Share to:

 

การนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ
Insomnia
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10F51.0, G47.0
ICD-9307.42, 307.41, 327.0, 780.51, 780.52
DiseasesDB26877
MedlinePlus000805
eMedicinemed/2698
MeSHD007319

การนอนไม่หลับ (อังกฤษ: insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับซึ่งไม่สามารถนอนหลับหรือนอนหลับได้ไม่นานเท่าที่ต้องการ[1][2] แม้บางครั้งคำนี้ใช้อธิบายความผิดปกติที่แสดงโดยหลักฐานการนอนหลับที่ถูกรบกวนทางผลตรวจการนอนหลับ แต่การนอนไม่หลับมักนิยามโดยการที่ผู้ป่วยตอบคำถามใดคำถามหนึ่งนี้ว่าใช่ ได้แก่ "คุณประสบความลำบากในการนอนหลับหรือไม่" หรือ "คุณมีความลำบากในการนอนหลับหรือนอนหลับต่อไปหรือไม่"[2]

ดังนั้นจึงมักถือว่าการนอนไม่หลับเป็นทั้งอาการและอาการแสดง[2][3]ของโรคที่ทำให้ประสบความลำบากในการนอนให้หลับหรือการคงการนอนหลับและคุณภาพของการนอนหลับเอาไว้ ซึ่งอาจเป็นโรคที่เกี่ยวกับการนอนโดยเฉพาะ (sleep disorder) หรือโรคจิตเวช หรือโรคอื่น ๆ ทางการแพทย์ก็ได้ ผู้ที่นอนไม่หลับมักจะมีความผิดปกติในการทำกิจวัตร (functional impairment) ยามตื่น การนอนไม่หลับสามารถเกิดได้ในทุกวัย แต่พบมากในผู้สูงอายุ[4] การนอนไม่หลับสามารถเกิดได้ระยะสั้น (อาจนาน 3 สัปดาห์) หรือระยะยาว (เกิด 3–4 สัปดาห์) ซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาด้านความจำ ภาวะซึมเศร้า ความหงุดหงิดและเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์[5]

การนอนไม่หลับสามารถแบ่งเป็นการนอนไม่หลับปฐมภูมิและทุติยภูมิ หรือ ทั้งสองอย่างพร้อมกัน[6][7][8] การนอนไม่หลับปฐมภูมิเป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่ไม่มีสาเหตุทางการแพทย์ จิตเวชหรือสิ่งแวดล้อม[9] ซึ่งอธิบายว่ามีอาการหลับยากยาวนาน (prolonged sleep onset latency) การรบกวนการคงการนอนหลับ (sleep maintenance) หรือประสบการนอนหลับไม่สดชื่น (non-refreshing sleep)[10]

อ้างอิง

  1. Punnoose Ann, Golub Robert, E Alison.(2012)"Insomnia" [1], "JAMA". Retrieved on 27 June 2012.
  2. 2.0 2.1 2.2 Roth, Thomas (15 August 2007). "Insomnia: Definition, Prevalence, Etilogy, and Consequences". J Clin Sleep Med. 3 (5 Suppl): S7–S10. PMC 1978319. PMID 17824495.
  3. Hirshkowitz, Max (2004). "10, Neuropsychiatric Aspects of Sleep and Sleep Disorders (pp. 315–340)". ใน Stuart C. Yudofsky and Robert E. Hales (บ.ก.). Essentials of neuropsychiatry and clinical neurosciences (4 ed.). Arlington, Virginia, USA: American Psychiatric Publishing. ISBN 978-1-58562-005-0. สืบค้นเมื่อ 2009-12-06. ...insomnia is a symptom. It is neither a disease nor a specific condition. (p. 322)
  4. American College of Physicians (2008).Annals of Internal Medicine, 148, 1, p. ITC1-1
  5. Zahn, Dorothy, "Insomnia: CPJRPC", The Canadian Pharmaceutical Journal, Oct 2003
  6. "Dyssomnias" (PDF). WHO. pp. 7–11. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
  7. Buysse, Daniel J. (2008). "Chronic Insomnia". Am J Psychiatry. 165 (6): 678–86. doi:10.1176/appi.ajp.2008.08010129. PMC 2859710. PMID 18519533. For this reason, the NIH conference [of 2005] commended the term "comorbid insomnia" as a preferable alternative to the term "secondary insomnia."
  8. Erman, Milton K. (2007). "Insomnia: Comorbidities and Consequences". Primary Psychiatry. 14 (6): 31–35. Two general categories of insomnia exist, primary insomnia and comorbid insomnia.
  9. World Health Organization (2007). "Quantifying burden of disease from environmental noise" (PDF). p. 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-11-23. สืบค้นเมื่อ 2010-09-22. In his e-mail dated 10.8.2005, Colin Mathers gives the following statement referring to this question: ‘Primary insomnia is sleeplessness that is not attributable to a medical, psychiatric or environmental cause. …’
  10. Riemann, Dieter (2002). "Consequences of Chronic (Primary) Insomnia: Effects on Performance, Psychiatric and Medical Morbidity - An Overview". Somnologie - Schlafforschung und Schlafmedizin. 6 (3): 101–108. doi:10.1046/j.1439-054X.2002.02184.x. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
Kembali kehalaman sebelumnya