โรคดิสโซสิเอทีฟ[1] (อังกฤษ: dissociative disorders[2]) เป็นภาวะที่ความทรงจำ สติสัมปชัญญะ ความรู้ตัว เอกลักษณ์ และ/หรือการรับรู้สภาพแวดล้อมของผู้ป่วยเสียไปหรือถูกรบกวน สมมติฐานบอกว่าอาการนี้เป็นผลจากการประสานงานกันของการทำงานดังกล่าวสูญเสียตั้งแต่หนึ่งอย่างขึ้นไป
จากเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 (DSM IV) มีโรคในกลุ่มนี้ได้แก่
- โรคดีเพอร์ซันนอลไลเซชัน (อังกฤษ: Depersonalization disorder; รหัส DSM-IV 300.6[3]) คือผู้ป่วยมีช่วงเวลาที่รู้สึกแยกออกจากร่างกายตนเองหรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งมักรู้สึกว่าไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง (กล่าวคือขาดการควบคุมตนเองและภายนอกตนเอง) ในระหว่างนี้ผู้ป่วยยังสามารถรับรู้ว่าสิ่งที่เกิดเป็นเพียงความรู้สึกและไม่ได้เป็นความจริง
- ภาวะลืมแบบดิสโซสิเอทีฟ (อังกฤษ: Dissociative amnesia; รหัส DSM-IV 300.12[4]) หรือชื่อเดิมคือ Psychogenic Amnesia คือภาวะที่ความจำบกพร่องอันเนื่องจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์อย่างรุนแรง
- ดิสโซสิเอทีฟ ฟิวจ์ (อังกฤษ: Dissociative fugue; รหัส DSM-IV 300.13[5]) หรือชื่อเดิมคือ Psychogenic Fugue คือผู้ป่วยละทิ้งสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่คุ้นเคย รวมทั้งจำอดีตของตนเองไม่ได้ ภาวะนี้อาจเกิดการสับสนระหว่างเอกลักษณ์จริง ๆ ของตนกับเอกลักษณ์ใหม่ได้
- บุคลิกภาพแตกแยก (อังกฤษ: Dissociative identity disorder; รหัส DSM-IV 300.14[6]) หรือชื่อเดิมและชื่อที่ใช้ใน ICD-10 Multiple Personality Disorder คือผู้ป่วยมีบุคลิกภาพแตกต่างกันตั้งแต่ 2 บุคลิกขึ้นไปสลับเปลี่ยนกันมีบทบาทต่อพฤติกรรมโดยผู้ป่วยจะจำลักษณะข้อมูลสำคัญของอีกบุคลิกหนึ่งไม่ได้
- โรคดิสโซสิเอทีฟ มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (อังกฤษ: Dissociative disorder not otherwise specified; รหัส DSM-IV 300.15[7]) ใช้เมื่อผู้ป่วยมีลักษณะพยาธิสภาพทางจิตเป็นแบบดิสโซสิเอชันซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคดิสโซสิเอทีฟที่จำเพาะอื่น ๆ
อ้างอิง
- ↑ บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย) ฉบับปี 2009. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552.
- ↑ Dissociative Disorders, ( DSM-IV, Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition เก็บถาวร 2011-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- ↑ Depersonalization Disorder, ( DSM-IV 300.6, Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition เก็บถาวร 2012-12-09 ที่ archive.today)
- ↑ Dissociative Amnesia ( DSM-IV 300.12, Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- ↑ Dissociative Fugue ( DSM-IV 300.13, Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- ↑ Dissociative Identity Disorder (DSM-IV 300.14, Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition เก็บถาวร 2011-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- ↑ Dissociative Disorder Not Otherwise Specified (DSM-IV 300.15, Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition เก็บถาวร 2011-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
|
---|
ภาวะสมองเสื่อม ( โรคอัลไซเมอร์, ในโรคเนื้อสมองตายจากการขาดเลือดหลายแห่ง, โรคพิค, โรคเครอต์เฟลดต์-จาคอบ, โรคฮันติงตัน, โรคพาร์กินสัน, ภาวะสมองเสื่อมในโรคเอดส์, ภาวะสมองกลีบหน้าและกลีบขมับเสื่อม, กลุ่มอาการซันดาวน์, การเดินโดยไม่มีจุดหมายแน่นอน, ความผิดปกติเล็กน้อยในด้านปริชาน) · อาการเพ้อ · กลุ่มอาการที่เกิดหลังสมองถูกกระแทกกระเทือน · กลุ่มอาการทางสมองจากโรคทางกาย |
| |
---|
แอลกอฮอล์ ( พิษสุราเฉียบพลัน, เมาสุรา, การติดสุรา, ภาวะประสาทหลอนจากสุรา, ภาวะถอนสุรา, ภาวะเพ้ออย่างรุนแรง, กลุ่มอาการคอร์ซาคอฟ, การใช้สุราในทางที่ผิด) · ฝิ่นและโอปิออยด์ ( การใช้ฝิ่นเกินขนาด, การติดโอปิออยด์) · ยากล่อมประสาท/ยานอนหลับ ( การใช้เบนโซไดอะซีปีนเกินขนาด, การติดเบนโซไดอะซีปีน, ภาวะถอนเบนโซไดอะซีปีน) · โคเคน ( การเป็นพิษจากโคเคน, การติดโคเคน) · กลุ่มอาการรับรู้ผิดปกติหลังได้รับสารหลอนประสาท · ทั่วไป ( การเป็นพิษ/ การใช้ยาเกินขนาด, การติดทางกาย, การติดยา, ผลย้อนกลับ, ภาวะถอนยา) |
| | | | สรีรวิทยา/ปัจจัยทางกายภาพ |
---|
|
| บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้ใหญ่ |
---|
|
| |
|
|