Ѳ
Fita (Ѳ, ѳ) เป็นอักษรซีริลลิกยุคเก่าตัวหนึ่ง มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก ทีตา อักษรนี้ใช้เขียนชื่อเฉพาะที่ทับศัพท์มาจากภาษากรีกเป็นหลัก และตั้งแต่ภาษารัสเซียออกเสียงตัวอักษรนี้เป็น /f/ แทนที่จะเป็น /θ/ เหมือนภาษากรีก เช่น คำว่า Theodore ก็อ่านเป็น Fyodor จึงมีการใช้ Ef (Ф, ф) แทนอักษร Fita ใน พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) และสำหรับกลุ่มภาษาสลาวิกอื่นๆ ซึ่งออกเสียงอักษรนี้เป็น /t/ ก็เปลี่ยนไปใช้ Te (Т, т) ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างภาษาบัลแกเรียจะอ่านคำว่า Theodore เป็น Teodor หรือ Todor เป็นต้น อักษรนี้จึงไม่มีที่ใช้ไปโดยปริยาย อักษร Fita มีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 9 และอย่าสับสนกับอักษร Oe (Ө, ө) ที่มีลักษณะคล้ายกัน (มีใช้ในภาษาคาซัค ภาษาตูวา และภาษามองโกเลีย) และบางครั้งขีดตรงกลางก็ถูกเขียนให้เป็นหยัก เป็นคลื่น หรือขีดให้เกินวงกลมออกมา ดังที่ปรากฏในฟอนต์บางตัว เพื่อให้เกิดความแตกต่างกับอักษรดังกล่าว ตำแหน่งอักขระ
อ้างอิง
|