โอห์ม (อังกฤษ: ohm; สัญลักษณ์ : Ω) เป็นหน่วยเอสไอ (SI) ของค่าอิมพีแดนซ์ทางไฟฟ้า ในกรณีของกระแสสลับ หรือค่าความต้านทานไฟฟ้า ในกรณีของกระแสตรง ตั้งชื่อตามเกออร์ค ซีม็อน โอห์ม นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน
นิยาม
โอห์ม เป็นค่าความต้านทานที่ก่อให้เกิดความต่างศักย์ค่า 1 โวลต์ เมื่อกระแส 1 แอมแปร์ไหลผ่าน
โดยหน่วยอนุพัทธ์ที่เพิ่มเติมมา คือ โวลต์ (V), แอมแปร์ (A), ซีเมนส์ (S), วัตต์ (W), วินาที (s), ฟารัด (F), เฮนรี (H), จูล (J), คูลอมบ์ (C), กิโลกรัม (kg) และ เมตร (m)
อุปสรรคหน่วยเอสไอ
พหุคูณเอสไอสำหรับหน่วยโอห์ม (Ω)
พหุคูณย่อย
|
พหุคูณใหญ่
|
ค่า
|
สัญลักษณ์
|
ชื่อ
|
ค่า
|
สัญลักษณ์
|
ชื่อ
|
10–1 Ω
|
dΩ
|
เดซิโอห์ม
|
101 Ω
|
daΩ
|
เดคาโอห์ม
|
10–2 Ω
|
cΩ
|
เซนติโอห์ม
|
102 Ω
|
hΩ
|
เฮกโตโอห์ม
|
10–3 Ω
|
mΩ
|
มิลลิโอห์ม
|
103 Ω
|
kΩ
|
กิโลโอห์ม
|
10–6 Ω
|
µΩ
|
ไมโครโอห์ม
|
106 Ω
|
MΩ
|
เมกะโอห์ม
|
10–9 Ω
|
nΩ
|
นาโนโอห์ม
|
109 Ω
|
GΩ
|
จิกะโอห์ม
|
10–12 Ω
|
pΩ
|
พิโกโอห์ม
|
1012 Ω
|
TΩ
|
เทระโอห์ม
|
10–15 Ω
|
fΩ
|
เฟมโตโอห์ม
|
1015 Ω
|
PΩ
|
เพตะโอห์ม
|
10–18 Ω
|
aΩ
|
อัตโตโอห์ม
|
1018 Ω
|
EΩ
|
เอกซะโอห์ม
|
10–21 Ω
|
zΩ
|
เซปโตโอห์ม
|
1021 Ω
|
ZΩ
|
เซตตะโอห์ม
|
10–24 Ω
|
yΩ
|
ยอกโตโอห์ม
|
1024 Ω
|
YΩ
|
ยอตตะโอห์ม
|
10−27 Ω
|
rΩ
|
รอนโตโอห์ม
|
1027 Ω
|
RΩ
|
รอนนาโอห์ม
|
10−30 Ω
|
qΩ
|
เควกโตโอห์ม
|
1030 Ω
|
QΩ
|
เควตตาโอห์ม
|
หน่วยที่นิยมใช้แสดงเป็นตัวหนา
|
ที่มา
นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าในตัวนำโลหะ โดยแสดงไว้เป็นกฎความสัมพันธ์เรียกว่า "กฎของโอห์ม"
หน่วยดังกล่าวถูกเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกว่า "โอห์ม" โดยชาลส์ ทิลสตัน ไบรต์ และแลทิเมอร์ คลาร์ก เมื่อ ค.ศ. 1861 โดยในบันทึกเมื่อ ค.ศ. 1864 เขียนเป็น "ohmad" ครั้นเมื่อ ค.ศ. 1872 สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของอังกฤษได้เพิ่มโอห์มเข้ามาในระบบหน่วยวัดเซนติเมตร–กรัม–วินาที และมีการใช้โอห์มที่สมาคมปรับปรุงขึ้นใหม่ในหน่วยเอสไอเมื่อ ค.ศ. 1946
คำอธิบาย
นิยามจากกฎของโอห์ม อุปกรณ์จะมีมีค่าความต้านทาน 1 โอห์ม หากแรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ ก่อให้เกิดกระแส 1 แอมแปร์ไหลผ่าน (R = V/I) ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์ที่มีกำลัง 1 วัตต์ โดยมีกระแส 1 แอมแปร์ไหลผ่าน ก็จะมีค่าความต้านทาน 1 โอห์ม
(R = P / I 2).
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น