Share to:

 

ขนาดองคชาตมนุษย์

โดยทั่วไปการวัดขนาดองคชาตมนุษย์จะวัดความยาวและเส้นรอบวงในขณะองคชาตแข็งตัวเต็มที่

องคชาตของมนุษย์มีขนาดแตกต่างกันไปตามการวัดหลายประเภท ซึ่งรวมถึงความยาวและเส้นรอบวงทั้งในสภาวะอ่อนตัวและแข็งตัว นอกจากความแปรปรวนตามธรรมชาติของขนาดองคชาตในมนุษย์โดยทั่วไปแล้ว ยังมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างเล็กน้อยในบุคคลแต่ละคน เช่น ระดับการกระตุ้นทางเพศ เวลาของวัน อุณหภูมิแวดล้อม ระดับความวิตกกังวล กิจกรรมทางกาย และความถี่ของกิจกรรมทางเพศ เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ในอันดับวานรอื่น ๆ เช่น กอริลลา องคชาตของมนุษย์มีความหนาที่สุดทั้งในเชิงสัมบูรณ์และเชิงสัมพัทธ์กับส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย การเจริญเติบโตขององคชาตในมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสองระยะ ระยะแรกคือระหว่างวัยทารกจนถึงอายุห้าปี และระยะที่สองคือประมาณหนึ่งปีหลังจากเริ่มเข้าสู่วัยเริ่มเจริญพันธุ์จนถึงอายุประมาณ 17 ปี[1]

การวัดขนาดอวัยวะเพศชายมีความแตกต่างกันไปตามวิธีการศึกษา โดยการศึกษาที่อาศัยการวัดขนาดด้วยตนเองมักรายงานค่าเฉลี่ยที่สูงกว่าการศึกษาที่วัดขนาดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ในปี 2558 การปริทัศน์เป็นระบบซึ่งรวมผลการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งมีการศึกษาผู้ชายรวมจำนวน 15,521 คน ที่ได้รับการวัดขนาดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สรุปได้ว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวมีค่าเท่ากับ 13.12 เซนติเมตร (5.17 นิ้ว) ขณะที่เส้นรอบวงเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวมีค่าเท่ากับ 11.66 เซนติเมตร (4.59 นิ้ว)[2] การศึกษาปี 2539 วัดความยาวองคชาตขณะอ่อนตัวพบว่ามีค่าเฉลี่ยที่ 8.8 เซนติเมตร (3.5 นิ้ว) เมื่อวัดโดยเจ้าหน้าที่ ความยาวองคชาตขณะอ่อนตัวบางครั้งอาจไม่สามารถทำนายความยาวขณะแข็งตัวได้ดี ในทางการแพทย์ องคชาตของผู้ใหญ่ที่มีขนาดเล็กผิดปกติแต่มีการพัฒนารูปร่างอย่างปกติมักถูกเรียกว่าไมโครเพนนิส ซึ่งโดยทั่วไปมักกำหนดความยาวต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 3 นิ้ว (7.6 เซนติเมตร)

องคชาตมนุษย์ ขณะอ่อนตัวและแข็งตัว แสดงให้เห็นว่าความยาวขณะอ่อนตัวไม่สามารถทำนายตวามยาวขณะแข็งตัวได้ดีนัก

จากการวิเคราะห์อภิมานและการปริทัศน์เป็นระบบโดยเบลลาเดลลีและคณะ (2566) ในการศึกษางานวิจัยจำนวน 75 ฉบับ รวมกลุ่มตัวอย่างผู้ชายจำนวน 55,761 คน ที่ดำเนินการระหว่างปี 2485 ถึง 2564 โดยการประมาณค่าเฉลี่ยความยาวองคชาตขณะแข็งตัวพบว่า ความยาวองคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 13.93 เซนติเมตร (5.48 นิ้ว) ความยาวองคชาตเมื่อยืดอยู่ที่ 12.93 เซนติเมตร (5.09 นิ้ว) และความยาวองคชาตขณะอ่อนตัวอยู่ที่ 8.70 เซนติเมตร (3.43 นิ้ว)[3] เบลลาเดลลี (2566) ระบุว่า "การวัดทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงความแปรปรวนตามภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ความยาวองคชาตขณะแข็งตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตามเวลาในหลายภูมิภาคของโลกและในกลุ่มอายุทั้งหมด ในขณะที่ไม่มีแนวโน้มถูกระบุในการวัดขนาดองคชาตอื่นๆ เมื่อปรับตามภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ อายุของผู้เข้าร่วม และกลุ่มประชากรแล้ว ความยาวองคชาตขณะแข็งตัวเพิ่มขึ้น 24% ในช่วง 29 ปีที่ผ่านมา"[3] เบลลาเดลลี (2566) ยังระบุอีกว่า "สิ่งสำคัญคือ เมื่อมีการปรับผลการวิเคราะห์ปัจจุบันตามเทคนิคในการกระตุ้นให้เกิดการแข็งตัวแล้ว ค่าประมาณที่ได้ยังคงใกล้เคียงกัน"[3]

แนวโน้มที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติที่มีนัยสำคัญระหว่างขนาดองคชาตและขนาดของส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้รับการพบในงานวิจัย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากพันธุกรรม เช่น การปรากฏของสารรบกวนระบบต่อมไร้ท่อ สามารถมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตขององคชาตได้

การศึกษา

การกระจายด้านความยาวของขนาดองคชาต ร้อยละ 45 ขององคชาตขณะแข็งตัวจะมีความยาวระหว่าง 12 ถึง 14 ซม.[2]
การกระจายด้านความยาวเส้นรอบวงของขนาดองคชาต ร้อยละ 81 ขององคชาตขณะแข็งตัว (แท่งสีเขียว) จะมีความยาวเส้นรอบวงระหว่าง 10 ถึง 13 ซม.[2]
เปอร์เซ็นไทล์ของความยาวองคชาต[2]
เปอร์เซ็นไทล์ของเส้นรอบวงองคชาต[2]

แม้ว่าผลการศึกษาที่มีชื่อเสียงอาจแตกต่างกันบ้าง แต่ผลสรุปที่เป็นที่ยอมรับคือ ค่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ในช่วง 12.9–15 เซนติเมตร (5.1–5.9 นิ้ว)[4][5][6]

งานวิจัยทางการแพทย์เรื่องขนาดองคชาตที่มีการศึกษาเป็นเวลากว่า 30 ปี ซึ่งใช้กระบวนการปริทัศน์อย่างเป็นระบบ โดย Veale และคณะ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ บีเจยูอินเตอร์เนชันแนล ในปี 2558 ได้แสดงผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน โดยมีความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะอ่อนตัว ขณะอ่อนตัวและจับยืดจนสุด และขณะแข็งตัวอยู่ที่ 9.16 เซนติเมตร 13.24 เซนติเมตร และ 13.12 เซนติเมตร ตามลำดับ และมีเส้นรอบวงเฉลี่ยขณะอ่อนตัวและขณะแข็งตัวอยู่ที่ 9.31 เซนติเมตร และ 11.66 เซนติเมตร ตามลำดับ ความยาวขณะแข็งตัวที่ปรากฏในงานวิจัยดังกล่าวใช้การวัดโดยการดันแผ่นไขมันเหนือกระดูกหัวหน่าวลงไปจนถึงกระดูก และเส้นรอบวงขององคชาตทั้งขณะอ่อนตัวและขณะแข็งตัวนั้นวัดที่ฐานหรือกลางลำขององคชาต[2]

จากการวิเคราะห์อภิมานและการปริทัศน์เป็นระบบโดยเบลลาเดลลีและคณะ (2566) ในการศึกษางานวิจัยจำนวน 75 ฉบับ รวมกลุ่มตัวอย่างผู้ชายจำนวน 55,761 คน ที่ดำเนินการระหว่างปี 2485 ถึง 2564 โดยการประมาณค่าเฉลี่ยความยาวองคชาตขณะแข็งตัวพบว่า ความยาวองคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 13.93 เซนติเมตร (5.48 นิ้ว) ความยาวองคชาตเมื่อยืดอยู่ที่ 12.93 เซนติเมตร (5.09 นิ้ว) และความยาวองคชาตขณะอ่อนตัวอยู่ที่ 8.70 เซนติเมตร (3.43 นิ้ว)[3] เบลลาเดลลี (2566) ระบุว่า "การวัดทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงความแปรปรวนตามภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ความยาวองคชาตขณะแข็งตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตามเวลาในหลายภูมิภาคของโลกและในกลุ่มอายุทั้งหมด ในขณะที่ไม่มีแนวโน้มถูกระบุในการวัดขนาดองคชาตอื่นๆ เมื่อปรับตามภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ อายุของผู้เข้าร่วม และกลุ่มประชากรแล้ว ความยาวองคชาตขณะแข็งตัวเพิ่มขึ้น 24% ในช่วง 29 ปีที่ผ่านมา"[3] เบลลาเดลลี (2566) ยังระบุอีกว่า "สิ่งสำคัญคือ เมื่อมีการปรับผลการวิเคราะห์ปัจจุบันตามเทคนิคในการกระตุ้นให้เกิดการแข็งตัวแล้ว ค่าประมาณที่ได้ยังคงใกล้เคียงกัน"[3]

ความยาว

อ่อนตัว

การศึกษา (ตีพิมพ์ในปี 2539) พบว่าค่าเฉลี่ยความยาวขององคชาตขณะอ่อนตัวอยู่ที่ 3.5 นิ้ว (8.9 เซนติเมตร) ซึ่งวัดโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีความเชี่ยวชาญ[4] นอกจากนี้ยังมีการทบทวนวรรณกรรมจากการศึกษาหลายชิ้นพบว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะอ่อนตัวอยู่ที่ 9–10 เซนติเมตร (3.5–3.9 นิ้ว)[7] ทั้งนี้ ความยาวขององคชาตขณะอ่อนตัวไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความยาวขององคชาตขณะแข็งตัว โดยบางครั้งองคชาตที่มีขนาดขณะอ่อนตัวเล็กกว่าอาจสามารถขยายตัวได้ยาวกว่า ขณะที่องคชาตที่มีขนาดขณะอ่อนตัวยาวกว่ากลับอาจขยายตัวได้น้อยกว่า[8]

องคชาตและถุงอัณฑะสามารถหดตัวโดยอัตโนมัติเมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิที่เย็นจัด ระดับความวิตกกังวลหรือความเครียด และการมีส่วนร่วมในกีฬา[9] ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า "การหดตัว" ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของกล้ามเนื้อครีมาสเตอร์ ปรากฏการณ์เดียวกันนี้ยังส่งผลกระทบต่อนักปั่นจักรยานและผู้ที่ออกกำลังกายโดยใช้จักรยาน โดยแรงกดที่ฝีเย็บจากอานจักรยานเป็นเวลานานและการออกแรงจากการออกกำลังกายจะทำให้องคชาตและถุงอัณฑะหดตัวโดยอัตโนมัติ อานจักรยานที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ บุคคลที่มีภาวะฮาร์ดแฟลคซิดหรือโรคเกี่ยวกับอุ้งเชิงกรานอื่น ๆ อาจทำให้องคชาตมีขนาดเล็กลงชั่วคราวได้

ยืด

ทั้งอายุและขนาดขององคชาตขณะอ่อนตัวไม่สามารถใช้เป็นตัวทำนายความยาวขององคชาตขณะแข็งตัวได้อย่างแม่นยำ ความยาวขององคชาตขณะอ่อนตัวที่ถูกยืดออกจนสุดอาจมีความสัมพันธ์กับความยาวขณะแข็งตัวในบางกรณี[4] อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาที่แสดงถึงความแตกต่างอย่างมากระหว่างความยาวขณะยืดและความยาวขณะแข็งตัว[10] การศึกษาหนึ่งพบว่าจำเป็นต้องใช้แรงดึงขั้นต่ำประมาณ 450 กรัม ในการยืดองคชาตให้มีความยาวถึงระดับที่เป็นไปได้ขณะแข็งตัว การศึกษานี้ยังพบว่าแรงดึงที่ถูกกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะในการศึกษานี้ มีค่าน้อยกว่า 450 กรัม อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.01)[11] ซึ่งอาจอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างความยาวขณะยืดและความยาวขณะแข็งตัวได้

  • การศึกษาในปี 2558 จากกลุ่มตัวอย่างเพศชายจำนวน 15,521 คน พบว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะอ่อนตัวที่ยืดออกจนสุดอยู่ที่ 13.24 เซนติเมตร (5.21 นิ้ว) ซึ่งใกล้เคียงกับความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวที่ 13.12 เซนติเมตร (5.17 นิ้ว))[12]
  • การศึกษาในปี 2544 จากกลุ่มตัวอย่างเพศชายประมาณ 3,300 คน ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารยูโรเปียนยูโรโลจี สรุปว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะอ่อนตัวที่ถูกยืดออกจนสุดอยู่ที่ประมาณ 12.5 เซนติเมตร (4.9 นิ้ว) ผู้ศึกษายังได้ตรวจสอบความสัมพันธ์ในกลุ่มย่อยแบบสุ่มของกลุ่มตัวอย่างเพศชายจำนวน 325 คน พบความสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างความยาวขณะอ่อนตัวและความสูงอยู่ที่ 0.208, กับน้ำหนักอยู่ที่ −0.140, และกับดัชนีมวลกายอยู่ที่ −0.238 ระหว่างความยาวเส้นรอบวงขณะอ่อนตัวและความสูงอยู่ที่ 0.221, น้ำหนักอยู่ที่ −0.136, และดัชนีมวลกายอยู่ที่ −0.169 นอกจากนี้ยังมีรายงานความสัมพันธ์ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในบางประการอีกด้วย[13]

แข็งตัว

มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความยาวขององคชาตขณะแข็งตัวของผู้ชายผู้ใหญ่หลายชิ้น โดยการศึกษาที่อาศัยการวัดด้วยตนเอง รวมถึงการสำรวจผ่านอินเทอร์เน็ต มักรายงานความยาวเฉลี่ยสูงกว่าการศึกษาที่ใช้วิธีการทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ในการวัดผล[6][14]

การศึกษาที่วัดโดยเจ้าหน้าที่ต่อไปนี้ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันของประชากรมนุษย์ (เช่น ช่วงอายุหรือเชื้อชาติที่เฉพาะเจาะจง, การคัดเลือกผู้ที่มีความวิตกกังวลทางเพศในทางการแพทย์, หรือการเลือกตัวอย่างด้วยตนเอง) ซึ่งอาจก่อให้เกิดอคติในการชักตัวอย่างได้[14][15]

  • ในการศึกษาผู้ชายที่มีสุขภาพดีจำนวน 80 คน ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนกันยายนปี 2539 ในวารสารเดอะเจอร์แนลออฟยูโรโลจี พบว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 12.9 เซนติเมตร (5.1 นิ้ว)[4] จุดประสงค์ของการศึกษานี้คือ "เพื่อให้แนวทางเกี่ยวกับความยาวและเส้นรอบวงขององคชาตเพื่อช่วยในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยที่พิจารณาการเสริมองคชาต" โดยการแข็งตัวขององคชาตเกิดจากการใช้ยากระตุ้นในผู้ชายชาวอเมริกันที่มีสุขภาพดีจำนวน 80 คน (มีเชื้อชาติต่างกันและอายุเฉลี่ย 54 ปี) โดยสรุปได้ว่า "ทั้งอายุของผู้ป่วยและขนาดขององคชาตขณะอ่อนตัวไม่สามารถทำนายความยาวขององคชาตขณะแข็งตัวได้อย่างถูกต้อง"
  • การศึกษาที่ตีพิมพ์ในเดือนธันวาคมปี 2543 ในวารสาร International Journal of Impotence Research พบว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวในผู้ชายชาวยิวผิวขาวจำนวน 50 คน อยู่ที่ 13.6 เซนติเมตร (5.4 นิ้ว) (วัดโดยเจ้าหน้าที่)[5] จุดประสงค์ของการศึกษาคือ "เพื่อระบุพารามิเตอร์ทางคลินิกและทางวิศวกรรมขององคชาตขณะอ่อนตัวเพื่อทำนายขนาดขององคชาตขณะแข็งตัว" การแข็งตัวขององคชาตเกิดจากการใช้ยากระตุ้นในผู้ป่วยชาวยิวผิวขาวที่ได้รับการประเมินภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศจำนวน 50 คน (อายุเฉลี่ย 47±14 ปี) ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติขององคชาตหรือภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เกิดจากสาเหตุทางจิตวิทยามากกว่าหนึ่งสาเหตุจะถูกยกเว้นจากการศึกษา
  • บทปริทัศน์ที่ตีพิมพ์ในปี 2550 ในวารสารบีเจยูอินเดอร์เนชันแนล แสดงให้เห็นว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 14-16 เซนติเมตร (5.5-6.3 นิ้ว) และเส้นรอบวงเฉลี่ยอยู่ที่ 12-13 เซนติเมตร (4.7-5.1 นิ้ว) โดยงานวิจัยนี้ได้เปรียบเทียบผลการศึกษาจำนวนสิบสองชิ้นที่ดำเนินการในประชากรที่แตกต่างกันในหลายประเทศและรวมเอาวิธีการวัดที่หลากหลายเข้าไว้ในบทปริทัศน์ด้วย[7]
  • การศึกษาในปี 2558 ในวารสารบีเจยูอินเดอร์เนชันแนล สรุปว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 13.12 เซนติเมตร (5.16 นิ้ว)[2]
  • การศึกษาในประเทศอินเดียที่ตีพิมพ์ในปี 2550 ในวารสาร International Journal of Impotence Research พบว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวในผู้ชายจำนวน 301 คน (อายุระหว่าง 18-60 ปี) อยู่ที่ 13.01 เซนติเมตร (5.12 นิ้ว)[10]
  • การศึกษาในประเทศเกาหลีที่ตีพิมพ์ในปี 2514 ซึ่งศึกษาผู้ชายจำนวน 702 คน (อายุระหว่าง 21-31 ปี) พบว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 12.70 เซนติเมตร (5.00 นิ้ว)[16] การศึกษาอีกชิ้นในปี 2541 ที่ศึกษาผู้ชายชาวเกาหลีจำนวน 150 คน พบว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 13.42 เซนติเมตร (5.28 นิ้ว)[17] และการศึกษาล่าสุดในปี 2559 ที่ศึกษาผู้ชายชาวเกาหลีจำนวน 248 คน พบว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 13.53 เซนติเมตร (5.33 นิ้ว)[18]
  • การปริทัศน์ในปี 2563 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Sex & Marital Therapy พบว่าผู้ชายส่วนใหญ่เชื่อว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวนั้นมากกว่า 15.24 เซนติเมตร (6 นิ้ว) ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนี้อาจมาจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและเกินจริงที่ถูกนำเสนอในการศึกษาที่ให้ผู้เข้าร่วมวัดขนาดด้วยตนเอง ผู้เข้าร่วมอาจรายงานขนาดองคชาตที่สูงเกินความเป็นจริงเนื่องจากความเชื่อที่ว่าองคชาตขนาดใหญ่นั้นเป็นที่ต้องการของสังคมมากกว่า[19] การปริทัศน์เดียวกันนี้ยังได้วิเคราะห์ผลลัพธ์จากการศึกษาก่อนหน้าจำนวนสิบชิ้น ซึ่งนักวิจัยได้ทำการวัดขนาดองคชาตขณะแข็งตัว พบว่าองคชาตขณะแข็งตัวจะมีความยาวระหว่าง 12.95-13.92 เซนติเมตร (5.1-5.5 นิ้ว ตามลำดับ) ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ได้จากการศึกษาที่อาศัยการวัดด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญ ผู้เขียนยังให้ความเห็นว่า ผลการศึกษาจากการวัดดังกล่าวก็อาจยังคงสูงเกินจริงเนื่องจากอคติด้านอาสาสมัคร กล่าวคือ ผู้ชายที่มีองคชาตขนาดใหญ่อาจมีแนวโน้มในการเลือกเข้าร่วมการศึกษาดังกล่าวมากกว่า[19]

เส้นรอบวงขณะแข็งตัว

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันในการศึกษาเส้นรอบวงขององคชาตในผู้ใหญ่ขณะแข็งตัว โดยปกติจะทำการวัดที่ตำแหน่งกลางลำองคชาต[7] เช่นเดียวกับความยาว การศึกษาที่ใช้การวัดด้วยตนเองพบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการศึกษาที่ใช้การวัดโดยเจ้าหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญ ในการศึกษาเกี่ยวกับขนาดขององคชาตที่มีการวัดในห้องปฏิบัติการ พบว่าเส้นรอบวงเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 11.66 เซนติเมตร (4.59 นิ้ว)[2]

ขนาดเมื่อแรกเกิด

ความยาวเฉลี่ยขององคชาตที่ถูกยืดจนสุดเมื่อแรกเกิดอยู่ที่ประมาณ 4 เซนติเมตร (1.6 นิ้ว) และร้อยละ 90 ของทารกเพศชายจะมีความยาวอยู่ระหว่าง 2.4 ถึง 5.5 เซนติเมตร (0.94 ถึง 2.17 นิ้ว) การเจริญเติบโตขององคชาตมีจำกัดระหว่างวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี และมีการเจริญเติบโตเพียงเล็กน้อยในช่วงอายุ 5 ปีจนถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ ขนาดเฉลี่ยขององคชาตเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เริ่มต้นอยู่ที่ 6 เซนติเมตร (2.4 นิ้ว) และจะเจริญเติบโตเต็มที่ในช่วงเวลาประมาณ 5 ปีต่อมา ดับเบิลยู.เอ. เชินเฟลด์ได้ตีพิมพ์แผนภูมิการเจริญเติบโตขององคชาตในปี 2486[20]

ขนาดกับอายุ

ผู้เขียนบทความที่ปริทัศน์งานวิจัยในเรื่องของขนาดองคชาตได้สรุปว่า "ความยาวองคชาตในขณะอ่อนตัวมีความยาวต่ำกว่า 4 เซนติเมตร (1.6 นิ้ว) เมื่อแรกเกิด และมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจนกระทั่งถึงช่วงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งในช่วงนี้จะมีการเติบโตอย่างชัดเจน"[1][7]

นอกจากนี้ อายุก็ไม่ถูกเชื่อมโยงว่าจะมีความสัมพันธ์เชิงลบกับขนาดองคชาต "งานวิจัยรายบุคคลได้เสนอว่าขนาดองคชาตที่เล็กลงในงานวิจัยที่เน้นกลุ่มผู้ชายสูงอายุ แต่จากการรวบรวมผลการศึกษาต่าง ๆ ในช่วงระยะเวลา 60 ปี ไวลีย์และเอิร์ดลีย์ไม่พบความแตกต่างโดยรวม"[7]

ขนาดและความสูง

การทบทวนวรรณกรรมในปี 2558 พบว่ามีการศึกษาสองฉบับที่ชี้ให้เห็นว่าความสูงและความยาวขณะอ่อนตัวหรือยืดออกจนสุดมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ในขณะที่มีการศึกษาเจ็ดฉบับที่พบว่าความยาวขณะอ่อนตัว ยืดออกจนสุด และแข็งตัวมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ และการศึกษาอีกสองฉบับที่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความยาวขณะอ่อนตัวกับความสูง[2]

ขนาดและมือ

งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ตรวจสอบความสัมพันธ์ของขนาดองคชาตต่ออัตราส่วนความยาวของนิ้ว พบว่าผู้ชายที่มีนิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้มีความยาวองคชาตที่ยาวกว่าเล็กน้อย[21][22] อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ขนาดมือในการทำนายขนาดองคชาตนั้นเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถืออย่างมาก[23][24]

ขนาดและส่วนอื่นของร่างกาย

งานวิจัยชิ้นหนึ่งโดยซิมิโนสกีและเบน (1988) พบว่ามีความสัมพันธ์อ่อนระหว่างขนาดองคชาตที่ยืดออกจนสุดกับขนาดเท้าและความสูง อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นยังอ่อนเกินไปที่จะใช้เป็นตัวประมาณในทางปฏิบัติได้[25] การสืบค้นอีกชิ้นหนึ่งโดยชาห์และคริสโตเฟอร์ (2002) ซึ่งอ้างอิงงานวิจัยของซิมิโนสกีและเบน (1988) ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่เชื่อมโยงระหว่างขนาดรองเท้ากับขนาดองคชาตที่ยืดออกจนสุด โดยระบุว่า "ความเกี่ยวข้องกันระหว่างขนาดองคชาตและขนาดรองเท้าที่คาดการณ์ไว้นั้นไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์"[26][27]

การศึกษาโดยอิเคงายะและคณะ (2021) สรุปว่า สรุปว่าขนาดจมูกนั้นมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับขนาดองคชาตที่ยืดออกจนสุดในศพของผู้ชายชาวญี่ปุ่น[28]

มีความเป็นไปได้ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์และระยางค์ของมนุษย์ เนื่องจากการพัฒนาขององคชาตในเอ็มบริโอถูกควบคุมโดยยีนฮอกซ์เดียวกัน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HOXA13 และ HOXD13)[29] ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการพัฒนาของระยางค์เช่นกัน การกลายพันธุ์ของยีนฮอกซ์บางตัวที่ควบคุมการเจริญเติบโตของระยางค์อาจทำให้อวัยวะสืบพันธุ์ผิดรูปได้ (กลุ่มอาการมือเท้าอวัยวะสืบพันธุ์)[30]

ขนาดและเชื้อชาติ

การกล่าวอ้างเกี่ยวกับความแตกต่างทางเชื้อชาติได้นำไปสู่การสร้างความเชื่อผิด ๆ ทางเพศ การศึกษาในปี 2548 รายงานว่า "ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนข้อกล่าวหาว่าคนผิวดำมีขนาดองคชาตที่ 'ใหญ่เกินไป'"[31]

การศึกษาผู้ชายจำนวน 253 คนจากประเทศแทนซาเนีย พบว่า ความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะอ่อนตัวที่ยืดจนสุดของผู้ชายชาวแทนซาเนียนั้นอยู่ที่ 11.5 เซนติเมตร (4.53 นิ้ว) ซึ่งเล็กกว่าความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะอ่อนตัวที่ยืดจนสุดทั่วโลกที่ 13.24 เซนติเมตร (5.21 นิ้ว) และความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 13.12 เซนติเมตร (5.17 นิ้ว)[32]

การศึกษาผู้ชายชาวจีนจำนวน 5,196 คน ระหว่างปี 2554 ถึง 2556 รายงานว่า ความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะอ่อนตัวที่ไม่ยืดอยู่ที่ 6.55 เซนติเมตร (2.57 นิ้ว) ความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะอ่อนตัวที่ยืดอยู่ที่ 12.9 เซนติเมตร (5.08 นิ้ว) และความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 12.9 เซนติเมตร (5.08 นิ้ว) พวกเขาระบุว่า "ยังพบว่าขนาดขององคชาตแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ แต่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อยืนยันสิ่งนี้" อย่างไรก็ตาม เชื้อชาติที่กล่าวถึงในงานวิจัยนี้หมายถึงเชื้อชาติภายในประชากรชาวจีนเอง[33]

การศึกษาผู้ชายชาวเกาหลี (ตีพิมพ์ในปี 2514) ของผู้ชายอายุ 21 ถึง 31 ปีจำนวน 702 คน พบว่า ความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 12.70 เซนติเมตร (5.00 นิ้ว) อีกการศึกษาหนึ่ง (จากปี 2541) ของผู้ชายเกาหลีจำนวน 150 คน พบว่า ความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 13.42 เซนติเมตร (5.28 นิ้ว)[34] Another study (from 1998) of 150 Koreans found the average erect penis length to be 13.42 ซm (0.440 ft).[35] การศึกษาในปี 2559 ของผู้ชายเกาหลีจำนวน 248 คน ระบุว่า ความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 13.53 เซนติเมตร (5.33 นิ้ว)[18]

การศึกษาผู้ชายจำนวน 115 คนจากประเทศไนจีเรีย พบว่า ความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะอ่อนตัวที่ยืดจนสุดของผู้ชายชาวไนจีเรียอยู่ที่ 13.37 เซนติเมตร (5.26 นิ้ว) ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยความยาวขององคชาตขณะอ่อนตัวที่ยืดจนสุดทั่วโลกที่ 13.24 เซนติเมตร (5.21 นิ้ว) และความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 13.12 เซนติเมตร (5.17 นิ้ว)[36]

การศึกษาในอเมริกาโดยเฮอร์เบนิกและคณะในปี 2557 ซึ่งศึกษาผู้ชายที่มีกิจกรรมทางเพศจำนวน 1,661 คน ที่ประกอบด้วย ผู้ชายชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย ชาวอเมริกันผิวดำ ชาวอเมริกันผิวขาว ชาวหมู่เกาะแปซิฟิก/ชาวฮาวาย และชาวอเมริกันพื้นเมือง พบว่า ความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวที่แตกต่างกันไปตามเชื้อชาตินั้นน้อยกว่าหนึ่งเซนติเมตร โดยความยาวเฉลี่ยแยกตามเชื้อชาติ ได้แก่ ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย 14.14 เซนติเมตร (5.56 นิ้ว) ชาวอเมริกันผิวดำ 14.66 เซนติเมตร (5.77 นิ้ว) ชาวหมู่เกาะแปซิฟิก/ชาวฮาวาย 14.88 เซนติเมตร (5.85 นิ้ว) ชาวอเมริกันพื้นเมือง 12.86 เซนติเมตร (5.06 นิ้ว) และชาวอเมริกันผิวขาว 14.18 เซนติเมตร (5.58 นิ้ว) (และเส้นรอบวง: ชาวเชื้อสายเอเชีย 12.10 เซนติเมตร ชาวผิวดำ 12.29 เซนติเมตร ชาวหมู่เกาะแปซิฟิก 11.88 เซนติเมตร ชาวพื้นเมือง 11.36 เซนติเมตร และชาวผิวขาว 12.25 เซนติเมตร)[37]

การปริทัศน์อย่างเป็นระบบในปี 2558 ของผู้ชายจำนวน 15,521 คน พบว่า "ไม่มีข้อบ่งชี้ถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ" และระบุว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะสรุปผลใด ๆ เกี่ยวกับขนาดและเชื้อชาติจากเอกสารที่มีอยู่ และจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม[2]

ตามที่แอรอน สปิตซ์ ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ มีเว็บไซต์และการศึกษาจำนวนมากที่ส่งเสริมความแปรผันของขนาดองคชาตในระหว่างเชื้อชาติ โดยใช้วิธีที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ในการรวบรวมข้อมูล และมักเพิกเฉยต่อหลักฐานที่ขัดแย้งกัน เขาสรุปว่า "เมื่อพิจารณาข้อมูลเปล่า ๆ ให้ดี จะพบว่าไม่มีหลักฐานมากนักที่แสดงความแปรผันด้านเชื้อชาติในขนาดองคชาต"[38]

การวิเคราะห์อภิมานและการปริทัศน์เป็นระบบโดยเบลลาเดลลีและคณะ (2566) ของผู้ชายจำนวน 55,761 คนจาก 75 การศึกษา ระหว่างปี 2485 ถึง 2564 ซึ่งอิงจากการประมาณค่าความยาวเฉลี่ยที่รวมกันระบุว่า "รายงานปัจจุบันได้ระบุความแตกต่างที่มีนัยสำคัญในขนาดองคชาตตามภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ต่าง ๆ"[3] ความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะอ่อนตัวอยู่ที่ 8.09 เซนติเมตร (3.19 นิ้ว) ในแอฟริกา 7.23 เซนติเมตร (2.85 นิ้ว) ในเอเชีย 9.44 เซนติเมตร (3.72 นิ้ว) ในยุโรป 9.82 เซนติเมตร (3.87 นิ้ว) ในอเมริกาเหนือ และ 11.00 เซนติเมตร (4.33 นิ้ว) ในอเมริกาใต้[39] ความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะอ่อนตัวที่ยืดอยู่ที่ 12.53 เซนติเมตร (4.93 นิ้ว) ในแอฟริกา 11.60 เซนติเมตร (4.57 นิ้ว) ในเอเชีย 13.40 เซนติเมตร (5.28 นิ้ว) ในยุโรป 13.75 เซนติเมตร (5.41 นิ้ว) ในอเมริกาเหนือ 15.60 เซนติเมตร (6.14 นิ้ว) ในอเมริกาใต้ และ 12.13 เซนติเมตร (4.78 นิ้ว) ในหลายภูมิภาค[39] ความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 14.88 เซนติเมตร (5.86 นิ้ว) ในแอฟริกา 11.74 เซนติเมตร (4.62 นิ้ว) ในเอเชีย 14.12 เซนติเมตร (5.56 นิ้ว) ในยุโรป 14.58 เซนติเมตร (5.74 นิ้ว) ในอเมริกาเหนือ 15.71 เซนติเมตร (6.19 นิ้ว) ในโอเชียเนีย 14.50 เซนติเมตร (5.71 นิ้ว) ในอเมริกาใต้ และ 15.33 เซนติเมตร (6.04 นิ้ว) ในหลายภูมิภาค[39] เบลลาเดลลีและคณะ (2023) ยังระบุว่า "เมื่อปรับการวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับเทคนิคในการทำให้องคชาตแข็งตัว ค่าประมาณยังคงใกล้เคียงเดิม"[3]

ความพึงใจด้านขนาดโดยคู่นอน

ใน พ.ศ. 2537 เรื่องปิดปกของนิตยสารไซโคโลจีทูเดย์[40][41] โดยมีการสำรวจผู้อ่านประมาณ 1,500 คน (ประมาณสองในสามเป็นผู้หญิง) เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของผู้ชาย โดยผู้หญิงหลายคนไม่ได้มีความกังวลเรื่องขนาดองคชาตเป็นพิเศษ และมากกว่าร้อยละ 71 คิดว่าผู้ชายให้ความสำคัญกับขนาดและรูปร่างขององคชาตมากเกินไป โดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงซึ่งตอบแบบสำรวจมีความสนใจเรื่องความกว้างขององคชาตมากกว่าที่ผู้ชายคิด และสนใจในเรื่องความยาวน้อยกว่าที่ผู้ชายคิดเช่นกัน

การศึกษาเล็ก ๆ โดยมหาวิทยาลัยเท็กซัส–แพนอเมริกันและตีพิมพ์ในวารสารบีเอ็มซีวูเมินส์เฮลท์เมื่อ พ.ศ. 2544 ซึ่งให้นักกีฬาชายที่เป็นที่นิยมทำการสำรวจนักศึกษาหญิงระดับปริญญาตรีจำนวน 50 คนเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องความพึงใจทางเพศของพวกเธอภายในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย และได้ข้อสรุปว่าความกว้างขององคชาตให้ความรู้สึกที่ดีกว่าความยาว โดยเมื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เลือกระหว่างสองลักษณะดังกล่าว (โดยไม่ได้ระบุขนาด) นอกจากนี้ยังสรุปได้ว่า สิ่งเหล่านี้อาจแสดงให้เห็นว่าขนาดโดยรวมขององคชาตนั้นส่งผลต่อความพึงใจทางเพศ เนื่องจากผู้หญิงทำการเลือกตัวเลือกหนึ่งในสองที่ได้รับ[42]

การศึกษาที่ดำเนินการโดยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโกรนิงเงินซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2545 ได้ทำการสอบถามผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์จำนวน 375 คน (ซึ่งเพิ่งคลอดบุตร) เกี่ยวกับขนาดขององคชาต ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 21 ของผู้หญิงรู้สึกว่าความยาวมีความสำคัญ และร้อยละ 32 รู้สึกความเส้นรอบวงมีความสำคัญ[43]

การศึกษาโดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียซึ่งตีพิมพ์เมื่อต้น พ.ศ. 2556 ระบุว่าขนาดองคชาตมีอิทธิพลต่อเสน่ห์ที่ดึงดูดเพศตรงข้ามของผู้ชาย ยิ่งผู้ชายสูงเท่าไร ผลกระทบก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น[44] การศึกษาใช้การแสดงภาพสามมิติเท่าขนาดจริงซึ่งสร้างโดยคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเปลี่ยนแปลงในความสูงและลักษณะทางกายภาพอื่น ๆ ได้ พบว่าผู้หญิงมักจะบันทึกสิ่งที่พึงใจภายใน 3 วินาที ซึ่งการพึงใจนั้นเน้นไปที่องคชาตขนาดใหญ่ของผู้ชายที่ตัวสูง

การศึกษาจากสหรัฐซึ่งตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2558 ศึกษาลักษณะพึงใจของผู้หญิงจำนวน 75 คน โดยใช้หุ่นจำลองพิมพ์ 3 มิติเป็นสิ่งอ้างอิง พบว่าความยาวขององคชาตที่เป็นที่ต้องการคือ 16 ซม. (6.3 นิ้ว) และเส้นรอบวงที่ต้องการคือ 12.2 ซม. สำหรับคู่นอนระยะยาว ส่วนคู่นอนแบบครั้งเดียวนั้นมีความต้องการที่ใหญ่กว่าเล็กน้อยคือมีความยาว 16.3 ซม. (6.4 นิ้ว) และเส้นรอบวง 12.7 ซม.[45]

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษา เมื่อมีการขอให้ประเมินความยาวองคชาตของคู่นอนของตน ผู้หญิงส่วนมากมักระบุขนาดของคู่นอนที่เล็กกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวความคิดเรื่องขนาดนั้นไม่ได้แม่นยำทั้งหมด[45] เจตคิตทางสายตาไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับความรู้สึกที่เกิดขึ้นในโยนีและช่องคลอด องคชาตที่ยาวมากอาจทำให้เกิดการปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ หากฝ่ายชายไม่เข้าใจการใข้งานองคชาตของตนอย่างระมัดระวัง

การใช้ถุงยางอนามัย

การศึกษาหนึ่งในประเทศออสเตรเลีย ทำการศึกษาผู้ชาย 184 คน โดยพิจารณาความยาวและเส้นรอบวงที่สัมพันธ์กับการฉีกขาดหรือการหลุดออกของถุงยางอนามัย โดยใช้ถุงยางอนามัยจำนวน 3,658 ชิ้น ผลการศึกษาพบว่าเมื่อใช้อย่างถูกต้อง ถุงยางอนามัยจะมีอัตราฉีกขาดอยู่ที่ร้อยละ 1.34 และอัตราการหลุดอยู่ที่ร้อยละ 2.05 รวมอัตราความล้มเหลวของการใช้อยู่ที่ร้อยละ 3.39 ขนาดขององคชาตไม่ส่งผลต่อการหลุดของถุงยางอนามัย แม้ว่าเส้นรอบวงขององคชาตและถุงยางอนามัยที่ฉีกขาดจะมีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน ซึ่งขนาดที่ใหญ่ขึ้นจะทำให้อัตราการฉีกขาดเพิ่มขึ้น[46]

ชีวเคมี

ฮอร์โมนเพศชาย เช่น เทสโทสเตอโรน รับผิดชอบการขยายใหญ่ขึ้นขององคชาตและการยืดในช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์[47] ขนาดองคชาตมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเพิ่มขึ้นของระดับเทสโทสเตอโรนในช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์[48] แต่หลังจากวัยเริ่มเจริญพันธุ์ การบริหารเทสโทสเตอโรนจะไม่ส่งผลต่อขนาดขององคชาต และการพร่องฮอร์โมนเพศชายในผู้ใหญ่จะส่งผลให้ขนาดลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[48] ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต (GH) และ Insulin-like growth factor 1 (IGF-1) ยังเกี่ยวข้องกับขนาดองคชาตด้วย โดยมีความบกพร่อง (เช่น ที่พบในความผิดปกติของฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต หรือ กลุ่มอาการลารอน) ในระยะการพัฒนาการที่สำคัญซึ่งมีศักยภาพที่จะส่งผลให้เกิดไมโครพีนิส[49]

ความแปรปรวน

ความแปรผันของขนาดองคชาต

โกรเวอร์ กับ โชเวอร์

ตัวอย่างขององคชาตลักษณะโกรเวอร์

การศึกษาใน พ.ศ. 2561 ได้แยกความแตกต่างขององคชาตออกเป็นสองประเภท โดยพิจารณาจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงจากภาวะอ่อนตัวไปเป็นภาวะแข็งตัว[50] ได้แก่ โกรเวอร์ (grower) และโชเวอร์ (shower) ซึ่งโกรเวอร์จะมีขนาดองคชาตที่เปลี่ยนแปลงไปจากภาวะอ่อนตัวไปเป็นภาวะแข็งตัวมากกว่า 4 ซม. เทียบกับโชเวอร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงความยาวน้อยกว่า 4 ซม.[51]

พันธุกรรม

ยีนบางตัว เช่น พวกยีนโฮเมโอบอกซ์ (Hox a และ d) อาจมีบทบาทในการควบคุมขนาดขององคชาต ในมนุษย์ ยีนเออาร์ซึ่งอยู่บนโครโมโซมเอกซ์ที่ตำแหน่ง Xq11-12 อาจมีผลต่อขนาดองคชาต ยีนเอสอาร์วายที่อยู่บนโครโมโซมวายก็อาจมีบทบาทด้วยเช่นกัน ซึ่งความแปรปรวนในขนาดนี้มักเกิดจากการกลายพันธุ์ใหม่อีกครั้ง การพร่องของฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตต่อมใต้สมองหรือโกนาโดโทรฟินหรือความไม่ไวต่อฮอร์โมนเพศชายระดับเบาอาจส่งผลให้องคชาตมีขนาดเล็กในเพศชายได้ และสามารถแก้ไขได้ด้วยการรักษาด้วยฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตหรือเทสโทสเตอโรนในช่วงวัยเด็ก

ภาวะ

องคชาตผู้ใหญ่ที่มีความยาวขณะแข็งตัวน้อยกว่า 7 ซม. หรือ 2.76 นิ้ว แต่มีรูปลักษณ์ปรกติจะถูกเรียกในทางการแพทย์ว่ามีภาวะไมโครพีนิส[52] ภาวะนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ชายร้อยละ 0.6[8] สาเหตุบางประการที่สามารถระบุได้แล้ว ได้แก่ การพร่องฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตต่อมใต้สมองหรือโกนาโดโทรฟิน ความไม่ไวต่อฮอร์โมนเพศชายระดับเบา ความหลากหลายของกลุ่มอาการทางพันธุกรรมและการแปรผันในยีนโฮเมโอบอกซ์บางตัว โดยไมโครพีนิสบางชนิดสามารถรักษาได้ด้วยการรักษาด้วยฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตหรือเทสโทสเตอโรนในวัยเด็กตอนต้น นอกจากนี้ยังมีการผ่าตัดเพื่อเพิ่มขนาดองคชาตในกรณีไมโครพีนิสในวัยผู้ใหญ่ด้วย[53]

อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม

มีการเสนอว่าความแตกต่างของขนาดองคชาตของแต่ละบุคคลนั้นไม่ได้เกิดจากพันธุศาสตร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น วัฒนธรรม อาหาร และการสัมผัสสารเคมีหรือมลภาวะด้วย[54][55][56][57] สารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อที่เกิดจากการสัมผัสกับสารเคมีมีความเชื่อมโยงกับความผิดปกติในอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศ (ท่ามกลางปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นอีกจำนวนมาก) โดยสารเคมีนั้นมีทั้งจากการสังเคราะห์ (เช่น ยาฆ่าแมลง ไทรโคลซานซึ่งเป็นสารต้านแบคทีเรีย และพลาสติไซเซอร์สำหรับพลาสติก) และธรรมชาติ (เช่น สารที่พบในน้ำมันต้นชาและน้ำมันลาเวนเดอร์) [58][59] ซึ่งแหล่งที่มาเหล่านี้นั้นเชื่อมโยงกับการรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อในระดับต่าง ๆ

ทั้งโพลีคลอริเนตเต็ด ไบฟีนิล (PCBs) และพลาสติไซเซอร์บิส(2-เอทิลเฮกซิล) พทาเลต (DEHP) ต่างมีความสัมพันธ์กับขนาดองคชาตที่เล็ก[60] เมทาบอไลท์ของ DEHP ที่ตรวจได้จากปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์นั้นมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความกว้างที่ลดลงขององคชาต ระยะทางระหว่างอวัยวะเพศและทวารหนักสั้นลง และการตกลงไปในถุงที่ไม่สมบูรณ์ของอัณฑะของบุตรชายแรกเกิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการจำลองผลที่เกิดในสัตว์[61] จากการศึกษาใน พ.ศ. 2551 ซึ่งตีพิมพ์โดยหอสมุดการแพทย์แห่งชาติสหรัฐ พบว่าประมาณร้อยละ 25 ของผู้หญิงในสหรัฐนั้นมีระดับของพทาเลตที่ใกล้เคียงกับที่พบในสัตว์[61]

การศึกษาใน พ.ศ. 2550 โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอังการา พบว่าขนาดองคชาตอาจลดลงเป็นผลจากการรักษาด้วยฮอร์โมนร่วมกับการรักษาด้วยรังสีที่ใช้การฉายลำแสงภายนอก[62] นอกจากนี้ ยารักษาภาวะเจริญพันธุ์ที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนบางประเภท เช่น ไดเอทิลสติลเบสทรอล (DES) นั้นมีความเชื่อมโยงกับความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์หรือการมีขนาดองคชาตเล็กกว่าปกติ[63]

การศึกษาในเกาหลีเมื่อ พ.ศ. 2559 พบว่า เด็กผู้ชายแรกเกิดที่ได้รับการการขริบหนังหุ้มปลายนั้นมีความสัมพันธ์กับความยาวขององคชาตที่สั้นลง[18]

แนวความคิดในทางประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์

แนวความคิดเรื่องขนาดองคชาตมีความเฉพาะในแต่ละวัฒนธรรม[64] ประติมากรรมและศิลปะสกัดหินยุคก่อนประวัติศาสตร์บางชิ้นแสดงให้เห็นร่างของผู้ชายที่มีองคชาตแข็งตัวที่เกินจริง[65] วัฒนธรรมและศิลปะของชาวอียิปต์โบราณโดยทั่วไปจะป้องกันไม่ให้มีการแสดงองคชาตขนาดใหญ่ในงานศิลปะ เนื่องจากถือว่าเป็นสิ่งลามกอนาจาร[66] แต่ก็มีปรากฏภาพของชายหัวล้านในพาไพรัสกามวิสัยตูริน ซึ่งแสดงองคชาตที่มีขนาดใหญ่เกินจริง[66][67] เทพอียิปต์ เช่น เทพเกบนั้นมีการแสดงองคชาตขนาดใหญ่บางครั้ง ขณะที่เทพมินมีการแสดงองคชาตที่แข็งตัวตลอดเวลา[65]

สมัยโบราณ

รูปปั้นคูโรสสมัยกรีกโบราณจากเมืองอานาวีสโซส อายุประมาณ 530 ปีก่อนคริสตกาล แสดงภาพชายหนุ่มรุ่นเยาว์ที่มีองคชาตอ่อนตัว
ภาพปูนเปียกสมัยโรมันโบราณจากบ้านเวตตีในเมืองปอมเปอี มีอายุประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 1 แสดงเทพพรายเอปุสกำลังชั่งน้ำหนักองคชาตขนาดใหญ่ที่แข็งตัวตลอดเวลากับถุงทองคำ[68][65]
เดวิด,(1504) โดยมีเกลันเจโล

กรีซโบราณเชื่อว่าองคชาตขนาดเล็กนั้นเป็นอุดมคติ[64] นักวิชาการเชื่อว่าชาวกรีกโบราณส่วนใหญ่อาจมีขนาดองคชาตใกล้เคียงกับชาวยุโรปส่วนใหญ่[64] แต่ภาพแสดงทางศิลปะกรีกของหนุ่มวัยเยาว์ที่ถือว่าหล่อเหลานั้นจะมีองคชาตขนาดเล็กเกินไป ไม่ขริบ และมีหนังหุ้มปลายที่ยาวผิดสัดผิดส่วน[64] ซึ่งสิ่งนี้ถูกมองว่าเป็นสิ่งในอุดมคติ[64] สำหรับองคชาตขนาดใหญ่ในศิลปะกรีกโบราณนั้นสงวนไว้ให้กับบุคคลพิลึกเท่านั้น[64][65] เช่น เซเทอร์ เป็นวิญญาณซึ่งอาศัยในป่ามีลักษณะคล้ายม้าที่น่ากลัว ซึ่งถูกแสดงในศิลปะกรีกด้วยองคชาตขนาดใหญ่มหิมาอย่างไร้เหตุผล[64] นักแสดงที่แสดงเป็นตัวละครชายในสุขนาฏกรรมกรีกโบราณจะสวมองคชาตปลอมสีแดงขนาดมหึมาใต้อาภรณ์ของของพวกเขา[69] โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเสียงหัวเราะและต้องการให้ผู้ชมหัวเราะเยาะ[69]

สุขนาฏกรรมของอริสโตฟานเนส เรื่อง เนเฟเล (เมฆา) เขาประพันธ์ให้ตัวละครเฟดิปปิเดสพรรณาถึงชายหนุ่มวัยเยาว์ในอุดมคติซึ่งมีลักษณะ คือ อกเปล่งประกายและผิวพรรณเปล่งปลั่ง ไหล่กว้าง ลิ้นเล็ก ก้นใหญ่ และอวัยวะตรงง่ามขาเล็ก[70] ในประมวลเรื่องปรัมปรากรีก พรายเอปุส เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์มีองคชาตขนาดใหญ่และแข็งตัวอย่างถาวร[71][65] ทำให้พรายเอปุสนั้นถูกมองว่าน่าเกลียดและไม่น่าดึงดูด[71] ในสกอลีออนของอพอลโลนิอุสแห่งโรดส์ เรื่อง อาร์โกนาฟติกา ระบุว่า เมื่อแอโฟรไดทีมารดาของพรายเอปุส ซึ่งเป็นเทพีแห่งความรักและความงามได้ให้กำเนิดเขาออกมา เธอตกใจมากกับขนาดองคชาต พุงอ้วนขนาดใหญ่ และลิ้นขนาดยักษ์ของบุตรชาย เธอจึงตัดสินใจทิ้งเขาไว้ให้ตายในป่าทุรกันดาร[71] ต่อมาคนเลี้ยงแพะได้มาพบและชุบเลี้ยงเป็นบุตรชายของตนเอง[71] ซึ่งในภายหลังเขาได้พบว่าองคชาตขนาดใหญ่ของพรายเอปุสสามารถช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของพืชได้[71]

ถึงอย่างไรก็ตาม มีข้อบ่งชี้ว่าชาวกรีกนั้นก็เปิดใจกับองคชาตขนาดใหญ่เช่นกัน[65] โดยพบรูปปั้นของเทพเฮอร์มีสซึ่งมีองคชาตขนาดใหญ่เกินจริงตั้งอยู่นอกประตูเมืองหลักของกรุงเอเธนส์[65] และในอะเล็กซานเดรียช่วง 275 ปีก่อนคริสตกาลก็มีการจัดขบวนแห่เชิดชูเกียรติให้แก่ไดอะไนซัส โดยลากลึงค์ขนาด 180 ฟุตไปทั่วทั้งเมืองโดยมีชาวเมืองสักการะด้วยการร้องเพลงสวดและท่องบทกวี[65] ในทางตรงกันข้าม ชาวโรมันดูชื่นชมกับองคชาตขนาดใหญ่[65][68] โดยมีการพบกู้รูปปั้นลึงค์ขนาดใหญ่ได้เป็นจำนวนมากจากซากเมืองปอมเปอี[65] การพรรณนาภาพของพรายเอปุสได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในศิลปะและวรรณกรรมกามวิสัยของโรมัน[65][68] ซึ่งมีการพบบทกวีลามกที่ถวายแด่พรายเอปุสถึงแปดสิบบทที่ยังคงเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน[65]

ในคัมภีร์ไบเบิลมีการกล่าวถึงองคชาตเช่นกัน ความว่า[65]

18 เมื่อนางทำตัวแพศยาต่อไปอย่างโจ่งแจ้ง และเปิดเผยความเปลือยเปล่าของนาง เราก็เบือนหน้าหนีจากนางด้วยความรังเกียจเดียดฉันท์ เหมือนที่เราได้หันหน้าหนีจากพี่สาวของนาง 19 ถึงกระนั้นนางยิ่งสำส่อนเหลวแหลกมากขึ้น เมื่อระลึกถึงวัยสาวขณะเป็นโสเภณีอยู่ในอียิปต์ 20 ที่นั่นนางกระสันหาชู้รักทั้งหลายของนางผู้ซึ่งอวัยวะเพศเหมือนของลาและอสุจิเหมือนของม้า เอเสเคียล 23:18-20 TNCV

ตำนานจีนโบราณระบุว่าชายที่ชื่อเล่า ไอ่ เป็นชายที่มีองคชาตใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เขาลอบมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับพระพันปีจ้าว (ประมาณ 280–228 ปีก่อนคริสตกาล) พระราชมารดาของจิ๋นซีฮ่องเต้โดยแกล้มปลอมตนเป็นขันที[65] เกาหลีโบราณมีความชื่นชมกับองคชาตขนาดใหญ่ และว่ากันว่าพระเจ้าจีจึงแห่งชิลลาทรงมีพระคุยหฐานยาวสี่สิบห้าเซนติเมตร ซึ่งใหญ่มากจนผู้สนองพระองค์ต้องทำการค้นหาสตรีที่สามารถเข้ากับพระองค์ได้[65] ด้านญี่ปุ่น ภาพวาดลามกดั้งเดิมมักแสดงอวัยวะสืบพันธ์ที่มีขนาดใหญ่เกินจริง[65] ภาพวาดประเภทนี้ที่เก่าแก่ที่สุดพบที่วัดโฮรีวจิในเมืองอีคารูกะ จังหวัดนาระ มีอายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 ซึ่งแสดงองคชาตที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่[65]

กามสูตร ตำราเรื่องเพศของอินเดียโบราณ ต้นฉบับเขียนด้วยภาษาสันสกฤต ซึ่งอาจมีอายุอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 2 ถึง 4 ก่อนคริสต์ศักราช มีการแบ่งบุรุษออกเป็นสามประเภทตามขนาดองคชาต ได้แก่ ขนาด "กระต่ายป่า" (ประมาณ 5–7 ซม. หรือ 2–3 นิ้ว เมื่อแข็งตัว) ขนาด "วัวกระทิง" (ประมาณ 10–15 ซม. หรือ 4–6 นิ้ว) และขนาด "ม้า" (18–20 ซม. หรือ 7–8 นิ้ว)[65] ตำราดังกล่าวยังแบ่งช่องคลอดของสตรีออกเป็นสามขนาดด้วยเช่นกัน ("กวาง", "ม้าตัวเมีย" และ "ช้าง")[65] และมีการแนะนำให้บุรุษจับคู่ขนาดช่องคลอดของสตรีที่เขามีเพศสัมพันธ์ด้วยกับขนาดองคชาตของเขาเอง[65] นอกจากนี้ยังมีการให้คำแนะนำที่มีความคลุมเครือด้านการแพทย์ เกี่ยวกับการขยายขนาดองคชาตโดยใช้เหล็กในต่อด้วย[65]

หลังยุคคลาสสิก

รูปคนเหมือนของโลโดวิโค คาโปนี (วาดขึ้นประมาณ ค.ศ. 1550–1555) โดยแอกโนโล ดี โคสิโมแสดงค็อดพีซอยู่ใต้เสื้อแจ็คเก็ตของเด็กหนุ่ม[65] ค็อดพีซขนาดยิ่งใหญ่ยิ่งเป็นที่นิยมในแฟชั่นเท่านั้น[65]

ในวรรณกรรมอาหรับยุคกลาง องคชาตยิ่งยาวยิ่งเป็นที่ต้องการ ดังปรากฏในนิทานเรื่อง อาหรับราตรี ว่า "อาลีและน้องชายขนาดใหญ่" (Ali with the Large Member) อัลญาฮิบนักเขียนชาวแอฟริกาอาหรับในช่วงศตวรรษที่ 9 ได้เขียนเสียดสีจินตนาการนี้ไว้ว่า "หากความยาวขององคชาตเป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศ เช่นนั้นล่อก็คงจะมาจากเผ่ากุเรช" (เผ่าซึ่งมุฮัมมัดสืบเชื้อสายลงมา)[72][65]

ชาวนอร์สยุคกลางถือว่าขนาดองคชาตของผู้ชายเป็นตัววัดความเป็นลูกผู้ชายของผู้นั้น[73] วัตถุมงคลเกี่ยวเนื่องกับเวทมนตร์ของชาวนอร์สในศตวรรษที่สิบสามจากบาร์เกิน ซึ่งเป็นอักษรรูนจารึกบนไม้สตาฟ[73] ช่วงปลายศตวรรษที่สิบสี่มีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระชนม์ชีพของพระเจ้าโอลาฟที่ 2 แห่งนอร์เวย์ในเอกสารตัวเขียนแฟลเตยาค์โบก โดยระบุถึงพิธีกรรมนอกรีตซึ่งยึดเอาองคชาตม้าที่ดองไว้เป็นศูนย์กลางและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของลัทธิ[73] ซึ่งสมาชิกของลัทธิจะเวียนรอบเป็นวงกลม[73] แต่กลอนบูชาสรรเสริญ[73] และส่งเสริมให้สมาชิกอื่นในลัทธิประพฤติตนตามนัยทางเพศ[73]

ในช่วงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ผู้ชายชาวยุโรปบางคนจะสวมค็อดพีซ (codpiece) ซึ่งขับเน้นอวัยวะสืบพันธ์ของผู้สวมใส่[65] โดยไม่มีหลักฐานโดยตรงที่แสดงว่าการสวมใส่นั้นเพื่อขับเน้นขนาดปรากฏขององคชาตของผู้สวมใส่[65] แต่ค็อดพีซยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าไรก็จะยิ่งถูกมองว่าเป็นแฟชั่นเท่านั้น[65]

แนวความคิดร่วมสมัย

ป้ายโฆษณาการเพิ่มขนาดองคชาตในประเทศแอฟริกาใต้

แนวความคิดของผู้ชายเอง

ผู้ชายอาจประเมินขนาดองคชาตของตนต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับผู้อื่น การสำรวจโดยนักเพศวิทยาแสดงให้เห็นว่า มีผู้ชายจำนวนมากที่เชื่อว่าองคชาตขนาดเฉลี่ยของตนนั้นไม่เพียงพอ[74] การศึกษาอื่นยังพบว่าเพศศึกษาด้านการวัดขนาดองคชาตมาตรฐานจะเป็นประโยชน์และช่วยบรรเทาความกังวลเรื่องขนาดองคชาตที่เล็กของผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องปกติในทางการแพทย์[75] ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเกือบทั้งหมดมีความกังวลเกี่ยวกับขนาดองคชาตของตน เนื่องจากประเมินขนาดองคชาตเฉลี่ยไว้สูงเกินไป ซึ่งแนวคิดเรื่องการมีองคชาตขนาดใหญ่มักเชื่อมโยงกับความภูมิใจแห่งตนที่สูงขึ้น[76] ความกลัวการหดหายไปขององคชาตในนิทานพื้นบ้านทำให้เกิดอุปาทานหมู่ที่เรียกว่าโรคหำหดขึ้น แม้ว่าองคชาตอาจจะลดขนาดลงได้จากการสร้างเนื้อเยื่อแผลเป็นขึ้นจากภาวะทางการแพทย์ที่เรียกว่าโรคเพโรนีย์[77][78] นักการตลาดของผลิตภัณฑ์เสริมขนาดองคชาตจึงใช้ประโยชน์จากความกลัวในความไม่พอนี้ แต่ไม่มีความสอดคล้องกับความเห็นในแวดวงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเทคนิคการเสริมขนาดใดที่นอกเหนือจากการผ่าตัด ที่จะช่วยเพิ่มความหนาหรือความยาวขององคชาจขณะแข็งตัวที่อยู่ในช่วงขนาดที่ปกติอยู่แล้ว

การหดและการใหญ่ขึ้น

ความกังวลส่วนบุคคลที่แพร่หลายเกี่ยวกับขนาดองคชาตได้นำไปสู่การสร้างคติชาวบ้านและสะท้อนออกมาในวัฒนธรรมประชานิยมจำนวนมากเกี่ยวกับขนาดองคชาต โรคหำหดเป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะอุปาทานหมู่ที่เกี่ยวของกับการหายไปหรือการหดหายไปขององคชาต เรียกว่า กลุ่มอาการอวัยวะสืบพันธุ์หด อย่างไรก็ตาม องคชาตสามารถหดลงได้อย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากการสร้างเนื้อเยื่อแผลเป็นจากภาวะของโรคเพโรนีย์ ซึ่งส่งผลกระทบกับผู้ชายมากถึงร้อยละ 10[79] ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระบอกสุญญากาศ (penis pumps) ยาเพิ่มขนาด และวิธีการเพิ่มขนาดองคชาตอื่น ๆ ที่คลุมเครือมีความแผร่หลายมากผ่านทางอีเมลสแปม ในปัจจุบัน ยังไม่มีความเห็นใดจากแวดวงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเทคนิคการเพิ่มขนาดใดที่นอกเหนือจากการผ่าตัด ที่จะเพิ่มความหนาหรือความยาวขององคชาตขณะแข็งตัวที่อยู่ในช่วงปกติ (4.5 ถึง 7 นิ้ว)[80]

ท่ามกลางชายรักเพศเดียวกัน

การศึกษาที่ดำเนินการในมหาวิทยาลัยยูเทรกต์ พบว่า เกย์ส่วนมากในการศึกษานี้ถือว่าองคชาตขนาดใหญ่นั้นเป็นสิ่งในอุดมคติ และการมีองคชาตขนาดใหญ่นั้นเชื่อมโยงกับความภูมิใจแห่งตนที่สูงขึ้น[81][82] การศึกษาหนึ่งที่ทำการวิเคราะห์ชุดข้อมูลรายงานคินซีย์ พบว่า โดยเฉลี่ยองคชาตของชายรักร่วมเพศนั้นใหญ่กว่าองคชาตของชายรักต่างเพศ (ยาว 6.32 นิ้ว [16.05 ซม.] ในเกย์เทียบกับยาว 5.99 นิ้ว [15.21 ซม.] ในชายรักต่างเพศ และเส้นรอบวง 4.95 นิ้ว [12.57 ซม.] ในเกย์เทียบกับเส้นรอบวง 4.80 นิ้ว [12.19 ซม.] ในชายรักต่างเพศ)[83][84]

วิวัฒนาการ

องคชาตของมนุษย์หนากว่าสัตว์ในอันดับวานรอื่นทั้งในแง่สัมบูรณ์และสัมพัทธ์กับส่วนอื่นของร่างกาย[85] การวิจัยเบื้องต้นที่ใช้การวัดอย่างไม่ถูกต้องสรุปว่า องคชาจของมนุษย์ก็พัฒนาให้ยาวขึ้นเช่นกัน ที่จริงแล้วองคชาตของชิมแปนซีก็ไม่ได้สั้นไปกว่าของมนุษย์ ซึ่งชิมแปนซีมีขนาดองคชาตยาวเฉลี่ย 14.4 ซม. (5.7 นิ้ว) และอันดับวานรอื่น ๆ บางตัวมีขนาดองคชาตสัมพันธ์กับน้ำหนักตัว[86]

เหตุผลด้านการวิวัฒนาการให้หนาขึ้นนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[87] คำอธิบายหนึ่งคือการที่องคชาตหนาขึ้นคือการปรับตัวที่สอดรับกับการเพิ่มขนาดขึ้นของช่องคลอง เชื่อกันว่าช่องของช่องคลอดในมนุษย์ขยายขนาดขึ้นเพื่อรองรับกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิดที่ใหญ่ขึ้น จากนั้นในผู้หญิงอาจมีการคัดเลือกทางเพศโดยเลือกผู้ชายที่มีองคชาตที่ใหญ่พอดีกับช่องคลอด เพื่อให้มีการการกระตุ้นทางเพศและนำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิได้[87]

สมมติฐานการวิวัฒนาการอื่นมีการอธิบายเรื่องความยาวและเส้นรอบวงขององคชาตที่ค่อนข้างใหญ่ของมนุษย์ รวมถึงสมมติฐานเรื่องการแข่งขันของตัวอสุจิและสมมติฐานการแข่งขันของคู่ผสม โดยสมมติฐานเรื่องการแข่งขันของตัวอสุจินั้นไม่ได้รับการสนับสนุนมากเท่ากับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นที่มีการแข่งขันของตัวอสุจิ ซึ่งจะมีวิวัฒนาการให้อัณฑะมีขนาดใหญ่ขึ้่นไม่ใช่ให้องคชาตใหญ่ขึ้น สมมติฐานการแข่งขันของคู่ผสมมีการคาดว่าองคชาตที่มีขนาดใหญ่กว่าจะสามารถแทนที่ตัวอสุจิของอีกฝ่ายได้ จากการศึกษาพบว่าองคชาตที่ใหญ่ขึ้นไม่สามารถแทนที่ตัวอสุจิของผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นเทียบกับองคชาตที่เล็กกว่า แต่องคชาตที่ยาวกว่านั้นจะสามารถหลั่งน้ำอสุจิภายในช่องคลอดในจุดที่องคชาตอื่นจะมากำจัดได้ยากขึ้น ความลึกของเชิงการก็มีความสัมพันธ์กับการแข่งขันของตัวอสุจิเช่นกัน[88]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Stang, Jamie; Story, Mary (2005). "Ch. 1. Adolescent Growth and Development" (PDF). ใน Stang J, Story M (บ.ก.). Guidelines for Adolescent Nutrition Services. University of Minnesota. p. 3. สืบค้นเมื่อ 26 November 2012.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 Veale, David; Miles, Sarah; Bramley, Sally; Muir, Gordon; Hodsoll, John (June 2015). "Am I normal? A systematic review and construction of nomograms for flaccid and erect penis length and circumference in up to 15 521 men: Nomograms for flaccid/erect penis length and circumference". BJU International. 115 (6): 978–986. doi:10.1111/bju.13010. PMID 25487360.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 Belladelli, Federico; และคณะ (Feb 15, 2023). "Worldwide Temporal Trends in Penile Length: A Systematic Review and Meta-Analysis". World Journal of Men's Health. 41 (4): 848–860. doi:10.5534/wjmh.220203. ISSN 2287-4208. OCLC 10168435334. PMC 10523114. PMID 36792094. S2CID 263309386. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |oclc= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Wessells, Hunter; Lue, Tom F; McAninch, Jack W (1996). "Penile Length in the Flaccid and Erect States: Guidelines for Penile Augmentation". The Journal of Urology. 156 (3): 995–7. doi:10.1016/S0022-5347(01)65682-9. PMID 8709382.
  5. 5.0 5.1 Chen, J; Gefen, A; Greenstein, A; Matzkin, H; Elad, D (2001). "Predicting penile size during erection". International Journal of Impotence Research. 12 (6): 328–33. doi:10.1038/sj.ijir.3900627. PMID 11416836.
  6. 6.0 6.1 "ANSELL RESEARCH – The Penis Size Survey". Ansell. March 2001. สืบค้นเมื่อ 2006-07-13.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Wylie, Kevan R; Eardley, Ian (2007). "Penile size and the 'small penis syndrome'". BJU International. 99 (6): 1449–55. doi:10.1111/j.1464-410X.2007.06806.x. PMID 17355371.
  8. 8.0 8.1 "Penis Size FAQ & Bibliography". Kinsey Institute. 2009. สืบค้นเมื่อ 2013-11-07.
  9. Dr. Andrew Siege (12 November 2018). "Is this normal? 10 common penile 'flaws' you may have". New Jersey Urology, 12 Nov 2018. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
  10. 10.0 10.1 Promodu, K; Shanmughadas, K V; Bhat, S; Nair, K R (2007). "Penile length and circumference: An Indian study". International Journal of Impotence Research. 19 (6): 558–563. doi:10.1038/sj.ijir.3901569. PMID 17568760.
  11. Chen, J; Gefen, A; Greenstein, A; Matzkin, H; Elad, D (December 2000). "Predicting penile size during erection". International Journal of Impotence Research (ภาษาอังกฤษ). 12 (6): 328–333. doi:10.1038/sj.ijir.3900627. ISSN 0955-9930. PMID 11416836. S2CID 17447888.
  12. "Is Your Penis Normal? There's a Chart for That - RealClearScience". realclearscience.com.
  13. Ponchietti, Roberto; Mondaini, Nicola; Bonaf&Egrave, Massimiliano; Di Loro, Filippo; Biscioni, Stefano; Masieri, Lorenzo (2001). "Penile Length and Circumference: A Study on 3,300 Young Italian Males". European Urology. 39 (2): 183–6. doi:10.1159/000052434. PMID 11223678. S2CID 46856727.
  14. 14.0 14.1 Aitken, Paul. "What's Average?". altpenis.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2012. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
  15. "Biased sample". Glossary. Center for Program Evaluation and Performance Management, Bureau of Justice Assistance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2015. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018 – โดยทาง BJA.gov. A sample that is not representative of the population to which generalizations are to be made. For example, a group of band students would not be representative of all students at the middle school, and thus would constitute a biased sample if the intent was to generalize to all middle school students.
  16. "A Study on the Penile Size of Korea men". Korean Journal of Urology. Chung, KM. 12 (4): 401–404. December 1971. สืบค้นเมื่อ 9 April 2019 – โดยทาง kmbase.medric.or.kr.
  17. Yoon, Jong Seon; Lee, Gil Ho; Chang, Dae Soo (16 June 2016). "The Relationship between Height and Body Weight and Penile Size in University Students". Korean Journal of Urology. 39 (11): 1061–1064.
  18. 18.0 18.1 18.2 Park, Jong Kwan; Doo, A. Ram; Kim, Joo Heung; Park, Hyung Sub; Do, Jung Mo; Choi, Hwang; Park, Seung Chol; Kim, Myung Ki; Jeong, Young Beom; Kim, Hyung Jim; Kim, Young Gon; Shin, Yu Seob (13 September 2016). "Prospective investigation of penile length with newborn male circumcision and second to fourth digit ratio". Canadian Urological Association Journal. 10 (9–10): E296–E299. doi:10.5489/cuaj.3590. PMC 5028213. PMID 27695583.
  19. 19.0 19.1 King, Bruce M. (2 January 2021). "Average-Size Erect Penis: Fiction, Fact, and the Need for Counseling". Journal of Sex & Marital Therapy. 47 (1): 80–89. doi:10.1080/0092623X.2020.1787279. PMID 32666897.
  20. Schonfeld, William A (1943). "Primary and Secondary Sexual Characteristics". American Journal of Diseases of Children. 65 (4): 535. doi:10.1001/archpedi.1943.02010160019003.
  21. "The secrets of the male hand". cnn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-03.
  22. Choi, In Ho; Kim, Khae Hawn; Jung, Han; Yoon, Sang Jin; Kim, Soo Woong; Kim, Tae Beom (September 2011). "Second to fourth digit ratio: a predictor of adult penile length". Asian J Androl. 3 (5): 710–714. doi:10.1038/aja.2011.75. PMC 3739592. PMID 21725330.
  23. Christensen, Jen (8 March 2016). "Trump: Do small hands equal small penis, or a myth?". CNN.
  24. II, Thomas H. Maugh (4 July 2011). "Judging penis size by comparing index, ring fingers". Los Angeles Times.
  25. Siminoski, Kerry; Bain, Jerald (1988). "The relationships among height, penile length, and foot size". Annals of Sex Research. 6 (3): 231–235. doi:10.1007/BF00849563. S2CID 198915780.
  26. Shah, J; Christopher, N (2002). "Can shoe size predict penile length?". BJU International. 90 (6): 586–587. doi:10.1046/j.1464-410X.2002.02974.x. PMID 12230622. S2CID 20887458.
  27. Cecil, Adams (26 August 2003). "The size of things to come". The Straight Dope. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2006-08-05.
  28. Ikegaya, Hiroshi; Suzuki, Motofumi; Kondou, Hiroki; Kawai, Taketo; Sato, Yusuke; Kitamura, Tadaichi; Kume, Haruki (4 February 2021). "Nose size indicates maximum penile length". Basic and Clinical Andrology. 31 (1): 3. doi:10.1186/s12610-021-00121-z. PMC 7860195. PMID 33535970. สืบค้นเมื่อ 28 June 2022.
  29. Goodman, Frances R (2002). "Limb malformations and the humanHOX genes". American Journal of Medical Genetics. 112 (3): 256–65. doi:10.1002/ajmg.10776. PMID 12357469.
  30. Mortlock, Douglas P; Innis, Jeffrey W (1997). "Mutation of HOXA13 in hand-foot-genital syndrome". Nature Genetics. 15 (2): 179–80. doi:10.1038/ng0297-179. PMID 9020844. S2CID 24522600.
  31. Mondaini, Nicola; Gontero, Paolo (2005). "Idiopathic short penis: Myth or reality?". BJU International. 95 (1): 8–9. doi:10.1111/j.1464-410X.2005.05238.x. PMID 15638885.
  32. Chrouser, Kristin; Bazant, Eva; Jin, Linda; Kileo, Baldwin; Plotkin, Marya; Adamu, Tigistu; Curran, Kelly; Koshuma, Sifuni (August 2013). "Penile Measurements in Tanzanian Males: Guiding Circumcision Device Design and Supply Forecasting". Journal of Urology. 190 (2): 544–550. CiteSeerX 10.1.1.963.3280. doi:10.1016/j.juro.2013.02.3200. PMID 23473900.
  33. Chen, X B; Dai, R X; Li, H N; Yang, J C (April 2014). "A comprehensive, prospective study of penile dimensions in Chinese men of multiple ethnicities". International Journal of Impotence Research. 26 (2): 172–176. doi:10.1038/ijir.2014.9. PMID 24784891. S2CID 6468136.
  34. "A Study on the Penile Size of Korea men". Korean Journal of Urology. Chung, KM. 12 (4): 401–404. December 1971. สืบค้นเมื่อ 9 April 2019 – โดยทาง kmbase.medric.or.kr.
  35. Yoon, Jong Seon; Lee, Gil Ho; Chang, Dae Soo (16 June 2016). "The Relationship between Height and Body Weight and Penile Size in University Students". Korean Journal of Urology. 39 (11): 1061–1064.
  36. Orakwe, J C; Ogbuagu, B O; Ebuh, G U (29 August 2007). "Can physique and gluteal size predict penile length in adult Nigerian men?". West African Journal of Medicine. 25 (3): 223–225. doi:10.4314/wajm.v25i3.28282. PMID 17191423.
  37. Herbenick, Debby; Reece, Michael; Schick, Vanessa; Sanders, Stephanie A. (January 2014). "Erect Penile Length and Circumference Dimensions of 1,661 Sexually Active Men in the United States". The Journal of Sexual Medicine. 11 (1): 93–101. doi:10.1111/jsm.12244. PMID 23841855. S2CID 9498368.
  38. Spitz, Aaron (2018). The Penis Book: A Doctor's Complete Guide to the Penis—From Size to Function and Everything in Between. Rodale Books. p. 43.
  39. 39.0 39.1 Belladelli, Federico; และคณะ (Feb 15, 2023). "Table 2: Worldwide Temporal Trends in Penile Length: A Systematic Review and Meta-Analysis". World Journal of Men's Health. 41 (4): 848–860. doi:10.5534/wjmh.220203. ISSN 2287-4208. OCLC 10168435334. PMC 10523114. PMID 36792094. S2CID 263309386. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |oclc= (help)
  40. Michael Pertschuk; Alice Trisdorfer. "Men's bodies—the survey". Psychology Today. สืบค้นเมื่อ 2007-07-17.
  41. Jill Neimark. "The beefcaking of America". Psychology Today Nov–Dec 1994. สืบค้นเมื่อ 2022-06-24.
  42. Eisenman, Russell (2001). "Penis size: Survey of female perceptions of sexual satisfaction". BMC Women's Health. 1 (1): 1. doi:10.1186/1472-6874-1-1. PMC 33342. PMID 11415468.
  43. Francken, A.B; Van De Wiel, H.B.M; Van Driel, M.F; Weijmar Schultz, W.C.M (2002). "What Importance Do Women Attribute to the Size of the Penis?" (PDF). European Urology. 42 (5): 426–31. doi:10.1016/S0302-2838(02)00396-2. hdl:11370/c999b218-0b41-4410-a30a-d8b20f5d4e54. PMID 12429149.
  44. Mautz, B. S; Wong, B. B. M; Peters, R. A; Jennions, M. D (2013). "Penis size interacts with body shape and height to influence male attractiveness". Proceedings of the National Academy of Sciences. 110 (17): 6925–30. Bibcode:2013PNAS..110.6925M. doi:10.1073/pnas.1219361110. PMC 3637716. PMID 23569234.
  45. 45.0 45.1 Prause, Nicole; Park, Jaymie; Leung, Shannon; Miller, Geoffrey (2015). "Women's Preferences for Penis Size: A New Research Method Using Selection among 3D Models". PLOS ONE. 10 (9): e0133079. Bibcode:2015PLoSO..1033079P. doi:10.1371/journal.pone.0133079. PMC 4558040. PMID 26332467.
  46. Smith, Anthony M A; Jolley, Damien; Hocking, Jane; Benton, Kim; Gerofi, John (2016). "Does penis size influence condom slippage and breakage?". International Journal of STD & AIDS. 9 (8): 444–7. doi:10.1258/0956462981922593. PMID 9702591. S2CID 29431895.
  47. Laura Rosenthal; Jacqueline Burchum (17 February 2017). Lehne's Pharmacotherapeutics for Advanced Practice Providers - E-Book. Elsevier Health Sciences. pp. 551–. ISBN 978-0-323-44779-9.
  48. 48.0 48.1 Eberhard Nieschlag; Hermann Behre (29 June 2013). Andrology: Male Reproductive Health and Dysfunction. Springer Science & Business Media. pp. 54–. ISBN 978-3-662-04491-9.
  49. Hartmut Porst; Jacques Buvat (15 April 2008). Standard Practice in Sexual Medicine. John Wiley & Sons. pp. 263–. ISBN 978-1-4051-7872-3.
  50. "What Does It Mean to Be a 'Grower' or a 'Shower'?". 12 September 2019.
  51. Yafi, Faysal A.; Alzweri, Laith; McCaslin, Ian R.; Libby, Russell P.; Sangkum, Premsant; Sikka, Suresh C.; Hellstrom, Wayne J. G. (November 2018). "Grower or shower? Predictors of change in penile length from the flaccid to erect state". International Journal of Impotence Research. 30 (6): 287–291. doi:10.1038/s41443-018-0053-3. PMID 30068977. S2CID 51892304.
  52. "Surgeons Pinch More Than An Inch From The Arm To Rebuild A Micropenis". 7 December 2004. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25. "Whereas the average size of the human penis is around 12.5 cm or 5 inches, a micropenis spans less than 7 cm or just over two inches."
  53. "Length-boosting surgery for 'micro-penises'". New Scientist. 6 December 2004. สืบค้นเมื่อ 2006-08-06.
  54. Swan, Shanna H; Main, Katharina M; Liu, Fan; Stewart, Sara L; Kruse, Robin L; Calafat, Antonia M; Mao, Catherine S; Redmon, J. Bruce; Ternand, Christine L; Sullivan, Shannon; Teague, J. Lynn (2005). "Decrease in Anogenital Distance among Male Infants with Prenatal Phthalate Exposure". Environmental Health Perspectives. 113 (8): 1056–1061. doi:10.1289/ehp.8100. PMC 1280349. PMID 16079079.
  55. "PCBs Diminish Penis Size". copa.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2012. สืบค้นเมื่อ 2007-04-09.
  56. Miner, John (29 April 2006). "Pesticides may affect penis size". London Free Press.
  57. "Hormone Hell". DISCOVER. สืบค้นเมื่อ 2008-04-05.
  58. "Lavender and Tea Tree Oils May Cause Breast Growth in Boys". NIH. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
  59. Henley, Derek V; Lipson, Natasha; Korach, Kenneth S; Bloch, Clifford A (2007). "Prepubertal Gynecomastia Linked to Lavender and Tea Tree Oils". New England Journal of Medicine. 356 (5): 479–85. doi:10.1056/NEJMoa064725. PMID 17267908.
  60. "Chemicals and Male Reproductive Health". Ces.iisc.ernet.in. สืบค้นเมื่อ 2010-08-14.
  61. 61.0 61.1 Swan, Shanna H (2008). "Environmental phthalate exposure in relation to reproductive outcomes and other health endpoints in humans". Environmental Research. 108 (2): 177–184. Bibcode:2008ER....108..177S. doi:10.1016/j.envres.2008.08.007. PMC 2775531. PMID 18949837.
  62. Haliloglu, Ahmet; Baltaci, Sumer; Yaman, Onder (2007). "Penile Length Changes in Men Treated with Androgen Suppression Plus Radiation Therapy for Local or Locally Advanced Prostate Cancer". The Journal of Urology. 177 (1): 128–30. doi:10.1016/j.juro.2006.08.113. PMID 17162022.
  63. Center of Disease Control. "DES Update: Consumers". สืบค้นเมื่อ 2013-11-07.
  64. 64.0 64.1 64.2 64.3 64.4 64.5 64.6 Dover, Kenneth James (1989) [1978]. Greek Homosexuality. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. pp. 126–128. ISBN 978-0-674-36270-3. size.
  65. 65.00 65.01 65.02 65.03 65.04 65.05 65.06 65.07 65.08 65.09 65.10 65.11 65.12 65.13 65.14 65.15 65.16 65.17 65.18 65.19 65.20 65.21 65.22 65.23 65.24 65.25 65.26 Kim, Won Whe (2016). "2: History and Cultural Perspective". ใน Park, Nam Cheol; Moon, Du Geon; Kim, Sae Woong (บ.ก.). Penile Augmentation. Berlin and Heidelberg, Germany: Springer-Verlag. pp. 11–26. ISBN 978-3-662-46753-4.
  66. 66.0 66.1 Robins, Gay (1993). Women in Ancient Egypt. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. pp. 189–190. ISBN 978-0-674-95469-4. Turin erotic papyrus.
  67. Schmidt, Robert A.; Voss, Barbara L. (2000). Archaeologies of Sexuality. Abingdon-on-Thames, England: Psychology Press. p. 254. ISBN 978-0-415-22366-9.
  68. 68.0 68.1 68.2 "Phallus in Wonderland". CBC Radio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-11-13.
  69. 69.0 69.1 Storie, Ian C.; Allen, Arlene (2005). A Guide to Ancient Greek Drama. Malden, Massachusetts, Oxford, England, and Victoria, Australia: Blackwell Publishing. p. 181. ISBN 978-1-4051-0215-5.
  70. Roche, Paul (2005). Aristophanes: The Complete Plays: A New Translation by Paul Roche. New York City, New York: New American Library. p. 178. ISBN 978-0-451-21409-6.
  71. 71.0 71.1 71.2 71.3 71.4 Kerényi, Karl (1951). The Gods of the Greeks. London, England: Thames and Hudson. pp. 175–176. ISBN 978-0-500-27048-6.
  72. Ulrich Marzolph (2004). The Arabian Nights: An Encyclopedia. Santa Barbara, Calif: ABC-CLIO. pp. 97–8. ISBN 978-1-57607-204-2.
  73. 73.0 73.1 73.2 73.3 73.4 73.5 Mitchell, Steven A. (2011). Witchcraft and Magic in the Nordic Middle Ages. Philadelphia, Pennsylvania: University of Pennsylvania Press. pp. 55–57. ISBN 978-0-8122-4290-4.
  74. "Men Worry More About Penile Size Than Women, Says 60-Year-Old Research Review". ScienceDaily. 31 May 2007.
  75. Treatment of men complaining of short penis. National Library of Medicine. (June 2005). Retrieved on 2021-02-11.
  76. Lever, Janet; Frederick, David A; Peplau, Letitia Anne (2006). "Does Size Matter? Men's and Women's Views on Penis Size Across the Lifespan". Psychology of Men & Masculinity. 7 (3): 129–143. doi:10.1037/1524-9220.7.3.129.
  77. Rigaud, Gilbert; Berger, Richard E (1995). "Corrective Procedures for Penile Shortening Due to Peyronie's Disease". The Journal of Urology. 153 (2): 368–70. doi:10.1097/00005392-199502000-00021. PMID 7815586.
  78. Peyronie's disease. Mayo Clinic
  79. Levine, Laurencea (2006). "Peyronie's disease and erectile dysfunction: Current understanding and future direction". Indian Journal of Urology. 22 (3): 246. doi:10.4103/0970-1591.27633.
  80. "Average Penis Size – Penis Enlargement Information". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2010. สืบค้นเมื่อ 3 September 2010.
  81. "Size does matter (to gays)". Mail & Guardian online. 20 February 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2009. สืบค้นเมื่อ 2022-04-23.
  82. Woertman, Liesbeth; De Wit, John; Hoogesteeger, Marcel (2005). "Tevredenheid met het eigen lichaam en zelfwaardering van homoseksuele mannen: Maakt een grote(re) penis een man gelukkig?" [Body satisfaction and self-esteem of gay men: Does a large penis make a man happy?]. Tijdschrift voor Seksuologie. 29 (4): 181–188. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-23.
  83. Bogaert, Anthony F; Hershberger, Scott (1999). "The relation between sexual orientation and penile size". Archives of Sexual Behavior. 28 (3): 213–21. doi:10.1023/A:1018780108597. PMID 10410197. S2CID 42801275.
  84. "Research says erect gay penises are bigger". Salon.com. 4 November 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2007. สืบค้นเมื่อ 2006-11-09.
  85. Small, Meredith F. (1995). What's Love Got to Do With It? The Evolution of Human Mating. Anchor Books. ISBN 978-0-385-47702-4.
  86. Dixson, A. F. (2009). Sexual selection and the origins of human mating systems. Oxford University Press. pp. 61–65. ISBN 9780191569739.
  87. 87.0 87.1 Bowman, Edwin A (2007). "Why the Human Penis is Larger than in the Great Apes". Archives of Sexual Behavior. 37 (3): 361. doi:10.1007/s10508-007-9297-6. PMID 18158617. S2CID 28199803.
  88. Cotner, Sehoya; Wassenberg, Deena (2020). The Evolution and Biology of Sex (ภาษาอังกฤษ).
Kembali kehalaman sebelumnya