวมศิลปิน
เพลงพิเศษจาก RS MARATHON DANCE EXPO 2003
อยู่ที่เธอแล้ว
รวมศิลปิน
เพลงพิเศษจากงานมหกรรมทรัพย์สินทางปัญญา
ทำด้วยมือ สร้างด้วยใจ
รวมศิลปิน
ทิ้งหัวใจไว้ที่เธอ
แดน-บีม
เพลงพิเศษจาก MIXICLUB
พ.ศ. 2548
อย่าโกรธนาน
แดน-บีม
เปลวไฟแห่งปลายฝัน
แดน-บีม
เพลงพิเศษจากงานกีฬาแห่งชาติ สุพรรณบุรีเกมส์ ครั้งที่ 35[ 23]
พ.ศ. 2549
คนไทยรักกัน
รวมศิลปิน
เพลงพิเศษเพื่อสร้างความสามัคคีเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Infinite
แดน-บีม
เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต Dan Beam Freedom Around The World Live In Concert
-
พ.ศ. 2550
ในใจเธอมีหัวใจฉันอีกดวง
D2B
เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต มหัศจรรย์...ความคิดถึง D2B Encore Concert 2015
อาร์เอส
พ.ศ. 2558
ปั่นจักรยาน
รวมศิลปิน
เพลงประกอบกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "Bike for Dad"
-
Call Me Daddy
บีม
ร้องร่วมกับธีร์และพีร์ซึ่งเป็นบุตรชายฝาแฝดของเขา
อาร์เอส มิวสิค
พ.ศ. 2566
Oh My DOS! (เพลงโปรโมทสินค้า DOS Life)
บีม
คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ตที่ได้เข้าร่วม ทั้งในฐานะศิลปินกลุ่มและเดี่ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
คอนเสิร์ตดีทูบี
คอนเสิร์ตแดน-บีม
คอนเสิร์ตเดี่ยว
ผลงานการแสดง
ผลงานการแสดงภาพยนตร์และละคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
ภาพยนตร์
ละครโทรทัศน์
ซิตคอม ซีรีส์ และอื่น ๆ
พิธีกร
ปี พ.ศ.
รายการ
ออกอากาศ
หมายเหตุ
2550
"แดนบีม เดอะซีรีส์"
ช่อง 9
ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2550
30 พฤษภาคม 2562-ปัจจุบัน
บีมยังไม่ได้ตั้งชื่อรายการโดยรอระบุจากเจ้าตัว
Youtube:Beam-Oil Channel
คู่กับ อฏิพรณ์ จิตต์ธรรมวงศ์
ผลงานอื่น ๆ
งานด้านสังคม
ปี
รายละเอียดของงาน
พ.ศ. 2550
พรีเซนเตอร์ เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก[ 39]
พรีเซ็นเตอร์ รณรงค์ให้ประชาชนชาวไทย มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่[ 40]
พรีเซนเตอร์ รณรงค์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2551
พรีเซนเตอร์ รณรงค์เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ปี 2 มีนาคม พ.ศ. 2551
ทูตองค์การ WWF ประจำประเทศไทย[ 41]
ศิลปินธรรมทูต[ 42] ประจำปี พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2552
พรีเซนเตอร์ โครงการสายรัดข้อมือเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังคปรินายก[ 43]
ทูตองค์การ WWF ประจำประเทศไทย ติดต่อกันเป็นปีที่ 2
พรีเซนเตอร์ โครงการจัดสร้างพระนิรันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[ 44]
พ.ศ. 2553
ทูตองค์การ WWF ติดต่อกันเป็นปีที่ 3
พ.ศ. 2556
พรีเซนเตอร์ โครงการลดเค็มครึ่งหนึ่ง โครงการของกระทรวงสาธารณสุข ในสัปดาห์วันไตโลก
พิธีกร spot โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา โครงการของกระทรวงศึกษาธิการ
รางวัลที่ได้รับ
ปี
รายละเอียด
พ.ศ. 2545
รางวัลพระพิฆเนศทอง นักร้องกลุ่มยอดเยี่ยม ปี 2545 (D2B)
พ.ศ. 2546
รางวัลศิลปินกลุ่มยอดนิยม จาก MTV Asia Award 2003[ 2] (D2B)
รางวัลศิลปินยอดเยี่ยม Top Awards จัดโดยนิตยสารทีวีพูล ประจำปี 2545 (D2B)
รางวัลศิลปินกลุ่มยอดนิยม จาก Channel V Thailand Award 2003 (D2B)
รางวัลมิวสิกวิดีโอไทยกลุ่มยอดนิยม จากแชนแนลวีไทยแลนด์ มิวสิกวิดีโอ อวอร์ด ครั้งที่ 2 (D2B)
รางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปี 2546 จากกระทรวงพัฒนาสังคมฯ (D2B)
พ.ศ. 2547
รางวัลนักร้องกลุ่มยอดเยี่ยม จากท็อปอวอร์ด 2003 จัดโดยนิตยสารทีวีพูล ประจำปี 2546 (D2B)
พ.ศ. 2548
รางวัลศิลปินคุณธรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา[ 45] ประจำปี 2548
รางวัลดาวในดวงใจ ประจำเดือนกันยายน 2548 จากรายการคืนแห่งดาว ช่อง 7
รางวัลนักร้องขวัญใจศิลปิน จาก Oops Magazine (แดน-บีม)
พ.ศ. 2549
รางวัลศิลปินไทยกลุ่มยอดนิยม จากแชนแนลวีไทยแลนด์ มิวสิกวิดีโอ อวอร์ด ครั้งที่ 5 Hall Of Fame ปี 2549 (แดน-บีม)
รางวัลศิลปินกลุ่มยอดนิยม จากสุดสัปดาห์ยังแอนด์สมาร์ทโหวต 2006 จัดโดยนิตยสารสุดสัปดาห์ (แดน-บีม)
รางวัลศิลปินกลุ่มยอดนิยม จาก คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 2 ปี 2549 (แดน-บีม)
รางวัล "สุดยอดแม่ลูกผูกพันแห่งปี 2549 สาขาการบันเทิง"[ 46] จัดโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุข
รางวัลมิวสิกวิดีโอยอดนิยม สาขาศิลปินไทยกลุ่มยอดนิยม จาก Channel [V] Thailand Music Video Awards 2006 (ครั้งที่ 5) (แดน-บีม)
พ.ศ. 2550
รางวัลศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม จากท็อปอวอร์ด 2006 จัดโดยนิตยสารทีวีพูล ประจำปี 2549 (แดน-บีม)
รางวัลครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่างประจำปี 2550 (ครอบครัว "ตันจรารักษ์")
รางวัลลูกกตัญญู ปี 2550[ 47] โดยสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ
รางวัลศิลปินกลุ่มยอดนิยม จากนิตยสารสุดสัปดาห์ ปี 2550 (แดน-บีม)
รางวัลศิลปินกลุ่มยอดนิยม จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ปี 2550 (คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 4 ) (แดน-บีม)
รางวัลศิลปินรางวัลศิลปินคู่และกลุ่มยอดเยี่ยม Seed Awards ครั้งที่ 2 ปี 2550 (แดน-บีม)
รางวัลศิลปินยอดนิยม จาก Seed Awards ครั้งที่ 2 ปี 2550 (แดน-บีม)
รางวัลศิลปินคู่หรือกลุ่มยอดนิยม จาก Seed Awards ครั้งที่ 2 ปี 2550 (แดน-บีม)
โล่ประกาศเกียรติคุณในโอกาสเป็นพรีเซ็นเตอร์ รณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ปี 2550
รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากงาน Da’Vance Ent’ Award 2007[ 48]
รางวัลศิลปินกลุ่มยอดนิยม Channel V Thailand Award 2007 (แดน-บีม)
พ.ศ. 2551
รางวัลนักร้องกลุ่มยอดนิยม จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ปี 2551 (คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 5 ) (แดน-บีม)
ได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตองค์กร WWF (World Widelife Fund) คนแรกของประเทศไทย
รางวัลศิลปินยอดนิยม จาก Seed Awards ครั้งที่ 3 ปี 2551 (แดน-บีม)
โล่ห์พระราชทานศิลปินธรรมทูต ปี 2551
พ.ศ. 2552
รางวัลศิลปินยอดฮิตติดลมบน จากงานประกาศผลรางวัล KAZZ AWARDS 2009 (แดน-บีม)
รางวัลที่สุดแห่งคอนเสิร์ตปี 2008 สำหรับคอนเสิร์ต One Man & แฟนใครไม่รู้ จากงานประกาศผลรางวัล KAZZ AWARDS 2009[ 49]
รางวัลพระราชทาน TIECA Bright Idol Award 2009[ 50] จากสมาคมไทยแนะแนวการศึกษานานาชาติ เก็บถาวร 2012-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
พ.ศ. 2554
เหรียญกาชาด สมนาคุณ ชั้นที่ 2 ปี 2554
พ.ศ. 2556
โล่ศิลปินต้นแบบผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา[ 51]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
สตูดิโออัลบั้ม อัลบั้มของ แดน-บีม อัลบั้มของ แดน อัลบั้มของ บีม อัลบั้มพิเศษ ดูเพิ่มเติม