ภาพ ที่ทาเวิร์น (At the Tavern) โดย Johann Michael Neder ค.ศ. 1833 ในพิพิธภัณฑ์ทางด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เยอรมันนี
การคุกคามทางเพศ เป็นการคุกคาม รูปแบบหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีทั้งกายและวาจา[ 1] การคุกคามทางเพศนั้นสามารถเกิดในสภาพแวดล้อมทางสังคมที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ที่ทำงาน ที่บ้าน โรงเรียน และอื่น ๆ เหยื่อของการคุกคามทางเพศนั้นสามารถเป็นเพศ ใดก็ได้[ 2]
ในบริบททางกฎหมาย สมัยใหม่นั้นส่วนใหญ่แล้วการล่วงละเมิดทางเพศเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่ว่าคำจำกัดความทางกฎหมายของการล่วงละเมิดนั้นไม่ได้นับร่วม การล้อ การแหย่ การพูดโดยไม่คิด[ 3] การคุกคามทางเพศในที่ทำงานนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมายและถ้าหากเกิดขึ้นบ่อยสังคมในที่ทำงานนั้นจะก่อให้เกิดความไม่สบายใจต่อผู้ถูกกระทำจนนำไปสู่การออกจากตำแหน่งหรือลาออก อย่างไรก็ตามความเข้าใจทางกฎหมายและสังคมเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศนั้นจะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม
การล่วงละเมิดทางเพศโดยนายจ้างเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเลือกปฏิบัติที่ผิดกฎหมาย องค์กร หลายแห่งเริ่มมีการตั้งเป้าในการป้องกันไม่ให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศและการปกป้องพนักงานจากการล่วงละเมิดทางเพศ
สถานการณ์
การล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์และในสถานที่ต่าง ๆ เช่นโรงงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงละคร และสถานบันเทิง [ 4] [ 5] [ 6] [ 8] [ 9] [ 10] ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้กระทำมักมีอำนาจมากกว่าเหยี่อ (เนื่องจากมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ต่างกัน การศึกษา ตำแหน่งและอายุ) ความสัมพันธ์ของการล่วงละเมิดมีการระบุไว้หลายประการ:
ผู้กระทำผิดเป็นใครก็ได้ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย ญาติ ครูหรืออาจารย์ เพื่อนหรือคนแปลกหน้า
การล่วงละเมิดอาจเกิดขึ้นได้ที่ใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน[ 11] วิทยาลัย สถานที่ทำงาน ที่สาธารณะและที่อื่น ๆ
การล่วงละเมิดเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะมีพยานรู้เห็นหรือไม่
ผู้กระทำผิดอาจไม่รู้ว่าพฤติกรรมของตนเป็นการคุกคามหรือก่อให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศและไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย[ 2]
การล่วงละเมิดอาจเกิดขึ้นได้แม้บุคคลเป้าหมายไม่ทราบหรือเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น
เกิดผลกระทบต่อเหยื่อทำให้เกิดความเครียด ไม่อยากเข้าสังคม นอนไม่หลับ กินอาหารไม่ได้ และความผิดปกติทางสุขภาพอื่น ๆ
เหยื่อและผู้กระทำผิดเป็นเพศใดก็ได้
ผู้กระทำผิดสามารถเป็นเพศเดียวกันก็ได้
อาจเกิดจากความเข้าในผิดของผู้กระทำความผิดและเหยื่อ ซึ่งความเข้าใจผิดนี้อาจอาจสมเหตุสมผลหรือไม่สมเหตุสมผล
นอกจากนี้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมรวมทำให้มีการล่วงละเมิดทางเพศบนโลกออนไลน์มากขึ้น เช่นในวิดีโอเกมหรือในห้องสนทนา
จากสถิติการวิจัย PEW ค.ศ. 2014 เกี่ยวกับการล่วงละเมิดบนโลกออนไลน์ ผู้หญิง 25% และผู้ชาย 13% ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 24 ปีเคยถูกคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์[ 12]
พฤติกรรม
การคุกคามทางเพศที่เหยื่อไม่ต้องการ
พฤติกรรม ของผู้คุกคามนั้นมีหลายรูปแบบและในกรณีส่วนใหญ่ (แม้ว่าจะไม่ใช่ในทุกกรณี) เหยื่อจะอธิบายถึงสิ่งที่พวกเขาประสบมาได้ยาก นักเขียนนาม มาร์ธา เลงกาแลน (Martha Langelan) อธิบายการคุกคามสี่รูปแบบ:[ 13]
คุกคามแบบล่า (A predatory harasser) เป็นพวกที่รู้สึกดีกับการที่ทำให้เหยื่อรู้สึกอับอาย ในบางกรณีผู้คุกคามประเภทนี้มักมีการขู่กรรโชก บางครั้งจะทำการคุกคามเพื่อดูว่าเหยื่อจะตอบสนองอย่างไรหากเหยื่อไม่มีท่าทีต่อต้านก็อาจกลายเป็นเป้าในการข่มขืนได้
คุกคามแบบมีอำนาจเหนือกว่า (A dominance harasser) เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด ผู้คุกคามทำเพื่อเพิ่มอีโก้ตัวเอง
คุกคามแบบแสดงความเป็นใหญ่ (A strategic or territorial harassers) ผู้ที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษในที่ทำงาน เช่นผู้ชายคนหนึ่งล่วงละเมิดพนักงานหญิงในอาชีพที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
คุกคามบนท้องถนน (A street harasser) การล่วงละเมิดทางเพศประเภทหนึ่งมักเกิดจากคนแปลกหน้าในที่สาธารณะ การคุกคามแบบนี้ร่วมถึงการใช้วาจาและอวัจนภาษา ด้วย การคุกคามทางคำพูดเช่น แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพเป็นต้น[ 14]
อ้างอิง
↑ Dziech, Billie Wright; Weiner, Linda. The Lecherous Professor: Sexual Harassment on Campus .[ต้องการเลขหน้า ] Chicago Illinois: University of Illinois Press, 1990. ISBN 978-0-8070-3100-1 ; Boland, 2002[ต้องการเลขหน้า ]
↑ 2.0 2.1 "Sexual Harassment" . U.S. Equal Employment Opportunity Commission. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-13. สืบค้นเมื่อ 2010-07-16 .
↑ Text of Oncale v.Sundowner Offshore Services, Inc. , 528 U.S. 75 (1998) is available from: Findlaw Justia
↑ Philips, Chuck (April 18, 1993). "Cover Story: You've Still Got a Long Way to Go, Baby" . LA Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013 .
↑ Becklund Philips, Laurie Chuck (November 3, 1991). "Sexual Harassment Claims Confront Music Industry: Bias: Three record companies and a law firm have had to cope with allegations of misconduct by executives" . LA Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 22 July 2012 .
↑ Philips, Chuck (March 5, 1992). " 'Anita Hill of Music Industry' Talks : * Pop music: Penny Muck, a secretary whose lawsuit against Geffen Records sparked a debate about sexual harassment in the music business, speaks out in her first extended interview" . LA Times . สืบค้นเมื่อ February 11, 2020 .
↑ Philips, Chuck (July 21, 1992). "Controversial Record Exec Hired by Def" . LA Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 22 July 2012 .
↑ Laursen, Patti (May 3, 1993). "Women in Music" . LA Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013 .
↑ Barnet, Richard; Burriss, Larry; Fischer, Paul (September 30, 2001). Controversies in the music business . Greenwood. pp. 112–114. ISBN 978-0313310942 .
↑ "Reporting of violence against women in University. [Social Impact]. VGU. Gender-based Violence in Spanish Universities (2006-2008)" . SIOR, Social Impact Open Repository . Universitat de Barcelona. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-07-18.
↑ Duggan, Maeve (October 22, 2014). "Online Harassment" . Pew Research Center . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020 .
↑ Langelan, Martha. Back Off: How to Confront and Stop Sexual Harassment and Harassers เก็บถาวร 2016-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Fireside, 1993. ISBN 978-0-671-78856-8 .
↑ Bowman, Cynthia Grant (Jan 1993). "Street Harassment and the Informal Ghettoization of Women" . Harvard Law Review . 106 (3): 517–80. doi :10.2307/1341656 . JSTOR 1341656 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04 .