ผู้พูดภาษาคาซัค บันทึกที่ต่างประเทศ
ผู้พูดภาษาคาซัค บันทึกในประเทศคาซัคสถาน
ภาษาคาซัค (คาซัค : қазақша หรือ қазақ тілі / qazaqşa หรือ qazaq tılı / قازاقشا หรือ قازاق ٴتىلى , ออกเสียง [qɑzɑqˈɕɑ] , [qɑˈzɑq tɪˈlɪ] ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ในเอเชียกลาง
ภาษาคาซัคเป็นหนึ่งในภาษาราชการของประเทศคาซัคสถาน และนอกจากนี้ยังมีคนพูดภาษานี้ในอัฟกานิสถาน จีน อิหร่าน คีร์กีซสถาน มองโกเลีย รัสเซีย ทาจิกิสถาน ตุรกี เติร์กเมนิสถาน ยูเครน และอุซเบกิสถาน ในเยอรมนี มีคนที่พูดภาษาคาซัคตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ทั่วโลกมีคนพูดภาษาคาซัคเป็นภาษาแม่ประมาณ 6.5 ล้านคน เขียนโดยใช้อักษรซีริลลิก อักษรละติน (ในตุรกี) และอักษรอาหรับ ที่มีการดัดแปลง (ในประเทศจีน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน)
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
ผู้พูดภาษาคาซัค (ส่วนใหญ่เป็นชาวคาซัค ) กระจายในแถบเทือกเขาเทียนชาน ไปจนถึงทะเลแคสเปียน ฝั่งตะวันตก เป็นภาษาราชการของประเทศคาซัคสถาน ซึ่งมีผู้พูดเกือบสิบล้านคน (ตามข้อมูลจาก CIA World Factbook [ 3] ในด้านประชากรและสัดส่วนผู้พูดภาษาคาซัค)[ 4]
ในประเทศจีน มีผู้พูดภาษาคาซัคในจีนเกือบ 2 ล้านคนในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติคาซัค อีหลี เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ [ 5]
ระบบการเขียน
การเขียนภาษาคาซัคเริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 โดยภาษาคาซัคยุคโบราณ เขียนด้วยอักษรออร์คอน มีอักษร 24 ตัว ภาษาคาซัคสมัยใหม่เขียนด้วยอักษรซีริลลิก อักษรละตินและอักษรอาหรับ ปัจจุบัน ภาษาคาซัคเขียนด้วยอักษรซีริลลิก โดยอักษรซีริลลิกที่ใช้ในภาษาคาซัคเป็นอักษรรัสเซีย ที่มีอักษรเพิ่มขึ้นมา 9 ตัว: Ә, Ғ, Қ, Ң, Ө, Ұ, Ү, Һ, İ ในขณะที่ผู้พูดภาษาคาซัคในจีนยังคงเขียนด้วยภาษาอาหรับแบบที่คล้ายกับอักษรอาหรับสำหรับภาษาอุยกูร์
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 นูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ ประธานาธิบดีของคาซัคสถานเสนอให้ใช้อักษรละตินเป็นอักษรราชการแทนอักษรซีริลลิกในคาซัคสถาน[ 6] [ 7] รัฐบาลคาซัคสถานได้ประกาศในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ว่าคาซัคสถานจะปรับมาใช้อักษรละตินภายใน 10-12 ปี โดยใช้งบประมาณราว 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [ 8]
เทียบอักษรด้วยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 1
อักษรซีริลลิก
อักษรอาหรับ
อักษรละติน ค.ศ. 2021
แปลไทย
Барлық адамдар тумысынан азат және қадір-қасиеті мен құқықтары тең болып дүниеге келеді.
بارلىق ادامدار تۋمىسىنان ازات جانە قادىر-قاسيەتى مەن قۇقىقتارى تەڭ بولىپ دۇنيەگە كەلەدى. -
Barlyq adamdar tumysynan azat jäne qadır-qasietı men qūqyqtary teñ bolyp düniege keledı.
มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเเกียรติศักดิ์และสิทธิ
Адамдарға ақыл-парасат, ар-ождан берілген,
ادامدارعا اقىل پاراسات، ار-ۇجدان بەرىلگەن ،
Adamdarğa aqyl-parasat, ar-ojdan berılgen,
ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม
сондықтан олар бір-бірімен туыстық, бауырмалдық қарым-қатынас жасаулары тиіс.
سوندىقتان ولار ٴبىر-بىرىمەن تۋىستىق، باۋىرمالدىق قارىم-قاتىناس جاساۋلارى ٴتيىس .
sondyqtan olar bır-bırımen tuystyq, bauyrmaldyq qarym-qatynas jasaulary tiıs.
และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ
สัทวิทยา
ภาษาคาซัคมีการเปลี่ยนเสียงสระระหว่างสระหน้าและสระหลัง โดยมีข้อยกเว้นสำหรับคำบางคำที่เป็นคำยืมจากภาษาอื่น มีระบบการเปลี่ยนเสียงของสระห่อริมฝีปากแบบภาษาคีร์กิซแต่มีการใช้น้อยกว่า
พยัญชนะ
นี่คือตารางแสดงหน่วยเสียงพยัญชนะของภาษาคาซัคมาตรฐาน
สระ
ภาษาคาซัคมีหน่วยเสียงสระ 12 เสียง ในจำนวนนี้เป็นสระประสม 3 เสียง
ไวยากรณ์
ประโยค
การเรียงคำในประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา มีการใช้ปัจจัยแบบรูปคำติดต่อ
การก
ภาษาคาซัคมี 7 การก
การผันคำนาม[ 10]
การก
หน่วย
รูปแบบที่เป็นไปได้
keme "เรือ"
aua "ลม"
şelek "ตะกร้า"
säbız "แคร์รอต"
bas "หัว"
tūz "เกลือ"
qan "เลือด"
kün "วัน"
Nom
—
—
keme
aua
şelek
säbız
bas
tūz
qan
kün
Acc
-ny
-nı, -ny, -dı, -dy, -tı, -ty
kemenı
auany
şelektı
säbızdı
basty
tūzdy
qandy
kündı
Gen
-nyñ
-nıñ, -nyñ, -dıñ, -dyñ, -tıñ, -tyñ
kemenıñ
auanyñ
şelektıñ
säbızdıñ
bastyñ
tūzdyñ
qannyñ
künnıñ
Dat
-ga
-ge, -ğa, -ke, -qa
kemege
auağa
şelekke
säbızge
basqa
tūzğa
qanğa
künge
Loc
-da
-de, -da, -te, -ta
kemede
auada
şelekte
säbızde
basta
tūzda
qanda
künde
Abl
-dan
-den, -dan, -ten, -tan, -nen, -nan
kemeden
auadan
şelekten
säbızden
bastan
tūzdan
qannan
künnen
Inst
-men
-men(en), -ben(en), -pen(en)
kememen
auamen
şelekpen
säbızben
baspen
tūzben
qanman
künmen
สรรพนาม
ภาษาคาซัคมีสรรพนามแทนบุคคล 8 คำ
สรรพนามแทนบุคคล[ 10]
เอกพจน์
พหุพจน์
บุรุษที่ 1
Men
Bız
บุุษที่ 2
ไม่ทางการ
Sen
Sender
ทางการ
Sız
Sızder
บุรุษที่ 3
Ol
Olar
กาล/จุดมุ่งหมาย/มาลา
ภาษาคาซัคมีรุปแบบผสมของกาล จุดมุ่งหมาย และมาลาผ่านการใช้รูปแบบของกริยาที่หลากหลาย หรือผ่านระบบกริยาช่วยหรืออาจเรียกว่ากริยาอ่อน
หน่วยเสียงที่ระบุบุคคล[ 10]
สรรพนาม
Copulas
Possessive endings
อดีต/เงื่อนไข
1st sg
men
-mın
-(ı)m
-(ı)m
2nd sg
sen
-sı
-(ı)ñ
-(ı)ñ
3rd sg
ol
-/-dır
-
—
1st pl
bız
-bız
-(ı)mız
-(ı)k/-(y)q
2nd sng formal & pl
sız
-sız
-(ı)ıñız
-(ı)ñız/-(y)ñyz
3rd pl
olar
-/-dır
—
—
อ้างอิง
↑ "Kazakh language resources | Joshua Project" .
↑ "Статья 4. Правовое положение языков | ГАРАНТ" .
↑ "Central Asia: Kazakhstan" . The 2017 World Factbook . Central Intelligence Agency . 26 October 2017. สืบค้นเมื่อ 31 October 2017 .
↑ Map showing the geographical diffusion of the Kazakh and other Turkish languages
↑ Simons, Gary F.; Fennig, Charles D., บ.ก. (2017). "Kazakh" . Ethnologue : Languages of the World (20th ed.). Dallas, Texas: SIL International . สืบค้นเมื่อ 28 October 2017 .
↑ "Kazakhstan switching to Latin alphabet" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-09-30 .
↑ Kazakh President Revives Idea of Switching to Latin Script
↑ "Kazakhstan: Moving Forward With Plan to Replace Cyrillic With Latin Alphabet" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 2011-05-17 .
↑ Vajda, Edward (1994), "Kazakh phonology", ใน Kaplan, E.; Whisenhunt, D. (บ.ก.), Essays presented in honor of Henry Schwarz , Washington: Western Washington, pp. 603–650
↑ 10.0 10.1 10.2 Mukhamedova, Raikhangul (2015). Kazakh: A Comprehensive Grammar . Routledge. ISBN 9781317573081 .
อ่านเพิ่ม
Kara, Dävid Somfai (2002), Kazak , Lincom Europa, ISBN 9783895864704
Mark Kirchner: "Kazakh and Karakalpak". In: The Turkic languages . Ed. by Lars Johanson and É. Á. Csató. London [u.a.] : Routledge, 1998. (Routledge language family descriptions). S.318-332.
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิท่องเที่ยว มีหนังสือรวมวลีสำหรับ
Kazakh