Share to:

 

ไคทิน

โครงสร้างของไคทิน ประกอบด้วยN-acetylglucosamineสองหน่วยที่จะเรียงซ้ำกันจนเป็นสายยาวด้วยพันธะแบบ β-1, 4
ปีกของเพลี้ยจักจั่น (leafhopper) ที่มีไคทินเป็นสารประกอบหลัก

ไคทิน (อังกฤษ: Chitin;C8H13O5N) n (/ˈktɪn/) เป็นสารคาร์โบไฮเดรต ประเภทพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีสายยาว เป็นโฮโมพอลิเมอร์สายยาวของ N-acetyl-D-glucosamine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกลูโคส ต่อกับด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic bond) แบบ β-1,4 แต่หมู่ hydroxyl (-OH) ที่ตำแหน่ง C2 จะถูกแทนที่ด้วยกลุ่ม acetyl amino (-NHCOCH3) เป็นโครงสร้างผนังเซลล์หลักของฟังไจ, ในเปลือกหุ้มของสัตว์ประเภทอาร์โทพอด อาทิ กุ้ง ปู และแมลง, จะงอยปากของหอย และ ปลาหมึก, เกล็ดของปลา และ ลิสแซมฟิเบีย โครงสร้างของสารไคทินคล้ายกับเซลลูโลส ไคทินสามารถทำหน้าที่ได้เหมือนโปรตีนเคราติน เป็นสารที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ และ ทางอุตสาหกรรม

ผลกระทบต่อสุขภาพ

สิ่งมีชีวิตที่มีองค์ประกอบของสารไคติน อาทิ โปรโตซัว เชื้อรา อาร์โทรพอด และ ไส้เดือนฝอย มักเป็นจุลชีพก่อโรคสำหรับสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ๆ[14]

มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์อื่น

มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ มีโปรตีนคล้ายไคติเนสและไคติเนสที่สามารถย่อยสลายไคติน อีกทั้งยังมีตัวรับภูมิคุ้มกันหลายชนิดที่สามารถรับรู้สารไคติน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยสลายสารไคทิน มีรูปแบบโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรค ซึ่งจะทำให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

โดยส่วนใหญ่แล้ว สารไคตินมักมีการตรวจจับโดยร่างกายในปอด หรือ ทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติผ่าน eosinophils หรือ macrophages เช่นเดียวกับ การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวผ่านเซลล์ T helper Keratinocytes ในผิวหนังสามารถตอบสนองต่อสารไคตินได้ อ้างอิงจากการศึกษาในหลอดทดลอง มีตัวรับสัญญาณชีวภาพหลายชนิดที่ตรวจจับสารไคติได้ อาทิเช่น FIBCD1, KLRB1, REG3G, Toll-like receptor 2, CLEC7A, และ mannose receptor[15]

การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน สามารถกำจัดสารไคตินและจุลชีพก่อโรคที่มีสารไคทินเป็นองค์ประกอบได้ แต่ในบางครั้ง การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อสารไคตินอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ การแพ้ไรฝุ่นในบ้านเกิดจากการตอบสนองต่อสารไคติน รวมถึงอาการแพ้อาหารที่มีสัตว์ขาปล้องเป็นส่วนผสม[16]

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya