Share to:

 

รัฐสภายุโรป

รัฐสภายุโรป

รัฐสภายุโรป ชุดที่ 9
ประเภท
ประเภท
ผู้บริหาร
โรแบร์ตา เมตโซลา
ตั้งแต่ 18 มกราคม พ.ศ. 2565 [1], กลุ่มพรรคเพื่อประชาชนยุโรป
หัวหน้ากลุ่มการเมือง
ใหญ่สุด
มันเฟรด เวเบอร์, กลุ่มพรรคเพื่อประชาชนยุโรป
หัวหน้ากลุ่มการเมือง
ใหญ่สุดอันดับสอง
อิราตเซ การ์ซิอา, พันธมิตรก้าวหน้าแห่งสังคมนิยมและประชาธิปไตย
โครงสร้าง
สมาชิก705
2021 European Parliament.svg
กลุ่มการเมือง
ฝ่ายข้างมาก (422)
  EPP (176)
  S&D (144)
  Renew (102)
ฝ่ายข้างน้อย (236)
  Greens/EFA (71)
  ID (64)
  ECR (63)
  The Left (38)
ไม่ฝักฝ่ายใด (47)
  NI (47)[2]
คณะกรรมาธิการ
ระยะวาระ
5 ปี
การเลือกตั้ง
บัญชีรายชื่อ, ถ่ายโอนคะแนนเสียงและระบบเสียงส่วนใหญ่[3]
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
23 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ที่ประชุม
European Parliament, Plenar hall.jpg
ที่ 1: อาคารหลุยส์ไวส์: สทราซบูร์, ประเทศฝรั่งเศส (ในรูป)
ที่ 2: เอสปาซลีโอโพลด์: บรัสเซลส์, ประเทศเบลเยียม
สำนักเลขาธิการ: ลักเซมเบิร์ก และบรัสเซลส์
เว็บไซต์
europarl.europa.eu

รัฐสภายุโรป (อังกฤษ: European Parliament, ย่อ: EP) เป็นสถาบันรัฐสภาแห่งเดียวของสหภาพยุโรปซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองอียูอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป รัฐสภาฯ ร่วมกับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติของอียู รัฐสภาประกอบด้วยสมาชิก 705 คน รัฐสภายุโรปเป็นผู้แทนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยกลุ่มใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลก (รองจากรัฐสภาอินเดีย) และกลุ่มผู้มีสิทธฺเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยข้ามชาติใหญ่สุดในโลก (ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 375 ล้านคนในปี 2552)[4][5][6]

สมาชิกรัฐสภายุโรปมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองยุโรป (ผู้ถือสัญชาติของรัฐสมาชิกอียูมีสัญชาติของรัฐตน ผลทำให้มีสัญชาติอียูด้วย) ทุก 5 ปี และทุกคนมีสิทธิออกเสียงโดยดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2522 อย่างไรก็ตาม อัตราผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งน้อยลงเรื่อย ๆ ทุกปีนับแต่นั้น จนเหลือน้อยกว่าร้อยละ 50 ตั้งแต่ปี 2542 โดยในปี 2557 มีผู้ออกเสียงเลือกตั้งยุโรปใช้สิทธิเลือกตั้ง 42.54%[7]

แม้รัฐสภายุโรปและคณะมนตรีมีอำนาจนิติบัญญัติ แต่รัฐสภายุโรปไม่มีอำนาจริเริ่มออกกฎหมายอย่างเป็นทางการ (ซึ่งเป็นอำนาจพิเศษของคณะกรรมาธิการยุโรป) อย่างรัฐสภาแห่งชาติของรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปส่วนมาก รัฐสภาเป็น "สถาบันแรก" ของอียู (มีการกล่าวถึงเป็นลำดับแรกในสนธิสัญญา มีลำดับก่อนในทางพิธีการเหนืออำนาจทั้งปวงในระดับทวีปยุโรป) และมีอำนาจนิติบัญญัติและผ่านงบประมาณเท่ากับคณะมนตรี (ยกเว้นบางหมวดที่ใช้วิธีดำเนินการพิเศษทางนิติบัญญัติ) และมีการควบคุมงบประมาณอียูเท่ากัน สุดท้ายคณะกรรมาธิการ ฝ่ายบริหารของอียู (เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร แต่มีอำนาจริเริ่มออกกฎหมาย) ขึ้นตรงต่อรัฐสภา โดยเฉพาะคือ รัฐสภาเลือกตั้งประธานคณะกรรมาธิการ และให้การรับรองหรือปฏิเสธการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการทั้งคณะ ทั้งยังสามารถบังคับให้คณะกรรมธิการทั้งคณะออกจากตำแหน่งได้ด้วยการมีมติเห็นชอบญัตติไม่ไว้วางใจ

ประธานรัฐสภายุโรปล่าสุดคือ เดวิด ซัลโลลี [en] (เสียชีวิต ม.ค. 2565) (พรรคสังคมประชาธิปไตย) ได้รับการเลือกตั้งขึ้นมาในเดือนกรกฎาคม 2562 ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมหลายพรรค โดยมีกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดสองกลุ่มคือกลุ่มพรรคเพื่อประชาชนยุโรป (EPP) และพันธมิตรก้าวหน้าแห่งนักสังคมนิยมและนักประชาธิปไตย (S&D) การเลือกตั้งครั้งล่าสุดคือการเลือกตั้งรัฐสภายุโรป พ.ศ. 2562

รัฐสภายุโรปมีที่ทำการสามแห่งคือที่ประชุมใหญ่แห่งสภาในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม และสทราซบูร์ ประเทศฝรั่งเศส นครลักเซมเบิร์กเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริหาร ("สำนักเลขาธิการ") การประชุมเต็มสภามีขึ้นในสทราซบูร์และบรัสเซลส์ การประชุมคณะกรรมการจัดในบรัสเซลส์[8][9]

อ้างอิง

  1. "Roberta Metsola elected new President of the European Parliament". สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2023.
  2. "MEPs European Parliament, Full list". สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2022.
  3. มีเขตเลือกตั้งหนึ่งในเบลเยียมที่ใช้ระบบเสียงส่วนใหญ่เพื่อเลือกสมาชิกสภายุโรป 1 คน
  4. Brand, Constant; Wielaard, Robert (8 มิถุนายน 2009). "Conservatives Post Gains In European Elections". The Washington Post. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2010.
  5. Ian Traynor (7 มิถุนายน 2009). "Misery for social democrats as voters take a turn to the right". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2010.
  6. "18 new MEPs take their seats". European Parliament. 10 มกราคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2012.
  7. "Turnout at the European elections (1979-2009)". European Parliament. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012.
  8. "European Parliament". Europa. 19 เมษายน 2010. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2012.
  9. "Consolidated versions of the treaty on European Union and of the treaty establishing the European Community" (PDF). Eur-lex. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 ธันวาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2007.
Kembali kehalaman sebelumnya