การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส ค.ศ. 2024
การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส ค.ศ. 2024 จัดขึ้นรอบแรกในวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2024 และรอบที่ 2 ในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 เพื่อเลือกตั้งทั้ง 577 ที่นั่งของสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส การเลือกตั้งครั้งนี้ได้จัดขึ้นหลังจากแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดี ประกาศยุบสภาชุดที่แล้วในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2024 ซึ้งเกิดขึ้นจากพ่ายแพ้อย่างหนักของพันธมิตรฝ่ายประธานาธิบดีในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปในวันเดียวกัน นับเป็นครั้งที่ 6 ในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ที่มีกฤษฎีกายุบสภาล่างโดยใช้มาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส การยุบสภาล่าสุดเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1997 ในช่วงสมัยแรกของประธานาธิบดีฌัก ชีรัก ซึ้งผลการเลือกตั้งครั้งนั้นปรากฎว่าพันธมิตรฝ่ายซ้ายหลายพรรคที่นำโดย ลียอแนล ฌ็อสแป็ง เลขาธิการแรกพรรคสังคมนิยมในขณะนั้น ได้ชัยชนะที่นั่งส่วนใหญ่จึงกลายเป็นฝ่ายข้างมาก และต่อจากนั้น ฌ็อสแป็งก็ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ในรอบแรกของการเลือกตั้ง พรรคฝ่ายขวาจัด พรรคแนวร่วมแห่งชาติ (Rassemblement national, RN) และพันธมิตรนำด้วยคะแนนเสียง 33.21% ตามมาด้วยพันธมิตรฝ่ายซ้าย แนวร่วมประชาชนใหม่ (Nouveau Front populaire, NFP) ด้วยคะแนนเสียง 28.14% ส่วนพันธมิตรฝ่ายสนับสนุนประธานาธิบดี ร่วมกันเพื่อสาธารณรัฐ (Ensemble pour la République, ENS) ได้รับคะแนนเสียง 21.28% และพรรคเลเรปูว์บลีแก็งและผู้สมัครฝ่ายขวาต่าง ๆ ด้วยคะแนนเสียง 10.17% ในรอบนี้มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์โดยรวม 66.71% ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ค.ศ. 1997 ในรอบที่ 2 ของการเลือกตั้ง พันธมิตรแนวร่วมประชาชนใหม่ได้ครองอันดับหนึ่งเนื่องจากได้รับที่นั่งมากกว่าคาดหวัง ต่อจากพันธมิตรร่วมกันเพื่อสาธารณรัฐที่ครอบอันดับสอง ส่วนพรรคแนวร่วมแห่งชาติและพันธมิตรครองแค่อันดับที่สามเท่านั้น หลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุด กาบรีแยล อาตาล นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าจะยืนหนังสือลาออกจากตำแหน่งในวันที่ต่อมาซึ้งมาครงปฎิเสธในขั้นต้นแต่มีผลในวันที่ 16 กรกฎาคม ทำให้รัฐบาลกลายเป็นรักษาการและรัฐมนตรีได้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงโหวดให้ประธานสมัชชาแห่งชาติ หลังจากนั้น พันธมิตรแนวร่วมประชาชนใหม่เสนอชื่อนางลูซี กัสแตทซ์ ผู้อำนวยงานด้านการเงินและการจัดซื้อของกรุงปารีส แต่มาครงกลับไม่ได้ส่งความตั้งใจที่จะแต่งตั้งเธอเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยอ้างว่าต้องรอแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นในกรุงปารีสให้สิ้นสุดลง จากนั้น มาครงก็เริ่มมีการปรึกษาหารือมากมายจากฝ่ายการเมืองต่าง ๆ แล้วในที่สุดก็ได้แต่งตั้งนายมีแชล บาร์เนียร์ สมาชิกพรรคเลเรปูว์บลีแก็งและอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป เบื้องหลังการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ค.ศ. 2022หลังจากแอมานุแอล มาครง ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นสมัยที่ 2 การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติก็ตามมาในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน ผลการเลือกตั้งครั้งนั้นปรากฎว่าพันธมิตร อ็องซ็องบล์ (Ensemble) ซึ้งเป็นพันธมิตรฝ่ายสนับสนุนเสียงข้างมากของประธานาธิบดีและนำโดยพรรคของประธานาธิบดี พรรคลาเรปูว์บลีก็องมาร์ช (LREM) (ต่อมาพรรคได้เปลี่ยนชื่อเป็น เรอแนซ็องส์) ได้สูญเสียเสียงข้างมากในสภาล่าง ซึ้งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ค.ศ. 1997 ที่ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งไม่สามารถครองเสียงข้างมากโดยสมบูรณ์ในสมัชชาแห่งชาติได้ ในขณะเดียวกัน กลุ่มฝ่ายค้านหลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ พันธมิตรทางฝ่ายซ้าย สหภาพประชาชนนิเวศน์วิทยาและสังคมใหม่ (Nouvelle Union Populaire écologique et sociale, นูแวลยูนียงโป๊บปูแลร์เอโกโลชีกเอโซเซียล หรือย่อเป็น NUPES, นูเพส) ซึ้งนำโดยพรรคลาฟร็องแซ็งซูมีซ (LFI) และทางฝ่ายขวาจัด พรรคแนวร่วมแห่งชาติ (RN) ซึ้งนำโดยมารีน เลอ แปน ก็ได้มีนั่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ไม่มีกลุ่มใดที่ได้รับเสียงข้างมากโดยสมบูรณ์ การเลือกตั้งสมาชิกฝรั่งเศสในรัฐสภายุโรป ค.ศ. 2024ฝรั่งเศสมีการเลือกตั้งสมาชิกฝรั่งเศสเป็นผู้แทนราษฎรในรัฐสภายุโรปในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2024 เพื่อเลือก 81 คนจากทั้งหมด 720 สมาชิกในรัฐสภานั้น ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการปรากฎว่าพรรคแนวร่วมแห่งชาตินำโดยจอร์ดัน บาร์เดลลา ได้รับ 30 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ หรือคะแนนกว่า 31.3% ขณะที่ทางฝ่ายประธานาธิบดีด้วยพันธมิตรเบอซวงโดโรป (Besoin d'Europe) ซึ้งนำโดยพรรคของประธานาธิบดี พรรคเรอแนซ็องส์ (RE) นั้น ได้รับ 13 ที่นั่งเท่านั้น ซึ้งเป็นความพ่ายแพ้อย่างหนักจากฝ่ายนั้น ผลการเลือกตั้งยังไม่ได้มีการรับรองจากกระทรวงมหาดไทยของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม แอมานุแอล มาครง ออกแถลงการในทีวีประกาศยุบสมัชชาแห่งชาติชุดที่ได้รับเลือกตั้งในปีค.ศ. 2022 และจัดขึ้นการเลือกตั้งครั้งใหม่ด้วยรอบที่หนึ่งในวันที่ 30 มิถุนายน และรอบที่สองในวันที่ 7 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้[1][2][3][4] ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 577 คน ซึ้งเทียบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ได้รับการเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี โดยระบบสองรอบในเขตเลือกตั้งที่มีสมาชิกเดียว ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่คะแนนเสียงรวมมากกว่า 25% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนจะได้รับการเลือกตั้งในรอบแรก แต่หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับเสียงข้างมากก็จัดขึ้นรอบที่สองระหว่างผู้สมัครสองคนอันดับต้น ๆ บวกกับผู้สมัครคนอื่นที่ได้รับคะแนนเสียงรวมมากกว่า 12.5% ของผู้ลงคะแนนที่ลงทะเบียน อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในรอบที่สองจะได้รับเลือก ผลสำรวจผลการเลือกตั้งภาพร่วม
หลังการเลือกตั้งหลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุด กาบรีแยล อาตาล นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าจะยืนหนังสือลาออกจากตำแหน่งในวันที่ต่อมา แต่มาครงกลับให้อยู่ในตำแหน่งต่อเพื่อ"เสถียรภาพประเทศ"[6] ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 ประธานาธิบดี แอมานุแอล มาครง ได้กล่าวภายในจดหมายที่ถูกเผยแพร่ในสื่อว่า "ไม่มีกองกำลังทางการเมืองใดที่ได้รับเสียงข้างมากเพียงพอด้วยของตัวเองและกลุ่มหรือแนวร่วมที่เกิดจากการเลือกตั้งเหล่านี้ล้วนแต่เสียงข้างน้อย" และขอให้มี "เจรจาอย่างจริงใจและด้วยความภักดี" ระหว่างพรรคและแนวรวมการเมืองเพื่อ "สร้างเสียงข้างมากที่มั่นคง ซึ่งจำเป็นต้องมีพหูพจน์เพื่อประเทศ"[7] ต่อมา บุคคลสำคัญทางฝ่ายซ้ายประณามจดหมายดังกล่าวว่าเป็นการ "ปฎิเสธที่จะรับรองผลการเลือกตั้ง" ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามาครง "ไม่ยอมรับความจริง" และพยายามส่งสัญญาณว่าเขาไม่อนุญาติให้แนวร่วมประชาชนใหม่เป็นผู้นำรัฐบาลหากมีสมาชิกพรรคลาฟร็องแซ็งซูมีซเข้าร่วม ในวันที่ 16 กรกฎาคม มาครงรับหนังสือลาออกของรัฐบาลของอาตาลและรักษาการตำแหน่งจนถึงมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่[8] ทำให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดังกล่าวไปลงคะแนนเสียงเลือกประธานสมัชชาแห่งชาติได้ ในขณะที่ยังคงดำรงตำแหน่งเป็นรัฐบาลรักษาการ[9] ในวันที่ 25 กรกฎาคม วันก่อนที่จะมีการเปิดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นในกรุงปารีส พันธมิตรแนวร่วมประชาชนใหม่ได้ตกลงกันในชื่อบุคคลคนหนึ่งที่จะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ้งเป็นนางลูซี กัสแตทซ์ ผู้อำนวยงานด้านการเงินและการจัดซื้อของกรุงปารีส แต่มาครงกลับปฎิเสธการเสนอชื่อนี้ในครั้งแรก โดยอ้างว่า "ไม่มีใครชนะ" การเลือกตั้งในครั้งนี้[10] และจะจัดขี้นการปรึกษาและหารือระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาล ในวันที่ 23 สิงหาคม หลังจากการหารือกับผู้นำพรรคต่าง ๆ มาครงประกาศอีกครั้งใน 3 วันต่อมาว่าจะไม่แต่งตั้งลูซี กัสแตทซ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจากมีความเสี่ยงจากการลงมติไม่ไว้วางใจของรัฐบาลจากพันธมิตรฝ่ายซ้าย[11] ต่อมา ในวันที่ 2 กันยายน แอมานุแอล มาครงได้รับการเสนอชื่อของแบร์นาร์ กาซเนิฟว์ อดีตนายกรัฐมนตรีจากพรรคสังคมนิยม และซาเวียร์ เบอร์ทรองด์ ประธานสภาแคว้นโอดฟร็องส์ แต่สองบุคคลนี้มีการเสี่ยงจากมติไม่ไว้วางใจจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเช่นกัน[12] จึงหันมาที่มีแชล บาร์เนียร์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงภายใต้การนำของอดีตประธานาธิบดีนีกอลา ซาร์กอซี ฌัก ชีรัก และฟร็องซัว มีแตร็องเป็นต้น ซึ่งได้มีความสนใจเป็นอย่างมากจากมาครงในวันที่ 4 กันยายน[13] ในที่สุด ในวันที่ 5 กันยายน มาครงตัดสิ้นใจแต่งตั้งมีแชล บาร์เนียร์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป[14][15][16] หมายเหตุ
อ้างอิง
|