Share to:

 

การข่มขืนกระทำชำเรา

การข่มขืนกระทำชำเรา
การข่มขืนกระทำชำเราหญิงอภิชนลูเครเชีย
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10T74.2
ICD-9E960.1
MedlinePlus001955
eMedicinearticle/806120
MeSHD011902

การข่มขืนกระทำชำเรา (อังกฤษ: rape) เป็นการทำร้ายร่างกาย ซึ่งปกติเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์หรือการใช้กำลังในการบังคับแบบอื่นต่อบุคคล โดยปราศจากความยินยอมของบุคคลเหล่านั้น การกระทำดังกล่าวอาจใช้กำลังทางกาย การบีบบังคับ การละเมิดอำนาจต่อบุคคลที่ไม่สามารถให้ความยินยอมสมบูรณ์ได้ เช่น ผู้ที่หมดสติ ไร้ความสามารถหรืออายุต่ำกว่าอายุที่ยอมให้มีการร่วมประเวณีได้ตามกฎหมาย[1][2][3][4] คำว่า "ข่มขืนกระทำชำเรา" บางครั้งใช้แทนคำว่า "การทำร้ายร่างกายทางเพศ" ได้[5]

อุบัติการณ์การข่มขืนกระทำชำเราที่ตำรวจบันทึกทั่วโลกในปี 2553 แปรผันระหว่าง 0.2 ต่อ 100,000 คนในประเทศอาเซอร์ไบจาน ถึง 92.9 ต่อ 100,000 คนในประเทศบอตสวานา โดยมีค่า 6.3 ต่อ 100,000 คนในประเทศลิทัวเนียเป็นมัธยฐาน[6] ตามข้อมูลของสมาคมแพทย์อเมริกา (2538) ความรุนแรงทางเพศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการข่มขืนกระทำชำเรา ถูกพิจารณาว่าเป็นอาชญากรรมรุนแรงที่มีรายงานต่ำกว่าจริงมากที่สุด[7][8] อัตราการรายงาน ดำเนินคดีและการพิพากษาลงโทษสำหรับการข่มขืนกระทำชำเราต่างกันมากตามเขตอำนาจ สถิติกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา (2542) ประมาณว่า 91% ของเหยื่อการข่มขืนกระทำชำเราในสหรัฐอเมริกาเป็นหญิง และ 9% เป็นชาย[9] การข่มขืนกระทำชำเราโดยคนแปลกหน้าปกติพบน้อยกว่าการข่มขืนกระทำชำเราโดยบุคคลที่ผู้เสียหายรู้จัก[10][11][12][13][14] และการศึกษาหลายครั้งแย้งว่าการข่มขืนกระทำชำเราในเรือนจำระหว่างชายต่อชายและหญิงต่อหญิงค่อนข้างพบบ่อยและอาจเป็นการข่มขืนกระทำชำเราแบบที่รายงานน้อยที่สุด[15][16][17]

ผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราอาจได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงและอาจประสบความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ[18] นอกเหนือไปจากความเสียหายทางจิตวิทยาอันเกิดจากการกระทำดังกล่าวแล้ว การกระทำชำเรายังอาจก่อการบาดเจ็บทางกาย หรือมีผลอย่างอื่นต่อผู้เสียหาย เช่น ได้รับการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือตั้งครรภ์ ยิ่งไปกว่านั้น หลังการข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหายยังอาจเผชิญความรุนแรงหรือการข่มขู่จากผู้ข่มขืน และในบางวัฒนธรรม จากครอบครัวและญาติของผู้เสียหายเอง[19][20][21]

บทนิยาม

ในการตัดสินคดีความ อาชญากรรมต่อการข่มขืนกระทำชำเราถูกให้นิยามเมื่อมีการร่วมประเวณีเกิดขึ้น (หรือพยายามทำให้เกิด) โดยไม่มีการยินยอมโดยสมควร เมื่อมีคนใดคนหนึ่ง (ไม่ยอม) มาเกี่ยวข้องด้วย และมักจะมีคำจำกัดความของการสอดใส่เข้าไปในช่องคลอดหรือทวารหนักโดยอวัยวะเพศชาย ในบางการตัดสิน การสอดใส่ไม่จำเป็นต้องใช้องคชาติ แต่สามารถเป็นอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย (เช่น นิ้วหนึ่งนิ้วหรือมากกว่านั้น หรือการสอดใส่ทางอื่นๆ เช่น ทางปาก ร่องอก หรือร่องก้น) หรือ โดยวัตถุ (เช่น ขวด) หรืออีกนิยามคือการผลักดันโดยใช้อวัยวะเพศหญิงหรือทวารหนักบนองคชาติของเพศชาย โดยผู้กระทำเป็นผู้หญิง

คำตัดสินอื่นขยายความว่า คำว่า ข่มขืนกระทำชำเรา หมายถึงกิจการใดๆที่กระทำโดยใช้อวัยวะเพศ ของคนหนึ่งคนหรือสองคน ในเวลานั้น ตัวอย่างเช่น การใช้ปากหรือใช้มือสำเร็จความใคร่ให้กับผู้อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ถูกกระทำ

  • ภายใต้การขู่บังคับประเภทต่างๆ (การใช้กำลัง, ความรุนแรง, การแบล็คเมล์ และอื่นๆ)
  • การวินิจฉัยอ่อนแอลง หรือไร้ความสามารถ โดยแอลกอฮอล์ หรือยาชนิดอื่นๆ ไม่ว่ายานั้นจะถูกหรือผิดกฎหมายก็ตาม
  • การตัดสินใจอ่อนแอลง อาจจะมาจากความป่วยไข้ หรือไม่มีพัฒนาการตามวัยสมควร
  • อายุต่ำกว่าเกณท์ที่จะให้การยินยอม ที่นับว่าถูกตามกฎหมายได้

การข่มขืนกระทำชำเราผู้มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่ยินยอมให้ร่วมประเวณีด้วยได้ (Statutory Rape) นับการมีการสัมพันธ์ทางเพศว่าเป็นการข่มขืนกระทำชำเรา โดยไม่จำเป็นว่า มีการใช้อำนาจบังคับหรือเป็นอีกฝ่ายพร้อมใจหรือไม่ กฎหมายแบบนี้ เป็นเรื่องปกติและมีขึ้นเพื่อป้องกันผู้ใหญ่ที่อยากจะมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก ที่ดูเหมือนว่าจะยังไม่สามารถให้การตัดสินใจที่มีรอบคอบ

ในบทลงโทษของกฎหมายบราซิล กล่าวถึงการข่มขืนกระทำชำเราว่า ต้องเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่เหมือนในยุโรปและอเมริกาส่วนมาก ผู้ชายข่มขืนกระทำชำเราผู้ชาย, การข่มขืนกระทำชำเราทางทวารหนัก และการข่มขืนกระทำชำเราทางปาก ไม่นับว่าเป็นอาชญากรรม ในกรณีนี้ จะนับว่าเป็น “ความพยายามอย่างรุนแรงต่อสู้ความอ่อนน้อมของคนๆหนึ่ง“ เท่านั้น บทลงโทษเองก็เช่นเดียวกัน

ในสก็อตแลนด์ การข่มขืนกระทำชำเราเป็นการระบุเพศลงไป หมายความว่ามันสามารถทำได้โดยผู้ชายต่อผู้หญิงเท่านั้น ปาก, ทวารหนัก จะไม่นับว่าเป็น “การข่มขืนกระทำชำเรา” รวมถึงการสอดใส่ทางอื่นๆ ด้วย คำจำกัดความถูกใช้โดยศาลสากลของรวันดาตามท้องที่ในปี 1998 ว่า “การบุกรุกทางร่างกายในความเป็นธรรมชาติในเรื่องเพศ กระทำโดยบุคคลภายใต้สถานการณ์ที่ใช้กำลังบังคับ” ในการตัดสินอย่างเจาะจงลงไป มันเป็นไปไม่ได้ที่จะตัดสินว่ามีความผิด ระหว่างคู่สามีภรรยา เพราะต่างก็อยู่บนพื้นฐานของ “ความยินยอมโดยนัย” หรือ (ในกรณีของอาณานิคมอังกฤษก่อนหน้านี้) เพราะข้อเรียกร้องของการเห็นชอบด้วยกฎหมาย ว่าการร่วมประเวณี ถือเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ซึ่งอยู่นอกขอบข่ายของการแต่งงาน) อย่างไรก็ตาม ในหลายๆการตัดสิน สามารถที่จะนำการฟ้องร้องดำเนินคดีได้ โดยระบุลงไปว่ามันคือการขู่บังคับ

ประเภท

มีประเภทของการข่มขืนกระทำชำเรา 6 – 7 อย่าง โดยมากจะถูกจำแนกออกโดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บุคลิกของเหยื่อ และบุคลิกของผู้ก่อเหตุ ประเภทที่แตกต่างของการข่มขืนกระทำชำเรารวมอยู่ด้วยกัน แต่ไม่ได้หมายความว่านั่นคือจบ เช่น การข่มขืนกระทำชำเราขณะออกเดท, การข่มขืนกระทำชำเราแบบกลุ่ม, การข่มขืนกระทำชำเราในสมรส, การข่มขืนกระทำชำเราในห้องคุมขัง, การข่มขืนกระทำชำเราโดยคนรู้จัก และการข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสงคราม

แม้ว่าคนพยายามจะทึกทักเอาเอง แต่การข่มขืนกระทำชำเราโดยคนแปลกหน้าเกิดขึ้นน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่นของการข่มขืนกระทำชำเรา อย่างไรก็ตามการข่มขืนกระทำชำเรารูปแบบนี้พบได้บ่อยในข่าวอาชญากรรม

การข่มขืนกระทำชำเราโดยผู้กระทำการ

ผู้กระทำการ ความถี่
คู่เดทสม่ำเสมอ 21.6 %
เพื่อนๆ 16.5 %
แฟนเก่า 12.2 %
คนคุ้นเคย 10.8 %
เพื่อนสนิท 10.1 %
คู่เดทบางครั้งบางคราว 10.1 %
สามี 7.2 %
คนแปลกหน้า 2 %

ผลการวิจัยทางการข่มขืนกระทำชำเราและการแจ้งความระบุว่า การข่มขืนกระทำชำเราส่วนใหญ่มีคำจำกัดความว่าฝ่ายชายกระทำต่อฝ่ายหญิงเท่านั้น งานวิจัยของชายกระทำต่อชายและผู้หญิงต่อผู้ชายกำลังดำเนินการ ใกล้จะเสร็จ อย่างไรก็ตาม ไม่มีการวิจัยใดเลยที่กล่าวว่ามีผู้หญิงข่มขืนกระทำชำเราผู้หญิง แม้ว่าผู้หญิงส่วนมากจะสามารถต้องข้อหาว่าข่มขืนกระทำชำเราได้ก็ตาม

คำว่า tournante เป็นคำคุณศัพท์ภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “เปลี่ยน” และใช้เป็นคำสแลงในความหมายของการโทรม สืบเนื่องมาจากประสบการณ์ของเหยื่อที่นับได้ ผู้หญิงต้องถูกขับออกจากวัฒนธรรมเดิม ไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน ประพฤติ แต่งกายอย่างชาวตะวันตก ต้องการที่จะอยู่อย่างคนยุโรป และปฏิเสธที่จะสวมใส่เสื้อผ้าประจำชาติของตนเอง นับว่าเป็น “ความยุติธรรม” แล้ว สำหรับการโทรม

สาเหตุและแรงจูงใจ

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้สิ่งเสพติด มักจะเกี่ยวข้องกับการข่มขืนกระทำชำเรา ใน 47% ของการข่มขืนกระทำชำเราทั้งเหยื่อและผู้กระทำผิดจะดื่มเหล้า มีเพียง 17% ที่ผู้กระทำผิดเท่านั้นดื่ม 7% ของเหยื่อทั้งหมดเท่านั้นที่ดื่ม การข่มขืนกระทำชำเราที่ไม่มีการดื่มเหล้าทั้งผู้กระทำและเหยื่อมีเพียง 29% ของทั้งหมด สาเหตุที่เป็นแรงจูงใจของผู้ข่มขืนกระทำชำเราจะมีแตกต่างกันไป

นักวิจัยส่วนใหญ่พบว่า มูลเหตุของการข่มขืนกระทำชำเราคือ ความปรารถนาที่ก้าวร้าวที่ต้องการจะอยู่เหนือฝ่ายตรงข้าม มากกว่าต้องการที่จะได้รับความสุขทางเพศ “เราสามารถคิดได้ว่าไม่มีคำอ้างอื่นใดที่ดีกว่านี้ในทางสังคมศาสตร์ ได้มีการยอมรับอย่างกว้างขวางในหลักฐานที่มีเหลืออยู่น้อยมากๆ” เขียนโดย Felson และผู้แต่งร่วม Tedaschi ผู้เริ่มมุมมองที่ขัดแย้งกันของการปะทะทางสังคม ที่กล่าวว่า ความปรารถนาทางเพศอาจเป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่งของเท่านั้น พวกเขาระบุว่า การข่มขืนกระทำชำเรานับเป็นการกระทำของความทารุณมากกว่าการเผชิญหน้ากันทางเพศ คันดิฟ (2004) แย้งว่านั่นคือความไม่ปรากฏของทางออกอื่นของความใคร่ของผู้ชาย ตัวอย่างเช่น การขายบริการทางเพศ อาจเป็นสิ่งหนึ่งที่ชักนำสู่การข่มขืนกระทำชำเรา

นักข่มขืนกระทำชำเราส่วนมากไม่มีการเลือกว่าจะข่มขืนกระทำชำเรา ต่อเมื่อมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ประมาณ 90% ของนักข่มขืนกระทำชำเราคนที่เข้าร่วมทดลองกับ Baxter et al ในปี 1986 กล่าวว่า จะถูกกระตุ้นโดยภาพที่ดีงามของการพึ่งพาอาศัยกันและมีความสุขในเรื่องเซ็กส์ มากกว่าการข่มขืนกระทำชำเราที่ต้องใช้ความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ไม่มีความแตกต่างกันมากนักระหว่างรูปแบบของการกระตุ้นอารมณ์ของนักข่มขืนกระทำชำเราและผู้ที่ไม่ใช่

ขัดแย้งกับความเชื่อของคนโดยทั่วไป การข่มขืนกระทำชำเราภายนอกบ้านน่าจะมากที่สุด แท้จริงแล้วเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้น มากกว่า 2 ใน 3 ของการข่มขืนกระทำชำเราทั้งหมด เกิดที่ “ บ้าน ” ของใคร คนใดคนหนึ่ง, 30.9 % เกิดในบ้านของผู้กระทำการ, 26.6 % เกิดในบ้านของเหยื่อ, 10.1 % เกิดในบ้านที่เช่าร่วมกันของเหยื่อและผู้กระทำความผิด , 7.2 % เกิดในงานปาร์ตี้, 7.2 % เกิดในยานพาหนะ, 3.6 % เกิดนอกบ้าน และ 2.2 % เกิดในบาร์

ผลกระทบ

หลังถูกข่มขืนกระทำชำเราเป็นเรื่องปกติสำหรับเหยื่อที่จะประสบกับความเครียด และบางครั้งก็คาดเดาไม่ได้ ความรู้สึกอ่อนไหวมาก และพวกเขาอาจจะพบว่ายากที่จะจัดการกับความทรงจำของพวกเขาต่อเหตุการณ์ ผู้ถูกกระทำอาจรู้สึกบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการขู่บังคับและอาจพบความยากลำบากในการดำเนินชีวิตปกติ ไม่มีสมาธิ รูปแบบการนอนและการรับประทานเปลี่ยนไป เช่น อาจรู้สึกดีในการอยู่ที่ขอบตึก ในหลายเดือนต่อมาหลังเกิดเหตุการณ์ ปัญหาเหล่านี้จะรุนแรงขึ้น เศร้าสลดมากขึ้น และอาจทำให้ผู้ประสบเหตุการณ์ไม่บอกเล่าเหตุการณ์เหล่านี้กับเพื่อนหรือคนในครอบครัว ไม่ไปแจ้งความกับตำรวจหรือมองหาการให้คำปรึกษา นี่อาจมีผลต่ออาการเครียดอย่างรุนแรงและควบคุมไม่ได้ (Acute Stress Disorder) ซึ่งมีอาการดังนี้

    • รู้สึกชา และถูกตัดขาด เหมือนอยู่ในภวังค์หรือความฝัน หรือรู้สึกว่าโลกนี้เปลี่ยนไปและไม่เป็นความจริง
    • ยากที่จะจำเหตุการณ์ส่วนสำคัญของการขู่บังคับได้
    • ผ่อนบรรเทาความรู้สึกแย่ๆได้โดยการคิดซ้ำแล้วซ้ำอีกในความทรงจำอันนั้น
    • หลีกเลี่ยงสิ่งของ สถานที่ ความคิด ความรู้สึก ที่จะเตือนถึงการขู่บังคับวันนั้น
    • เครียดกังวลเพิ่มสูงขึ้น หรือถูกรุกเร้าได้ง่าย (นอนหลับยาก ควบคุมสมาธิยาก ฯลฯ)
    • หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตในสังคม หรือสถานที่เกิดเหตุ

มันสามารถทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย (Post-Traumatic Stress Disorder หรือ PTSD) อย่างไรก็ดีขณะที่ผลกระทบของฝันร้ายอาจจะแย่มาก และอาจส่งผลกระทบต่อผู้รอดมาได้ในการใช้กำหนดชีวิต มันยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจำว่าการตอบสนองของผู้รอดชีวิตเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลและแตกต่างกันไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละคน

ในปี 1972 แอน วอล์เบิร์ท เบอร์เก็สส์ และลินดา ลีทเทิ่ล โฮลสตอร์ม ได้ทำการศึกษาของผลการตอบสนองต่อการข่มขืนกระทำชำเรา พวกเขาสัมภาษณ์เหยื่อที่ได้ให้คำปรึกษาแล้วจากห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลเมืองบอสตันและพบว่ามีรูปแบบของปฏิกิริยาตอบสนองที่เขาเรียกว่า อาการบาดเจ็บของการข่มขืนกระทำชำเรา พวกเขาอธิบายว่า มี 2 องค์ประกอบที่สำคัญคือระยะล่อแหลม (Acute) และระยะปรับตัวใหม่ (Reorganization)

ระหว่างระยะล่อแหลมผู้รอดชีวิตจะพบกับความช็อกและไม่เชื่อ รู้สึกตัวแข็ง หรืออาจจะพยายามงดติดต่อกับผู้อื่น และมองว่าตัวพวกเขาเอง คือ “พวกคนที่ถูกข่มขืนกระทำชำเรา” เขาจะรู้สึกอับอาย สับสน สกปรก สำนึกผิด กับการขู่เข็ญที่ได้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ข่มขืนกระทำชำเราเป็นคนรู้จัก ความฝันที่เลวร้ายนี้ ทำให้ความวิตกกังวลถึงขีดสุด บ่อยครั้งมีภาพหวนซ้ำๆและความพยายามอย่างแข็งแกร่งที่จะหยุดติดต่อกับอารมณ์ของตัวเอง เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้น และนั่นคือ “การปฏิเสธ” พยายามที่จะทำให้ตนเองเชื่อว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นความจริง ถ้าการข่มขืนกระทำชำเราเป็นไปโดยคนรู้จัก เหยื่ออาจจะพยายามปกป้องผู้กระทำการ

เหยื่ออาจจะตอบสนองการข่มขืนกระทำชำเราในทางที่แสดงออกหรือในทางควบคุม ในทางที่แสดงออกจะปรากฏภายนอกอย่างชัดเจน เช่น ร้องไห้, สั่น, โกรธ, ความเครียด, การประชดประชัน, การหัวเราะอิหลักอิเหลื่อ, ความไม่ผ่อนคลาย ในแบบควบคุม จะปรากฏคือเหยื่อเงียบ ขรึม และพยายามไล่เลียงเหตุการณ์อย่างเป็นระบบ แม้เมื่อเผชิญหน้ากับความสับสนภายในตัวที่รุนแรง ไม่มีการกำหนดว่าต้องเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่เกิดกับเหยื่อ ทุกๆคน จะต้องเผชิญกับอารมณ์ที่โศกสับสนสุดขีด แตกต่างกันไป

หลังระยะล่อแหลม ระยะปรับตัวใหม่จะเกิดขึ้น และผู้รอดชีวิตพยายามที่จะสร้างโลกใบใหม่ที่ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยรู้จัก ระยะนี้จะอยู่ไปเป็นเดือนๆหรือเป็นปีๆหลังการขู่บังคับ และแม้ว่า เขาจะมีความพยายามอย่างมากที่สุดในระยะนี้มันก็จะผ่านไปด้วยความรู้สึกของผิด ละอาย กลัว และเครียดกังวล อารมณ์ต่างๆ อย่างเช่น โกรธ วิตกกังวล การหักล้างกัน และ การสูญเสีย (ความมั่นคง) จะปรากฏขึ้น การพัฒนาการในการไร้ความสามารถที่จะ เชื่อ มักจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดตามมาหลังการข่มขืนกระทำชำเรา ความสูญเสียนี้ ในความต้องการขั้นพื้นฐาน สามารถที่จะทำลายชีวิตของผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราให้พังราบเลยทีเดียว ทำให้พวกเขารู้สึกไร้กำลัง และไม่สามารถควบคุมร่างกายมนุษย์ของตนได้ เขาอาจจะรู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งสามารถทำให้ความเครียดวิตกกังวลสูงขึ้นเช่นเดียวกับความยากลำบากในการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด เหยื่ออาจจะพยายามที่จะกลับไปสู่การตอบสนองที่ธรรมดาตามรูปแบบสังคม (เช่น มีการหมั้นหมาย) แต่ก็จะพบว่า ตัวของเขาเองไม่สามารถทำได้ และความพยายามที่จะ “ปั้น” ตัวเขาขึ้นใหม่ในความสัมพันธ์อาจต้องถูกยกเลิกไปเพราะการขาดความเชื่อมั่น

ผู้รอดชีวิตมักจะแยกตัวอยู่ตามลำพังจากกลุ่มคนที่สนับสนุนเขา อาจเป็นทางร่างกายหรือทางอารมณ์ความรู้สึก ผู้รอดชีวิตอาจจะรู้สึกแปลกแยกจากเพื่อนเนื่องจากมุมมองที่เกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์ส่วนตัว การกระจัดกระจายไปของความเชื่อ ทำให้มีผลต่อความสัมพันธ์เชิงลึก เพราะผู้รอดชีวิตมักจะมีความสงสัยที่เพิ่มขึ้นต่อแรงจูงใจและความรู้สึกของผู้อื่น

อีกขอบข่ายหนึ่งของการค้นคว้า อ้างถึง ”การเป็นเหยื่อครั้งที่สอง” นั่นคือการที่ตำรวจและแพทย์ สอบสวนและปฏิบัติกับเขาอย่างทำลายจิตใจ และมีข้อสงสัย

การข่มขู่ทางเพศสามารถมีผลกระทบต่อคนๆ นั้นตลอดไป เปลี่ยนเขาให้เป็นคนที่อยู่ในระยะยุ่งเหยิงตลอดเวลา ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดผลลัพธ์ออกมาอาจเป็นการฆ่าตัวตาย

การโทษผู้เสียหาย

“การฟ้องผิดของตัวเหยื่อเอง” เป็นสิ่งที่ยึดเหยื่อไว้กับอาชญากรรม อาจจะหมายถึงว่าทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกิดขึ้น เหยื่อต้องรับผิดชอบ ในบริบทของการข่มขืนกระทำชำเรา ความคิดนี้อ้างถึงทฤษฎี “โลกที่ยุติธรรม” (Just World Theory) และเป็นความคิดที่นิยมมากว่าพฤติกรรมของเหยื่อคนนั้น (เช่นชอบหว่านเสน่ห์, หรือใส่เสื้อผ้าที่เปิดเผย) อาจทำให้เกิดการข่มขืนกระทำชำเราขึ้น ในกรณีที่มากที่สุด เหยื่ออาจบอกว่า “เรียกร้องมากเหลือเกิน” เพียงแค่ไม่ได้ประพฤติตัวเรียบร้อยเป็นผ้าพับไว้เท่านั้น ในประเทศแถบตะวันตก การป้องกัน ”การเปิดเผย” ไม่ถูกยอมรับว่าจะทำให้การข่มขืนกระทำชำเราผ่อนคลายลง การสำรวจทั่วโลกพบว่าทัศนคติที่มีต่อความรุนแรงทางเพศที่มีในคุยกันรอบโลกเพื่อการวิจัยด้านสุขภาพ (Global Forum for Health Research) แสดงว่าทฤษฎีเรื่องการโทษตัวเองของเหยื่ออย่างน้อยก็ได้รับการยอมรับในประเทศต่างๆ มากมาย ในบางประเทศ การที่เหยื่อโทษตัวเองยิ่งเป็นสิ่งธรรมดากว่า และผู้หญิงที่ถูกข่มขืนกระทำชำเราก็จะถูกลงความเห็นว่าประพฤติตัวไม่เหมาะสม บ่อยครั้งที่หลายประเทศมีการรณรงค์ทางการเมืองและสร้างสื่อโฆษณาเพื่อกำจัดเรื่องราวของการข่มขืนกระทำชำเรา (ทัศนคติและความเชื่อยุยงที่ก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงทางเพศ) การยืนกรานอย่างแข็งขัน แต่หลายๆ ความคิดเห็นก็ยังคงโต้แย้งว่าต้องมีผู้หญิงบางคน ที่ชอบกามวิปริตและการหลอกลวง

การป้องกันรักษา

การตอบสนองทางคำปรึกษาพบว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์ในเยียวยาคือ ลดการฟ้องผิดในตัวเองลง, การให้ความรู้ความเข้าใจในทางจิตวิทยา (เรียนรู้เกี่ยวกับอาการทรมานจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา) และสิ่งที่อธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของการฟ้องผิด การสำหรับการโทษตัวเองคือการสร้างใหม่ด้วยเหตุผล (cognitive restructuring) หรือ การเยียวยาจากพฤติกรรมเชิงเหตุผล ( cognitive-behavioral therapy) การสร้างใหม่ด้วยเหตุผลคือกระบวนการของการนำเอาความจริงมาสร้างข้อสรุปที่สมเหตุสมผลจากพวกเขา ซึ่งข้อสรุปนั้นที่ได้รับอิทธิพลน้อยที่สุดจากความละอายและความรู้สึกผิดของตัวเขาเอง

มุมมองทางสังคมชีววิทยา

บางคนโต้แย้งว่าการข่มขืนกระทำชำเรา คือยุทธวิธีของการสืบเผ่าพันธุ์ ที่ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์หลายอย่างในอาณาจักรสัตว์ (เช่น เป็ด, ห่าน, และปลาโลมาบางชนิด) มันเป็นการยากที่จะกำหนดลงไปว่าอะไรทำให้เกิดการข่มขืนกระทำชำเราขึ้นมาระหว่างสัตว์ อย่างเช่น การขาดการแสดงออกถึงความยินยอม อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลางมนุษย์ สามารถดูได้อีกจาก Non-human animal sexuality.

นักสังคมชีววิทยาบางคนโต้แย้งว่าความสามารถของเราที่จะเข้าใจการข่มขืนกระทำชำเรา (และในการป้องกันมัน) เป็นเรื่องที่ครึ่งๆกลางๆอย่างรุนแรง เพราะจุดเริ่มต้นของมันในวิวัฒนาการมนุษย์ถูกเพิกเฉยเสีย บางการศึกษาชี้ให้เห็นว่าในทฤษฏีวิวัฒนาการนั้น สำหรับเพศชายที่ขาดความสามารถในการชักจูงผู้หญิงให้ร่วมหลับนอนด้วยโดยไม่ใช้ความรุนแรงได้ส่งผ่านต่อมาทางยีนส์พันธุกรรม

นักวิจารณ์สังคมชาวอเมริกันชื่อ คามิลล์ ปาเจลีย และนักสังคมชีววิทยาบางคน ได้โต้เถียงว่าพลังการโทษตัวเองของเหยื่อ อาจจะไม่มีส่วนประกอบทางจิตวิทยาเลยในบางกรณี ตัวอย่างของแบบแผนทางสังคมชีววิทยาชี้ให้เห็นว่าพวกเขาอาจจะได้รับถ่ายทอดทางยีนส์ สำหรับผู้ชายหรือผู้หญิงที่ยอมตัวให้อ่อนแอลงจนทำให้มีการข่มขืนกระทำชำเราได้ และนี่อาจเป็นหน้าตาของชีววิทยาว่าด้วยเรื่องสมาชิกในสายพันธุ์

สถิติ

สหประชาชาติได้รับความยินยอมจากรัฐบาลจากหลักฐานที่แสดงว่า มากกว่า 250,000 คดีข่มขืนกระทำชำเรา หรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราทุกปี ได้ถูกบันทึกไว้โดยตำรวจ ข้อมูลนี้ครอบคลุมถึง 65 ประเทศ

สืบเนื่องมาจากเอกสารทางความยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรมในสหรัฐอเมริกา “การทำให้เป็นเหยื่ออาชญากรรมในสหรัฐอเมริกา” , มีเหยื่อ 191,670 คนจากการข่มขืนกระทำชำเราและการขู่บังคับในปี 2005 เพียง 16% เท่านั้นของทั้งสองอย่างนี้ ที่ถูกรายงานถึงตำรวจ (การข่มขืนกระทำชำเราในอเมริกา: รายงานต่อประชาชาติ. 1992 Rape in America: A Report to the Nation. 1992) 1 ใน 6 ของผู้หญิงอเมริกันมีประสบการณ์ของการถูกพยายามข่มขืนกระทำชำเราหรือถูกทำจนสำเร็จ บางประเภทของการข่มขืนกระทำชำเราถูกแยกออกไปจากการรายงานอย่างเป็นทางการ (คำจำกัดความของ FBI ตัวอย่างเช่น ไม่รวมการข่มขืนกระทำชำเราทุกประเภท ยกเว้นการข่มขืนกระทำชำเราแบบใช้กำลังบังคับเพศหญิงเท่านั้น) เพราะจำนวนตัวเลขหลักๆ ของการข่มขืนกระทำชำเราไม่ได้ถูกรายงาน ถึงแม้เขาจะรวบรวมในสิ่งที่รายงานได้ไปแล้ว และเพราะจำนวนตัวเลขต่างๆเหล่านั้นที่รายงานเข้ามาถึงตำรวจ ไม่ดำเนินการต่อในการฟ้องร้องด้วย

การข่มขืนกระทำชำเราโดยผู้หญิงเป็นปรากฏการณ์ที่ยากจะเข้าใจ นั่นคือเป็นที่โจษขานว่าไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และถ้ามี ก็จะเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความตกใจ, ช็อค, หรือความสับสนอย่างมาก ในสหรัฐอเมริกาสืบเนื่องจาก การวิจัยเหยื่ออาชญากรรมแห่งชาติ การปรับเปลี่ยนอัตราการการเป็นเหยื่อหรือการข่มขืนกระทำชำเรา ต่อประชากร 1 ได้ลดลงจากประมาณ 2.4 % ต่อประชาชน 1,000 คน (อายุ 12 ขึ้นไป) ในปี 1980 ประมาณ 0.4 ต่อ 1,000 คน ซึ่งลดลงถึง 85% แต่การสำรวจของรัฐบาลอื่นๆ เช่น การตกเป็นเหยื่อทางเพศของวิทยาลัยสตรีศึกษา วิจารณ์การวิจัยเหยื่ออาชญากรรมแห่งชาติ บนพื้นฐานที่ว่ามันรวบรวมแค่การกระทำที่จามความเข้าใจของเหยื่อว่าเป็นอาชญากรรมเท่านั้น และรายงานอัตราการตกเป็นเหยื่อที่สูงขึ้น

ขณะที่นักวิจัยและทนายความไม่เห็นด้วยกับเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอนของการกล่าวหา พวกเขาเห็นด้วยว่า น่าจะประมาณ 2 – 8 % ความเชื่อที่ว่ามีการกล่าวหาที่ผิดเป็นปัญหาธรรมดา เป็นเรื่องไม่เข้าท่า ด้วยเรื่องความเชื่อนี้ได้บั่นทอนกำลังใจของผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราไม่ให้ฟ้องร้อง เพราะกลัวว่าตัวเองจะต้องตกเป็นผู้ต้องหาเสียเอง สืบเนื่องจากรายงานของกระทรวงป้องกันผู้ต้องสงสัยทั่วไป ที่ออกมาในปี 2005 ประมาณว่า 73% ของผู้หญิงและ 72% ของผู้ชายในการศึกษาด้านทหาร เชื่อว่าการกล่าวหาที่ผิดจากการข่มขู่ทางเพศเป็นเป็นปัญหาใหญ่

จากปี 2000 -2005 , 95% ของการข่มขืนกระทำชำเราไม่ดู้กรายงานภายใต้ระบบกฎหมาย ปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจผิดอันนี้คือ การข่มขืนกระทำชำเราส่วนหใญ่กระทำโดยคนที่ไม่รู้จัก ในความเป็นจริง จากแผนกสถิติเพื่อความยุติธรรม กล่าวว่า 38% ของเหยื่อ ถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยเพื่อนหรือคนรู้จัก ,28% ถูกข่มขืนกระทำชำเราโดย “ เพื่อนสนิท” , 7% โดยคนที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อื่นๆ, และ 26% ถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยคนแปลกหน้า เกือบ 4 ใน 10 ของการขู่บังคับทางเพศ เกิดที่บ้านของเหยื่อเอง

มากกว่า 67,000 คดี ที่เกิดขึ้นกับเด็ก ถูกรายงานในปี 2000, ในอาฟริกาใต้ กลุ่มสวัสดิการเด็ก เชื่อว่าจำนวนตัวเลขที่ไม่ได้ถูกรายงานเข้ามาน่าจะมากกว่าจำนวนตัวเลขที่มี 10 เท่า ความเชื่อที่เป็นสากลของอาฟริกาใต้คือ การมีเพศสัมพันธ์กับสาวพรหมจารีย์จะช่วยรักษาผู้ชายจาก HIV หรือโรคเอดส์ได้ อาฟริกาใต้มีจำนวนประชากรติดเชื้อ HIV สูงที่สุดในโลก สืบเนื่องจากตัวเลขของทางการ 1 ใน 8 ของชาวอาฟริกามีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว Edith Kriel, นักสังคมสงเคราะห์ ที่ช่วยผู้ถูกกระทำเด็ก ในแหลมตะวันออก กล่าวว่า “ การกระทำทารุณกรรมเด็กทางเพศมักจะทำโดยญาติของเด็กเอง อาจเป็นพ่อหรือคนที่หาเลี้ยงครอบครัว”

สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัย Durban-Westville แผนกมานุษยวิทยาและนักวิจัย ชื่อ SuZanne Leclerc-Madlana, "ตำนานการมีเพศสัมพันธ์กับพรหมจารีย์ เพื่อรักษาเอดส์ไม่ได้มีแค่ในอาฟริกาใต้เท่านั้น" กลุ่มนักติดตามผู้วิจัยเรื่องเอดส์ในแซมเบีย, ซิมบับเว และไนจีเรีย กล่าวว่า ความเชื่อนี้มีอยู่ในประเทศเหล่านี้ มันจึงถูกโทษว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้อัตราการใช้เด็กในทางที่ผิดทางเพศสูง โดยเฉพาะต่อเด็กเล็กๆ

ประวัติศาสตร์

ภาพวาดของ Konstantin Makovsky ในชื่อภาพ The Bulgarian martyresses ในปี ค.ศ. 1877 แสดงถึงภาพการข่มขืนกระทำชำเรา

คำว่า “ข่มขืนกระทำชำเรา” มีต้นกำเนิดมาจากคำกริยาภาษาลาตินว่า Rapare หมายถึง ฉวยไว้ หรือ เอามาโดยกำลัง คำนี้ในต้นกำเนิดไม่ได้มีความหมายทางเพศเลย และก็ยังคงใช้อย่างนี้เรื่อยมาในภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ของการข่มขืนกระทำชำเราและการเปลี่ยนไปในความหมาย ค่อนข้างซับซ้อน ในกฎหมายโรมัน การข่มขืนกระทำชำเราถูกจัดอยู่ในอาชญากรรมของการก้าวล่วง ไม่เหมือนกับขโมยหรือโจรปล้น การข่มขืนกระทำชำเราถูกใช้ในความหมายที่ว่า “การกระทำผิดต่อสาธารณะ” ซึ่งขัดแย้งกับ “การกระทำผิดต่อบุคคล” ซีซาร์ ออกัสตัส ออกกฎหมายปฏิรูปการข่มขืนกระทำชำเรา ภายใต้กฎหมาย Lex lulia de vi publica ซึ่งมีนามสกุลของพระองค์ คือ “lulia” ที่อยู่ใต้กฎหมาย ประพฤติล่วงประเวณี Lex lulia de adulteriis ที่โรมฟ้องร้องต่ออาชญากรรมประเภทนี้ จักรพรรดิจัสติเนียนยังคงใช้กฎหมายนี้สำหรับเอาผิดผู้กระทำการข่มขืนกระทำชำเราตลอดศตวรรษที่ 6 ในอาณาจักรโรมันตะวันออก ในยุคโบราณตอนปลาย คำว่า Raptus หมายถึง การลักพาเรียกค่าไถ่, การหนีตามกันไป, การปล้น หรือการข่มขืนกระทำชำเรา ในความหมายปัจจุบัน ความสับสนระหว่างคำนี้ ได้เกิดขึ้น เมื่อผู้เขียนจดหมายเหตุของคริสตจักรในสมัยแรก ใช้แยกแยะระหว่าง การหนีตามกันไปเอง โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก บิดามารดา และ การก้าวล่วง ทั้งสองอย่างนี้ มีบทลงโทษทางการเมือง โดยอาจจะถูกขับออกจากกลุ่มของครอบครัวหรือหมู่บ้านของผู้หญิงที่ได้ถูกลักพาตัวไป ถึงแม้ว่ากฎหมายฉบับนี้จะทำให้เกิดการลงโทษ การทำให้เสียโฉม หรือความตายแล้วก็ตาม

ผ่านส่วนต่างๆ ของประวัติศาสตร์ อาชญากรรมการข่มขืนกระทำชำเรา ถูกมองน้อยกว่าว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการบังคับความต้องการของเพศหญิง แต่เป็นอาชญากรรมที่รุนแรงต่อทรัพย์สินของบุรุษ ผู้ที่เป็นเจ้าของเธอ ในอดีต เรื่องนี้ค่อนข้างจะจริงในกรณีของพรหมจารีที่มีคู่หมั้นไว้แล้ว ถ้าหากเสียความบริสุทธิ์ จะถูกมองว่าเสียคุณค่าอย่างรุนแรง ต่อสามีของเธอ ในกฎหมาย กรณีนี้ จะถือว่าการหมั้นโมฆะ และต้องมีการจ่ายค่าเสียหาย จากชายที่เป็นฝ่ายข่มขืนกระทำชำเรา แก่ครอบครัวของฝ่ายหญิง ภายใต้กฎหมายของพระคัมภีร์ไบเบิ้ลในสมัยแรก ผู้ข่มขืนกระทำชำเรา จะต้องแต่งงานกับผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน โดยไม่ต้องรับโทษ หากว่าพ่อของเธอยินยอม ในเรื่องของความรุนแรงต่อความต้องการของเพศหญิงนี้ แบ่งได้เป็นสองแบบ แบบแรก คือ ในความหมายของการข่มขืนกระทำชำเรา และอีกอันคือ การที่ผู้ชายผู้หญิงบังคับครอบครัวเขาให้พวกเขาได้แต่งงานกัน

ในยุคโบราณของกรีกและโรมันจนถึงยุคล่าอาณานิคม ข่มขืนกระทำชำเราเทียบคู่ไปได้กับ การลอบวางเพลิง, การขายชาติ และการฆาตกรรม เลยทีเดียว จะได้รับการลงโทษประหารชีวิต "คนที่ทำการข่มขืนกระทำชำเราจะต้องได้รับโทษประหารที่มีมากมายหลายแบบ ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะโหดร้าย เลือดสาด และ ณ เวลานั้น ก็น่าตื่นเต้น” ในศตวรรษที่ 12 ญาติของผู้เสียหาย จะถูกให้ทางเลือกที่จะประหารผู้กระทำผิดด้วยตัวพวกเขาเอง ในอังกฤษ ในศตวรรษที่ 14 ตอนต้น เหยื่อของการข่มขืนกระทำชำเรา จะถูกคาดหวังให้ควักลูกตาหรือตีลูกอัณฑะของผู้กระทำผิดให้แตกด้วยตัวของเธอเอง

กฎหมายของอังกฤษระบุว่าการข่มขืนกระทำชำเราถือเป็นตัณหารุนแรง ขัดขืนต่อเพศหญิงและความต้องการของเธอ กฎหมายสามัญระบุว่า ตัณหานี้คือการสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศหญิง (และรวมถึงการกระทำอื่นๆภายนอก) อาชญากรรมการข่มขืนกระทำชำเรามีความแตกต่างในขอบข่ายที่ว่ามันมุ่งเน้นไปที่สภาพของจิตใจที่ไม่ได้มีการยินยอม และการกระทำที่ไม่มีการยินยอม นอกจากการกระทำของผู้ประพฤติผิด เหยื่อต้องแสดงหลักฐานการไม่มีการสมยอม ซึ่งถ้าหากยอม จะหมายถึงการที่แค่สามีได้หลับนอนกับภรรยาเท่านั้น ข้อความที่ได้ยินบ่อยๆในการตัดสิน กล่าวโดยผู้พิพากษาศาลสูงของท่านเซอร์ มัทธิว เฮลล์ ในศตวรรษที่ 17 ว่า “การข่มขืนกระทำชำเรา... เป็นคำที่กล่าวได้ง่ายและยากที่จะพิสูจน์ และยากที่จะป้องกันได้โดยฝั่งที่ถูกกล่าวหา รวมทั้งฝั่งที่เป็นผู้แจ้งความ” ผู้พิพากษาเฮลล์ยังเป็นคนให้คำพูดที่ว่า “ในการข่มขืนกระทำชำเรา ผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราต้องขึ้นศาล ไม่ใช่ผู้ข่มขืนกระทำชำเรา” ความโน้มเอียงนี้ “ลงโทษคนถูกข่มขืนกระทำชำเรา” ยังมีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีการปฏิรูประบบการตัดสินใหม่ที่จะกำจัดความเข้าใจที่ผิดนี้ไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ กฎหมายที่ไม่มีเพศ ได้ต่อสู้กับมุมมองเก่าๆที่ว่าการข่มขืนกระทำชำเราไม่เคยมีขึ้นกับเพศชาย ขณะที่ กฎหมายตัวอื่นอาจลืมบริบทนี้ไปด้วยซ้ำ

การพัฒนาทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเราเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 นี้ รวมถึงการตัดสินใจที่โดดเด่นโดยศาลสากลของรวันดา ที่อธิบายการข่มขืนกระทำชำเราว่าเป็นอาวุธระหว่างสถาบันของสงครามล้างเผ่าพันธุ์ที่ทำอย่างจงใจและเป็นระบบ

ระบบการให้ความยุติธรรมเกี่ยวกับอาชญากรรมยุคใหม่ เป็นที่รู้กันว่าไม่มีความยุติธรรมต่อบุคคลผู้ตกเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงทางเพศ (Macdonalds, 2001) กฎหมายที่เป็นแบบฉบับของความไม่เท่าเทียมกันและ กฎหมายพื้นฐานรวมกัน ทำให้การข่มขืนกระทำชำเรา เป็น “กระบวนการอาชญากรรมที่เหยื่อและพฤติกรรมของเธอต้องขึ้นเขียง ไม่ใช่ตัวผู้กระทำผิด” (Howard & Francis, 2000) ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในมุมมองของการขู่บังคับทางเพศ เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพลังหญิงอย่างกว้างขวาง และการให้คำจำกัดความ ว่าเป็นอาชญากรรมของอำนาจและการควบคุมมากกว่าความต้องการเรื่องเซ็กส์ล้วนๆ อย่างไรก็ตามผู้ถูกกระทำต้องขึ้นศาลในการข่มขืนกระทำชำเราหลายๆคดี การเคลื่อนไหวทางสิทธิเสรีภาพของผู้หญิงในปี 1970 ทำให้มีศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุข่มขืนกระทำชำเราแห่งแรก การเคลื่อนไหวนี้ถูกดูแลโดย สถาบันระดับชาติเพื่อผู้หญิง National Organization for Women หรือ NOW ศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยข่มขืนกระทำชำเราที่แรกๆอีกที่หนึ่ง ได้แก่ D.C. Rape Crisis Center เปิดในปี 1972 ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างความรู้สึกรและความเข้าใจร่วมกันของการข่มขืนกระทำชำเรา และผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำ ในปี 1960 มีการเอ่ยถึงอัตราการแจ้งความผิดพลาด 20% ก่อนปี 1973 สถิติได้ลดลงมาอยู่ที่ 15% หลังปี 1973 สำนักงานตำรวจนิวยอร์ก ใช้เจ้าหน้าที่ผู้หญิงสืบสวนผู้ถูกกระทำทางเพศและอัตราลดลงถึง 2% จากข้อมูลของ FBI (Decanis, 1993) การรายงานที่ผิดยากที่จะแปลความได้ การแปรเปลี่ยนไปตามสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งทำให้เกิด “ความผิดพลาด” ไม่ว่าจะหมายถึงอย่างไร ตำรวจหรือ DA มีจะพยายามหาหลักฐานมามากเพียงพอที่จะจับตัวมาขึ้นศาล แม้ว่าคดีจะตกไป หรือแม้ศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด หรือแม้ว่าผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราถอนฟ้องเอง ความเป็นไปได้ทั้งหมดนี้ ไม่ได้หมายความว่าการแจ้งความเป็นเท็จ เพราะผู้คนมักจะกล่าวว่าเป็นความผิดของเหยื่อผู้มาแจ้ง

ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งของประวัติศาสตร์การข่มขืนกระทำชำเราคือการก่อตั้งมูลนิธิ RAINN ในปี 1994 โดย Tori Amos (ดารานักร้องชื่อดัง) และ Scott Berkowitz RAINN เป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ของการเคลื่อนไหวการช่วยผู้ประสบภัยข่มขืนกระทำชำเรา และทำให้มีสายด่วนให้ความช่วยเหลือ เก็บสถิติ และให้ข้อมูลผ่านโทรทัศน์เป็นที่แรกๆ การข่มขืนกระทำชำเราแบบชายกับชาย ถูกปิดบังเป็นความลับเป็นเวลานานตามประวัติศาสตร์ ถือเป็นเรื่องน่าอายเพราะต้องถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยผู้ชายอีกคนหนึ่ง นักจิตวิทยาชื่อ Dr. Sarah Crome ได้มีรายงานว่า การข่มขืนกระทำชำเราของผู้ชายน้อยกว่า 1 ใน 10 ถูกแจ้งความเข้ามา และโดยคนหมู่มาก กล่าวว่า เหยื่อของการถูกข่มขืนกระทำชำเราเพศชายไม่มีการช่วยเหลือและสนับสนุนมากเพียงพอ รวมถึงกฎหมายที่ไม่สามารถจัดการดูแลเรื่องนี้ได้อย่างเต็มที่

วัฒนธรรมทั่วโลกส่วนใหญ่ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ที่ผู้หญิงจะข่มขืนกระทำชำเราผู้ชายหรือผู้หญิงด้วยกันเองได้ บทลงโทษทางกฎหมายส่วนใหญ่ จึงไม่ได้ระบุลงไป ว่านี่คือการก่ออาชญากรรมร้ายด้วย การข่มขืนกระทำชำเราจะถูกจำกัดความด้วยทั่วไปว่า เป็นการสอดใส่เข้าไป กระทำโดยผู้ข่มขืนกระทำชำเรา ในปี 2007 ในอาฟริกาใต้ กลุ่มของผู้หญิงสาวถูกแจ้งความว่าข่มขืนกระทำชำเราผู้ชายคนหนึ่ง อย่างไรก็ตามความมีอยู่ของเรื่องเหล่านี้ ยังถูกปกคลุมอยู่ด้วยเหตุการณ์ที่โดดเด่นกว่า ของเรื่องการข่มขืนกระทำชำเราปกติ และมักจะถูกอ้างถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกลุ่มเพศหญิงและความสนใจเกี่ยวกับเพศหญิง และเหตุการณ์ทางเพศ ในฐานะของความสนใจเพื่อเพิ่มความเข้าใจ จนกระทั่งบัดนี้ เรารู้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้มีความหมายแค่ที่เราได้เคยได้ยินทั่วไปเท่านั้น ต่อจากนี้เราจะได้รู้ว่า การข่มขืนกระทำชำเรา มันมีความหมายมากกว่านั้น

การข่มขืนกระทำชำเรายามสงคราม

การข่มขืนกระทำชำเรา ในฐานะมูลเหตุของสงคราม ย้อนกลับไปในสมัยโบราณ ไกลเท่าที่กับมีพูดถึงในคัมภีร์ไบเบิ้ล ทหารชาวอิสราเอล กรีก เปอร์เซีย และโรมัน มักจะข่มขืนกระทำชำเราผู้หญิงและเด็กชาย ในพื้นที่ที่เขาได้ครอบครอง ในยุคปัจจุบัน การข่มขืนกระทำชำเราถูกนับว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม เมื่อถูกทำโดยทหาร หรือกองกำลังมากถึง 80,000 คน ผู้หญิงที่ถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยทหารญี่ปุ่นใน 6 สัปดาห์ของการฆ่าหมู่ในนานกิง คำพูดที่ว่า “ผู้หญิงที่ช่วยให้สบาย” เป็นคำนุ่มนวลที่ใช้ในการบังคับผู้หญิงประมาณ 200,000 คนให้เป็นโสเภณีในซ่องทหารญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ทหารกองทัพแดง ข่มขืนกระทำชำเราผู้หญิงประมาณ 2,000,000 คนของเยอรมันรวมถึง เด็ก ทหารโมร็อกโค – ฝรั่งเศส รู้จักในนามของ กูเมียร์ (Goumiers) ได้ข่มขืนกระทำชำเราและทำอาชญากรรมสงครามอื่นๆหลังการสู้รบที่ Monte Cassino.

มีคำกล่าวว่ามีผู้หญิงประมาณ 200,000 คน ถูกข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพของบังคลาเทศโดยทหารชาวปากีสถาน แม้จะเป็นที่ถกเถียงกันมากก็ตาม Sarmila Bose และผู้หญิงอิสลามของ Bosnia ถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยกองกำลังชาวเซิร์บ ระหว่างสงครามบอสเนีย การแพร่ข่าวลือเรื่องสงครามมักจะทำให้เกิดการปฏิบัติต่อประชากรในท้องที่หนึ่งๆ ไม่ดี โดยกองกำลังของศัตรู เพราะเหตุนี้มันจึงยากในทางปฏิบัติและในทางนโยบายทางการเมืองที่จะมองอย่างคมชัด ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกันแน่

อ้างอิง

  1. "Rape". Merriam-Webster. April 15, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-23. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  2. "Sexual violence chapter 6" (PDF). World Health Organization. April 15, 2011.
  3. "Rape". dictionary.reference.com. April 15, 2011.
  4. "Rape". legal-dictionary.thefreedictionary.com. April 15, 2011.
  5. Hedge, edited by Jenny Petrak, Barbara (2003). The Trauma of Sexual Assault Treatment, Prevention and Practice. Chichester: John Wiley & Sons. p. 2. ISBN 9780470851388. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  6. "Rape at the National Level, number of police recorded offenses". United Nations.
  7. American Medical Association (1995) Sexual Assault in America. AMA.
  8. "A gap or a chasm? Attrition in reported rape cases" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
  9. "Sex Offenses and Offenders" (PDF). United States Department of Justice/bjs.ojp.usdoj.gov. pp. 5 and 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-05. สืบค้นเมื่อ November 8, 2013.
  10. Abbey, A., BeShears, R., Clinton-Sherrod, A. M., & McAuslan, P. (2004). Psychology of Women Quarterly, 28, 323-332."Similarities and differences in women's sexual assault experiences based on tactics used by the perpetrator" เก็บถาวร 2013-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 10.12.2007.
  11. "Statistics | Rape, Abuse & Incest National Network". Rape, Abuse & Incest National Network/rainn.org. สืบค้นเมื่อ 2008-01-01.
  12. Alberto R. Gonzales et al. Extent, Nature, and Consequences of Rape Victimization: Findings From the National Violence Against Women Survey. U.S. Department of Justice Office of Justice Programs. January 2006
  13. "Sexual Assault in Australia: A Statistical Overview, 2004". Abs.gov.au. 2006-12-08. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
  14. "Rape and sexual assault of women: findings from the British Crime Survey" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-02-18. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
  15. Human Rights WatchNo Escape: Male Rape In U.S. Prisons. Part VII. Anomaly or Epidemic: The Incidence of Prisoner-on-Prisoner Rape.; estimates that 100,000–140,000 violent male-male rapes occur in U.S. prisons annually; compare with FBI statistics เก็บถาวร 2008-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน that estimate 90,000 violent male-female rapes occur annually.
  16. Robert W. Dumond, "Ignominious Victims: Effective Treatment of Male Sexual Assault in Prison," August 15, 1995, p. 2; states that "evidence suggests that [male-male sexual assault in prison] may a staggering problem"). Quoted in Mariner, Joanne; (Organization), Human Rights Watch (2001-04-17). No escape: male rape in U.S. prisons. Human Rights Watch. p. 370. ISBN 978-1-56432-258-6. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010.
  17. Struckman-Johnson, Cindy (2006). "A Comparison of Sexual Coercion Experiences Reported by Men and Women in Prison". Journal of Interpersonal Violence. 21 (12): 1591–1615. doi:10.1177/0886260506294240. ISSN 0886-2605. PMID 17065656. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help); reports that "Greater percentages of men (70%) than women (29%) reported that their incident resulted in oral, vaginal, or anal sex. More men (54%) than women (28%) reported an incident that was classified as rape."
  18. "Post Traumatic Stress Disorder in Rape Survivors". The American Academy of Experts in Traumatic Stress. 1995. สืบค้นเมื่อ 2013-04-30.
  19. "Rape victim threatened to withdraw case in UP". Zeenews.india.com. 2011-03-19. สืบค้นเมื่อ 2013-02-03.
  20. "Stigmatization of Rape & Honor Killings". WISE Muslim Women. 2002-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-08. สืบค้นเมื่อ 2013-02-03.
  21. Harter, Pascale (2011-06-14). "BBC News - Libya rape victims 'face honour killings'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2013-02-03.

บรรณานุกรม

  • 1 Smith, M. D. (2004). Encyclopedia of Rape. USA: Greenwood Press.
  • 2 Macdonals, John (1993). World Book Encyclopedia. United States of America: World Book Inc.
  • 3 Kahn, Ada. (1992). The A-Z of women's sexuality : a concise encyclopedia. Alameda, Calif.: Hunter House.
  • 4 The Columbia encyclopedia. Sixth edition,.
  • 5 Leonard, Arthur S. (1993). Sexuality and the law : an encyclopedia of major legal cases. New York : Garland Pub
  • 6 Kazdin, Alan E. (2000). Encyclopedia of psychology. Washington, D.C. : American Psychological Association ; Oxford ; New York : Oxford University Press
  • 7 Sedney, Mary Anne, "rape (crime)." Grolier Multimedia Encyclopedia. Scholastic Library Publishing, 2006[1]
  • 8 Kittleson, M., Harper, J., & Hilgenkamp, K. (2005). The Truth About Rape. USA: Facts on File
  • 9 Medical Foundation for the Care of Victims of Torture (2004) Rape as a Method of Torture Edited by Dr Michael Peel

การเป็นเหยื่อครั้งที่สองและการกล่าวโทษตัวเอง

  • 1 Lamb, Sharon, The Trouble with Blame: Victims, Perpetrators and Responsibility, Harvard Univ Press, 1999.
  • 2 Madigan, L. and Gamble, N. (1991). The Second Rape: Society's Continued Betrayal of the Victim. New York: Lexington Books.
  • 3 Murray JD, Spadafore JA, McIntosh WD. (2005) Belief in a just world and social perception: evidence for automatic activation. J Soc Psychol. Feb;145 (1) :35-47.
  • 4 Frese, B., Moya, M., & Megius, J. L. (2004). Social Perception of Rape: How Rape Myth Acceptance Modulates the Influence of Situational Factors. Journal-of-Interpersonal-Violence, 19 (2) , 143-161.
  • 5 Pauwels, B. (2002). Blaming the victim of rape: The culpable control model perspective. Dissertation-Abstracts-International:-Section-B:-The-Sciences-and-Engineering, 63 (5-B)
  • 6 Blumberg, M. & Lester, D. (1991). High school and college students' attitudes toward rape. Adolescence, 26 (103) , 727-729.
  • 7 Shaver (2002). Attribution of rape blame as a function of victim gender and sexuality, and perceived similarity to the victim. Journal of Homosexuality, 43 (2)
  • 8 Anderson, K. J. & Accomando, C. (1999). Madcap Misogyny and Romanticized Victim-Blaming: Discourses of Stalking in There's Something About Mary. Women & Language, 1, 24-28.
  • 9 The effect of participant sex, victim dress, and traditional attitudes on causal judgments for marital rape victims. (Author Abstract). Mark A. Whatley. Journal of Family Violence 20.3 (June 2005) : p191 (10).
  • 10 Kay, Aaron C., Jost, John T. & Young, Sean (2005) Victim Derogation and Victim Enhancement as Alternate Routes to System Justification. Psychological Science 16 (3) , 240-246.

ประวัติศาสตร์ของการข่มขืนกระทำชำเรา

  • 1 Dejanikus, T. (1981). Rape Crisis Centers: Ten Years After. Off Our Backs, Washington: 14 (8) p. 17.
  • 2 DiCanio, M. (1993). The encyclopedia of violence : origins, attitudes, consequences. New York : Facts on File
  • 3 Howard, A. & Kavenik Francis (2000). Handbook of American Women's History. CA: Sage Publications Inc.
  • 4 Macdonalds, John (2001). World Book Encyclopedia. United States of America: World Book Inc.
  • 5 Pride, A. (1981) To respectability and back: A ten year view of the anti-rape movement. Fight Back! (pp. 114-118).
  • 6 Largen, M. (1981). "Grassroots Centers and National Task Forces: A History of the Anti-Rape Movement," Aegis: A Magazine on Ending Violence Against Women, Autumn.
  • 7 Geis, G. (2007). Rape. Encyclopedia Americana. Retrieved May 3, 2007, from Grolier Online http://ea.grolier.com/cgi-bin/article?assetid=0328610-00[ลิงก์เสีย]

การโทษตัวเอง

  • 1 Tangney, June Price and Dearing, Ronda L., Shame and Guilt, The Guilford Press, 2002
  • 2 Matsushita-Arao, Yoshiko. (1997). Self-blame and depression among forcible rape survivors. Dissertation Abstracts International: Section B: The Sciences and Engineering. 57 (9-B). pp. 5925.
  • 3 Branscombe, Nyla R.; Wohl, Michael J. A.; Owen, Susan; Allison, Julie A.; N'gbala, Ahogni. (2003). Counterfactual Thinking, Blame Assignment, and Well-Being in Rape Victims. Basic & Applied Social Psychology, 25 (4). p265, 9p.
  • 4 Frazier, Patricia A.; Mortensen, Heather; Steward, Jason. (2005). Coping Strategies as Mediators of the Relations Among Perceived Control and Distress in Sexual Assault Survivors. Journal of Counseling Psychology, Jul2005, Vol. 52 Issue 3, p267-278

สาเหตุของการเป็นเหยื่อหลายครั้ง

  • 1 Follette et al., (1996). Cumulative trauma: the impact of child sexual abuse, adult sexual assault, and spouse abuse. J Trauma Stress.9 (1) :25-35.
  • 2 Sarkar, N. N.; Sarkar, Rina, (2005). Sexual Assault on a Woman: Its Impact on Her Life and Living in Society. Sexual & Relationship Therapy. 20 (4) , 407-419
  • 3 Parillo, K., Robert C. Freeman, & Paul Young. (2003) Association Between Child Sexual Abuse and Sexual Revictimization in Adulthood Among Women Sex Partners of Injection Drug Users. Violence and Victims. 18 (4) : 473-484.
  • 4 Shields, N. & Hanneke, C. (1988). Multiple Sexual Victimization: The Case of Incest and Marital Rape. In G. Hotaling, D. Finkelhor, J. Kirkpatrick, & M. Strauss (Eds) , Family abuse and its consequences: New directions in research. (pp. 255-269). Newbury Park, CA: Sage.
  • 5 Sorenson SB, Siegel JM, Golding JM, Stein JA. (1991). Repeated sexual victimization. Violence Vict., 6 (4) : 299-308.

เหยื่อเพศชาย

  • 1 Dorais, Michel, Don't Tell: The Sexual Abuse of Boys, McGill-Queen Univ Press, 2002.
  • 2 Mezey, Gillian, and King, Michael, Male Victims of Sexual Assault, Oxford, 2000.
  • 3 Morgan, Luke "Hollyoaks : Luke's Secret Diary" by kaddy benyon (2002)

ทฤษฎี

  • 1 Anderson, Peter and Struckman-Johnson Cindy, Sexually Aggressive Women: Current Perspectives and Controversies, Guilford, 1998.
  • 2 Harris, Grant, et al, The Causes of Rape: Understanding Individual Differences in Male Propensity for Sexual Aggression, American Psychological Association, 2005.
  • 3 "Psychosexual Disorders." Section 15, Chapter 192 in The Merck Manual of Diagnosis and Therapy , edited by Mark H. Beers, MD, and Robert Berkow, MD. Whitehouse Station, NJ: Merck Research Laboratories, 2002.
  • 4 Brownmiller, Susan: Against Our Will : Men, Women, and Rape, Ballantine Books, 1975.
  • 5 Gavey, Nicola, Just Sex: The Cultural Scaffolding of Rape, Routledge, 2005.
  • 6 Scruton, Roger, Sexual Desire: A Moral Philoshopy of the Erotic, Free, 1986.
  • 7 Ellis, Lee, Theories of Rape: Inquiries Into the Causes of Rape, Hemisphere, 1989.
  • 8 McDonald, John, Rape: Controversial Issues: Criminal Profiles, Date Rape, False Reports, and False Memories, Charles C Thomas, 1995.
  • 9 Cothran, Helen, Sexual Violence: Opposing Viewpoints, Thompson Gale, 2003.
  • 10 Holmes, Ronald and Steven, Current Perspectives on Sex Crimes, Sage, 2002.
  • 11 Emilie Buchwald, Pamela Fletcher, Martha Roth (ed.) , Transforming a Rape Culture, Milkweed Editions, 2005.
  • 12 Kanin, Eugene J. (1994). False Rape Allegations. Archives of Sexual Behavior.
  • 13 Sarah Projansky, Watching Rape: Film and Television in Postfeminist Culture, New York University Press 2001
  • 14 Thornhill, Randy and Palmer, Craig T. A Natural History of Rape: Biological Bases of Sexual Coercion. MIT Press, 2001.
  • 15 Roussel, D.E. and R. Bolen. (2000). The Epidemic of Rape and Child Sexual Abuse in the United States. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
  • 16 Mclean, D. (1995). Privacy and its invasion. CT: Praeger.
  • 17 Margulis, Stephen T., (2003). Privacy as a social issue and behavioral concept. Journal of social issues 59 (2) :243-261
  • 18 Pedersen, DM (1997) Psychological functions of privacy. Journal Of Environmental Psychology, 17:147-156

การข่มขืนกระทำชำเราเด็กและการขู่บังคับเด็กทางเพศ

  • 1 Levesque, Roger, Sexual Abuse of Children, Indiana University Press, 1999.
  • 2 Pryor, Douglass, W. Unspeakable Acts: Why Men Sexually Abuse Children, New York University Press, 1996.

ผู้กระทำการเพศหญิง

  • 1 Women's sexual aggression against men: prevalence and predictors
  • 2 Denov, Myriam S., Perspectives on Female Sex Offending: A Culture of Denial, Ashgate, 2004.
  • 3 Pearson, Patricia, When She Was Bad: Violent Women and the Myth of Innocence, Viking Adult, 1997.
  • 4 Adams, Ken, Silently Seduced: When Parents Make their Children Partners-Understanding Covert Incest, HCI, 1991.
  • 5 Anderson, Peter B., and Struckman-Johnson Cindy, Sexually Aggressive Women: Current Perspectives and Controversies, Guilford, 1998.
  • 6 Kierski, Werner [12], Female Violence: Can We Therapists Face Up to it?, Counseling and Psychotherapy Journal, 12/2002 (ISSN 1474-5372) [13].
  • 7 Rosencrans, Bobbie, The Last Secret: Daughters Sexually Abused by Mothers, Safer Society, 1997.
  • 8 Miletski, Hani, Mother-Son Incest: The Unthinkable Broken Taboo, Safer Society, 1999.
  • 9 Elliot, Michelle, Female Sexual Abuse of Children, Guilford, 1994
  • 10 Hislop, Julia, Female Sex Offenders: What Therapists, Law Enforcement and Child Protective Services Need to Know, Issues Press, 2001.

การข่มขืนกระทำชำเราในการสมรสหรือผู้ใกล้ชิด

  • 1 Easteal, P, and McOrmond-Plummer, L, Real Rape, Real Pain: Help for Women Sexually Assaulted by Male Partners, Hybrid Publishers, 2006.
  • 2 Russell, Diana E.H., Rape in Marriage, MacMillan Publishing Company, 1990.
  • 3 Bergen, Raquel K., Wife Rape: Understanding the Response of Survivors and Service Providers, Sage Publications Inc., 1996.
  • 4 Finkelhor, D. and Yllo, K., License to Rape: Sexual Abuse of Wives, The Free Press, 1985.
  • 5 Hall, R., James, S. and Kertesz, J., The Rapist Who Pays the Rent Women Against Rape, UK.
  • 6 การข่มขืนกระทำชำเราแฟน

ผู้กระทำการเพศชาย

  • 1 Shapcott, David, The Face of the Rapist, Penguin Books, Auckland, 1988.
  • 2 Groth, Nicholas A., Men Who Rape: The Psychology of the offender, Plenum Press, New York, 1979.

ด้านอื่น ๆ

  • Anonymous. A Woman in Berlin: Six Weeks in the Conquered City. Translated by Anthes Bell. ISBN.
  • de Becker, Gavin (1998). The Gift of Fear: Survival Signals that Protect Us from Violence. New York: Dell. ISBN (recognizing and handling dangerous people and situations)
  • Doe, Jane (2003). The Real Story of Jane Doe. Toronto: Random House.
  • Ghiglieri, Michael P. (1999). The Dark Side of Man: Tracing the Origins of Violence. Reading, MA: Perseus Books, 1999. ISBN 0-7382-0076-X.
  • McElroy, Wendy (2001). Sexual Correctness: The Gender-Feminist Attack on Women. Jefferson, NC: McFarland. ISBN.
  • Kipnes, Laura, The Female Thing: Dirt, Sex, Envy, Vulnerability. ISBN.
  • Sebold, Alice (1999). Lucky: A Memoir. New York: Scribner. ISBN. (author recounts her own rape at the age of 18)
  • ^ สถิติการข่มขืนกระทำชำเรา [1] เก็บถาวร 2007-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก UCSC Rape Prevention Education

แหล่งข้อมูลอื่น

ผลงานวิจัยและข้อมูลเพิ่มเติม

องค์กรของชาติ

แหล่งสนับสนุน

Kembali kehalaman sebelumnya